แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 488 489 [490] 491 492 ... 535
7336
นาย​แพทย์​เรวัต วิศรุต​เวช อธิบดีกรม​การ​แพทย์ กล่าวว่าสถาบันสุขภาพ​เด็ก​แห่งชาติมหาราชินี กรม​การ​แพทย์ ​เป็นสถาบัน​เฉพาะทางด้าน​เด็ก ​ให้บริ​การ​ผู้ป่วยระดับตติยภูมิ อายุ​แรก​เกิด-18 ปี ​และ​ผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจาก​โรงพยาบาลทุก​แห่งทั่วประ​เทศ ​ใน​แต่ละปีมี​ผู้ป่วย​เด็กมารับบริ​การ ที่​แผนก​ผู้ป่วยนอกประมาณ 350,000 ราย ​ผู้ป่วย​ในปีละประมาณ 15,000 ราย สถาบันสุขภาพ​เด็กฯ ​ได้มุ่งพัฒนางาน​การ​ให้บริ​การทาง​การ​แพทย์​แบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ​และมาตรฐานสากล ตลอดจนพัฒนางานด้านต่าง ๆ สู่​ความ​เป็น​เลิศอย่างต่อ​เนื่อง ​โดยมีน​โยบายพัฒนา​การ​ให้บริ​การของสถาบันฯ สู่​โรงพยาบาลที่​เป็นมิตรกับ​เด็ก(Children Friendly Hospital) ด้วย​การนำ​แนวคิดจาก​โครง​การศูนย์​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ​เพื่อ​เด็กป่วย​ใน​โรงพยาบาล ตามพระราชดำริสม​เด็จพระ​เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ​เป็นต้น​แบบ จัด​ให้มีระบบ​การบริหารจัด​การ ​การประสานงาน ​การ​แลก​เปลี่ยน​เรียนรู้ร่วมกับภาคี​เครือข่ายสุขภาพ ​การศึกษาวิจัยรวม​ทั้งจัดกิจกรรม/​โครง​การต่าง ๆ อย่าง​เป็นรูปธรรม อาทิ ​โครง​การจิตอาสา ​โครง​การห้องสมุด​เคลื่อนที่ (รถ​เข็นนิทาน) ​โครง​การบัน​ได​เล่า​เรื่อง​และ​เพดานพาฝัน ​โครง​การ​เตียงสายสัมพันธ์​แม่ลูก ​โครง​การ​เครื่องช่วยพยุงฝึก​เดินสำหรับ​ผู้ป่วย​เด็ก ​และ​โครง​การบ้านพักพิงสำหรับครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก ​เป็นต้น ​เพื่อ​ใช้สำหรับ​เป็นข้อมูล​เชิงน​โยบาย​และ​เป็น​แนวทางปฏิบัติ​ใน​การ​ให้​การดู​แลรักษา​เด็ก​ในระดับประ​เทศ

“​โครง​การบ้านพักพิงสำหรับครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก” ​เป็นหนึ่ง​ใน​โครง​การดังกล่าว ​โดยมีวัตถุประสงค์​เพื่อ​ให้บริ​การบ้านพักชั่วคราว​แก่ครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็กที่ยาก​ไร้ ​ให้มีที่พักที่​ได้มาตรฐาน​โดย​ไม่​เสียค่า​ใช้จ่าย ​เนื่องจาก​ผู้ป่วย​เด็กที่อยู่​ในกระบวน​การรักษาอย่างต่อ​เนื่องต้องอยู่ห่าง​ไกลครอบครัว ​เข้ามาสู่สิ่ง​แวดล้อม​ใหม่ที่​ไม่คุ้น​เคย ​โดย​เฉพาะ​เด็กทารก สถาบันสุขภาพ​เด็กฯ ​ได้ตระหนัก​ถึงปัญหาต่าง ๆที่อาจ​เกิดขึ้นกับ​ผู้ป่วย​เด็กที่นอนรักษาตัว​ใน​โรงพยาบาล ​เนื่องจาก​ผู้ป่วย​เด็กควร​ได้รับ​การดู​แล​ในทุกมิติ ​ทั้งร่างกาย จิต​ใจ ​การ​เรียนรู้​และ​การส่ง​เสริมพัฒนา​การอย่างต่อ​เนื่อง ​จึงขอรับ​การสนับสนุนงบประมาณ​การก่อสร้างรวม​ทั้งค่า​ใช้จ่าย​ใน​การบริหารจัด​การจากมูลนิธิ​โรนัลด์ ​แมค​โดนัลด์ ​เฮาส์ สร้างบ้านพักพิง​โรนัลด์ ​แมค​โดนัลด์ ​เฮาส์ สำหรับครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก​ใน​โรงพยาบาล บริ​เวณชั้น 6 ตึกมหิตลาธิ​เบศร สถาบันสุขภาพ​เด็ก​แห่งชาติมหาราชินี ลักษณะ​เป็นห้องนอน​เดี่ยว 2 ห้อง ห้องนอนรวม ​แยกชาย 3 ​เตียง หญิง 15 ​เตียง พร้อมสิ่งอำนวย​ความสะดวก บรรยากาศอบอุ่น ผ่อนคลาย ปลอดภัย มี​เจ้าหน้าที่ประจำบ้าน 4 คน ​ให้คำ​แนะนำ​และอำนวย​ความสะดวก ครอบครัว​ผู้ป่วยสามารถ​ใช้บริ​การต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดลำดับ ดังนี้ 1.​ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่​ได้​ไม่​เกิน 24 ชั่ว​โมง 2.​ผู้ป่วยหนัก​ในห้อง ICU 3.​ผู้ป่วย​ในIPD 4. ​ผู้ป่วยนอก OPD ​ทั้งนี้ บ้านดังกล่าว​เป็นบ้านหลัง​แรกของภาคพื้น​เอ​เชีย ​แปซิฟิก ตะวันออกกลาง​และ​แอฟริกา​ใต้​และ​เป็นหลังที่ 10 ของ​โลก

“​โครง​การบ้านพักพิงสำหรับครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก” ​เป็น​โครง​การที่​เติม​เต็ม​ความสุข​ใน​การมอบ​โอกาส​ให้พ่อ​แม่ลูก​ได้อยู่ร่วมกัน​ในภาวะวิกฤต ก่อ​ให้​เกิดวัฒนธรรม​การดู​แล​ผู้ป่วย​เด็ก​แบบองค์รวม ด้วยหัว​ใจของ​ความ​เป็นมนุษย์ (Humanized Care) อย่าง​แท้จริง คาดว่าหลัง​การ​เปิด​ให้บริ​การสามารถ​ให้​ความช่วย​เหลือครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก​ได้กว่า 4,000 ครอบครัวต่อปี ​โดยกรม​การ​แพทย์จะผลักดัน​โครง​การนี้​ให้​เป็นต้น​แบบ​การ​ให้บริ​การที่​ใช้หลักคำนึง​ถึง​การ​เยียวยาจิต​ใจ​ทั้ง​ผู้ป่วย​และครอบครัวทุก​โรงพยาบาล​ในประ​เทศต่อ​ไป

ryt9.com 6 มิย 2554

7337
 อย.ยันการขึ้นทะเบียนตำรับยาเอดส์ล่าช้า ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แจงอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอ แต่เอกสารที่ยื่นยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของยา อย.จึงยังไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
       
       นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย และ NGO ได้ให้ข่าวทางหนังสือพิมพ์กรณีการขึ้นทะเบียนยารักษา โรคเอดส์ 3 ชนิด ได้แก่ ยาเอฟฟาไวเร้น (Efavirenz) ยาทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir) และยาจีพีโอเวียร์ เอส 7 (GPO vir-S7) โดยอ้างว่า การขึ้นทะเบียนตำรับยาดังกล่าวล่าช้านั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า การขึ้นทะเบียนตำรับยา ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อ อย.พร้อมเอกสารวิชาการหากเอกสารครบถ้วนแล้ว คำขอจึงจะได้รับการประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย จากผู้เชี่ยวชาญหรืออนุกรรมการจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากผลการพิจารณาพบว่า ยาที่มาขอขึ้นทะเบียนตำรับยา กับ อย. เป็นยาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคตามข้อบ่งใช้ อย.จึงจะรับขึ้นทะเบียนตำรับยา และออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา
       
       สำหรับยาเอฟฟาไวเรนซ์ ยาทีโนโฟเวียร์ จัดเป็นยาสามัญ แต่ยาจีพีโอเวียร์ เอส 7 จัดเป็นยาใหม่ ซึ่งยาทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ อย.จึงจัดให้มีช่องทางเร่งด่วนสำหรับการขึ้นทะเบียน ซึ่งหากเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง สามารถบ่งชี้ถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ระยะเวลาในการดำเนินการขึ้นทะเบียนตำรับยาจะมีกำหนดเวลา ประมาณ 80 วัน สำหรับยาสามัญ และประมาณ 180 วันสำหรับยาใหม่
       
       ส่วนข้อสงสัยกรณีบุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีผลประโยชน์ทับซ้อนส่งผลให้การขึ้นทะเบียนล่าช้านั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคำขอจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในตำรับยานั้น นอกจากนี้ ประเด็นการเปิดเผยรายชื่อยาที่อยู่ระหว่างการยื่นขอจดทะเบียน และขั้นตอนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของยาชื่อสามัญต่อสาธารณชน อย.ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นความลับทางกฎหมาย หากมีข้อสงสัย อย.ยินดีชี้แจงเป็นรายกรณี
       
       นพ.พงศ์พันธ์ กล่าวว่า อย.ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นลำดับแรก และไม่ได้นิ่งนอนใจต่อการเข้าถึงยา และการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ ขอให้ผู้บริโภคไว้วางใจการดำเนินงานของ อย.โดยยาทั้ง 3 ชนิด เป็นยาที่องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน แต่ อย.ยังไม่สามารถอนุมัติทะเบียนตำรับยาได้ เนื่องจากตำรับยาเอฟฟาไวเรนซ์ และ ยาทีโนโฟเวียร์ ยังขาดข้อมูลการศึกษาชีวสมมูล ซึ่งเป็นข้อมูลจำเป็น ในการยืนยันประสิทธิผลในการรักษาและความปลอดภัยเทียบเท่ายาต้นแบบ สำหรับยาจีพีโอเวียร์ เอส 7 ยังมีประเด็นการศึกษาระดับของตัวยาสำคัญในเลือด เมื่อเทียบกับยาต้นแบบแล้วยังแตกต่างกันอยู่ ซึ่งอาจเป็นปัญหา เรื่องความปลอดภัยของสูตรตำรับ ทั้งนี้ หาก อย.ได้รับเอกสารยืนยันคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย จึงจะอนุญาตการขึ้นทะเบียนตำรับยาให้ได้ สำหรับในเรื่องนี้ อย.ได้ชี้แจงเหตุผลและรายละเอียดให้มูลนิธิคุ้มครองสิทธิ ด้านเอดส์ทราบแล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีความคืบหน้า อย.จะแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 มิถุนายน 2554

7338
จะแก้ปัญหาสาธารณสุขอย่างไร?

