ผู้เขียน หัวข้อ: ครม.เคาะงบเหมาจ่าย สปสช. ปี 56 ลดลง 4.9 % แพทย์ชนบทชี้กระทบระบบ 30 บาท  (อ่าน 918 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีประชุมเมื่อวันที่ 1 พค.ที่ผ่านมา  เห็นชอบตั้งงบเหมาจ่ายรายหัวระบบ สปสช.ปีงบ 2556 อยู่ที่ 2,755.60 บาทต่อหัว  ลดจากปีนี้ 141 บาทต่อหัว  หรือลดลง 4.9 % และลดงบส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง   6.3 %  แพทย์ชนบทชี้เป็นครั้งแรกในรอบสิบปีของระบบบัตรทองที่งบเหมาจ่ายรายหัวลดลง  จะสร้างปัญหาให้กับหน่วยบริการและทำให้เป็นระบบสำหรับผู้ป่วยอนาถาเหมือนในอดีตสวนทางกับนโยบายรัฐบาล
 
ก่อนหน้านี้บอร์ดสปสช.มีมติเห็นชอบให้เสนอรัฐมนตรีตั้งงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2556  อยู่ที่ 2,939.73 บาทต่อคน  และในอดีตที่ผ่านมามีการเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวตามการเพิ่มของอัตราเงินเฟ้อเ ฉลี่ยปีละ 3%  และเงินเดือนเพิ่มเฉลี่ย 6% โดยปี 2553 งบเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้น 9 %    ปี 2554 เพิ่มขึ้น 6%  และปี 2555 สมัยรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ อนุมัติให้เพิ่ม 13.8%
 
นพ.เกรียงศักดิ์  วัชรนุกูลเกีรยติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท  ชี้ว่า   การอนุมัติงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2556  ลดลงประมาณ 5% รวมทั้งลดงบส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอีกกว่า 6% จะทำให้กระทบต่อฐานะการเงิน  และการให้บริการของหน่วยบริการเพราะมีค่าใช้จ่ายจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น  ทำให้ผู้ป่วยสปสช.เข้าไม่ถึงการบริการ การบริการมีคุณภาพต่ำลง กลายเป็นผู้ป่วยอนาถา เพราะผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม  รัฐบาลให้งบประมาณต่อหัวมากกว่า  คือเป็นการตั้งงบประมาณที่สวนทางกับที่รัฐบาลประกาศว่าจะสร้างความเท่าเทียม ระหว่างกองทุนทั้งสามกองทุน   โดยเพิ่มคุณภาพการบริการของระบบ 30 บาท  และให้ความสำคัญกับการสร้างสุขภาพและป้องกันโรค
 
“นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ในฐานะประธานบอร์ดสปสช. ต้องตอบคำถามสังคมและคนไทยว่า  ในยุคสมัยของรัฐบาลนี้ที่ต้องการสร้างความเท่าเทียมของสามกองทุน  ต้องการให้ระบบ 30 บาทมีคุณภาพมากขึ้นต้องการเน้นป้องกันมากกว่าการรักษา  ทำไมกลับตัดงบเหมาจ่ายรายหัวและงบส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลง   และเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบสิบปีส่งสัญญาณล้มระบบบัตรทอง”   ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว
 
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า  ก่อนหน้าที่ผ่านมา  ทางฝ่ายการเมืองมีนโยบายควบคุมไม่ให้งบเหมาจ่ายรายหัวในระบบบัตรทองเพิ่มขึ้ นเป็นเวลา 3 ปี  โดยได้สั่งผ่านสำนักงบประมาณ  แต่ถูกคัดค้านจากนักวิชาการว่าจะทำให้เกิดปัญหากับระบบของสปสช.  ที่เป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ  และประชาชนจะเดือดร้อน  แต่ในที่สุดเสียงคัดค้านจากนักวิชาการก็สู้นโยบายของฝ่ายการเมืองไม่ได้ 

มติชนออนไลน์  2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555