ผู้เขียน หัวข้อ: ยัน “พ.ร.บ.โค้ดมิลค์” คุมโฆษณาอาหารเด็กถึง 3 ขวบเหมาะสม  (อ่าน 638 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9784
    • ดูรายละเอียด
ศูนย์นมแม่ยัน “พ.ร.บ. โค้ดมิลค์” คุมโฆษณาอาหารทารกถึง 3 ขวบเหมาะสม เหตุเด็กต้องกินนมแม่ถึง 2 ขวบ ก่อนปรับ “นม” เป็นอาหารเสริม เพื่อเรียนรู้การกินอาหารหลัก 3 มื้อ ย้ำแค่คุมโฆษณา - การตลาด ไม่ได้ห้ามซื้อ ห้ามขาย ห้ามกิน เหตุโฆษณาเกินจริงมาก
       
       หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. ... หรือ พ.ร.บ. โค้ดมิลค์ (Code milk) ซึ่งสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด - 3 ปี โดยเฉพาะการห้ามโฆษณาและห้ามส่งเสริมการตลาด ล่าสุด สมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก ยื่นจดหมายถึง สนช. ใน 3 ประเด็น คือ 1. ควรจำกัดเฉพาะทารกแรกเกิด - 12 เดือน แทนการกำหนดถึง 3 ปี 2. อาหารทางการแพทย์ไม่ควรถูกควบคุม และ 3. ขอระยะเวลาปรับตัวของผู้ผลิตจาก 6 เดือน เป็น 1 ปีครึ่ง
       
       วันนี้ (21 พ.ย.) พญ.ศิริพร กัญชนะ ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เด็กทุกคนควรได้กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน และกินนมแม่พร้อมอาหารตามวัยจนถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น ซึ่งช่วงเวลานี้เด็กจะค่อยๆ ปรับตัวไปสู่การกินอาหารหลัก 3 มื้อ และนมจะเปลี่ยนจากอาหารหลักเป็นอาหารเสริม ดังนั้น การที่ร่าง พ.ร.บ. โค้ดมิลค์ กำหนดขอบเขตการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด - 3 ปี จึงถือว่ามีความเหมาะสม หากจะลดเหลือเพียง 1 ปี หรือต่ำกว่า 2 ปี จะเป็นช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเด็กยังไม่เกิดการปรับตัวที่จะกินอาหารหลัก 3 มื้อแล้วเปลี่ยนนมเป็นเพียงแค่อาหารเสริม ส่วนกรณีข้อเสนอไม่ให้รวมอาหารทางการแพทย์สำหรับทารกและเด็กเล็กอยู่ในการควบคุมของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ. ไม่ได้มีการกำหนดควบคุมเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ที่สำคัญ กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดว่าไม่ให้ขาย ไม่ให้ซื้อ หรือไม่ให้กิน แต่มุ่งเน้นเรื่องของการควบคุมไม่ให้มีการโฆษณาที่เกินความเป็นจริง หรือส่งเสริมการขายลด แลก แจก แถมในผลิตภัณฑ์สำหรับทารกและเด็กเล็กเท่านั้น
       
       “พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้น เพราะขณะนี้พบว่าการโฆษณาอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กมีการโฆษณาเกินจริงอย่างมาก เช่น มีการโฆษณาว่ากินนมผง หรือนมผสมยี่ห้อนี้แล้วสมองเด็กจะดี อาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าให้เด็กกินนมยี่ห้อนี้แล้วเด็กจะสมองดีโดยไม่ต้องทำอย่างอื่น ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลี้ยงดูบุตร จึงต้องออกมาช่วยกันดูในเรื่องนี้ ด้วยการเป็นตัวแทนเด็กที่ยังส่งเสียงบอกเองไม่ได้ว่าอยากกินนมแม่และอยากให้แม่อุ้มฉันอย่างน้อย 2 ปี ที่ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญหากเวลาผ่านแล้วจะผ่านเลยเรียกกลับมาไม่ได้” พญ.ศิริพร กล่าว
       