  ปัญหาในระบบสาธารณสุข มีปัญหาสำคัญที่สมควรจะได้รับการแก้ไขด่วนอยู่ 2 ปัญหาคือ
1.กระทรวงสาธารณสุขขาดเอกภาพในการทำงาน
2.ระบบประกันสุขภาพที่ไม่เป็นเอกภาพและไม่ได้มาตรฐาน

จะได้กล่าวถึงรายละเอียดและการแก้ปัญหาใหญ่ทั้ง 2 ปัญหาดังต่อไปนี้
1.กระทรวงสาธารณสุขขาดเอกภาพในการทำงาน
1.1 กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถของบประมาณ วางแผนงานได้เอง
เนื่องจากงบประมาณต้องคอยรับจากสปสช. และสปสช.จะกำหนดโครงการต่างๆอีก ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถบริหารจัดการด้านการเงินและการทำงานได้
การแก้ไข ต้องรวมสช. สปสช. สสส. สรพ. และอื่นๆ เข้ามาเป็นหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงระบบการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว
ต้องแก้ไขการจัดสรรงบประมาณดังนี้
 1.1.1 งบประมาณสำหรับดำเนินการก่อสร้าง พัฒนา ซ่อมแซม และจัดหาอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี
 1.1.2 งบประมาณสำหรับเงินเดือน ค่าตอบแทน การทำงานปกติ และงานนอกเวลาราชการของบุคลากรทุกระดับ
 1.1.3 งบประมาณสำหรับวัสดุ ครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ ของแต่ละหน่วยงาน
 1.1.4 งบประมาณสำหรับการดำเนินงานในแต่ละแผนงานของแต่ละกรมกอง หรือหน่วยงาน
1.2 กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถจัดสรรอัตรากำลังและเงินค่าตอบแทนได้เอง
   เนื่องจากต้องอาศัยก.พ.เป็นผู้กำหนดตำแหน่งและอัตรากำลัง และ “ไม่เพิ่มอัตรากำลัง” ทั้งๆที่ภาระงานในการดูแลรักษาประชาชนที่มีจำนวนมากขึ้น เจ็บป่วยมากขึ้น มีสิทธิรับการรักษามากขึ้น ในขณะที่บุคลากรลาอออกมากขึ้น
การแก้ไข ต้องแยกการบริหารบุคคลของกระทรวงสาธารณสุขออกจากก.พ.เพื่อจัดอัตรากำลังให้เหมาะกับภาระงาน และแก้ไขอัตราค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบในการทำงานที่มีคุณภาพสูง (คือรับผิดชอบชีวิต)  เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรยังคงทำงานเพื่อประชาชนอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ตามรายละเอียดดังนี้คือ
1.2.1 การจัดอัตรากำลังและค่าตอบแทน โดยการจัดสรรอัตรากำลังตามภาระงาน และตามกลุ่มความเชี่ยวชาญ เพื่อให้มีแพทย์หมุนเวียนช่วยกันทำงานในสาขาเดียวกันได้
1.2.2 การจัดสรรอัตรากำลังของพยาบาลให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรับภาระให้การพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีมาตรฐาน
1.2.3 การจัดสรรอัตรากำลังของบุคลากรทั้งสายวิชาชีพและกลุ่มสนับสนุนบริการ ให้เหมาะสมตามภาระงานที่แท้จริง ไม่ใช่ขาดแคลนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
1.3  กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขได้เอง ทั้งนี้เนื่องจากโรงพยาบาลขาดเงินงบประมาณ ทำให้ขาดแคลน เตียง อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ และขาดแคลนบุคลากรด้วย
การแก้ไข 1.3.1 จัดระบบการบริการสาธารณสุขใหม่  เพิ่มมาตรการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันอุบัติเหตุและความเจ็บป่วย และจัดระเบียบการบริการตามลำดับจาก บริการปฐมภูมิ ไปยังทุติยภูมิและ ตติยภูมิ โดยจัดระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
ให้สำนักงานรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (สรพ.).เป็นหน่วยหนึ่งในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลอย่างแท้จริง มิใช่ผักชีโรยหน้าอย่างปัจจุบัน
1.3.2 พัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐานสาธารณสุข โดยการจัดมาตรฐานระดับการบริการระหว่างโรงพยาบาลดังนี้คือ
  -ให้โรงพยาบาลชุมชน เป็นโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ ให้มีแพทย์ประจำอย่างน้อย 3 คน จะได้อยู่เวรกลางคืน 1 เว้น 2 วัน ในขณะที่ต้องทำงานกลางวันด้วย และจัดให้มีรถพยาบาลเพื่อส่งผู้ป่วยต่อระหว่างโรงพยาบาล
-ให้โรงพยาบาลทั่วไป มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลทุกกลุ่มเชี่ยวชาญอย่างน้อยกลุ่มละ 3 คน จัดให้มีรถพยาบาลประจำแต่ละโรงพยาบาล เพื่อให้การขนส่งผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลรวดเร็วและปลอดภัย
-โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ไม่ควรเรียกห้วนๆว่าโรงพยาบาลศูนย์ ทำให้ลืมความหมายที่แท้จริงของโรงพยาบาลระดับนี้ ที่ต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะ ที่เรียกว่า “อภิสาขา” ไม่ใช่ “อนุสาขา” เนื่องจากเป็นสาขาที่ “ต่อยอดจากสาขาทั่วไป”  และต้องจัดสรรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในอภิสาขานั้นๆ สาขาละอย่างน้อย 3 คน เพื่อผลัดเปลี่ยนกันรับภาระงานกลางคืนได้ (อยู่เวร 1 คืนเว้น 2 คืน โดยที่กลางวันก็ต้องทำงานด้วย)
 - การกำกับมาตรฐานการบริการทางการแพทย์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาลควรมีแพทย์ประจำทำงาน ไม่ใช่เรียกว่าเป็นโรงพยาบาล แต่ไม่มีบุคลากรที่จำเป็น และขาดอุปกรณ์การแพทย์ที่เหมาะสม ดังที่เป็นอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลตำบลในขณะนี้
1.4. ประชาชนเจ็บป่วยมากขึ้นและใช้บริการการรักษาพยาบาลมากขึ้น เนื่องจากประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การแก้ไข ส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการสร้างสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย เพื่อลดอัตราการป่วย และกำหนดให้ประชาชนทั่วไปต้องร่วมจ่ายเงินในการไปรับการรักษาพยาบาลด้วย ยกเว้นผู้พิการ ยากจน ทหารผ่านศึก และเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของการรักษา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพให้เป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ
1.5.กระทรวงสาธารณสุขยังขาดงบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  การแก้ไข  จัดงบประมาณและกิจกรรมเพื่องานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  โดยฟื้นฟูงานสุขศึกษาเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พัฒนาอสม.ให้มีความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และส่งเสริมการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับเด็กและประชาชนทั่วไป เป็นการให้ฟรี เพราะการให้วัคซีน เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าค่ารักษาโรคแน่นอน เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
2. ปัญหาระบบการประกันสุขภาพที่ไม่มีเอกภาพ และไม่มีมาตรฐาน ปัจจุบันในประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบคือ
2.1 ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 หรือเรียกว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นระบบที่อวดอ้างว่าเป็น “การประกันสุขภาพถ้วนหน้า” แต่ที่จริงแล้ว ให้การประกันสุขภาพแก่ประชาชนเพียง 48 ล้านคน ในจำนวนประชาชนไทยทั้งสิ้น 65 ล้านคน และอวดอ้างว่ารักษาทุกโรค แต่สปสช.ก็ยังโฆษณาว่า “เพิ่มสิทธิประโยชน์” ในการรักษาโรคบางอย่างเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงว่า ไม่ได้รักษา “ทุกโรค” ดังที่กล่าวอ้าง
2.2 ระบบประกันสังคม ให้การประกันสุขภาพในแบบที่ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อจะได้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วย แต่ไม่ครอบคลุมทุกโรค
2.3 ระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแก่ข้าราชการและครอบครัว เป็นการให้บริการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย โดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน จ่ายค่ารักษาแทนข้าราชการ ในขณะที่ข้าราชการก็มีส่วน “จ่ายเงิน” ร่วมจากการได้รับเงินเดือนต่ำกว่าภาคเอกชน (ถูกลดค่าจ้าง)
นอกจากนั้นก็อาจจะมีการประกันโดยความสมัครใจในภาคเอกชนอีกบางส่วน
  ซึ่งการประกันสุขภาพใน 3 ระบบนี้ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนส่วนใหญ่ดังนี้คือ
2.1 ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับรักษาประชาชนเพียง 48 ล้านคน โดยมีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เป็นผู้บริหารงาน โดยได้รับงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าเหมาจ่ายรายหัวในการรักษาประชาชน แต่การโฆษณาชวนเชื่อของสปสช.ที่ไม่เป็นความจริงหลายอย่างเช่น “รักษาทุกโรค” หรือ “ประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ก็ไม่เป็นความจริง กล่าวคือ สปสช. เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษาเพิ่มได้ทุกปี (แสดงว่า ไม่รักษาทุกโรคตั้งแต่ต้น)  หรือบอกว่าประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ไม่”ถ้วนหน้าจริง” กล่าวคือรักษาประชาชนแค่ 48 ล้านคน ไม่”ถ้วน” ทั่วทุกคน และให้สิทธิ์การรักษาแก่ประชาชน 48 ล้านคนทั้งจนและไม่จน ซึ่งทำให้ต้องจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินมากเกินไปแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ในการรักษาประชาชน และจะทำให้มีภาระการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกมาก ถ้าจะให้โรงพยาบาลทำการรักษาประชาชนอย่างมีมาตรฐาน
แต่การโฆษณาชวนเชื่อของสปสช.ทำให้ประชาชนมา “ทวงสิทธิ์” การรักษาตามคำโฆษณา ในขณะที่โรงพยาบาลได้รับงบประมาณไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายในการรักษาประชาชนที่เกิดขึ้นจริง ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถรักษาคุณภาพมาตรฐานการแพทย์ได้ ประชาชนเสี่ยงอันตราย และกล่าวหาโรงพยาบาลที่ให้การรักษามากขึ้น   
ในขณะเดียวกันกับที่สปสช.ส่งเงินให้โรงพยาบาลไม่ครบตามงบเหมาจ่ายรายหัว แต่สปสช.กลับนำเงินที่ควรจะส่งมอบให้โรงพยาบาลเป็นค่าเหมาจ่ายรายหัว ไปทำโครงการอื่นๆ แล้วใช้เงินงบประมาณนี้ มาใช้จ่ายตามโครงการที่สปสช.คิดขึ้นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องแต่สปสช.ก็ดำเนินการเช่นนี้มาทุกปี
2.2 ระบบประกันสังคม โดยกองทุนประกันสังคมจ่ายงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวให้โรงพยาบาล แต่จำกัดขอบเขตในการรักษา ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในเมื่อเกิดปัญหาเจ็บป่วยบางโรค และการจ่ายเงินเหมาจ่ายล่วงหน้า อาจทำให้โรงพยาบาลบางแห่ง ไม่ให้การรักษาอย่างเต็มที่ เช่น ไม่ส่งผู้ป่วยอาการหนักไปรักษายังโรงพยาบาลเฉพาะทาง เนื่องจากจะต้องตามไปจ่ายเงินให้โรงพยาบาลที่ส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อ หรือ เมื่อต้องรักษาต่อเนื่องหลังการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับความสะดวกในการต้องย้ายโรงพยาบาลไปรักษาตามสิทธิ์ที่ลงทะเบียนไว้ และยังมีปัญหาปลีกย่อยอีกมากมาย
2.3 ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เป็นระบบที่ผู้ได้รับสิทธิในการรักษาจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีมีมาตรฐาน เนื่องจากแพทย์ผู้รักษาสามารถใช้ดุลพินิจในการสั่งการรักษาและสั่งยาได้ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่มีข้อจำกัดในการสั่งยาและการรักษา แต่กรมบัญชีกลางเริ่มมองเห็นว่า ค่าใช้จ่ายในระบบการรักษาข้าราชการเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้กรมบัญชีกลางออกระเบียบจำกัดการใช้ยา และจำกัดการรักษาและสิทธิประโยชน์มากขึ้น มีการกล่าวหาว่าข้าราชการหรือแพทย์ทุจริตในการเบิกยา จนถึงกับกำหนดการเบิกจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยใน(นอนในโรงพยาบาล) แบบสปสช.ทำให้โรงพยาบาลมีตัวเลขการขาดทุนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
  ฉะนั้น ต้องแก้ไขทบทวนการประกันสุขภาพ ทั้ง 3 ระบบว่า จะต้องแก้ไขระบบทั้ง 3 นี้อย่างไร เพื่อช่วยให้การเงินของโรงพยาบาลไม่ติดลบ โดยทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐาน และได้รับความปลอดภัยดี  โดยที่ไม่เป็นภาระแก่งบประมาณแผ่นดินมากเกินไป โดยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดูแลรักษาสุขภาพ และเกิดความเป็นธรรมต่อประชาชน และให้โรงพยาบาลได้รับการพัฒนาให้ดีมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง และประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
       พรรคการเมืองไหนมีนโยบายเช่นนี้บ้าง? จะได้เลือกเข้ามาบริหารบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาในระบบ บริการสาธารณสุขต่อไปเพื่อให้ “สาธารณชน”ชาวไทย มีความสุขถ้วนหน้าโดยทั่วทุกคน

