ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปการสัมมนา "สิทธิการตายอย่างสงบ สิทธิอันชอบธรรมของผู้ป่วย"  (อ่าน 2760 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
สรุปการสัมมนา "สิทธิการตายอย่างสงบ สิทธิอันชอบธรรมของผู้ป่วย" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 13 กค.
นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
นพ. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์
นพ.สันต์ หัตถีรัตน์
ดร.ศันย์สนีย์ ทองประทีป (อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาล เกื้อการุณย์)
สมผล ตระกูลรุ่ง (นักกฎหมายอิสระ)
 
นพ. เมธี ... แพทยสภาเห็นด้วยในหลักการ สิทธิการตายมีอยู่ทุกคน แพทยสภาคงไปทำอะไรไม่ได้ถ้ามีคนอยากตาย แต่ปัญหาคือ กฎกระทรวงและแนวทางที่สช.ออกมาทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
                  ปัญหาของเรื่องนี้เกิดจาก มีคนคิดว่าการตายในสถานพยาบาลทุกวันนี้มันไม่สงบ จึงต้องเขียนกฎหมายเพื่อให้ตายอย่างสงบ โดยคิดเอาว่าตายตามวิธีที่สช.กำหนดแล้วจะตายอย่างสงบ
                  สช.สร้างปัญหาโดยการทำสิ่งที่เป็น "นามธรรม" ให้เป็น "รูปธรรม" ด้วยการเขียนกฎหมายบอกวิธีการตายที่จะไปอย่างสงบ
                  ผู้ร่างมีอคติกับสถานพยาบาลหรือแพทย์ คิดว่า "เลี้ยงไข้" "ต้องการสูบเงิน" "ต้องการทรมาน"
                  คำจำกัดความมีปัญหา "วาระสุดท้าย"  "การบ่งบอกว่าเปลือกสมองเสียหาย" "การยุติการรักษา(ช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิต)ด้วยเหตุผู้ป่วยทรมานจากโรคทางกายหรือใจ"
                   กฎกระทรวงผลักภาระ (สร้างหน้าที่) ให้แพทย์ พยาบาล ทำการยุติชีวิตด้วยการถอดถอน (withdraw) หรือ unplugged แทนที่ญาติจะเป็นผู้ทำเอง
                   แม้ว่ากฎหมายจะคุ้มครอง(วรรคสาม)การถอดถอน แต่ในทางปฏิบัติ หากญาติจะฟ้องก็ฟ้องได้ แพทย์ต้องไปแก้ต่างเองในศาล และที่สำคัญมิใช่เรื่องกฎหมาย แต่เป็นเรื่องศีลธรรม มโนธรรมในใจของผู้ปฎิบัติ
                   ถามคนในห้องว่ามีใครกล้าunpluggedญาติตนเองหรือไม่.... ไม่มี    ++++++แล้วทำไมสช.ถึงกล้ามาบังคับให้บุคลากรทำตามที่สช คิดเองเออเองว่าทำได้ ไม่บาป ทำไมสช ไม่ทำเองหรือตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วมาทำเอง
                   ชี้แจงว่าที่ผ่านมาได้มีการคัดค้านเรื่องนี้แล้ว แต่สช.ไม่ยอมฟัง
                   
                    เน้นย้ำต่อสื่อมวลชนว่า "แพทยสภาไม่ขัดข้องเรื่องสิทธิการตาย แต่ติดใจกฎกระทรวงและแนวปฏิบัติที่สช.กำหนด ซึ่งก่อให้ปัญหาให้บุคลากร โดยการลากบุคลากรเข้าไปเกี่ยวข้องในการถอดถอนโดยตรง"
                    เน้นย้ำว่า "ทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องตาย ติดตัวมาแล้วตั้งแต่เกิด ไม่จำเป็นต้องมาบัญญัติสิทธิการตาย" คนที่เขียนกม.นี้ต้องไปศึกษาพุทธศาสนาใหม่ว่า "ตายอย่างสงบคือแบบไหน" แต่ไม่ใช่ตายตามพรบ.นี้แน่นอน
 
