ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนอดีตมองไกล...อนาคต กรม สบส.กับภารกิจพัฒนาบริการสุขภาพคนไทย สู่การเป็นผู้นำระดับโลก  (อ่าน 864 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
หากมองย้อนไปในอดีต "กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ" หรือ สบส. เป็นกรมในกลุ่มภารกิจด้านบริการสุขภาพที่เกิดจากการรวมภารกิจที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และได้รับการคุ้มครองด้านบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานสาธารณสุขตั้งแต่ระดับรากหญ้า ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นงานในลักษณะปฏิบัติการและสนับสนุนบริการที่สำนักงานปลัดกระทรวงรับผิดชอบอยู่เดิม รวม 7 กอง คือ กองโรงพยาบาลภูมิภาค กองสาธารณสุขภูมิภาค กองการประกอบโรคศิลป กองสุขศึกษา สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน กองช่างบำรุงและกองแบบแผน
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- เสาร์ที่ 15 กันยายน 2555 00:00:00 น.
หากมองย้อนไปในอดีต "กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ" หรือ สบส. เป็นกรมในกลุ่มภารกิจด้านบริการสุขภาพที่เกิดจากการรวมภารกิจที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และได้รับการคุ้มครองด้านบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานสาธารณสุขตั้งแต่ระดับรากหญ้า ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นงานในลักษณะปฏิบัติการและสนับสนุนบริการที่สำนักงานปลัดกระทรวงรับผิดชอบอยู่เดิม รวม 7 กอง คือ กองโรงพยาบาลภูมิภาค กองสาธารณสุขภูมิภาค กองการประกอบโรคศิลป กองสุขศึกษา สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน กองช่างบำรุงและกองแบบแผน


 
น.พ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวถึงภารกิจหลักๆ ของ สบส. เมื่อเริ่มก่อตั้งเป็นกรมในระยะเริ่มแรก ว่า สบส.มีหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพ ดูแลงานด้านการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ควบคุม กำกับดูแลระบบบริการสุขภาพ ให้สถานบริการสุขภาพมีคุณภาพตามมาตรฐาน เช่น การออกแบบสถานีอนามัย/โรงพยาบาลของภาครัฐ การกำหนดมาตรฐานด้านอาคารสถานที่ของสถานบริการสุขภาพ การดูแลเรื่องระบบการสื่อสาร การดูแลเพื่อบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ รวมถึงการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลป สถานพยาบาล และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง สบส.จะเป็นผู้ออกใบอนุญาต ต่อใบอนุญาต ตรวจสอบมาตรฐานสถานบริการสุขภาพตามพระราชบัญญัติ 2 ฉบับ คือ 1.พ.ร.บ.สถานพยาบาล และ 2.พ.ร.บ.การประกอบอาชีพเวชกรรม

โดยมีแผนนโยบายดำเนินการใน 4 มาตรการ คือ 1.มาตรฐานด้านการให้บริการ 2.การปรับเปลี่ยนสุขภาพของประชาชน 3.บทบาทของ อสม. 4.การพัฒนาและวิจัยเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่ง สบส.จะเน้นนโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนหรือผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า สถานที่ไปใช้บริการมีคุณภาพตามมาตรฐานและมีความปลอดภัย

ส่วนงานในอนาคตในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี พ.ศ.2558 น.พ.สมชัย กล่าวว่า เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (Asean Economic Community) รัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือเมดิคัล ฮับ (Medical Hub) และเป็นจุดหมายปลายทางของการดูแลสุขภาพ เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านสุขภาพระดับโลก ด้วยเหตุผลที่ว่า บริการสุขภาพเป็นธุรกิจสาขาหนึ่งที่มีศักยภาพและเป็นจุดแข็งของไทย ในปี 2555 นี้ บริการสุขภาพของไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ มีชาวต่างชาตินิยมเข้ามาใช้บริการสุขภาพในประเทศไทยมากถึง 2.5 ล้านคน สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ถึง 121,658 ล้านบาท ดัวยปัจจัยทางค่ารักษาที่ถูกกว่า มีความพร้อมทั้งบุคลากร เทคโนโลยี และคุณภาพบริการทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและแผนไทย และมีบรรยากาศในการให้บริการที่ดี คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า จะสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไทยเพิ่มเป็น 800,000 ล้านบาท

เพื่อรองรับการเป็น Medical Hub ของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์โดยมุ่งเน้นพัฒนาและผลักดันให้เกิดผลผลิตหลักที่ได้มาตรฐานใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.บริการการรักษาพยาบาล 2.บริการการส่งเสริมสุขภาพ 3.บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และ 4.ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี (GMP) พร้อมทั้งเร่งรัดให้มีการพัฒนาและยกระดับระบบสารสนเทศทางด้านสุขภาพให้ทันสมัย เพื่อการสืบค้นข้อมูลด้านบริการสุขภาพให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้ไทยมีการพัฒนาศูนย์รักษาพยาบาล ระดับเชี่ยวชาญ (Excellent Center) ครอบคลุมทุกภูมิภาค ให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพใกล้บ้าน และสนับสนุนการบริการเฉพาะทางให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น การรักษาโรคหัวใจ การผ่าตัดศัลยกรรม บริการด้านความงาม ปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนของไทยถึง 22 แห่ง ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเจซีไอ (JCI) มาตรฐานที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ที่มีการให้บริการทำวีซ่าในโรงพยาบาลด้วย ซึ่งจัดว่ามากเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจสปาและบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้ถึงปีละ 12,813 ล้านบาท โดย สบส.จะเข้าไปสนับสนุน พัฒนาผู้ประกอบการให้ดำเนินกิจการอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสปาไทย และกำลังดำเนินการผลักดัน พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและสปา ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการทำกฤษฎีกา หาก พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ สถานบริการเพื่อสุขภาพทุกแห่ง โดยเฉพาะที่ใช้คำว่า "สปา หรือ นวดไทย" ก็จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจาก สบส.เท่านั้น โดยผู้ประกอบการและผู้ทำการนวดต้องได้รับอนุญาตจาก สบส. ตามกฎหมายฉบับนี้ด้วย

"สบส.ยังมีแนวคิดในการจัดตั้งสมาคมสปาไทยในต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างสปาไทยในต่างประเทศกับทาง สบส. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและหาแนวทางในการทำให้เกิดเป็นสปาไทยแท้ๆ โดยไม่ให้มีการขายบริการทางเพศแอบแฝง หรือมีชาวต่างชาติมาแอบอ้างเปิดโดยใช้ชื่อสปาไทยเป็นจุดขาย ด้วยความโดดเด่นของธุรกิจบริการสุขภาพของไทย และการมีจุดแข็งในหลายๆ ด้าน ทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ มาก ส่งผลให้ได้รับความสนใจจากต่างประเทศที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านธุรกิจสุขภาพร่วมกับประเทศไทย จึงเชื่อมั่นว่า ไทยจะสามารถก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านสุขภาพระดับโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ" น.พ.สมชัย กล่าวปิดท้าย