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.
2 มิ.ย.54.

7339
พบไข้หวัดใหญ่ 2009 แพร่ระบาดในการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในโคราช แนะให้น้องใหม่ที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่หยุดพักการเรียน งดร่วมกิจกรรม จนกว่าจะหาย
   
       นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แจ้งว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ มีกิจกรรมการรับน้องใหม่ที่ต้องให้นักศึกษาใหม่ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมนี้ และจากการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุข พบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จากกิจกรรมรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อเร็วๆ นี้ โดยพบผู้มีอาการป่วยไข้หวัดใหญ่ 300 คน ในจำนวนนี้ ยืนยันเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 จำนวน 138 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต
       
       โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เกิดจากเชื้อไวรัสหลังได้รับเชื้อ 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ทั่วๆ ไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย ผู้ป่วยร้อยละ 90 มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5-7 วัน แต่บางรายที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคอ้วน ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงมีครรภ์ อาจมีอาการ ปอดอักเสบ หายใจเร็ว เหนื่อย หอบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีอาการดังกล่าว ให้รีบพบแพทย์
       
       สำหรับแนวทางป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาอื่นๆ ควรมีการคัดกรองนักศึกษาป่วยที่มีอาการ ไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ ออกจากนักศึกษาปกติ และให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านถ้ามีอาการเหนื่อย หอบ ร่วมด้วย ให้พบแพทย์สำหรับช่วงมีกิจกรรมรับน้องใหม่ สถานศึกษาต้องให้นักศึกษาใหม่ งดร่วมกิจกรรมดังกล่าว แต่ถ้าป่วยเล็กน้อยพอร่วมกิจกรรมได้ และผู้ป่วยประสงค์ร่วมกิจกรรม ต้องป้องกันตนเองไม่ให้เป็นพาหะแพร่โรคไปสู่ผู้อื่นด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ทั้งนี้ สถานที่จัดกิจกรรมรับน้อง ต้องจัดให้มีจุดล้างมือ พร้อม สบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ที่มากพอ และสะดวกในการล้างมือ รวมทั้งจัดหาหน้ากากอนามัยมาบริการหากต้องรับประทานอาหารร่วมกันควรมีช้อนกลาง จุดบริการน้ำดื่ม ต้องใช้แก้วชนิดใช้แล้วทิ้ง ไม่ใช้แก้วเดียวซ้ำๆ
       
       นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม - 14 พฤษภาคม 2554 มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 10,654 ราย พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 จำนวน 481 ราย เสียชีวิต 5 ราย ดังนั้น จึงขอย้ำให้สถานศึกษาทุกแห่งกรุณากวดขันคัดกรอง นักศึกษาที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่งดร่วมกิจกรรม รับน้องและพักรักษาตัวที่บ้านหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 มิถุนายน 2554

7340
กระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ คือ ยาพาริล 5 และพาริล 20

กระทรวงสาธารณสุข ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ คือ ยาพาริล 5 และพาริล 20   เนื่องจากคุณภาพยาตกเกณฑ์มาตรฐาน   มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เป็นต้นมา   หากพบยังมีในท้องตลาด จัดเข้าข่ายยาปลอม มีโทษจำคุก 2-5ปี ปรับไม่เกิน 4,000-20,000 บาท   

วันนี้(5 มิถุนายน 2554)นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ 2 ตัว คือยาพาริล 5 ( Paril 5) เลขทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1 C 173/51   และยาพาริล 20 ( Paril 20) เลขทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1 C 174/51 เนื่องจากผลการติดตามเฝ้าระวังคุณภาพยาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจพบว่า ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ มีปริมาณตัวยาสำคัญคือ อีนาลาพริล มาลีเอท ( Enalapril maleate ) ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เกินกว่าร้อยละยี่สิบ เข้าข่ายเป็นยาปลอมตามมาตรา 73 (5) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 จึงประกาศเพิกถอนทะเบียน ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือ นำเข้ามาในประเทศ ทั้งนี้เพื่อปกป้องคนไทยให้ได้รับยาที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย   มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เป็นต้นไป

นายแพทย์สุพรรณ กล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ทำการตรวจสอบการนำเข้ายาที่ ด่านอาหารและยาท่าเรือกรุงเทพ และเก็บตัวอย่างยาพาริล 5 รุ่นการผลิตที่ที 0201( T 0201) ผลิตจากบริษัทยาในประเทศอินเดียนำเข้าโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตคือ แอตแลนต้า เมดิคแคร์ จำกัดเลขที่ 99/28-30 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า มีปริมาณตัวยาอีนาลาพริล มาลีเอท ซึ่งเป็นตัวยาสำคัญในยาดังกล่าว อยู่ในปริมาณร้อยละ 51.3 ของปริมาณที่แจ้งในฉลาก ซึ่งต่ำกว่าปริมาณมาตรฐานที่อ้างอิงไว้ในทะเบียนตำรับยาคือร้อยละ 90 -110 และยังมีสารประกอบอื่นๆ( Related compounds) ผิดมาตรฐาน   

นอกจากนี้ยังตรวจพบอีกว่ายาพาริล 20 รุ่นการผลิตที่ ที 0302 ( T0302 ) ผลิตจากบริษัทในประเทศอินเดียและนำเข้าโดยบริษัทเดียวกัน   คุณภาพยาไม่เป็นไปไปตามมาตรฐาน กล่าวคือผลการตรวจวิเคราะห์พบว่ามีปริมาณตัวยาสำคัญคือ อีนาลาพริล มาลีเอท เพียงร้อยละ 53.8 ของประมาณที่แจ้งไว้บนฉลากยา คือร้อยละ 90-110 จัดเข้าข่ายเป็นยาตกมาตรฐาน นอกจากจะทำให้การรักษาไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยอีกด้วย

นายแพทย์สุพรรณกล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ทำหนังสือการเพิกถอนทะเบียนยาทั้ง 2   ตำรับ แจ้งไปยังบริษัทผู้นำเข้ายา ให้เก็บยาออกจากท้องตลาดทั้งหมด และแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศให้ตรวจสอบเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง หากพบมีร้านขายยาใดจำหน่าย จะจัดเข้าข่ายขายยาปลอม ให้ดำเนินการตามกฎหมาย มีโทษจำคุก 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-10,000บาท