 
อ.วิฑูรย์.... แพทยสภาตีความเกินเลย ตีความทุกตัวอักษร ทำให้เกิดความเข้าใจผิด   ไม่ต้องกลัวการฟ้องร้อง

    (ชี้เจงว่า เหตุเกิดเพราะสช.เป็นคนเขียนกม. หากไม่อ่าน ไม่ตีความแล้วจะให้ทำอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นกม. ทุกวันนี้ไม่ได้มีกรณีปัญหาแบบนี้ให้ลำบาใจเท่าไร ทำไมต้องออกเป็นกม. สงสัย สช. ไม่มีอะไรทำ (เจี้ยป้า บ๋อซือ)  หากเกิดปัญหาจริง ญาติก็สามารถไปร้องต่อศาลได้เป็นกรณี ๆ ไป ไม่เห็นต้องออกเป็นกม. แล้วมาบังคับแพทย์ พยาบาลให้ทำแทนญาติ)
                 ผู้ป่วยต้องการก็ต้องทำให้ผู้ป่วย
                 แพทยสภาไม่เอาไหน หากค้านเรื่องนี้ อีกหน่อย ประชาชนก็จะยุบแพทยสภาไปเอง (ไม่โต้ตอบ)
 
อ. สันต์ .. แพทยสภาทำผิดบทบาทตนเอง ควรไปตรวจหรือเอาผิดกับแพทย์ที่ทำไม่ดี  ต้องไปดูตนเองก่อน
               ทำขึ้นเพื่อให้แพทย์สบายใจในการหยุดการรักษา     
               ตำหนิแพทย์ (ตนเอง) ว่ากล้าใส่ท่อ ก็ต้องกล้าถอดถอนท่อ ไม่ใช่เรื่องของญาติที่จะไปถอดถอนท่อแทนแพทย์หรือพยาบาล    (อึ้ง........)
 
อ. สมผล .. เห็นว่าแพทยสภากับสช.เห็นตรงกันว่า "สิทธิการตาย" เป็นสิทธิของทุกคน แต่ที่ไม่เข้าใจกันคือ "วิธีปฏิบัติตามกฎกระทรวง และแนวทางสช. คือสิ่งที่ก่อปัญหา"
 
                 แปลกใจว่าทำไมแพทยสภา ถึงไม่คุยกับสช. เพราะเป็นแพทย์ด้วยกัน (อธิบายแล้วว่า สช.รับฟัง แต่ไม่สนใจ และดึงดันจะทำให้ได้)
 
                 เน้นว่าทำไมเวลาเซ็นใบยินยอมรักษา ไม่เห็นแพทย์หรือสถานพยาบาลสนใจตรวจสอบว่าเป็นญาติจริงหรือไม่ แล้วทำไมมาสนใจกับความถูกต้องของพินัยกรรมก่อนตาย (อธิบายว่า การรักษาชีวิตผู้ป่วยเป็นหน้าที่ของแพทย์
                 อยู่แล้วตั้งแต่ต้น   หากรักษาไปแล้ว เอกสารยินยอมปลอม ก็ไม่มีใครเสียหายจากการที่แพทย์พยายามรักษาไว้ก่อน  แต่หากเอกสารพินัยกรรมก่อนตายปลอมแล้วแพทย์ทำตามไปแล้ว ความเสียหายคีอ "คนไข้ตาย" โดยที่เรียก
                 กลับคืนมาไม่ได้) สองเรื่องนี้เอามาเทียบกันไม่ได้
 
                  เห็นด้วยกับแพทยสภาที่ปัญหาน่าจะมาจากเรื่องแนวทางที่สช.วางไว้โดยเฉพาะการถอดถอนการรักษาที่ไปผลักภาระให้แพทย์หรือพยาบาลทำแทนญาติ เพราะเป็นเรื่องมโนธรรม ไปบังคับเขาไม่ได้
 
