ผู้เขียน หัวข้อ: ขอตอบคำถามแทนรัฐมนตรีปิยะสกล สกลสัตยาทร และปลัดกระทรวงสาธารณสุขนพ.โสภณ เมฆธน  (อ่าน 591 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
ขอตอบคำถามแทนรัฐมนตรีปิยะสกล สกลสัตยาทร และปลัดกระทรวงสาธารณสุขนพ.โสภณ เมฆธน ดังนี้
ก่อนอื่นหวังว่ารัฐมนตรีคนปัจจุบันและปลัดกระทรวงคนปัจจุบัน จะไม่นั่งเฉยๆอยู่บนเก้าอี้ ถ้าทั้งสองคนนี้ไม่ทราบว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ก็จะช่วยคิดหาทางแก้ปัญหาเสนอทั้งสองคนดังต่อไปนี้

เนื่องจากยังไม่มีวี่แววว่านายกรัฐมนตรีจะปรับเปลี่ยนครม. เลยต้องช่วยรัฐมนตรีคนปัจจุบันคิดแก้ปัญหาก่อน ก่อนที่รพ.กระรวงสาธารณสุขจะล้มละลายไปหมด และผป.จะไม่มีที่พึ่ง

คำตอบข้อสอบ 10 ข้อ
Credited Amorn Kaewsai
ข้อสอบ 10 ข้อลอกมาจากคน กระทรวง สธ.
เอาไว้ถาม คนที่จะถูกเลือกมาเป็น รมต.สธ.ท่านต่อไป รอหน่อยละกัน
1. ท่านจะแก้ไขปัญหาโรงพยาบาลขาดดุลอย่างไร?
2. ท่านจะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกระทรวงฯ อย่างไร?
3. เป้าหมายการบริหารกระทรวงฯคืออะไร? ได้กำหนดจุดบรรลุของเป้าหมายนั้นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง?
4. ท่านจะแก้ปัญหา สปสช. สสส. และตระกูล ส.ที่ใช้เงินด้านสุขภาพไปกับกิจกรรมของมูลนิธิที่กรรมการบอร์ดตั้งขึ้น กับกิจกรรมของเอนจีโอที่เป็นกรรมการบอร์ดอย่างไร ?
5. ท่านจะแก้ปัญหาการที่ สปสช.ใช้เงินเป็นตัวควบคุมการทำงานของแพทย์และโรงพยาบาลอย่างไร เช่นการกำหนดยารักษาโรค วิธีการรักษาโรค วัสดุทางการแพทย์ที่ สปสช. กำหนดให้เบิกได้เบิกไม่ได้ซึ่งไม่เป็นไปกับความเหมาะสมตามที่แพทย์พิจารณา
6. ท่านจะแก้ปัญหาการจ่ายเงินของสปสช.ที่จ่ายให้โรงพยาบาลน้อยกว่าค่าใช้จ่ายจริงอย่างไร?
7. ท่านจะแก้ปัญหา สปสช.จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เองทั้งที่ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดยาเวชภัณฑ์และวิธีการรักษาผู้ป่วยอย่างไร?
8. ท่านจะแก้ไขเรื่องที่สปสช.เอาเงินไปให้ อปท.ใช้จำนวน 7 พันล้านบาทที่ตกค้างอยู่นั้นอย่างไร? ทำไมจึงให้สปสช.ทำเช่นนั้นได้ และต่อไปจะแก้ไขอย่างไรเพื่อไม่ให้สูญเงินที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ควรจ่ายให้โรงพยาบาลแทนประชาชนอีก?
9. การไร้ผลงานหรือใช้เงินไม่คุ้มค่าการลงทุนของ สสส.สปสช.สพฉ.และหน่วยงาน ตักูน ส. ที่ผลงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการมีองค์กรเหล่านี้ ยอดขายเหล้าบุหรี่เพิ่มทุกปี อุบัติเหตุบนท้องถนนเพิ่มมากและรุนแรงขึ้น อัตราการตายบาดเจ็บพิการเพิ่ม การสูบบุหรี่ไม่ลดลง ท่านมีแนวนโยบายแก้ไขปรับปรุงอย่างไร?
