ผู้เขียน หัวข้อ: 100 ปีแล้วที่มนุษย์ไปถึง “ขั้วโลกใต้”  (อ่าน 1112 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
100 ปีแล้วที่มนุษย์ไปถึง “ขั้วโลกใต้”
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2012, 21:26:36 »
 ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ปีก่อนสองนักสำรวจชาวนอร์เวย์และอังกฤษได้แข่งขันกันไปให้ถึง “ขั้วโลกใต้” มีคนหนึ่งที่ไปถึงก่อนและอีกคนตามหลังไปอย่างเฉียดฉิว (เมื่อคำนึงถึงการคมนาคมในยุคนั้น) แต่อีกคนไม่สามารถเอาชีวิตรอดกลับมาจากดินแดนหนาวเหน็บได้ ถึงอย่างนั้นทั้งคู่ก็ได้เปิดประตูสู่การสำรวจโลกที่มีสภาพแวดล้อมเป็นลักษณะเฉพาะตัว
       
       เมื่อ 14 ธ.ค. 1911 โรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen) นักสำรวจชาวนอร์เวย์ และคณะ ได้ไปถึงขั้วโลกใต้ อันเป็นทวีปที่หนาบเหน็บ แห้งแล้ง และเต็มไปด้วยลมกระโชกแรงมากที่สุดในโลก และหลังจากนั้นในวัน 17 ม.ค.1912 กัปตัน โรเบิร์ต ฟอลคอน สก็อตต์ (Robert Falcon Scott) นักสำรวจชาวอังกฤษและคณะก็ตามไปถึงและพบว่าคณะสำรวจจากนอร์เวย์ได้ชิงตำแหน่งมนุษย์กลุ่มแรกที่ไปเยือนขั้วโลกใต้ก่อนแล้ว
       
       น่าเศร้าเมื่อสก็อตต์ได้เสียชีวิตท่ามกลางกองน้ำแข็งระหว่างที่พยายามกลับจากขั้วโลกใต้ แต่ถึงอย่างนั้นการเดินทางทั้งไปและกลับอันยากลำบากของทีมสก็อตต์จากขั้วโลกก็นำตัวอย่างหินและฟอสซิลหนักกว่า 15 กิโลกรัมกลับมาด้วย และเป็นงานที่วางรากฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ในขั้วโลกใต้ ซึ่งมีการตั้งสถานีวิจัยขั้วโลกใต้อามุนด์เซน-สก็อตต์ (Amundsen-Scott South Pole Station) ที่ดำเนินการโดยโครงการแอนตาร์กติก (Antarctic Program) ของสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารจัดการจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (National Science Foundation) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักสำรวจทั้งคู่
       
       ณ สถานีวิจัยดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจจุดที่ทั้งอามุนด์เซนและสก็อตต์ไปถึงอย่างลำบากจนทั่ว และที่สถานีแห่งนี้ไลฟ์ไซน์ระบุว่าโครงสร้างที่พร้อมสำหรับการทำงานวิทยาศาสตร์ขนาดมหึมา ใกล้ๆ กันยังมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 10 เมตรที่ปัจจุบันถูกใช้งานเพื่อศึกษาธรรมชาติอันลึกลับของสสารมืด โดยลึกลงไปใต้แผ่นน้ำแข็งมีเครื่องตรวจวัดอนุภาคทรงลูกบาศก์ที่แต่ละด้านกว้าง 1 กิโลเมตร สำหรับค้นหาอนุภาคลึกลับที่เรียกว่า “นิวทริโน” (neutrino)
       
       สถานีวิจัยอามุนด์เซน-สก็อตต์เป็น 1 ใน 3 สถานีวิจัยที่ดำเนินการตลอดปีของโครงการแอนตาร์กติกสหรัฐฯ ส่วนสถานีอื่นๆ ในแคบสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Peninsula Region) คือ สถานีวิจัยแมคมัวร์โด (McMurdo Station) ณ เกาะรอสส์ (Ross Island) และ สถานีวิจัยปาล์เมอร์ (Palmer Station) ณ เกาะแอนเวอร์ส (Anvers Island) และแม้ว่าทวีปแอนตาร์กติกาจะไม่เป็นมิตรต่อผู้มาเยือน แต่สถานีวิจัยทั้งสามก็ไม่เคยร้างลานักวิทยาศาสตร์ เพราะสภาพแวดล้อมอันเอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะพิสดาร ความน่าตื่นตาตื่นใจของภูมิประเทศ รวมถึงสภาพทางทะเลและบรรยากาศที่ไม่อาจพบได้ที่อื่นบนโลกอีก
       
       ตัวอย่างเช่นตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาการปรับตัวในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตหลากลหายรูปแบบอาศัยอยู่ได้ ตั้งแต่ในรูปของจุลินทรีย์ไปจนถึงเพนกวินและแมวน้ำที่สามารถมีชีวิตรอดในทวีปแอนตาร์กติกาได้ ซึ่งไลฟ์ไซน์ระบุว่าการศึกษาดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเรื่องสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้นักวิจัยยังดูสภาพการดำรงชีวิตและการทำงานของทีมวิจัยในแอนตาร์กติกาเพื่อทำความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าคนเราสามารถรอดชีวิตในระบบนิเวศอันทารุณได้อย่างไร
       
       สิ่งมีชีวิตบางชนิดในแอนตาร์กติกานั้นอยู่ภายใต้ความกดดันอันจำเพาะการลดลงของทะเลน้ำแข็งบางส่วนในแอนตาร์กติส่งผลกระทบวิกฤตต่อเพนกวิน 2 สปีชีส์ที่มีจำนวนจำกัด และน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นก็อาจส่งผลกระทบให้เกิดการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ใต้ทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวทะเลยักษ์ แมงกะพรุนและแมงมุมทะเล
       
       นักวิทยาศาสตร์ยังสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงระดับโลกอันเกี่ยวเนื่องกับทวีปแอนตาร์กติกา อย่างเช่นสถานะปัจจุบันของชั้นโอโซนโลก ซึ่งปกป้องเราจากรังสีอัลตราไวโอเลต และผลกระทบที่อุบัติขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก รวมถึงการเฝ้าสังเกตการตอบสนองของแอนตาร์กติกาต่อโลกที่กำลังร้อนขึ้น เช่น ความเป็นกรดของน้ำในมหาสมุทรและการแยกของธารน้ำแข็งจากแผ่นน้ำแข็งทวีป เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญต่อความเข้าใจปัจจัยที่ทำให้นำแข็งส่งผลกระทบต่อระดับน้ำทะเล


ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 กุมภาพันธ์ 2555