กรุงเทพธุรกิจ
5 มิถุนายน 2554

7341
 หน่วยงานวิจัยมะเร็งขององค์การอนามัยโลกระบุการใช้โทรศัพท์มือถือ "อาจจะก่อให้เกิดมะเร็ง" เพิ่มความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมองได้ ผู้เชี่ยวชาญเตือนผู้ใช้ลดโอกาสเสี่ยงด้วยการใช้อุปกรณ์เสริม  อุตสาหกรรมมือถือยันแค่ "อาจจะ" แต่ไม่ได้หมายความว่ามือถือจะเป็นสาเหตุของมะเร็ง
 คณะนักวิทยาศาสตร์ 31 คนจาก 14 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมของสำนักงานเพื่อการค้นคว้าวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (ไอเออาร์ซี) หน่วยงานในสังกัดองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ที่เมืองลียงของฝรั่งเศส เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และมีแถลงการณ์ว่า การพิจารณาทบทวนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่มีอยู่ขณะนี้บ่งชี้ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือสมควรถูกจำแนกระดับความเสี่ยงว่า "อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้"
 "หลังจากได้ทบทวนหลักฐานสำคัญทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานจัดจำแนกให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นความถี่วิทยุอยู่ในประเภทที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์" โจนาธาน ซาเมต ประธานไอเออาร์ซี กล่าวพร้อมกับขยายความว่า หลักฐานบางอย่างแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการใช้โทรศัพท์มือถือ กับการเพิ่มความเสี่ยงของเนื้องอกเกลีย หรือมะเร็งสมองชนิดหนึ่ง
 นักวิทยาศาสตร์กล่าวกันว่า การจำแนกประเภทดังกล่าว ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความเสี่ยงต่อการก่อมะเร็งในระดับเดียวกับตะกั่ว, ยาสลบ และกาแฟ อาจทำให้องค์กรดูแลด้านสุขภาพของสหประชาชาติแห่งนี้ต้องทบทวนคำแนะนำต่อการใช้โทรศัพท์มือถือเสียใหม่ เนื่องจากที่ผ่านมาดับเบิลยูเอชโอเคยกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานแน่นหนาที่เชื่อมโยงว่าการใช้โทรศัพท์มือถือก่อให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ได้
 ไอเออาร์ซีจัดจำแนกความเสี่ยงของมะเร็งในเชิงวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ระดับ ได้แก่ ก่อให้เกิดมะเร็งได้, น่าจะก่อให้เกิดมะเร็งได้, อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้, ไม่อาจจัดจำแนกได้ หรือไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง
 นับแต่โทรศัพท์มือถือปรากฏขึ้นครั้งแรกเมื่อต้นทศวรรษ 1980 จำนวนผู้ใช้ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีผู้ใช้ถึง 5,000 ล้านคน อุปกรณ์ชนิดนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันและสำหรับคนจำนวนมาก นอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารพูดคุย โทรศัพท์มือถือยังใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมต่อออนไลน์ และทำให้ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือมั่นใจว่า ภัยคุกคามต่อสุขภาพจะไม่ทำให้ผู้คนเลิกใช้โทรศัพท์มือถือ
 ตรงกันข้าม แมทธิว ธอร์นตัน นักวิเคราะห์จากเอเซียนซีเคียวริตีส์ กล่าวว่า ผู้บริโภคที่เป็นกังวลจะหันไปซื้ออุปกรณ์เสริม เช่น หูฟัง มาใช้กันมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็ง
 ด้านกลุ่มองค์กรในอุตสาหกรรมนี้ซึ่งรอคอยผลสรุปของไอเออาร์ซีอย่างใจจดใจจ่อ ก็ไม่ได้ตื่นเต้นกับผลดังกล่าว ซึ่งพวกเขาย้ำว่า เป็นระดับความเสี่ยงในประเภทเดียวกับอาหารจำพวกผักดองและกาแฟ
 "การจัดจำแนกของไอเออาร์ซีหาได้หมายความว่าโทรศัพท์มือถือทำให้เป็นมะเร็ง" จอห์น วอลส์ จากสมาคมการสื่อสารไร้สาย ซีทีไอเอ ในสหรัฐ กล่าว และว่า คณะทำงานชุดนี้ไม่ได้ทำการค้นคว้าวิจัยใหม่ แต่เป็นทบทวนผลการศึกษาที่แล้วๆ มา นอกจากนี้หน่วยงานอื่นๆ เช่น คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐก็เคยระบุว่า "น้ำหนักของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้เชื่อมโยงโทรศัพท์มือถือว่าก่อปัญหาสุขภาพ"
 คริสโตเฟอร์ ไวลด์ ผู้อำนวยการไอเออาร์ซี ยอมรับว่า ยังต้องมีการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม โดยเฉพาะผลในระยะยาวและการใช้งานอย่างหนัก แต่ระหว่างนี้ ผู้ใช้ก็ควรลดความเสี่ยงเช่นใช้แฮนด์ฟรีหรือส่งข้อความแทน.

ไทยโพสต์ 4 มิถุนายน 2554
.......................................................................................
ไทยพบเด็กป่วยเนื้องอก/มะเร็งสมองมากขึ้น แนะลดใช้มือถือ

  นายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่หน่วยงานวิจัยมะเร็งขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมอง และอาจก่อให้เกิดมะเร็งในสมองได้ ว่า ในประเทศไทยจากการเก็บสถิติผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะความผิดปกติของเยื่อหุ้มสมอง เนื้อร้ายในระบบประสาท และสมองส่วนกลาง รวมทั้งเนื้องอกในสมอง อายุระหว่าง 15- 59 ปี พบในปี 2552 มีผู้เสียชีวิต 1,857 คน และปี 2553 พบป่วยเพิ่มเป็น 2,000 คน สำหรับสถานการณ์ของโรคมะเร็งและเนื้องอกในสมอง พบเด็กป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ยังไม่มีการหาสาเหตุการป่วยที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตามได้มีการเฝ้าระวังเรื่องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และให้ลดเวลาในการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ก่อน เนื่องจากพบว่ามีส่วนในการก่อให้เกิดเนื้องอกในสมองได้ ยิ่งโทรศัพท์เทคโนโลยีสูงก็ยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น
        แพทย์หญิงสายพิน ตั้งครัชต์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรังสีรักษา สถาบันมะเร็ง กล่าวว่า ปกติมะเร็งและเนื้องอกในสมองพบสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ คือ พันธุกรรม โดยร้อยละ 50 ของผู้ป่วยมีความผิดปกติทางยีนถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ พบความผิดปกติได้ตั้งแต่วัย 3 เดือน ถึง 1 ขวบ และอีกสาเหตุคือปัจจัยอื่นๆ อาทิ รังสีต่างๆ และอาหาร ซึ่งที่หลายคนกังวลมากคือ ปัจจัยที่มาในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสัญญาณโทรศัพท์ ไวร์เลส ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ หรือแม้แต่สารกัมมันตภาพรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความผิดปกติของเซลล์สมองเช่นกัน หากสะสมในปริมาณมาก

ASTVผู้จัดการออนไลน์    3 มิถุนายน 2554

7342
กรมอนามัย ชู GREEN & CLEAN ร่วมสภาอุตฯ ลดโลกร้อนเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ตั้งเป้ารีไซเคิลขยะ 84,000 กิโลกรัม รณรงค์ให้บริจาคของเหลือใช้ให้วัดสวนแก้ว ส่วนกล่องนมนำไปผลิตหลังคาเขียวให้มูลนิธิเพื่อนพึ่งพา (ภาฯ) ยามยาก ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาต่อไป
       
               
       
       กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข จัดกิจกรรม 8 หมื่น 4 พันกิโลกรัม รวมใจรีไซเคิลเพื่อพ่อ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน กระตุ้นบุคลากรกรมอนามัยและผู้สนใจร่วมกันลดโลกร้อน ตามแนวทาง GREEN & CLEAN พร้อมบริจาควัสดุและสิ่งของที่ไม่ไช้แล้วให้กับวัดสวนแก้วเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และมอบกล่องนมรีไซเคิลให้กับบริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด เพื่อผลิตแผ่นหลังคา
               
       
       วันนี้ (3 มิ.ย.) ดร.นพ.สมยศ  ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการกิจกรรม 8 หมื่น 4 พันกิโลกรัม รวมใจรีไซเคิลเพื่อพ่อ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ว่า ปี 2554 นี้ กรมอนามัยได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายรีไซเคิลกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว รวมถึงการสร้างจิตสำนึกให้คนไทยรู้ถึงคุณค่าของการคัดแยกบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ตั้งแต่ต้นทางสู่เป้าหมายการคัดแยกและรวบรวมวัสดุรีไซเคิลให้ได้ 84 ล้านกิโลกรัม จากองค์กรที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายรีไซเคิลในระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงเดือนธันวาคม 2554
       
       กรมอนามัยได้ดำเนินการโดยใช้หลัก GREEN & CLEAN ที่รณรงค์ให้โรงพยาบาลและสถานีอนามัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศเป็นหน่วยงานลดโลกร้อน โดยกิจกรรม GREEN จะมีเกณฑ์มาตรฐาน 5 ข้อ คือ 1) G : Garbage  มีการจัดการมูลฝอยและการใช้ประโยชน์จากสิ่งปฏิกูล 2) R : Rest Room พัฒนาส้วมในสถานบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานส้วมสาธารณะไทย (HAS) 3) E : Energy ลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานทดแทนจากชีวภาพและชีวมวลกันมากขึ้น 4) E : Environment จัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนและเอื้อต่อสุชภาพ และ 5) N : Nutrition รณรงค์ให้กินผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง เพื่อลดการใช้สารเคมีและการขนส่ง
               
       
       ดร.นพ.สมยศกล่าวต่อไปว่า สำหรับกลยุทธ์ CLEAN มีเกณฑ์มาตรฐาน 5 ข้อเช่นเดียวกัน คือ 1) C : Communication  สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรของหน่วยงานและประชาชนรับรู้ เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงภาวะโลกร้อน 2) L : Leader เป็นผู้นำดำเนินการลดโลกร้อนในรูปชองหน่วยงานและตนเอง 3) E : Effectiveness วางแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผล 4) A : Activity  ดำเนินกิจกรรม  ลดโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง  และ 5) N : Networking ร่วมมือประสานใจจากทุกภาคส่วน โดยกิจกรรมรีไซเคิลลดโลกร้อนครั้งนี้ กรมอนามัยได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 84,000 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้สามารถดำเนินการรวบรวมได้แล้วประมาณ 26,000 กิโลกรัม
               
