ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อเสนอจากบุคลากรผู้ปฏิบัติงานจริงในระบบการบริการสาธารณสุข ในการปฏิรูประบบ  (อ่าน 533 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9785
    • ดูรายละเอียด
 ข้อเสนอถึงครม. คสช. และสปท.
จึงขอเสนอครม. คสช. และสปท. ให้เปิดรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด่านหน้าทุกระดับ เพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในด้านการประกันสุขภาพและการบริการด้านการแพทย์และสาธารณศุข เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือให้มีช่องทางที่นักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ จะมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางการปฏิรูประบบการแพทย์ สาธารณสุข และการประกันสุขภาพ ให้คืนมาตรฐานการแพทย์ที่ดีตามมาตรฐานสากลให้แก่การบริการด้านการแพทย์ละสาธารณศุขแก่พลเมืองไทยเหมือนเดิม พื่อให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ด้อยลงไปกว่ากลุ่มประเทศอาเซียน และให้ประชาชนรับรู้ความจริงว่า ถ้ายังขืนดันทุรังทำต่อไปแบบเดิม ระบบการแพทย์และสาธารณสุขที่ดีของไทยก็จะล้าหลังรั้งท้ายกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างแน่นอน

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลรักษาการ อันเป็นผลพวงจากการเกิดกระบวนการชุมนุมคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ที่เป็นกระบวนการชุมนุมคัดค้านโดยแกนนำกปปส.ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการชุมประท้วงคัดค้านอย่างยาวนาน โดยมีประชาชเข้าร่วมชุมนุม และเดินขบวนอย่างมากมายกหลายสิบล้านคน ทั้งในประเทศไทย และอีกหลายๆประเทศทั่วโลกที่มีชาวไทยไปอาศัยอยู่ แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลในขณะนั้นก็ได้ใช้ความรุนแรงในการปราบปรามเพื่อสลายการชุมนุม ทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
คสช.จึงได้เข้ามาทำการรัฐประหารเพื่อควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทย เพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ยุติการชุมนุมประท้วง เพื่อรักษาชีวิตประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วยความบริสุทธ์ใจ และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งกำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสนช.ได้มีมติเลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โฮชา ได้แต่งตั้งองค์กรที่ช่วยในการบริหารรวมทั้งหมด 5 องค์กรตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งองค์กรเหล่านี้บางครั้งเรียกว่า “แม่น้ำ 5 สาย” ได้แก่
1.คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)
2.คณะรัฐมนตรี (ครม.)
3.สนช.
4. สภาปฏิรูปประเทศ (สปช.)
5.คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม แม่น้ำสายสำคัญคือคสช. เพราะได้มีอำนาจอันเด็ดขาดบัญญัติไว้นมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญให้หัวหน้าคสช.ในการสั่งการใดๆก็ตามที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
ซึ่งหัวหน้าคสช.ได้ประกาศว่าจะนำความสุขกลับคืนมาให้ชาวไทย และปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น แก้ปัญหาชาติในทุกๆด้าน และมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศให้ทันยุค ๔.๐
ยังมีการแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มีสมาชิก ๒๕๐ คน มีหน้าที่เสนอแนะแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ไปยังรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือคสช. เพื่อให้หน่วยงานเหล่านี้รับไปดำเนินการ หรือยกร่างกฎหมายเสนอให้สนช.ดำเนินการเพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป
การจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาตินับว่าเป็นวิธีการหนึ่งของคสช. ที่ต้องการเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนจากหลากหลายอาชีพ ความรู้และประสบการณ์
แต่มีข้อจำกัดอย่างมาก เนื่องจากการสรรหาสมาชิกสปช.นั้น ทั้งคณะกรรมการสรรหาและคสช.เอง ต่างก็ไม่รู้จักพื้นเพหรือภูมิหลังอย่างแท้จริงของผู้ที่คณะกรรมการสรรหาเลือกมา จึงมีผลให้มีกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิกมูลนิธิแพทย์ชนบท มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กลุ่มแกนนำเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะ แกนนำกลุ่มสามาพรานฟอรั่ม หรือกลุ่มสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาอยู่เป็นจำนวนมาก

ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนั้น เป็นกลุ่มคนที่ร่วมกันก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบท มูลนิธิแพทย์ชนบท มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กลุ่มสามพรานฟอรั่ม โครงการพัฒนาผู้นำสร้างสุขภาวะแนวใหม่(คศน.) รวมทั้งผู้ร่วมทำงานในองค์กรอิสระตามกฎหมายเฉพาะ ให้มาทำหน้าที่บริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุขหรือด้านสุขภาพในองค์กรตระกูลส.ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสวรส.(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) สสส. สปสช. สช.
ส่วนบุคลากรที่เป็นข้าราชการทำงานในด้านการแพทย์และสาธารณสุขจริงนั้น ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติน้อยมากหรือไม่มีเลยที่มาจากบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุข
ข้อเสนอในการปฏิรูปด้านการแพทย์และสาธารณสุขของสปช. จึงเกิดจากแนวคิดและมุมมองของกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารงบประมาณ และผู้คิดนโยบายในองค์กรตระกูลส.ดังกล่าวเป็นส่วนมากหรือแทบจะทั้งหมดเลยก็ว่าได้ จึงนับว่าเป็นข้อเสนอที่ต้องการแก้ปัญหาการชริหารกองทุนเป็นส่วนมาก มีการเสนอแก้ไขปัญหาการจัดบริการสาธารณสุขเป็นส่วนน้อยหรือไม่ชัดเจนในวิธีการให้เกิดการปฏิรูปนั้น
จึงเป็นการเสนอประเด็นในการปฏิรูประบบสาธารณสุข 3 ประเด็นคือ (1)
1.การปฏิรูปที่แก้ไขปัญหาการบริหารด้านการเงินการคลัง ของการบริหารการประกันสุขภาพ การอ้างความเหลื่อมล้ำของ 3 กองทุนประกันสุขภาพ คือกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการการเสนอให้ตรากฎหมายกลาง เพื่อจัดตั้งหน่วยบริหารกองทุน เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุน และมีข้อเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีสุขภาพ
2.การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรสุขภาพ และการจ้างงานที่ไม่ป็นธรรม แต่ไม่มีข้อเสนออย่างชัดเจนว่า จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ได้เสนอให้เพิ่มอัตราบุคลากร เพิ่มค่าตอบแทน และยังเสนอให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข
3.การแก้ปัญหาด้านระบบบริการสุขภาพและการอภิบาลระบบสุขภาพ มีข้อเสนอให้มีการจัดระบบที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายภายในจังหวัด เขต และระดับประเทศ จัดสรรทรัพยากรสนับสนุนตามบทบาทหน้าที่ของการบริการแต่ละระดับ
4.การแก้ปัญหาด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
ต่อมาเมื่อสปช.หมดวาระลงตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวพ.ศ. ๒๕๕๗ ได้มีการจัดตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีสมาชิก ๒๐๐ คนและ โดยกรรมาธิการสาธารณสุขสปท.ได้เสนอแนวทางการปฏิรูปสาธารณสุข ๖ เรื่อง (2)
๑.ด้านการบริหารจัดการระบบสุขภาพทั้งหมดเพื่อให้เกิดการบูรณาการนโยบายสุขภาพแห่งชาติให้ทุกองค์กรมีทิศทางเดียวกัน ลดความเหลื่อมล้ำ ทางด้านบริการสุขภาพ คุณภาพ และการเข้าถึงบริการ และการกระจายอำนาจด้านการบริหารจัดการเชื่อมโยงทุกระดับ ทั้งระดับชาติ ระดับเขต และระดับจังหวัด โดยจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ ,คณะกรรมการเขตสุขภาพ และคณะกรรมการสุขภาพระดับจังหวัด อยู่ระหว่างการร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีมาตราที่รวมสิทธิประโยชน์หลักด้านสุขภาพของประชาชนไทยด้วย
๒. การออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานและการจัดการสารสนเทศระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งจะเป็นหน่วยงานกลางที่แสดงข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ถูกต้องและเป็นกลางและเชื่อมโยงทุกกองทุนสุขภาพ
๓.ปรับระบบบริการปฐมภูมิทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพ
๔. การปฏิรูประบบการแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรแห่งชาติให้ควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน
๕.การปฏิรูประบบการแพทย์ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาลโดยเสนอเป็นร่างระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการให้องค์กรส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีส่วนร่วมบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉิน
๖. การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ได้เสนอมาตรการป้องกันโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย อาทิ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยเสนอให้ปรับปรุงแก้ไข ประมวลกฎหมายสรรพสามิต ในประเด็นการขยายเพดานพิกัดอัตราภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่มการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐาน
และเสนอแนวทางปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ผลักดันกฎหมาย ๓ ฉบับ ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
สรุปข้อเสนอของสปช.และสปท.ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ยังไม่กล่าวถึงแนวทางในการปฏิรูปประเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่เป็นปัญหาเร่งด่วนอย่างจริงจังตามแนวคิด ประสบการณ์และมุมมองจากบุลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานจริงในการดูแลรักษาสุขภาพประชาชน ที่รวมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันความเจ็บป่วย (โรคและอุบัติเหตุ) การตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค(ตรวจสุขภาพ) การตรวจวินิจฉัย การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ ที่มีปัญหาสำคัญที่จะต้องได้รับการแก้ไขด่วนดังนี้

