ผู้เขียน หัวข้อ: นักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล ยกย่องหลักประกันสุขภาพไทยช่วยเกิดตายลด-อายุยืนขึ้น  (อ่าน 474 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
“อมรรตยะ เสน” นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เขียนบทความเว็บไซต์ นสพ. ชั้นของเมืองผู้ดี ชูระบบหลักประกันสุขภาพของไทย - วันดา - บังกลาเทศ เป็นตัวอย่างของประเทศที่ไม่ต้องร่ำรวย แต่สามารถสร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนสำเร็จ โดยของไทยเห็นผลลัพธ์ชัดเจนว่าช่วยลดช่องว่างของคนรวยและจน วัดจากอัตราตาย ทารกแรกเกิด ลดลง ประชากรมีอายุขัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งยกไทยเป็นตัวอย่างส่งเสริมบริการสุขภาพปฐมภูมิ ป้องกันก่อนป่วยหนัก
       
       วันนี้ (11 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน http://www.theguardian.com หนังสือพิมพ์ชั้นนำของประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่บทความเรื่อง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: ฝันที่สามารถจ่ายได้ (Universal healthcare: the affordable dream) ที่เขียนโดย ศ.อมรรตยะ เสน (Amartya Kumar Sen) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา ยกย่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ว่า เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศร่ำรวย ก็สามารถทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ ทั้งยังยกตัวอย่างความสำเร็จในเรื่องดังกล่าวทั้งของประเทศไทยและอีก 2 ประเทศ คือ ประเทศวันดา และประเทศบังกลาเทศ
       
       โดยเนื้อหาในบทความ ศ.อมรรตยะ ได้ระบุจุดเด่นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย มีใจความว่า ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของประเทศที่สามารถทำเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้สำเร็จในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลพวงมาจากให้คำมั่นสัญญาจากฝ่ายการเมืองและการผลักดันร่วมของภาคประชาสังคมและนักวิชาการที่เข้มแข็ง ที่สำคัญคือ ได้รับการตอบสนองนโยบายอย่างดีจากบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขของภาครัฐ และผลสำเร็จของหลักประกันสุขภาพไทยก็ได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องความยากจนลงจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงตัวชี้วัดสุขภาพของประชากรก็ดีขึ้นและลดความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนรวยกับคนจน โดยวัดจากอัตราการตายในทารกแรกเกิด และอัตราตายของเด็กลดลง โดยอัตราการตายของทารกแรกเกิดลดต่ำลงถึง 11 คน ต่อ 1,000 คน อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประชากรเพิ่มสูงขึ้นเป็นมากกว่า 74 ปี นี่คือสิ่งที่ประเทศยากจนทำได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นการลบประวัติศาตร์ของความแตกต่างในอัตราการตายของทารกระหว่างกลุ่มคนจนกับคนรวยภายในประเทศไทย
       
       นอกจากนั้น ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นยังมีข้อได้เปรียบอีกอย่างคือ เป็นระบบบริการสุขภาพที่มุ่งเน้นไปยังสิ่งที่จำเป็นแต่มักจะถูกละเลยนั่นก็คือบริการระดับปฐมภูมิ ซึ่งถือว่าเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่เป็นบริการแบบผู้ป่วยนอกที่มีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก เป็นการดูและรักษาตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรค ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยส่วนใหญ่แล้วการดำเนินของโรคมักจะถูกปล่อยให้มีการลุกลามหรือมีการพัฒนาของโรคไปในขั้นที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้มีค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นตามไปด้วยและได้ระบุว่า ประเทศไทยได้ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับเรื่องนี้ กล่าวคือ เมื่อมีการดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมีการดำเนินนโยบายส่งเสริมป้องกันโรคก่อนที่จะป่วย ความต้องการการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้ลดลงอย่างมาก
       
       ข้อมูล : http://www.theguardian.com/society/2015/jan/06/-sp-universal-healthcare-the-affordable-dream-amartya-sen
       

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 มกราคม 2558