       
       ดร.นพ.สมยศกล่าวต่อว่า ภาวะโลกร้อนนอกจากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว  ยังเป็นตัวการทีทำให้เกิดโรคและการเจ็บป่วย การระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ พาหะนำโรคเพิ่มขึ้น เกิดปัญหาด้านการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ อนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงด้านโภชนาการจากการขาดแคลนอาหารและน้ำ ดังนั้น ความเชื่อมโยงของงานด้านสาธารณสุขที่จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในกาลดปัญหาโลกร้อนคือ การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน เน้นการทำสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เพื่อตัดวงจรของโรคตามมาตรฐานด้านสุขอนามัย การจัดการของเสียหรือสิ่งปฏิกูลเพื่อการนำกลับมาใช้ประโยชน์ ซึ่งมีผลทำให้ก๊าซเรือนกระจกจากภาคของเสียลดลง และส่งผลโดยตรงต่อการลดโลกร้อนและสุขภาพอนามัยของคนไทย
               
       
       “ทั้งนี้ ในการจัดกิจกรรม 8 หมื่น 4 พันกิโลกรัม รวมใจรีไซเคิลเพื่อพ่อ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่กรมอนามัยต้องการกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้บุคลากรและผู้ที่สนใจรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน ด้วยการรณรงค์ให้บุคลากรมีส่วนร่วมบริจาควัสดุ สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือชำรุดเสียหายนำมามอบให้กับวัดสวนแก้ว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และในส่วนขยะประเภทกล่องนมก็ได้รวบรวมเพื่อมอบให้กับบริษัทไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด ได้นำกลับไปผลิตเป็นแผ่นหลังคาหรือที่เรียกว่าหลังคาเขียว มอบให้มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในชุมชนต่างๆ ต่อไป” อธิบดีกรมอนามัยกล่าวในที่สุด
        ด้าน  นายพิษณุ แสนประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า   ปัจจุบันขยะในประเทศไทยมีสูงถึงวันละ 4 หมื่นตัน  โดยสามารถนำไปทำรีไซเคิลได้มีเพียงร้อยละ 14 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะทั่วไป รองลงมาคือ ขยะเปียก ส่วนขยะอันตราย จำพวกสารเคมีต่างๆ ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้  ต้องกำจัดทิ้งอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันขยะที่นำไปรีไซเคิลยังน้อยมาก ทั้งๆที่ขยะส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ 2 หน้าที่ใช้งานหมดแล้วยังนำไปใช้ประโยชน์ในผู้พิการทางสายตา โดยนำมาทำเป็นกระดาษที่เป็นอักษรเบลล์ 

ASTVผู้จัดการออนไลน์    3 มิถุนายน 2554

7343
 ปลัด สธ.เผยเบื้องต้นแบ่งเงินค่าตอบแทนบุคลากรให้ รพช.2.8 พันล้านบาท ส่วน รพศ./รพท.ได้ 1.4 พันล้านบาท งวดแรกใช้งบเหลือจ่ายสธ.ก่อน 2.1 พันล้านบาท จ่ายย้อนหลัง 6 เดือน ที่เหลือทยอยจ่าย
       
       นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดสรรเงินค่าตอบแทนให้กับบุคลากรสาธารณสุข ว่า ในวงเงิน 4.2 พันล้านบาที่ได้รับอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้น สธ.ได้ปรึกษาสำนักงบประมาณได้รับข้อเสนอแนะว่าให้นำเงินเหลือจ่ายในส่วนของ สธ.มาจ่ายเป็นค่าตอบแทนก่อน จากนั้นค่อยเบิกจากเงินงบประมาณกลางปี โดยการจ่ายค่าตอบแทนนั้นก้อนแรกจะใช้งบประมาณ 2.1 พันล้านบาท เพื่อจ่ายย้อนหลังเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ ต.ค.2553 - มี.ค.2554 ส่วนที่เหลือจะทยอยจ่าย
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับส่วนแบ่งนั้นให้โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ จำนวน 2.8 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 1.4 พันล้านบาทจ่ายให้กับโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัด  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับกรมบัญชีกลางในการขอจ่ายเงินให้กับบุคลากรตามระเบียบเงินบำรุงแทนระเบียบกระทรวงการคลัง ซึ่งจะเจรจาภายในสัปดาห์นี้
         
        พญ.ประชุมพร  บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า  ในเรื่องการแบ่งเงินค่าตอบแทนเป็นอัตรา 2.8 และ 1.4 พันล้านบาทนั้น  โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นอัตราที่ไม่เหมาะสม และอยากเสนอแนะว่า หากจะจ่ายงบให้ยุติธรรมนั้น หากไม่แบ่งครึ่งควรเอาจำนวนแพทย์ของ รพศ./รพท.มาแล้วเฉลี่ยงบประมาณให้ตามจำนวนจะดีที่สุด


ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 มิถุนายน 2554

7344
สบส.เตรียมออก เกณฑ์มาตรฐานคุม “เครื่องมือ อุปกรณ์ รพ.รัฐ-เอกชน ไม่ผ่านเกณฑ์ไม่ต่อใบอนุญาต
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการร้องเรียนจากผู้ป่วย ว่า ได้เข้าฝากครรภ์กับเอกชนแห่งหนึ่ง โดยตั้งครรภ์ลูกแฝด ซึ่งเมื่ออายุครรภ์ครบ 8 เดือนผู้ป่วยมีอาการน้ำเดินจะคลอด จึงได้เข้ารักษาใน รพ.ดังกล่าว แต่ได้รับแจ้งว่า เครื่องช่วยหายใจไม่พอ และให้ไปคลอดที่ รพ.อื่นแทน โดยไม่ได้ประสานหรือจัดรถพยาบาลนำส่งตัวให้

       นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า โดยหลักการหากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินรพ.จะไม่สามารถปฏิเสธผู้ป่วยได้ หากเครื่องมือไม่เพียงพอ ก็ต้องช่วยเหลือเบื้องต้นตามที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย ซึ่งจะต้องสอบสวนข้อมูลของกรณีดังกล่าวก่อนว่าเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด อาจจะเกิดจาก รพ.กังวลว่าเครื่องมือไม่พอทำให้ผู้ป่วยอาจเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายก็ได้ แต่จะรับเรื่องไว้สอบสวนต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของรพ.ที่ชัดเจน ว่า รพ.จำเป็นต้องมีเตียง ห้องผ่าตัด เครื่องมือ เท่าใด ให้เหมาะสมกับขนาดของรพ. ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ
       
       “ขณะนี้กำลังมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการออกกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดมาตรฐานสถานบริการสาธารณสุข เพื่อกำหนดมาตรฐานของโรงพยาบาลอย่างละเอียด เช่น มาตรฐานห้องผ่าตัดขนาดเท่าใด เครื่องมืออุปกรณ์ช่วยชีวิตจำนวนเท่าไร เป็นต้น และในอนาคตจะมีคณะกรรมการตรวจสอบให้ได้มาตรฐานในการต่อใบอนุญาต หากพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ต่อให้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีกฎดังกล่าวทำให้ควบคุมไม่ได้ โดยจะครอบคลุมทั้งรพ.รัฐและเอกชน ขณะนี้ยอมรับว่า มีปัญหาในเรื่องของอุปกรณ์ โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องช่วยหายใจที่ไม่เพียงพอจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องการเชื่อมโยงระบบการส่งต่อในรพ.ต่างๆ ทำให้ยังเกิดปัญหาที่ผู้ป่วยได้รับการปฏิเสธจากสาเหตุเตียงเต็ม แต่กำลังมีการจัดการระบบโดยการหารือร่วมกันกับรพ.ตำรวจ และ รพ.ราชวิถี ซึ่งเป็นศูนย์ประสานการส่งต่อ เพื่อเชื่อมโยง รพ.ในสังกัดต่างๆ ให้เกิดระบบการจัดการที่ดีเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกในการส่งต่อในอนาคต" นพ.สมชัย กล่าว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 มิถุนายน 2554

7345
นายกศัลยกรรม ยันการศัลยกรรมเสริมจมูกไม่ใช่เหตุป่วยของอดีตนักกีฬาหญิง ยันศัลยกรรมความงามเมืองไทย มีมาตรฐานชัดทำให้เฉพาะผู้ป่วยร่างกายแข็งแรง เว้นแต่มีเชื้ออยู่แล้วก็ลุกลามสู่สมองง่าย เหตุเยื่อจมูกใกล้สมองมากสุด ขณะแพทย์เชี่ยวชาญการติดเชื้อชี้ ไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเริมมีน้อย พบแค่ 2-3 ในล้าน
                 
                 วันนี้ (1 มิ.ย.) นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา แถลงข่าวร่วมกับราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย สมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย กรณีการ น.ส.ชไมพร หรือ น้องบุ๋ม แก้วเกื้อ อายุ 22 ปี อดีตนักกีฬากระโดดสูงทีมชาติไทยและเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ได้ไปทำศัลยกรรมจมูกที่คลินิกแห่งหนึ่งย่านรัชดา มีความเข้าใจว่าการผ่าตัดครั้งนี้ทำให้เกิดการติดเชื้อเริมในสมอง (Herpes Encephalitis)
                 
                 โดย นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า การผ่าตัดเสริมจมูกที่เป็นข่าวนั้นไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อเริม ในสมอง แม้ว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวจะมีการติดเชื้อเริมในสมองจริงก็ตาม โดยขณะที่แพทยสภาได้รับเรื่องนี้จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อสอบสวนทางด้านจริยธรรมแล้ว และกำลังตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลินิกที่ทำการผ่าตัดครั้งนี้เป็นไป ตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ ส่วนข้อเท็จจริงเรื่องโรคนั้นต้องอาศัยหลักวิชาการมายืนยันอีกครั้ง
                 
                 “การผ่าตัดเสริมจมูก ทำตา ผ่าตัดไซนัส หรือผ่าตัดบริเวณใบหน้า โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ วิธีการในกลุ่มเดียวกัน ถือได้ว่าปลอดภัยและยอมรับได้ในสากล อย่างไรก็ตาม การทำหัตถการทุกรูปแบบอาจเกิดผลแทรกซ้อน เฉพาะบริเวณผ่าตัด เช่น อาการบวม หรือติดเชื้อแบคทีเรียได้เป็นปกติ ส่วนการเลือกที่จะทำศัลยกรรมเสริมสวย โดยแพทย์คนใด หรือที่สถานพยาบาลใดหลักการกว้างๆ คือ ให้ดูประวัติ ประสบการณ์ และผลงานของแพทย์เป็นหลัก” นพ.สัมพันธ์ กล่าว
                 