๑.การขาดแคลนงบประมาณในการทำงานตลอดกระบวนการดังกล่าวข้างต้น เพราะงบประมาณถูกจัดไปให้องค์กรที่ไม่ได้ทำงาน และไม่รับฟังความเห็นจากผู้ปฏิบัติงาน ที่เรียกร้องให้ร่วมกันแก้ไข
๒. การขาดแคลนบุคลากรที่เหมาะสมกับภาระงาน ทำให้บุคลากรที่ทำงานมีความเหนื่อยล้า เกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
๓. การขาดมาตรฐานทางการแพทย์จากข้อจำกัดในการรักษาผู้ป่วย เนื่องจากองค์กรที่บริหารงบประมาณ จำกัดรายการยาและวิธีการรักษา ซึ่งนอกจากจะเกิดความเสียหายต่อผลการรักษาและสุขภาพประชาชนแล้ว ยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนามาตรฐานการแพทย์ไทยอีกด้วย
๔.การบริหารงบประมาณในองค์กรตระกูลส.(สวรส. สสส. สปสช. สช. สพฉ. สรพ. ฯลฯ) มีปัญหาที่ไม่มีประสิทธิผล ขาดธรรมาภิบาล มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งหัวหน้าคสช.ได้ออกคำสั่งให้แก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาแห่งชาติ และการเด้งเลขาสปสช.และบอร์ดสสส. แต่ยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็ว
๕. บุคลากรสาธารณสุขทุกกลุ่มที่ปฏิบัติงานจริง ไม่มีเวทีที่จะเสนอความคิดเห็นต่อครม.และคสช.ในการปฏิรูประบบการแพทย์ สาธารณสุข และการประกันสุขภาพ ที่เป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งปวงในระบบสาธารณสุข ทั้งนี้เนื่องจากสปช.สปท. ล้วนเป็นความคิดเห็นจากผ็ที่บริหารงบประมาณเท่านั้น ขาดความเห็นของผู้ปฏิบัติงานจริง
เปรียบเหมือนรัฐบาลบริหารประเทศ ไม่รับฟังเสียงประชาชนที่ตกอย่ใต้อำนาจการบริหารของรัฐบาล เนื่องจากฟังแต่เสียงของผู้มีส่วนร่วมบริหารงบประมาณจนเกิดปัญหามากมาย ในขณะที่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่รัฐมนตรีลงมาถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุขเอง ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาในระบบการจัดบบริการสาธารณสุขได้

จึงขอเสนอครม. คสช. และสปท. ให้เปิดรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด่านหน้าทุกระดับ เพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในด้านการประกันสุขภาพและการบริการด้านการแพทย์และสาธารณศุข เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือให้มีช่องทางที่นักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ จะมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางการปฏิรูประบบการแพทย์ สาธารณสุข และการประกันสุขภาพ ให้คืนมาตรฐานการแพทย์ที่ดีตามมาตรฐานสากลให้แก่การบริการด้านการแพทย์ละสาธารณศุขแก่พลเมืองไทยเหมือนเดิม พื่อให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ด้อยลงไปกว่ากลุ่มประเทศอาเซียน และให้ประชาชนรับรู้ความจริงว่า ถ้ายังขืนดันทุรังทำต่อไปแบบเดิม ระบบการแพทย์และสาธารณสุขที่ดีของไทยก็จะล้าหลังรั้งท้ายกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างแน่นอน

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กรรมการแพทยสภา
ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ กมธ.สธ. สนช.
๘ มีนาคม ๒๕๖๐