       พญ.ศิริพร กล่าวว่า นมผสมสามารถทำให้เหมือนนมแม่ได้เพียง 20% แต่กลับมีการโฆษณาในลักษณะที่สามารถนำมาใช้ทดแทนนมแม่ได้ หรือบางโฆษณาสร้างความเข้าใจประหนึ่งว่าดีกว่านมแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด หากเด็กไม่ได้กินนมแม่จะทำให้เด็กขาดโอกาสโดยเฉพาะการได้รับภูมิต้านทานที่มีอยู่ในนมแม่ที่จะเข้าไปในกระเพาะเด็กแล้วอุดช่องว่างระหว่างเซลล์ของเด็ก หรือฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นมผสมไม่สามารถที่จะทำให้เหมือนนมแม่ได้ อีกทั้งมีงานวิจัยระบุชัดเจนว่าเด็กที่ได้กินนมแม่จะมีระดับสติปัญญามากกว่าเด็กที่ไม่ได้กิน รวมถึงความรักความอบอุ่นความผูกพันที่เด็กจะได้สัมผัสจากแม่ระหว่างการให้นมด้วย

โดย MGR Online       21 พฤศจิกายน 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9784
    • ดูรายละเอียด
รมว.สธ. ชี้ “นมผง” ประโยชน์ไม่เท่า “นมแม่” ยัน พ.ร.บ. โค้ดมิลค์ คุมการตลาดนมผง ไม่ได้ห้ามกิน ห้ามขาย เหตุพบเอานมผงไปแจกแม่เพิ่งคลอด ทำเด็กติดนมผง ลดโอกาสกินนมแม่ หวังโกยรายได้ ชี้ห้ามทำตลาดนมผงเด็กเล็ก 0 - 3 ขวบ เป็นตามแนวทาง WHO

       
       จากกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. ... หรือ พ.ร.บ. โค้ดมิลค์ (Code milk) ซึ่งสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด - 3 ปี แต่สมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก ยื่นจดหมายถึง สนช. ขอให้จำกัดเฉพาะทารกแรกเกิด - 12 เดือน และขอระยะเวลาปรับตัวของผู้ผลิตจาก 6 เดือน เป็น 1 ปีครึ่ง
       

       วันนี้ (23 พ.ย.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า เรื่องนี้แล้วแต่การพิจารณาของ สนช. แต่หลักการควบคุมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กนั้น ก่อนหน้านี้ ได้มีการถกเถียงในระดับนานาชาติของผู้ที่เกี่ยวข้อง สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปโดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ห้ามทำการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก 0 - 3 ปี ทั้งนี้ ยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวไม่ได้ห้ามกิน ห้ามขาย แต่เป็นการห้ามทำการตลาด ซึ่งถือว่ายิ่งกว่าการโฆษณา เพราะปัจจุบันพบเห็นการเอานมผงไปแจกฟรี 1 เดือน ให้แม่ที่เพิ่งคลอดลูกตามโรงพยาบาล หลังจากนี้ แม่ที่ให้นมผงกับลูกทำอย่างไร สุดท้ายก็ต้องซื้อเขา จึงไม่ใช่แค่ขาดโอกาสในการเอาลูกกินนมจากเต้าเท่านั้น แต่หมายถึงลูกขาดโอกาสที่จะได้รับภูมิต้านทานโรคที่มาจากนมแม่
       
       “เด็กต้องกินนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน จากนั้นยังต้องกินนมแม่และเริ่มกินอาหารเสริมตามวัยจนถึง 2 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งนมผงประโยชน์นั้นไม่เท่ากับนมแม่ ที่เราเป็นห่วงคือ เป็นห่วงเรื่องสุขภาพของเด็ก แต่เขากลัวเรื่องรายได้” รมว.สาธารณสุข กล่าว


โดย MGR Online       23 พฤศจิกายน 2559