ผู้เขียน หัวข้อ: “สารี” จี้รัฐสร้างระบบส่งต่อให้มีมาตรฐาน  (อ่าน 2142 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
“สารี” ร้อง สร้างระบบการส่งต่อให้มีมาตรฐาน แนะ รัฐอย่าสร้างนโยบายที่ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำของระบบบริการ
   
  จากกรณีที่มีการเสนอข่าวเรื่องการร้องเรียนจากผู้ป่วย ว่า ได้เข้าฝากครรภ์กับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งย่านประชานุกูล โดยตั้งครรภ์ลูกแฝด ซึ่งเมื่ออายุครรภ์ครบ 8 เดือน ผู้ป่วยมีอาการน้ำเดินจะคลอด จึงได้เดินทางมายัง รพ.ดังกล่าว แต่ทาง รพ.แจ้งว่า เครื่องช่วยหายใจไม่พอ และให้ไปคลอดที่รพ.อื่นแทน โดยไม่ได้ประสานหรือจัดรถพยาบาลนำส่งตัวให้นั้น
   
  ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบันได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้สิทธิ โดยเฉพาะในเรื่องการส่งต่อจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันระบบการส่งต่อสร้างปัญหาให้แก่ผู้รับบริการ เช่น ทำให้ไม่สามารถส่งต่อได้โดยอ้างว่าเตียงเต็ม ทำให้ผู้ป่วยต้องหาโรงพยาบาลเอง โดยที่โรงพยาบาลเดิมไม่ประสานให้ หรือไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เช่น สิทธิประกันสังคม ที่บางกรณีผู้ป่วยต้องสำรองจ่ายก่อน และไม่รู้ว่าจะสามารถเบิกได้ สะท้อนถึงระบบการส่งต่อที่ไร้ประสิทธิภาพ โดยส่วนตัวมองว่า ปัญหาโรงพยาบาลปฏิเสธผู้ป่วย โดยให้เหตุผลว่าเตียงเต็ม โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีมากขึ้น ควรต้องมีการตรวจสอบว่าเต็มจริงหรือไม่ แต่ควรมีระบบการจัดการในการประสานงานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการ ได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน อย่างเท่าเทียมกัน
   
  น.ส.สารี กล่าวว่า การที่กรมบัญชีกลาง กำหนดสิทธิการเบิกจ่ายของข้าราชการ ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ 40 โรค 77 หัตถการ อาจทำให้โรงพยาบาลเอกชน เพิกเฉยผู้ประกันตนสิทธิอื่น โดยเฉพาะบัตรทอง ซึ่งในต่างประเทศ มีการกำหนด ให้โรงพยาบาลเอกชน ต้องรับภาระดูแลผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยคิดเป็นสัดส่วน 10% ซึ่งนโยบายจากกรมบัญชีกลาง ต้องไม่สร้างมาตรฐานที่เหลื่อมล้ำให้กับระบบการบริการสุขภาพ ซึ่งในระยะยาวจะสร้างปัญหาให้กับโรงพยาบาลรัฐในที่สุด ทั้งนี้ หากผู้ป่วยได้รับการปฏิเสธการรักษาและรู้สึกว่าทำให้เกิดความเสียหาย สามารถร้องเรียนตามสิทธิได้
   
  น.ส.สารี กล่าวต่อว่า พรรคการเมืองควรมีความชัดเจนในส่วนของ ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ..... ที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อแสดงความจริงใจ สิ่งสำคัญที่สุดในระบบบริการสาธารณสุข เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรม มาตรฐานที่เท่าเทียมกันของประชาชน

ASTVผู้จัดการออนไลน์  7 มิถุนายน 2554