                 รศ.นพ.ภาคภูมิ สุปิยพันธุ์ ประธานราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา ขอยืนยันว่า การผ่าตัดจมูกแม้จะเป็นส่วนที่ใกล้สมองจริงแต่ก็ไม่เคยพบการติดเชื้อลักษณะ นี้ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส อยู่แล้วก็เป็นไปได้ว่าจะมีการลุกลามผ่านเยื่อบุโพรงจมูกทะลุเข้าสู่สมองได้ ซึ่ง หู จมูก มีระยะใกล้สมองที่สุด ดังนั้น หากมีเชื้อก็มีโอกาสแพร่สู่สมองได้ง่ายกว่าที่อื่น
                 
                 พ.ต.ต.นพ.จิรายุ วิสูตรานุกูล อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ รพ.ตำรวจ กล่าวว่า เชื้อเริมเป็นเชื้อไวรัส เรียกว่า เฮอพิส เอ็นเซฟาไลติส (Herpes Encephalitis ) มักเกิดขึ้นบริเวณ ปากและอวัยวะเพศ โดยในช่วงแรกไม่ปรากฏอาการเชื้อหลบซ่อนในร่างกาย เมื่อร่างกายภูมิต้านทานลดลง เชื้อไวรัสอาจกำเริบขึ้นและก่อให้เกิดโรคขึ้นมาได้ ส่วนระยะการฟักตัวนั้นถ้าเป็นชนิดเฉียบพลัน จะมีระยะฟักตัว 1-2 สัปดาห์ และมักไม่ปรากฏอาการแสดงภายนอกให้เห็น ในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีผู้ป่วยไข้สมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเริม แต่ในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา พบว่า มีผู้ป่วยน้อยมาก เฉลี่ย 2-3รายต่อประชากรล้านคนเท่านั้น ขณะที่ พล.ต.ต.นพ.อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ กล่าวว่า สมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย กล่าวว่า การทำศัลยกรรมเพื่อการเสริมความงามในส่วนของจมูกนั้น โดยทั่วไปนั้น ไม่เคยมีรายงานทางการแพทย์ว่า จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้สมองอักเสบได้ เพราะโดยมาตรฐานการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความงามนั้น ก่อนจะลงมือผ่าตัด แพทย์จะต้องพิจารณาสุขภาพของผู้ที่ต้องการผ่าตัดก่อนว่า มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์หรือไม่ เช่น บริเวณจมูกไม่มีรอยแผล ใบหน้าไม่มีภาวะซีด หรือไม่มีความผิดปกติอื่นๆ ทั้งนี้ สำหรับมาตรฐานการผ่าตัดศัลยกรรมโดยทั่วไปนั้น หากเป็นการผ่าตัดเล็ก เช่น การเสริมจมูก แพทย์จะให้ยาชาก่อนผ่าตัด ถ้าประเมินแล้วว่าผู้ขอรับบริการมีความพร้อมก็ลงมือทันที ซึ่งต่างจากการผ่าตัดใหญ่เพื่อรักษาโรคเช่นช่องท้อง จำเป็นต้องให้ยาสลบ ดังนั้นกรณีนี้จำเป็นต้องศึกษาภาวะความดันเลือดอย่างละเอียดก่อน
                 
                 แต่ในผู้ป่วยบางรายไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคติดเชื้อที่ อันตรายอย่างเริม เพราะเชื้อนี้ก็ไม่แสดงอาการ และขณะป่วยก็ผ่าตัดพอดี ก็อาจเป็นไปได้ว่า เชื้อจะลุกลามเข้าสู่สมอง ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุการป่วยของสตรีรายดังกล่าว แพทย์จำเป็นต้องเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันผล ที่แม่นยำ” พล.ต.ต.นพ.อรรถพันธ์ กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 มิถุนายน 2554

7346
ทหารหนุ่มยศสิบเอก เครียดป่วยโรคมาลาเรีย คิดสั้นกระโดดอาคาร รพ.พหลพลพยุหเสนา ร่างกระแทกพื้นดับสยอง กรามหัก ฟันหลุด หัวเข่าบิดเบี้ยวทั้ง 2 ข้าง...

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 31 พ.ค. พ.ต.ท.วัชรากร เนียมหอม พงส.(สบ 2) สภ.เมืองกาญจนบุรี รับแจ้งจากโรงพยาบาลพหลหลพยุหเสนา มีคนไข้กระโดดตึกฆ่าตัวตาย จึงรายงานผู้บังคับบัญชาแล้วพร้อมด้วย พ.ต.อ.สมเดช ฐิตวัฒนะสกุล ผกก.สภ.เมืองกาญจนบุรี เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและกู้ภัยมูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ไปตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณระเบียงชั้น 2 ของอาคารสมเด็จญาณสังวรฯ ภายในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา พบศพชายสวมชุดคนไข้นอนคว่ำ สภาพกรามล่างหัก ฟันหลุด หัวเข่าผิดรูปทั้ง 2 ข้าง คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง ต่อมาทราบชื่อคือ ส.อ.มนต์ชัย เพ็งไสย อายุ 29 ปี ทหารสังกัดกองทัพบก อยู่บ้านเลขที่ 283/222 หมู่ 1 ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งจากการประมวลเหตุการณ์คาดว่า กระโดดลงมาจากบริเวณชั้น 5 ของตึกดังกล่าว

ด้าน นพ.สมเจตน์ เหล่าลือเกียรติ ผอ.โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตป่วยเป็นโรคมาลาเรียเคยรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ก่อนจะเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เมื่อช่วงเย็นวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยพักรักษาตัวที่อาคารกาญจนาภิเษกชั้น 3

เบื้องต้น ตำรวจคาดว่า ผู้ตายเกิดความเครียดจึงตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย ซึ่งจะได้เร่งสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุที่แน่ชัด พร้อมดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ไทยรัฐออนไลน์ 31 พค 2554

7347

10 กว่าปี ที่ สำหรับงานที่ต้องเดินทางไปทุกหนทุกแห่ง ทุกจังหวัดที่มีพี่น้องนักพัฒนาทำงาน ทำให้ได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง เรื่องราวสุขๆทุกข์ๆ ตามลำดับของความผูกพันและก็มีเรื่องเดียวที่สะท้อนใจคล้ายๆ ในทุกๆ ที่ ที่ทำให้คนทำงานท้อแท้มากที่สุด อ่อนหล้าและเลิกล้มชีวิตการทำงานบนเส้นทางนี้ หมายความว่า ปัจจุบันคนทำงานพัฒนาทยอยละเลิกอุดมคติการทำงานเพื่อมวลชน เพื่อชุมชน เพื่อพัฒนาสังคมไปเกือบหมดก็เพราะ ปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุน

มันช่างเป็นเรื่องปวดร้าว ที่คนทำงานพัฒนามาเกือบทั้งชีวิตหรือกว่าหนึ่งของครึ่งชีวิต แต่วันหนึ่งต้องผันตนเองมาปลูกผัก เลี้ยงหมู ขายก๋วยเตี๋ยว ขายกาแฟ หรือข้าวแกง มีชีวิตบั้นปลายที่ลำเค็ญ แต่หลายคนกำลังมีไฟเพราะเพิ่งอยู่ในวัย 20 ปลายๆ หรือ 30 ต้นๆ แต่ก็ต้องพับเก็บสิ่งที่เรียกว่า อุดมการณ์เพื่อสังคมไป

ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่คนมีอุดมการณ์จริงๆ จังๆ ไร้ที่ยืนหมดทางเดิน ยุคของคนที่ทำงานจริงจังฝังตัวกับพี่น้องชาวบ้าน กับคนชายขอบกำลังจะหมดไป เหลือแต่คนที่เขียนโครงการเก่งๆ หว่านล้อมเป็น พูดจาสร้างภาพเป่าหูดูดี ยุคที่ NGOs ออกสื่อสุขสบาย ยุคที่ระบบคุณธรรมในวงการพัฒนาเสื่อมถอยเหลือแต่ระบบถ่อยๆ ที่เต็มไปด้วยวาระซ่อนเร้นเส้นสาย เล่นพรรคเล่นพวกและเคลือบแคลงผลประโยชน์ทับซ้อนกับแหล่งทุน ซึ่งองค์กรใหญ่สุด ณ เวลานี้ ก็คือ สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รองๆ ลงมาก็เป็น พอช. หรือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ซึ่งระยะหลังๆ พอช. ที่ตัดข้ามกลไกคนทำงานพัฒนาแล้วผันไปทำงานกับชุมชนโดยตรงไปเลย

ความอดสูและอับจนใจจนต้องทดท้อและยอมถอยก็เพราะขบวนการหมอเข้ามาควบคุมระบบการกระจายทุน ทำให้งานพัฒนาปัจจุบันอยู่ภายใต้กรอบคิดหมอที่แสนคับแคบ เพ้อฝัน เป็นนามธรรมและไม่ฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ใครๆ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ชมชอบแต่คำสดุดี เยินยอ ทำให้ 10 ปีขององค์กรแหล่งทุนอย่าง สสส.หรือ พอช. จึงเต็มไปด้วยบริวารผลประโยชน์ มีทั้ง NGOs บริวาร อบต. และชุมชนบริวาร โดยไม่มีเสียงสะท้อน ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล ทัดทาน ตีแผ่วิจารณ์อะไรได้เลย ยิ่ง สสส. ในระยะหลังๆ เอาเงินภาษีจากคนบาปจำนวนมหาศาลไปละลายแม่น้ำ อาทิ โครงการให้เงินเดือน นายกฯ อบต. เดือนละ 30,000 บาท  หรือ สนับสนุนกิจกรรมคลื่นมนุษย์ (Human wave) หรือที่เรียกกันว่าเล่นเวฟ ออกทีวีไม่รู้หมดไปเท่าไหร่  เมื่อตอนวันสงกรานต์ สวนทางกับสภาพคนทำงานพัฒนา องค์กรชุมชน ทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ที่ทยอยปิดโครงการปิดตัว หรือบางองค์กรก็ต้องหันมาประกอบอาชีพใหม่ หารายได้เสริมเพื่อเอารายได้มาทำงาน มาหล่อเลี้ยงอุดมคติ

