ผู้เขียน หัวข้อ: อภิสิทธิ์แจงนโยบายสาธารณสุขกับนายกแพทย์สมาคมโลก  (อ่าน 1617 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
นายกฯแจงนโยบายสาธารณ สุขกับนายกแพทย์สมาคมโลก ยัน รบ.พยายามกระจายบริการสาธารณสุขลงสู่ตำบล ให้ค่าตอบแทน อสม. พร้อมเดินหน้าหลักประกันสุขภาพครอบคลุมแรงงานต่างด้าว

เมื่อเวลา 13.30น. วันที่ 10 ม.ค.ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล น.พ.วันชาติ ศุภจัตุรัส นายกแพทย์สมาคมโลก (President of the World Medical Association) เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อปรึกษาหารือและรับทราบนโยบายเพื่อให้การปฏิบัติงานมีความสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย และเพื่อจะได้ถ่ายทอดเจตนารมณ์ของรัฐบาลต่อสังคมโลกอันจะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศไทยต่อไป

 โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงแนวทางและนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานทางด้านการ แพทย์และสาธารณะสุขของในประเทศไทยว่า การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนั้นจะมีเรื่องหลักๆ ซึ่งคิดว่าทั่วโลกได้รับทราบและมีการติดตามการดำเนินการอยู่แล้ว คือ 1.เรื่องที่เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ทั่วโลกให้ความ สนใจและรัฐบาลได้มีการเดินหน้าในการที่จะดำเนินการให้เรื่องนี้มีคุณภาพและ ครอบคลุมมากขึ้นไปจนถึงแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกันก็จะมีการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้องและมีความพอดีระหว่างระบบ ประกันสังคมกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและข้าราชการ ซึ่งการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้คิดว่าเป็นประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็น นโยบายต่อเนื่อง

 นายกฯ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 2.รัฐบาลพยายามที่จะกระจายบริการทางด้านสาธารณสุขลงไปสู่ระดับตำบลให้มากขึ้น 3.รัฐบาลมีนโยบายในการให้ค่าตอบแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) รัฐบาลก็ได้เริ่มกำหนดภารกิจต่างๆ ให้มีความชัดเจนและคลอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะได้มีแนวคิดให้ "10 ครัวเรือนมี อสม. 1 คน" ในการคอยดูแลติดตามและให้คำแนะนำเบื้องต้นในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับสาธารณสุข เช่น เรื่องไข้หวัด ไอโอดีน ซึ่งระบบนี้คิดว่าหลายประเทศให้ความสนใจโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา และ4. ในโอกาสสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ครบ 10 ปี มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยจะเห็นได้ชัดว่ามีบทบาทค่อนข้างมากในการรณรงค์ ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องของสุขภาพ ขณะเดียวกันก็จะมีบทบาทในเรื่องของกระบวนการสมัชชาสุขภาพด้วย ซึ่งทำให้กระบวนการในการกำหนดนโยบายสาธารณะจะมีมิติของเรื่องสุขภาพกับการนำ เสนอขององค์กรต่างๆ ซึ่งได้เข้ามาเป็นภาคีเครือข่าย

 "เรื่องดังกล่าวเหล่านี้คิดว่าเป็นสิ่งที่ทั่วโลกได้ติดตามและรับทราบ ถึงแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยมาโดยตลอดและถือว่าการดำเนินงานในเรื่อง นี้มีความก้าวหน้าเมื่อเทียบประเทศในระดับการพัฒนาแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตามก็ในเรื่องของปัญหานั้นก็มีเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ คือในเรื่องของกฎหมายซึ่งยังมีความละเอียดอ่อนอยู่บ้าง" นายกฯ กล่าว

คม ชัก ลึก
10 มกราคม 2554