ผู้เขียน หัวข้อ: จี้หมอ รพ.เอกชนหยุดขัดขวาง พ.ร.บ.ผู้ป่วยฯ  (อ่าน 1407 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
เครือข่ายภาคประชาชน เสริฟออร์เดิร์บ ก่อนชุมนุมใหญ่ 5 ต.ค.รวมตัวหน้า รพ.รามคำแหง จี้หมอเอกชนหยุดบิดเบือนหลักการ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วย ฯ-เลิกให้ร้ายภาคประชาชน แย้มขณะนี้มีผู้ต้องการเข้าร่วมชุมนุม 3,000 คน
 
 วันนี้ (3 ต.ค.)เวลาประมาณ 11.30 น.เครือข่ายภาคประชาชนจำนวนกว่า 20 คน อาทิ เครือข่ายผปู้บริโภค เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ สภาองค์กรชุมชน ชมรมเพื่อนโรคไต ฯลฯ รวมตัวกันที่หน้า โรงพยาบาลรามคำแหง ซ.รามคำแหง 34 กทม. เพื่อเรียกร้องให้แพทย์ในสังกัดโรงพยาบาลเอกชน หยุดขัดขวาง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ...พร้อมทั้งประกาศ เจตนารมณ์เพื่อเดินหน้าผลักดัน พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ต่อไป

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือ ข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กล่าวว่า การรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาชนกันในครั้งนี้ เพื่อเรียกร้องให้แพทย์ โรงพยาบาลเอกชนที่พยายามบิดเบือนความจริงในเนื้อหา หลักการ ของร่าง พ.ร.บ. ให้กลุ่มแพทย์เข้าใจว่าหากมีการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวนั้นจะส่งผลเสียต่อบ ุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งๆที่นักกฎหมายยืนยันแล้วว่า พ.ร.บ.มีเจตนารมณ์ที่ดี และมีกองทุนเฉพาะสำหรับช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณ สุข โดยไม่มุ่งเอาผิดกับผู้ประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุข ซึ่งส่งผลดีทั้งกับประชาชนและบผู้ประกอบวิชาชีพฯ

ด้าน นส.สารี อ๋องสมหวัง เลาขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า หลังจากที่เวลาในการเปิดเวทีเจรจาร่วมทั้งสองฝ่ายดำเนินมาต่อเนื่องถึง 3 ครั้ง ก็ยังไม่เป็นผล โดยแพทย์ที่คัดค้านพยายามจะซื้อเวลาเพื่อให้ขั้นตอนของการผลักดัน พ.ร.บ.ที่กำลังรอคิวเข้าวาระที่ประชุมสภาฯล่าช้า เช่น ไม่ยอมเข้าร่วมประชุม เดินออกระหว่างจัดประชุม หรือแม้กระทั่งการพยายามให้ร้ายเครือข่ายภาคประชาชนว่า มีส่วนได้ส่วนเสียจากการตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหาย หรือความพยายามบอยคอทตัวแทนแพทย์ ที่มีมติจากการประชุมเฉพาะองค์กรในเชิงสนับสนุน พ.ร.บ.ฯลฯ ดังนั้นภาคประชาชนจึงจำเป็นต้องแสดงจุดยืนในการเดินหน้า พ.ร.บ.ต่อไป ด้วย การขอประกาศเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมชุมนุมมนวันที่ 5 ต.ค.2553 เวลาประมาณ 08.00 น.ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันและเร่งรัดรัฐบาลให้ผลักดัน พ.ร.บ.เข้าสู่สภาฯโดยเร็ว ซึ่งในวันดังกล่าวมีตัประชาชนที่ยืนยันรายชื่อเข้าร่วมแล้วราว 3,000 คน
   
  "ที่ผ่านมาสภาผู้แทนณาษฎร ไม่เคยทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนภาคประชาชนเลย ทั้งๆที่เป็นบทบาทโดยตรง ซ้ำยังมีบางครั้งตัวแทนของสภากลับทำตัวเหมือนช่วยฝ่ายแพทย์ที่พยายามจะคว่ำร ่าง พ.ร.บ.อันเป็นสิ่งที่จะคุ้มครองภาคประชาชน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ดังนั้นในวันที่ 5 นี้ ภาคประชาชนจะไปพบท่านนายกรัฐมนตรี ตามที่ท่านเคยให้สัญญาว่าหากเจรจาทั้งสองฝ่ายไม่เป็นผลหรือไม่เจอทางออก ก็ให้บอกกล่าวได้ " นส.สารี กล่าว
   