ความน่าอัปยศของแหล่งทุนสนับสนุนงานพัฒนาในประเทศไทยที่บริหารเงินภาษีประชาชนแบบมีอคติ เลือกปฏิบัติ ขาดการรับฟัง ไม่เปิดกว้างรับความคิดเห็นจากกลุ่มอื่นๆ คนอื่นๆ  โดยเฉพาะที่ไม่ใช่กลุ่มหมอ และที่สำคัญใช้ไปเพื่อสนองทิศทางความคิดของตนฝ่ายเดียว ผ่านพรรคพวกบริวารของตนมากกว่ากระจายให้ทั่วถึง เสมอภาคและเพื่อกระตุ้นให้สังคมเกิดกลุ่ม องค์กรเกิดโอกาส เกิดความเท่าเทียม  เกิดความเข้มแข็ง เกิดการถ่วงดุลตรวจสอบกันและกันในสังคม ทำให้งานพัฒนาปัจจุบันที่ถูกสนับสนุนโดย สสส. หรือ อื่นๆ กำลัง กลายเป็นขบวนการงานพัฒนาแบบโป๊งๆ ฉึ่ง ฉาบฉวยมีแต่สีสัน มากขึ้น หลา่่ยงานเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หวือหวา จนกำเนิด NGOs Event รุ่นใหม่ๆ เต็มบ้านเต็มเมือง ที่ทำงานเน้นการสร้างภาพ กลายเป็น NGOs ไม่ติดดิน มองข้ามความสนใจแก้ไขปัญหาสังคมเชิงรากฐาน อีกทั้งไม่เข้าใจปัญหาสังคมที่เกิดจากโครงสร้าง ที่ขาดความเสมอภาคเท่าเทียมเป็นธรรม

ในขณะที่กระบวนการเข้าถึงเงินทุนของ สสส. ในปัจจุบัน กำลังกลายเป็นเรื่องเกินกำลัง เกินสติปัญญา สำหรับองค์กรรากหญ้า หรือเอ็นจีโอขนาดเล็กไปแล้ว เพราะกว่าจะยื่นเข้าผ่าน กว่าจะฝ่าด่านการถูกซักถาม ปรับแก้ และกว่าจะผ่านการตรวจสอบการบริหารการใช้จ่ายอย่างละเอียด พร้อมรายงานอย่างยาก เหมือนกับมีมาตรฐานระดับสูง (โดยไม่ทราบว่ามาตรฐานเดียวกับ NGOs หมอหรือเปล่า ?) ทำให้องค์กรชาวบ้าน NGOs ขนาดเล็ก ต่างหวาดกลัว เข็ดขยาดไปตามๆ กัน แต่ในตัวองค์กร สสส. กลับไม่เคยให้ใครเข้าไปตรวจสอบ ? และไม่เคยชี้แจงให้ประชาชนรับทราบ ว่าบริหารเงินภาษีประชาชนไปอย่างไร สมเหตุสมผลและตรงตามความต้องการของหรือประชาชนหรือไม่

ทำให้นักพัฒนาหลายคนมีสรุปตรงกัน หลังจากที่ติดตาม เฝ้ารอ วาดหวัง ไปจนถึงมีโอกาสได้ไปสัมผัส ชนชั้นหมออำมาตยาที่ควบคุมทิศทางเงินทุนอันมาจาก “ภาษีของประชาชน”   ว่า  “หากใครต้องการโอกาสเข้าถึงเงินทุนที่เหล่าหมอๆ หรือพวกอำมาตยา นั่งควบคุมบงการอยู่นั้น ต้องรู้จักท่องคาถา 9  ข้อ”   นี้ให้จงได้ คือ

1 )  ศรัทธาในระบบแพทยาธิปไตย 
2 ) พร่ำพรรณนาถึงความดีงามของสังคม ความพอเพียงประณามอบายมุข ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ย้ำคิดย้ำทำย้ำสนใจแต่เรื่องสุขภาพตัวเองเป็นหลัก
3 ) ใช้เงินทุนอย่างไรก็ได้ ขอให้ป้ายแหล่งทุนได้ ออกออกทีวี ดูดี…
4 )  ต้องเข้าใจและใช้ทฤษฎี สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาในการอธิบายสังคม และต้องเอ่ยถึงเจ้าของทฤษฎีสามเหลี่ยม อย่างซาบซึ้งหาที่สุดมิได้
5 ) หัดสมาสคำไทยให้เป็นให้เท่ห์ เข้าใจยากแต่ฟังไพเราะ อาทิ ธรรมาธิปไตย การจัดการองค์ความรู้ สังคมสมานุภาพ ฯลฯเป็นต้น   
6 )  คบกับหมอ เชิดชูหมอ บูชาหมอ กราบไหว้และต้องให้หมอมาเป็นประธานหรือที่ปรึกษา กลุ่ม องค์กร ของตนเอง…จะดีที่สุด !! 
7 ) ต้องหัดพูดจาให้หมอฟังได้ ไม่ระคายหู ไม่ระคายตา เห็นภาพสวยหรู ดูดีขึ้นป้าย แปะสติกเกอร์ โลโก้ คำขวัญ ทุกซอกทุกมุม ทุกอาณาบริเวณชีวิต 
8 ) อาจจะต้อง มีรูปหมอ หรือบุคคลสำคัญในแหล่งทุน หรือที่แหล่งทุนเคารพนับถือแขวนไว้บนหัวนอน ในห้องทำงาน ในสำนักงาน เพื่อเป็นศิริมงคลต่อเนื่อง ด้านเงินทุน 
9 ) ศรัทธาสุดใจ โดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ตั้งคำถาม ใดๆ ทั้งสิ้น

10 ปี สสส. องค์กรแหล่งทุนแห่งเดียวของประเทศที่ใหญ่ที่สุด กำลังกลายเป็นขุมทรัพย์มหาศาลของเหล่าหมอๆ ที่วางมือจากเข็มฉีดยามาทำงานพัฒนา จนหมอนักวิพากษ์บางรายถึงกับปริปากว่า รักษาคนไข้แทบตายยังไม่รวยไวเท่ามาเป็น NGOsเลย…

ดังนั้น หากเป็นไปได้ คงจะถึงเวลาแล้วสำหรับการตั้งคำถามองค์กรแหล่งทุนของประเทศนี้ ทุกแหล่งทุนที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนา ทั้ง สสส. พอช. สกว. ว่าควรจะให้ประชาชนหรือมีกระบวนการกำหนดทิศทางแบบส่วนร่วม มากกว่านี้ ได้หรือยัง ? และควรจะเปิดเผยให้ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ โดยทราบทั่วกัน เพราะนั่นคือเงินภาษีของประชาชน !!   

จริงอยู่ นักแสวงบุญ กับหมออาจจะคิดตรงกันว่า นี่คือเงินบาป หรือภาษีบาป ที่หักเอาจาก บุหรี่ เหล้า แต่ก็ภาษีของประชาชน ที่ประชาชนควรจะมีสิทธิ์เข้าถึง รับรู้และมีสิทธิ์ร่วมกำหนดจุดหมาย ทิศทางการใช้ประโยชน์ และที่สำคัญ การเสริมสร้างให้องค์กรรากหญ้า หรือ NGOs ขนาดเล็กเข้มแข็ง ถือว่าสำคัญ มิใช่เน้นยุทธศาสตร์ “ตอนหรือทำหมัน”NGOs ไทยโดยเฉพาะสายหัวก้าวหน้า !!”  ทำให้ชะตากรรม NGOs เมืองไทยบางสาย ที่มิใช่สายประชาคม ไม่ใช่สายหมอ ย่ำแย่และเสื่อมหายตายลงทุกวัน ท่ามกลางสภาพสังคมที่ผันแปรหลากหลายปัญหาที่กำลังรุมเร้าสังคม ซึ่งต้องการองค์กรหลากหลายลุกขึ้นมาดูแล ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ต้องทุ่มพลังทุ่มทรัพยากรสร้างองค์กร สร้างความเข้มแข็งหลากหลาย สร้างภารกิจต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสรรค์สังคม

การรื้อปรับโครงสร้างและภารกิจองค์กรแหล่งทุนอย่าง สสส. หรือ พอช. ตลอดจนทุกแหล่งทุนที่ใช้เงินภาษีประชาชน ร่วมถึงการขยายหรือเพิ่มกระบวนการใหม่ๆ เปิดรับความคิดเห็นอื่นๆ จึงจำเป็นเร่งด่วนมากในยามนี้ เพื่อระดมทรัพยากรไปลงทุนในสังคม เพื่อฟื้นฟูรากฐานขบวนงานพัฒนาสังคมให้กลับมาเข้มแข็งมีบทบาทอีกครั้ง วันนี้จึงอยากเสนอให้รื้อระบบแพทยาธิปไตยและวัฒนธรรมอำมาตยาที่ฝังรากอยู่ในแหล่งทุนที่สนับสนุนงานพัฒนาทิ้งให้หมด….ครับ

บทบรรณาธิการ  พ.ค. 9, 2011
thaingo.org

7348
กรมบัญชีกลาง ปรับเกณฑ์เบิกจ่ายค่ายาสมุนไพร 2 รายการ “ยาผลิตเองใน รพ.-ยาปรุงสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย” อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย เชื่อ ช่วยสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรไทยใน รพศ.รพท.พุ่ง 10%
       
       วันนี้ (30 พ.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ.ว่า กรมบัญชีกลางได้มีการออกระเบียบเรื่องหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยให้ยกเลิกหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มจากเดิมที่ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะยาที่ใช้บำบัดโรค 2 รายการ คือ 1.รายการยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2.รายการที่เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ มาเป็นการอนุมัติให้เบิกจ่ายได้ในอีก 2 รายการที่ประกาศเพิ่ม คือ 1.รายการยาที่อยู่ในเภสัชตำรับโรงพยาบาล หมายถึงยาสมุนไพรที่สถานพยาบาลแต่ละแห่งผลิตเอง ในส่วนที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้เป็นไปตามการสั่งใช้ยาของแพทย์แผนปัจจุบันที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแพทย์แผนไทยผู้มีใบประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมแผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย 2.รายการยาที่ปรุงสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายให้เป็นไปตามการสั่งใช้ยาของแพทย์ แผนไทยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมแผนไทยหรือสาขาการ แพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554