ดร.ศันสนีย์ .. แพทย์น่าจะช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบด้วยการทำตามกม.นี้ ทำไมต้องมาคัดค้าน พยาบาลไม่เห็นมีปัญหาอะไรกับกม.นี้  (ชี้แจงว่า ตัวแทนสภาการพยาบาล ไม่เห็นด้วยกับกม.นี้  คงมีแต่อ.ที่เห็นด้วย)
                    พยาบาลไม่มีหน้าที่ถอดถอนการรักษา เป็นหน้าที่ของแพทย์ต้องทำเอง เพราะเป็นคนรักษา  (โต้แย้งไปแล้วว่า ให้รอถามสภาการพยาบาล ก่อนว่า พยาบาลกระทบหรือไม่กับกม.นี้)
                     
ผู้เข้าร่วมประชุม ไม่ทราบนาม คาดว่าเป็นทั้งพยาบาลและสื่อมวลชน .... ดิฉันกล้าถอดถอน และextubate ไปแล้วหลายราย ไม่เห็นจะเป็นบาปตรงไหน  (ชี้แจงว่า คงไปบังคับเรื่องความเชื่อแบบนี้ไม่ได้ เป็นเรื่องปัจเจกบุคคล หากคุณ คิดว่าไม่บาปและอยากทำก็ทำไป  แต่ยังมีอีกประเด็นที่ในเวทีลืมพูดถึง คือ การยุติการรักษาตามกฎกระทรวงด้วยเหตุผลเรื่อง "ผู้ป่วยทรมานจากความเจ็บป่วยทางกายหรือใจ"  ใครจะกล้าถอดถอนหรือunplugผู้ป่วยที่ยังลืมตาปริบ ๆ .....ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ยอมตอบเรื่องนี้)

นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
ผมมีความเห็นว่ามาตรา๑๒นี้ จะเกิดผลตรงกันข้ามคือคนที่ใกล้จะเสียชีวิตจะถูกยื้อชีวิตมากขึ้น เพราะคนร่างกฎหมายเข้าใจว่าการไม่ปั๊มหัวใจ การหยุดการให้ยากระตุ้นหัวใจคือการไม่ให้การรักษา ทั้งๆที่นั่นคือการรักษาที่ไร้ประโยชน์ เราจึงสามารถไม่ให้การรักษาดังกล่าวได้ โดยการแจ้งแก่ญาติให้เข้าใจ หากไม่เข้าใจก็ยื้อต่อไป ปัญหาคือต่อไปนี้ญาติก็ตัดสินใจไม่ได้ เพราะกฎหมายให้สิทธิเฉพาะบุคคลเท่านั้น ผู้ป่วยเหล่านี้จำนวนมากจะถูกยื้อต่อไป ความจริงเขาต้องการเฉพาะกลุ่มพิการรุนแรง และvegetative เท่านั้น ดังนั้นน่าจะเขียนให้ชัดว่ากรณีนี้เท่านั้นส่วนกรณีอื่นๆ มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางการแพทย์อยู่แล้ว การถูกยื้อหรือไม่ขึ้นกับญาติและทักษะของแพทย์ในการอธิบายให้ญาติเข้าใจได้ว่าการรักษาต่อไปไม่เป็นประโยชน์ต่อคนไข้ ไม่ใช่บอกว่าจะสู้ต่อหรือไม่ หรือถามญาติว่าจะให้ปั้มหัวใจหรือไม่ แพทย์ควรให้คำแนะนำว่าน่าจะทำอย่างไรโดยให้ญาติคล้อยตามไม่ให้เกิดความขัดแย้งในจิตใจว่าไม่ได้รักษาอย่างเต็มที่ และชี้ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่า ขอฝากบทความที่ลงในทันโลกทันเหตุการณ์กับแพทยสภา วันเสาร์ที่๒๔มิย ๕๔ ดังนี้ครับ

สุกิจ  ทัศนสุนทรวงศ์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
สิทธิที่จะเลือกการตายอย่างสงบของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
หรือจะเป็นผลตรงกันข้ามในทางปฏิบัติ ?
                                                                                                                                                                                                                                                 นายแพทย์สุกิจ  ทัศนสุนทรวงศ์
                                                                                                                         ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา

               เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ที่ผ่านมากฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตของตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ มีผลบังคับใช้ ซึ่งโรงพยาบาลและแพทย์จะต้องถือปฏิบัติ  มีการประชาสัมพันธ์อย่างมากว่าเป็นกฎหมายที่ทันสมัยให้สิทธิบุคคลในการที่จะเลือกตายอย่างสงบ โดยปฏิเสธการปั๊มหัวใจเมื่อหัวใจหยุดเต้น หยุดยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ หยุดเครื่องช่วยหายใจ ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่ให้อาหารใดๆ เป็นต้น ทั้งนี้ตามเนื้อหาในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่บัญญัติว่า “บุคคลมีสิทธิแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตของตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

หากพิจารณาตามบทบัญญัติตามตัวอักษรแล้วเป็นการให้สิทธิเฉพาะตัวเท่านั้น ไม่มีใครมีสิทธิแสดงเจตนาแทนได้ ทั้งๆที่ในการปฏิบัติทางการแพทย์นั้นผู้ป่วยเหล่านี้ เมื่อมีข้อวินิจฉัยแน่ชัดว่าไม่มีหนทางเยียวยาและใกล้เสียชีวิตแล้ว การให้ยาหรือเครื่องช่วยพยุงสัญญาณชีพหรือการให้ยากระตุ้นหัวใจ การใส่เครื่องช่วยหายใจ การปั๊มหัวใจ หรือแม้แต่การใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว โดยการตัดสินใจร่วมกันของญาติแพทย์ก็จะยุติการกระทำดังกล่าว และผู้ป่วยก็จากไปอย่างสงบโดยไม่มีใครคิดว่าเป็นการละเลยการช่วยเหลือในภาวะวิกฤติแต่อย่างใด เหล่านี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์อยู่แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นหากไม่มีการสื่อสารให้เข้าใจว่าการปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาแบบยืดชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการของญาติหรือตัวแพทย์เองได้ ส่วนกรณีที่กฎกระทรวงกำหนดเกินจากขอบเขตที่พรบ.กำหนดคือการกำหนดว่าผู้ที่อยู่ในสภาพผักถาวร(คือภาวะที่สมองส่วนหน้าเสียหายถาวรผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้โต้ตอบได้มีเพียงการทำงานของก้านสมองเท่านั้นคือสามารถหายใจได้เอง นอนลืมตาไม่มีความหมาย) เป็นผู้ที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตด้วย ซึ่งข้อกำหนดทางการแพทย์ไม่มีกำหนดไว้ หากต้องการกำหนดดังกล่าวควรกำหนดความหมายไว้ในพรบ.ให้ชัดเจนจึงจะเป็นผลทางปฏิบัติได้(โดยทั่วไปในต่างประเทศกรณีเช่นนี้จะขออำนาจศาล แต่หากกำหนดเป็นกฎหมายได้ กรณีเช่นนี้จึงจะถือว่าเรามีกฎหมายที่ก้าวหน้ากว่า)

ปัญหานี้น่าจะแก้ไขได้ด้วยการมีแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย มากกว่าที่จะกำหนดเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิเฉพาะบุคคลที่แสดงเจตนาเท่านั้น นั่นหมายถึงว่าคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้แสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าอาจไม่สามารถได้รับการดูแลตามแนวทางทางการแพทย์ดังกล่าวได้ ผลจึงอาจเป็นตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยเฉพาะในวรรคท้ายที่ว่าเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง อาจหมายถึงว่าที่ปฏิบัติอยู่เป็นความผิดหากผู้ป่วยนั้นไม่ได้แสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า หากจะให้เป็นประโยชน์ควรแก้เนื้อหาในมาตรา ๑๒ เป็นดังนี้ “บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างเหมาะสม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง” 
.....................................................................................