  น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า กลุ่มแพทย์ที่คัดค้านและพยายามล้ม พ.ร.บ.มี 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ 1.แพทย์ ในสังกัด รพ.รัฐ ที่ได้รับค่าตอบแทนน้อยจึงพยายามจะไปทำหน้าที่ใน รพ.เอกชนนอกเวลาราชการ 2.แพทย์ รพ.เอกชนที่เคยคัดค้าน มาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันนสุขภาพแห่งชาติ และ 3.แพทย์ในสังกัด รพ.เอกชน ที่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข ฉบับที่ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ เป็นผู้ยกร่าง ซึ่งหลักการของกฎหมายฉบับดังกล่าว ไม่ได้คุ้มครองผู้เสียหายที่เข้ารับบริการใน รพ.เอกชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) ตั้งข้อสงสัยว่า มติที่ประชุมเฉพาะองค์กรของคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามธิบดี ที่ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี ได้นำเสนอในการประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณส ุข เมื่อวันที่ 28 ก.ย.นั้น อาจเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว และไม่ใช่ข้อสรุปที่ได้จากการหารือร่วมของบุคลากรทั้งหมด
   
  ล่าสุด นพ.ธันย์ กล่าวว่า ตนยืนยันว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นมติจากที่ประชุมของบุคลากรของคณะแพทย์ศาสตร์  รพ.รามาธิบดี จริงๆ ซึ่งตนมีหลักฐานทีเป็นวาระในการประชุมหารือ เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2553 ซึ่งจัดโดยสภาอาจารย์ คณะแพทย์ศาสตร์ฯ ที่มีการเชิญตัวแทนจากทั้งสองฝ่ายทั้งตัวแทนแพทยสมาคม แพทยสภาและนักกฎหมาย มาร่วมหารือและตอบคำถามเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ แก่บุคลากรโดยตรง แต่ครั้งนั้นตัวแทนจากแพทยสภาไม่ด้เข้าร่วมตามคำเชิญ ทั้งนี้หลังจากหารือร่วมสองฝ่าย ทาง รพ.รามาธิบดี ก็นำความคิดเห็นที่ได้เข้าสู่การประชุมคณธกรรมการประจำคณะแพทย์ศาสตร์ เพื่อหาข้อสรุปเฉพาะองค์กรและได้นำเสนอต่อผู้เข้าร่วมประชุม คกก.เสริมสร้างฯ โดยมีหลักๆ มีการแนะนำให้ทบทวน ทำความเข้าใจ ในบางมาตรา 6(1) และ 6(2) ซึ่งจากข้อมูลทุกฝ่าย ทราบว่าพ.ร.บ.จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ กับผู้ป่วย จากระบบอุปถัมภ์ เป็นพันธสัญญา จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าได้ ในขณะที่แม้จะรักษาตามมาตรฐาน แต่ก็สามารถเกิดสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ขึ้นได้ จึงจำเป็นต้อง หาทางก้าวข้ามปัญหาร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การมีมติเห็นชอบในหลักการของพ.ร.บ. ให้สามารถปฏิบัติได้จริง
   
  "มติที่ได้นำเสนอไป ไม่ใช่ว่าทางโรงพยาบาลรามาธิบดี จะเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่นำเสนอตามสภาพความจริง ซึ่งบุคลากรในคณะแพทมย์ศาสตร์ได้มีโอกาสรับฟังหลักการของ พ.ร.บ.จากทั้งสองฝ่ายและตีความออกมา จนได้เป็นข้อสรุปดังที่เสนอไป " นพ.ธันย์ กล่าว
 
    ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางโรงพยาบาลจะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งก่อนที่จะเข้าร่วมประชุม คกก.เสริมสร้างฯ นัดต่อไปตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 12 ต.ค.หรือไม่ ได้รับคำตอบว่า ทางโรงพยาบาลมีการสรุปเป็นข้อคิดเห็นชัดเจนแล้ว และจะไม่มีการประชุมหารืออีก อย่างไรก็ตามการประชุมฯนัดหน้าก็คงต้องนำเสนอตามมติเดิม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ตุลาคม 2553