       “โดยในวันนี้ที่ประชุมได้รับทราบและได้สั่งการให้ผู้ตรวจราชการสาธารณสุข แจ้งให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลรับทราบเพื่อดำเนินการต่อไป” นายจุรินทร์ กล่าว
       
       ด้านพญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า จากการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว น่าจะทำให้อัตราการใช้ยาแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 5 ในปี 2554 ในส่วนของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ/รพท.) และน่าจะมีการใช้อยู่ที่ร้อยละ 10 ในโรงพยาบาลชุมชน จากเดิมที่ใช้แค่ร่อยละ 3 ในปี 2553 และคาดว่าหากมีการเบิกจ่ายยาแผนไทยเพิ่มขึ้นก็จะช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลแบบแพทย์แผนปัจจุบันด้วย เนื่องจากยาแผนไทยมีราคาที่ถูกกว่า เนื่องจากปัจจุบันยาแผนไทยได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น ยารักษาข้อเข่าจากเถาวัลย์เปรียง
       
       “สำหรับการเบิกจ่ายยานั้น ขอย้ำว่า ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์แผนไทยที่ได้รับใบประกอบโรคศิลปแล้วเท่านั้น และเบิกจ่ายได้ในส่วนของยารักษาโรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น ไม่สามารถเบิกจ่ายในส่วนของความสวย ความงาม ซึ่งทางกรมบัญชีกลางได้แจ้งเป็นหนังสือเวียนตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2554 เป็นหนังสือเลขที่ กค.0422.2/ว33” พญ.วิลาวัณย์ กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 พฤษภาคม 2554

7349
 “ประชานิยม” แนวคิดพื้นฐานการหาเสียงของพรรคการเมืองที่กำลังมีการแข่งขันอย่างร้อนระอุ ความขาดแคลนทางวัตถุ ความเจริญ เงินทอง ความสะดวกสบาย และความมั่นคงทางการใช้ชีวิตกลับกลายมาเป็นประเด็นแต่ละพรรคงัดเอามากำหนดนโยบายเพื่อเปิดทางให้ตัวเอง ได้ก้าวมานั่งเก้าอี้ผู้บริหารประเทศ แต่เมื่อมองเฉพาะนโยบายด้านสาธารณสุข (สธ.) และสุขภาพ ซึ่งพรรคการเมืองยังมีการกล่าวถึงน้อย แม้ว่าความจริงจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการใช้ชีวิตที่มีสุขก็ตาม

 “การจะกำหนดนโยบายพรรคให้หลุดพ้นจากประชานิยมนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะนักการเมืองเชื่อว่า จะทำอะไรก็ตามต้องตามใจคนส่วนใหญ่ แน่นอนว่าแนวคิดดังกล่าวใช้ได้กับนโยบายด้านอื่น แต่จะใช้ประชานิยมอย่างเดียวมากำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสาธารณสุขและสุขภาพไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ต้องมองวงกว้าง คือ เขียนแผนในลักษณะของเพิ่มศักยภาพการดูแลตัวเองแก่ประชาชน เช่น กระจายอำนาจการบริหารขององค์กรสาธารณสุข ลงสู่ระดับปฐมภูมิให้มาก เพื่อให้คนกลุ่มเล็ก ห่างไกลความเจริญที่เจ็บป่วยเล็กน้อย สามารถรักษาตัวในโรงพยาบาลชุมชนระดับตำบล อำเภอ ได้” นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ให้มุมมองในการเขียนนโยบายฯ
       
       การกระจายอำนาจที่ว่านี้ ควรเป็นไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่บุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้ทำหน้าที่เป็นเสมือนหมอประจำครอบครัว และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ ตลอดจนติดตามประเมินผลและผลกระทบหลังการรักษา ในกลุ่มเล็กๆ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคได้ด้วย ซึ่งหากทำได้ก็จะช่วยลดภาระสถานพยาบาลขนาดใหญ่ได้ และแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างยั่งยืน อาทิ ปัญหาบุคลากร ปัญหาเรื่อง, รพ.ขาดสภาพคล่อง, ความแออัดของผู้ป่วยและที่สำคัญเพิ่มความเป็นธรรมทางการเข้าถึงระบบบริการได้ด้วย ซึ่งแนวทางนี้เป็นไปได้สูง แต่แปลกที่ยังไม่มีพรรคใดลงมือทำ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความขัดแย้งทางการเมือง

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ
       นอกจากมุมมองดังกล่าวแล้ว ความอ่อนด้อยที่ตอกย้ำความล้มเหลวของนโยบายฯ ที่ชัดเจนอีกอย่าง คือ เรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและเครือญาติ ซึ่ง นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท มองว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองขณะนี้ยังไม่มีใครกล้าการันตีว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ......จะเกิดขึ้นหรือไม่ เข้าใจว่า อาจเป็นเพราะเกรงกลัวจะเสียคะแนนความนิยม จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อย่าลืมว่า ประชาชนต้องการผู้นำที่เด็ดขาดและตัดสินใจโดยเร็ว เพราะการจัดการปัญหาสุขภาพจะมามุ่งเน้นเอาใจใครไม่ได้แต่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
       ด้านพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวว่า นโยบายที่เห็นจะมีการสานต่อของแต่ละพรรค คือ เรื่องหลักประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นรักษาฟรี หรือรักษาแบบเสียเงิน 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อที่สร้างความเสียหายแก่วงการสาธารณสุขระดับกว้าง เพราะแม้ว่าประชาชนจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลในราคาถูกได้ แต่ก็ไม่ใช่กับทุกโรค และเมื่อประชาชนทุกระดับหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการมากขึ้น บุคลากรก็ทำงานหนัก รพ.ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ส่อแววจะแย่ลงทุกขณะ
       
       “ความจำเป็นในการบริการประชาชนด้านสาธารณสุข ที่นำไปสู่ความเสมอภาคอย่างการออกนโยบายรักษาฟรีนี้ มุ่งเรียกคะแนนนิยมบางครั้ง ความเสมอภาคก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่แย่กว่าเดิม คือ คนรวย คนจนก็ต้องจ่ายค่ารักษาเท่ากัน ทั้งที่คนรวยย่อมมีศักยภาพการจ่ายค่ารักษาพยาบาลมากกว่า” พญ.เชิดชู อธิบาย
       
       ประธาน สพผท.เสนอแนะในตอนท้ายว่าหากจะออกนโยบายเพื่อมาแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำจริงๆ คือ จะต้องเลิกขายฝันหลอกลวงเพื่อโกยคะแนนเสียที แต่ต้องเขียนแนวทางในการจัดการระบบบริการตามความเป็นจริง คือ “คนมีมากจ่ายมาก คนมีน้อยจ่ายน้อย แต่คนเดือดร้อนต้องได้รับการช่วยเหลือ” ซึ่งส่วนนี้หากทำได้เชื่อว่าช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างจริงจัง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 พฤษภาคม 2554

7350
ผอ.รพ.ทุ่งสง รับตัว " น้องบุ๋ม "นักศึกษาสาวมหาวิทยาลัยมหิดล นักกีฬากระโดสูงทีมชาติไทยที่เสริมจมูกจนกลายเป็นอัมพาต นอนซมอยู่กับบ้านมาถึง 3 ปีเศษ มารักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว...

จากกรณี น.ส.ชไมภรณ์ หรือ " น้องบุ๋ม " แก้วเกื้อ อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล และนักกีฬากระโดดสูงทีมชาติไทย ไปทำการผ่าตัดเสริมจมูกที่คลีนิคชื่อดังย่านรัชดา เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร หลังผ่าตัดเสริมจมูก น.ส.ชไมภรณ์ เกิดสลบไสลไม่รู้สึกตัว แพทย์ที่ทำการผ่าตัดนำตัวส่ง รพ.รามคำแหง และต่อมานำส่ง รพ เกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์ และ รพ.ศิริราช แพทย์ที่ผ่าตัดยันเด็กหายแน่ จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้จำนวน 130,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายให้ รพ.เกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์

ต่อมาทาง รพ.ศิริราช แนะนำให้นำคนป่วยมารักษาตัวที่บ้านพัก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ปรากฏว่าตั้งแต่ตอนเกิดเหตุจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 3 ปีเศษ น.ส.ชไมภรณ์ กลับเป็นอัมพาต มือเท้าลีบ พูดจาไม่ได้ พ่อ กับแม่ต้องผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าดูแล วอนขอความช่วยเหลือ ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ ต่อมาเมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 30 พ.ค. นี้ หลังจากทราบข่าวจาก นสพ.ไทยรัฐ น.พ.จรัส จันทรตระกูล ผอ.รพ.ทุ่งสง ได้ส่งแพทย์และพยาบาลนำรถฉุกเฉินของ รพ.ไปที่บ้านเลขที่ 59/2 หมู่ที่ 12 ต.ควนกรด อ.ทุ่งสง รับตัว น.ส.ชไมภรณ์ แก้วเกื้อ มาที่ รพ. และระดมนายแพทย์เฉพาะทางร่วมตรวจสอบร่างกายทันที

น.พ.จรัส เปิดเผยว่าในชั้นนี้ทาง ร.พ.จะตรวจเช็คสุขภาพคนไข้โดยรวมก่อน และจะเอ๊กซเรย์ดูว่าปอดอักเสบหรือไม่ ถ้าหากตรวจพบว่าปอดอักเสบ ก็ต้องให้คนไข้พักที่ ร.พ. แต่ถ้าหากว่าเป็นปกติ ก็จะให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านพักเหมือนเดิมในขณะเดียวกันทาง รพ.ก็จะประสานไปทางโรงพยาบาลมหาวิทลัยสงขลานครินทร์ เพื่อขอทราบประวัติคนป่วยประกอบไปด้วยเพราะทราบว่าคนป่วยไปให้แพทย์ที่ ร.พ.ม.อ.ตรวจทุกเดือน วันนี้หากตรวจแล้วไม่พบว่าปอดอักเสบก็จะให้คนไข้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน แล้วจะให้แพทย์ไปตรวจร่างกายทุกระยะ

น.พ.จรัส กล่าวเพิ่มเติมว่าคนไข้ปกติดีปอดไม่อักเสบ พร้อมกับให้รถพยาบาลนำคนป่วยไปส่งที่บ้านพักแล้ว

ไทยรัฐ 30 พค 2554

หน้า: 1 ... 488 489 [490] 491 492 ... 535