ผู้เขียน หัวข้อ: “อนุทิน” ตอบปมปัญหาบุคลากรถ่ายโอนไป อบจ. ชี้เป็นหน้าที่ปลัดสธ.บริหารจัดการ  (อ่าน 163 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
“อนุทิน” มอบปลัด สธ.ไขปมข้อขัดแย้งถ่ายโอน รพ.สต.ไปอบจ. เหตุเป็นเรื่องการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หนำซ้ำพ.ร.บ.กระจายอำนาจฯ เป็นกฎหมายในรัฐบาลชุดก่อน ไม่ใช่ชุดนี้ ในฐานะรมว.ไม่สามารถประกาศนโยบายไม่ถ่ายโอน ทุกอย่างเป็นกฎหมาย ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น หน่วยงานต้องคุยกัน 

ตามที่คณะทำงานกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลการติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา มีบุคลากรกว่า 40 % ที่โอนย้ายไปมีความต้องการขอย้ายกลับกระทรวงสาธารณสุข จนเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะทางสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และรพ.สต.ส่วนหนึ่งออกแถลงการณ์คัดค้านไม่เห็นด้วย จนนำไปสู่การยื่นเรื่องฟ้องผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ที่ออกมาให้ข่าวเรื่องนี้

เมื่อวันที่ 25 มกราคม  นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่จะทำทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เกิดขึ้นก่อนรัฐบาลชุดนี้จะเข้ามา เป็นเรื่องของสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งตนรับทราบเพียงว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตนคงไม่สามารถมีนโยบายใหม่อะไรได้ เพราะเป็นเรื่องตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อเป็นกฎหมายก็จะเป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติ โดยส่วนของกระทรวงสาธารณสุขคือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีข้อมูลที่กังวลว่า หากเกิดปัญหาการถ่ายโอนจะมีอุปสรรคต่อการให้บริการประชาชนหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ปลัดสธ.เน้นย้ำตลอดเวลา เท่าที่ตนฟังเมื่อท่านประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ท่านปลัดฯ ก็จะย้ำว่า หน่วยงานต่างๆในบังคับบัญชาต้องให้บริการดีที่สุดต่อประชาชน ส่วนประเด็นถ่ายโอนฯ ที่เกิดขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปคุยกัน เพราะรัฐมนตรีฯ วางนโยบาย แต่ไม่สามารถไปบอกว่า ต้องทำงานแบบนี้แบบนั้น หากทำจะเป็นการก้าวก่าย

“ผมเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีฯ ต้องบอกว่า เข้ามาหลัง พ.ร.บ.กระจายอำนาจฯ การถ่ายโอนด้านสาธารณสุข  ซึ่งเมื่อเป็นกฎหมาย เพราะฉะนั้นผมจะไปมีนโยบายว่า ไม่ให้ถ่ายโอน ย่อมทำไม่ได้ ขอย้ำว่า เรื่องนี้เป็นการปฏิบัติงานก็เป็นเรื่องของปลัดกระทรวงฯ ไม่ใช่เรื่องของรัฐมนตรี” นายอนุทิน กล่าว

25 January 2023
https://www.hfocus.org/content/2023/01/26875

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
อนุกรรมการฯ กระทรวงสาธารณสุข อยู่ระหว่างศึกษาหาทางออกช่วยบุคลากรถ่ายโอนไป อบจ.กว่า 40% ขอย้ายกลับ สธ. ชี้ต้องพิจารณาตามข้อมูลวิชาการ มีตัวอย่างต่างประเทศกระจายอำนาจประสบความสำเร็จ แต่บางพื้นที่สามารถกลับได้ ย้ำ! ทั้งหมดต้องพิจารณาตามระเบียบต่างๆ ที่ไม่ขัดกฎหมาย เผยผลการสำรวจมาจาก 49 พื้นที่ รพ.สต.กว่า 3 พันแห่ง ศึกษาทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ ทำเพื่อประโยชน์ระบบสาธารณสุข   อยากให้รับฟัง มิใช่ออกมาแก้ตัวโจมตี แต่ขาดการแก้ไข   

จากกรณีการติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา มีบุคลากรกว่า 40 % ที่โอนย้ายไปมีความต้องการขอย้ายกลับกระทรวงสาธารณสุข จนเกิดคำถามว่าภาครัฐจะมีการหารือเรื่องนี้เพื่อหาทางออกอย่างไรนั้น

เมื่อวันที่ 23 มกราคม   นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิระดับ 11) และประธานคณะอนุกรรมการ MIU วิชาการและติดตามประเมินผลถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพ.สต. ให้แก่ อบจ.  ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ ว่า  อนุกรรมการฯ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กำลังศึกษาเรื่องนี้ว่า จะมีทางออกใดช่วยบุคลากรได้บ้าง ซึ่งหากพิจารณาตามหลักข้อมูลวิชาการ ตัวอย่างที่ผ่านมาของต่างประเทศ กลุ่มประเทศพัฒนาและมีการกระจายอำนาจประสบความสำเร็จดี ในบางพื้นที่ก็สามารถกลับมาได้ แต่ทั้งหมดต้องพิจารณาจากแนวทางวิชาการ ศึกษาระเบียบต่างๆ ต้องไม่ขัดกับข้อกฎหมายที่มี

“โดยหลักกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และไม่กระทบต่อบุคลากรคนทำงาน ซึ่งมองว่าการถ่ายโอนที่ดี คือ การบริการ โดยเป้าหมายหลักคือการบริการประชาชนต้องมีคุณภาพ ประชาชนได้ประโยชน์แท้จริง ทั้งหมดต้องร่วมด้วยช่วยกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจ ทำงานร่วมกันได้หมด และทุกอย่างต้องพร้อม ทั้งคน เงิน ของ” นพ.รุ่งเรือง กล่าว

**ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงตัวเลขบุคลากร 40% ที่อยากกลับคืนกระทรวงฯว่า เป็นการสำรวจอย่างไร.. นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า การสำรวจเป็นไปตามหลักข้อมูลวิชาการ ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ทำเพื่อประโยชน์เพื่อระบบสาธารณสุขและประชาชน  ถือเป็นการสะท้อนให้ข้อแนะนำเชิงสร้างสรรค์ (Constuctive  feedback) อยากให้รับฟัง มิใช่ออกมาแก้ตัวโจมตี แต่ขาดการแก้ไข โดยสำรวจ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปกว่า 3,000 แห่ง ใน 49 พื้นที่  และลงพื้นที่ไปสำรวจแบบโฟกัสกรุ๊ป ให้ตอบคำตอบแบบอิสระ จึงได้ข้อมูลอย่างที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้ ว่า สาเหตุหลักๆที่ต้องการกลับคืนกระทรวงสาธารณสุข มีทั้ง  1.ความไม่พร้อมในการรับถ่ายโอนของ อบจ. ระบบใหม่ยังไม่ลงตัว ระเบียบต่างๆ และแนวทางการดำเนินงานยังไม่ชัดเจน และไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของสาธารณสุข  2. ภาระงาน ให้เหตุผลว่า ภาระงานเพิ่มมากขึ้น บุคลากรไม่เพียงพอต่องาน ฯลฯ

3. ความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน โดยลูกจ้างมีโอกาสก้าวหน้าค่อนข้างยากและไม่มีความชัดเจน  4. ระบบการทำงานของ อบจ.ไม่เอื้อต่อการทำงานของ รพ.สต. แนวทางการปฏิบัติงานยุ่งยาก ซับซ้อน ขั้นตอนมาก ไม่มีความคล่องตัว ฯลฯ  และ 5. ความรู้สึกหลังการโอนย้าย โดยระบุว่าไม่ชอบระบบทางการเมือง แนวนโยบายก่อนกับหลังถ่ายโอนไม่สามารถทำตามได้จริง

**ผู้สื่อข่าวถามอีกว่าประเด็นการถ่ายโอน รพ.สต. ครั้งนี้ควรมีการปรับปรุงร่วมกันอย่างไรให้ครั้งหน้าเกิดปัญหาน้อยที่สุด..  นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า หลักๆ มองว่า
1.กลไกส่วนกลางที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ ควรมีการประสานงานร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเน้นการสั่งการหรืออ้างข้อกฎหมายอย่างเดียว ต้องเน้นประสานงาน สร้างความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยเฉพาะภาคประชาชน 
2.คู่มือแนวทางการถ่ายโอนฯ มักมีบางส่วนระบุว่า ทำไมไม่ทำตามคู่มือ หากทำตามก็จะไม่เกิดปัญหา จริงๆต้องมาดูว่าการปฏิบัติตามคู่มือ กับข้อกฎหมายของแต่ละหน่วยงานทำได้มากน้อยแค่ไหนด้วย
3. ระดับพื้นที่ เจ้าหน้าที่ควรเข้าใจหลักการการถ่ายโอนจริงๆ ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า มีส่วนหนึ่งถ่ายโอนเพราะมองความก้าวหน้าเป็นหลัก แต่ข้อเท็จจริงมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องดูว่าสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน ประกอบกับงานสาธารณสุข เป็นเรื่องหลายมิติ มีมิติความเป็นมนุษย์ มีการป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งค่อนข้างซับซ้อน และ
4.กลไกโครงสร้างการทำงานระดับพื้นที่อาจต้องปรับให้มีส่วนร่วมจริงๆ ในทุกพื้นที่

“จากการสำรวจพบว่า การโอนย้ายไปอบจ.ครั้งนี้ ที่อยู่ในระดับพอใช้ ดีและดีมากมี ประมาณ 10% แต่มีราว 90% ที่ค่อนข้างมีปัญหาหลากหลาย ตรงนี้ต้องค่อยๆทำงานร่วมกันและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ในอนาคตที่จะมีการถ่ายโอนอีกเกิดปัญหาน้อยที่สุด เพราะสุดท้ายเป้าหมายสำคัญคือ ประชาชนต้องได้รับประโยชน์ และเจ้าหน้าที่ต้องทำงานอย่างมีความสุข” นพ.รุ่งเรือง กล่าว

23 January 2023
https://www.hfocus.org/content/2023/01/26853