10. ท่านจะดำเนินการจ่ายเงินค่าตอบแทนแพทย์ ผู้ปฏิบัติงาน ที่ปลัดกระทรวง สธ. ออกระเบียบให้จ่ายแต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหลายแห่ง ไม่จ่ายเงิน และค้างจ่ายเป็นเวลาเกือบ 3 ปี แล้วอย่างไร
สอบไม่ผ่านอย่าให้เป็นครับ.เปลือง

ข้างล่างนี้ เป็นคำตอบที่ช่วยรัฐมนตรีคิดแก้ไขปัญหา ถ้ารัฐมนตรีไม่ทำตามนี้หรือไม่สั่งให้ปลัดประทรวงทำตามนี้ แสดงว่าพวกเขาสองคนต่างก็นั่งเก้าอี้ตำแหน่งเฉยๆ ไม่สมควรจะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขให้นั่งอยู่บนเก้าอี้ทั้ง 2 ตัวนี้ต่อไป

1. แก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ทั้งฉบับ เพื่อโอนสปสช.เข้าไปเป็นหน่วยงานราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ให้มีหน้าที่จ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุขแทนประชาชน ทั้งนี้ภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน เพื่อไม่ให้มาทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับกระทรวงสาธารณสุข และทำหน้าที่บริหารเงินเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องให้คนที่เป็นแพทย์มาบริหารสปสช. แต่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญการเงิน การคลัง และการประกันภัยมารับผิดชอบในเรื่องการบริหารกองทุนประกันสุขภาพที่เขาถนัด และที่สำคัญรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องกล้าหาญที่จะประกาศให้ประชาชนเข้าใจว่า ของฟรีๆดีๆ ไม่มีในโลก ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนงบประมาณที่เหมาะสม จึงทำให้มาตรฐานการรักษษตกต่ำ ประชาชนต้องตายโดยยังไม่สมควรตาย (เช่นในกรณีที่สปสช.กำหนดระเบียบให้ผู้ป่วยไตวายเรื้องรังระยะสุดท้าย ต้องยอมรับการล้างไตหน้าท้องเป็นวิธีแรก ทำให้ผู้ป่วยตายเร็วมากกว่าการล้างไตตามความเหมาะสมของการป่วยของผู้ป่วยแต่ละคน)
ฉะนั้นต้องหาเงินมาแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดเงิน แต่จะหาเงินมาจากไหน มีทางเลือก 2 ทาง คือ ตรวจสอบการใช้เงินของสปสช.อย่าให้รั่วไหลออกนอกระบบ และเพิ่มอัตราภาษีรายได้หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเพิ่มทั้งสองอย่าง เพื่อให้รัฐเก็บภาษีได้มากขึ้น เพื่อเอามาเพิ่มงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยให้เพียงพอตามมาตรฐานและคุณภาพ หรือให้ประชาชนที่ไม่ยากจนร่วมจ่ายเงินเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อจะให้ประชาชนตระหนักใน “มูลค่าและคุณค่าของการรักษา” ไม่ใช่ของให้ฟรี จนทำให้บางกรณีมีการใช้เกินความจำเป็นหรือเบิกยาซ้ำซากแล้วเอาไปทิ้งๆขว้างๆ เป็นการสูญเสียงบประมาณอย่างน่าเสียดาย ส่วนประชาชนที่ยากจน(มีรายได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ หรือไปลงทะเบียนคนจนแล้ว) ให้ได้สิทธิ์รับบริการฟรี มาตรการเหล่านี้จะทำให้มีเงินเข้าสู่กองทุนมากขึ้น เช่น การย้ายสปสช.มาเป็นหน่วยราชการจะประหยัดค่าบริหารที่สูงเกินระบบราชการได้อีกปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท การให้ประชาชนที่ไม่ยากจนร่วมจ่ายก็จะได้เงินเข้าสู่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่างที่รพ.สังกัดมหาวิทยาลัย สามารถหาเงินเข้ารพ.ได้จากการตั้งคลีนิกพิเศษเก็บเงินค่ารักษาจากประชาชนเข้าสู่รพ.ได้มากขึ้น (กรณีรพ.สิริราชปิยมหาราชการุณย์ หรือ Premium Clinic ของรพ.รามาธิบดี เป็นต้น)
2. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกระทรวง ควรลดอำนาจปลัดกระทรวงที่มีภาระงานครอบคุมโรงพยาบาลทั่วประเทศ และตัดสินใจเพียงลำพังคนเดียว ควรลดภาระปลัดกระทรวงลง และเพิ่มอำนาจให้แต่ละเขตสุขภาพทั้งหมด 13 เขต สามารถบริหารจัดการในการจัดทำบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขอย่างครบวงจร โดยเพิ่มอำนาจให้มีอธิบดีเขต แทนตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารการสาธารณสุขในเขตอำนาจความรับผิดชอบของตนอย่างครบวงจร โดยนำเสนอแผนการบริหารงาน (การจัดสรรทรัพยากร การจัดอัตรากำลัง และการจัดบริการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง)นำเสนอในที่ประชุม และรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และความสำเร็จ เพื่อให้ปลัดกระทรวงและรัฐมนตรีร่วมรับทราบเพื่อให้คำแนะนำและร่วมกันแก้ปัญหา (ถ้ามี) ผ่านการประชุมประจำเดือนของอธิบดีร่วมกับปลัดกระทรวงและรัฐมนตรี
การจะทำเช่นนี้ได้ ต้องมีการแยกการบริหารงานออกจากกพ. เนื่องจากระบบบริการสาธารณสุขมีแต่จะมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงวัย การอยู่ใต้กรอบกพ. ทำให้ถูกจำกัดอัตรากำลัง และไม่มีบุคลากรพอที่จะรับภาระงานให้มีคุณภาพและมาตรฐานได้
3. เป้าหมายการบริหารกระทรวงคือ ปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขทั้งการจัดสรรงบประมาณ กำลังคน และคุณภาพมาตรฐานการบริการ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเป็นรูปธรรม ให้มีงบประมาณเหมาะสม เพื่อจัดให้มีอาคารสถานที่ เตียง เวชภัณฑ์ วัสดุครุภัณฑ์ เทคโนโลยี เครื่องมือแพทย์ อย่างเหมาะสม ทันสมัย ใช้งานได้ดี รวมทั้งมีบุคลากรเพียงพอที่จะทำงานบริการสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษษตามมาตรฐานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค/อุบัติเหตุ ส่งเสริม การสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้มีการสร้างสุขภาพ และละเว้นพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ
ที่สำคัญต้องให้ทั้งรัฐบาล ครม. รมต.และประชาชน เข้าใจว่าระบบการบริการสาธารณสุขคือหัวใจของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้าทรัพยากรมนุษย์ไม่แข็งแรง ขี้โรค ป่วยกระเสาะกระแสะทั้งปี คงไม่สามารถทำงานให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศชาติได้ ถ้าระบบบริการสาธารณศุขดี มีมาตรฐาน คั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ คือสร้างสุขภาพ ป้องกันความเจ็บป่วย (เจ็บคืออุบัติเหตุ ป่วย คือเป็นโรค) ตรวจสุขภาพก่อนเกิดโรค รักษาเมื่อเจ็บป่วยและฟื้นฟูสมรรถภาพ)
4. แก้ไขกฎหมายให้สวรส. สสส. สช.สพฉ. เข้ามาเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุข และตรวจสอบการใช้เงินผิดกฎหมายและมีผลประโยชน์ทับซ้อนให้รวดเร็ว เด็ดขาด เพื่อยุติปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ การโอนหน่วยงานเหล่านี้เข้ามาเป็นหน่วยงานราชการ จะประหยัดค่าบริหารและค่าตอบแทนบุคลากรได้หลายพันล้านบาท มีการตรวจสอบดีขึ้น และมีการทำงานอย่างบูรณาการดีขึ้น เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่อประชาชน
5. เมื่อแก้กฎหมาย้ายโอนสปสช.ไปอยู่กระทรวงการคลัง ยกเลิกการก้าวก่ายอำนาจของกระทรวงแล้ว สปสช.ก็ต้องยุติบทบาทดังว่าได้แล้ว
6. แก้ไขกฎหมายให้หน่วยประกันสุขภาพจ่ายเงินตามความเป็นจริง
7. ไม่ส่งเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้สปสช.เหมือนเดิม แต่ให้กระทรวงการคลังโดยกรมประกันสุขภาพดูแลรับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินให้มีการจ่ายเงินตามรายการเบิกจริง
8. ดูคำตอบข้อ 7 และสอบสวนลงโทษการทำผิดกฎหมายอย่างรวดเร็วและจริงจัง
9. ดูคำตอบข้อ 4
10. ปลัดกระทรวงต้องเขียนงบประมาณค่าตอบแทนบุคลากรตามที่เป็นจริงที่เคยจ่ายไปแล้ว และกะประมาณการเพิ่มค่าใช้จ่ายปีละ 20- 30 เปอร์เซ็นต์(ประมาณได้จากอัตราการเพิ่มวงเงินนี้ที่เกิดมาแล้วในแต่ละปี) โดยของบประมาณล่วงหน้าตามวิธีการของบประมาณแผ่นดิน และแก้กฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เอาเงินเดือนบุคลากรสาธารณสุขออกจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/10154497240155208