แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - seeat

หน้า: 1 ... 30 31 [32]
466
ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับการศึกษา พ.ศ......

มาตรา 1
ผู้เสียหายจากการรับการศึกษามีสิทธิ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชย
ในกรณีที่ผู้รับการศึกษาได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับการศึกษา โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด

มาตรา 2
บทบัญญัติในมาตรา 1 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติสำหรับระดับไอคิวนั้นๆ ของผู้รับการศึกษา
2. ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้การศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
3. ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้การศึกษาแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

มาตรา 3
ประเภทของความเสียหาย และอัตราการจ่ายเงิน

ประเภท                                                       อัตราการจ่ายเงิน
เสียหายร้ายแรง (สอบตก ไม่มีสิทธิสอบ)                     500,000 บาท           
เสียหายมาก (เอ็นไม่ติด)                                      200,000 บาท
เสียหายเรื้อรัง (เอ็นติดคณะฯที่พ่อแม่ไม่พอใจ)               100,000 บาท

มาตรา 4
การชดเชยความเสียหายให้พิจารณาตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ถ้าผ่านการเรียนพิเศษจากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง ให้ชดเชยเป็นสองเท่า
2. ถ้าผ่านการเข้าร่วมรายการ  tutor channel ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ชดเชยเป็นสามเท่า

มาตรา 5
ให้มีคณะกรรมการคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบการศึกษา มีหน้าที่กำหนดนโยบาย และมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้เสียหาย สนับสนุนการไกล่เกลี่ย และสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบการศึกษา

มาตรา 6
ให้มีคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลื่อเบื้องต้น และเงืนชดเชย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านคุ้มครองผู้รับการศึกษา และผู้แทนสถานศึกษา และผู้แทนผู้รับการศึกษา ด้านละหนึ่งคน
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
(เหตุผล วิชาการ ความจริงไม่ต้องเอามาพิจารณาก็ได้)
การวินิจฉัยของคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการให้เป็นที่สุด

มาตรา 7
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น กองทุนหนึ่ง เพื่อจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย หรือ ทายาท
กองทุนประกอบด้วย
1. เงินที่สถานศึกษา(ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งโรงเรียนกวดวิชา)จ่ายสมทบ
2. เงินที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูจ่ายสมทบ
3. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

มาตรา 8
หากผู้เสียหาย หรือทายาทไม่ตกลงรับเงินชดเชย สามารถฟ้องต่อศาลได้

มาตรา 9
หากผู้ให้ศึกษาถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดี ฐานกระทำการโดยประมาทเกี่ยวเนื่องกับการให้การศึกษา หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ให้ศาลนำข้อเท็จจริงของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี มาตรฐานวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การรู้สำนึกในความผิด การที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การชดใช้เยียวยาความเสียหาย และการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้รับโทษ ตลอดจนเหตุผลอื่นอันสมควร มาพิจารณาประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

มาตรา 10
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

..............นักร่างกฎหมายสมัครเล่น


467
เจตนารมณ์ของ ม.41
1. เป็นมาตรการทางศีลธรรม-------------ไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด
2. บรรเทาความเดือดร้อน----------------- เน้นความรวดเร็ว
3. ลดความขัอแย้ง---------------------------win-win

ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการมาตรา 41 ปี งบประมาณ 2547-2552 (มิ.ย.)

ผลการพิจารณาทั้งหมด                              2,549  ราย
เข้าเกณฑ์                                            2,100  ราย (82.4%)
ไม่เข้าเกณฑ์                                            449  ราย (17.6%)

คำร้องอุทธรณ์                                          275   ราย
ยกคำร้อง                                               173   ราย (62.9%)
สั่งจ่าย/จ่ายเพิ่ม                                        102   ราย (37.1%)

ประเภท 1
เสียชีวิต/ทุพพลภาพอย่างถาวร                     1,170   ราย       
ประเภท 2
สูญเสียอวัยวะ/พิการ                                  335   ราย
ประเภท 3
บาดเจ็บ/เจ็บป่วยเรื้อรัง                                595   ราย 

468
พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ม.41
(ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ)

การกันเงิน
ปี 2547   กันเงินไว้                      230,000,000 บาท
ปี 2548   กันเงินไว้                          9,000,000 บาท
ปี 2549   กันเงินไว้                        25,000,000 บาท
ปี 2550   กันเงินไว้                        24,000,000 บาท
ปี 2552   กันเงินไว้                        47,000,000 บาท
การกันเงิน  ถึง    ปี 2552    336,000,000 บาท

การจ่ายเงิน ถึง มิ.ย.2552    225,000,000 บาท

470
“จุรินทร์” แจงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เป็นของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่เอ็นจีโอ ชี้กฎหมายฉบับนี้เป็นประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย เชื่อช่วยลดปัญหาฟ้องร้องแพทย์
จากการที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจาก การรับบริการ สาธารณสุข พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และล่าสุดศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้ลงนามในหนังสือถึง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ทบทวนมติดังกล่าว และดูผลกระทบวงกว้าง เพื่อที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะได้ไม่สร้าง ปัญหาต่อเนื่องไปยังหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวอ้างว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเสนอโดยกลุ่มเอ็นจีโอ ร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้กลุ่มแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีสาระ กำหนดให้ผู้เสียหายสามารถฟ้อง อาญา แพทย์ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน และสถานีอนามัย นั้น


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า กรณีร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการรับบริ การสาธารณสุข พ.ศ.... อาจเป็นความเข้าใจผิด ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้เสนอร่างของคนใดคนหนึ่งเข้า สู่การประชุม พิจารณาของคณะรัฐมนตรี ตนเองเข้ามาในช่วงที่เลขาธิการ คณะรัฐมนตรีได้สอบถามว่าเห็น ด้วยกับร่างที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาแก้ไขเสร็จ เรียบร้อยแล้วหรือไม่ ได้ยืนยันว่าเห็นด้วย ซึ่งต้นร่างจริงๆ เป็นของกระทรวงสาธารณสุขเดิม ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบกับร่างที่กฤษฎีกาแก้ไข และได้ส่งต่อไปยังสภาผู้แทน ราษฎร และได้มีการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า เข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้ โดยหลักการจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งผู้รับบริการคือผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ให้บริการ ถ้าเกิดกรณีที่เป็นอุบัติเหตุ หรือเกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการ จากการบริการทางการแพทย์ ก็จะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งพิจารณาชดใช้ความเสียหายเบื้องต้น ให้กับผู้ได้รับความเสียหาย หากเป็นที่พึงพอใจก็จะเป็นการช่วยลดกรณีฟ้องร้องแพทย์และ บุคลากรสาธารณสุขลงได้ เพราะมีการชดเชยที่มีกฎหมายรองรับ รวดเร็วทันท่วงทีตามระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนด และหวังว่าจะเป็นธรรมขึ้น ในส่วนแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข ผู้ให้บริการ จะได้ไม่ถูกฟ้องร้อง หรือถ้าถูกฟ้องร้องจริง ก็มีปริมาณที่ลดลง เพราะผู้เสียหายได้รับการชดเชยได้รวดเร็วทันท่วงที ซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดไว้ตั้ง แต่เข้ามารับตำแหน่งที่กระทรวงสาธารณสุข

นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า ในส่วนรายละเอียดของร่างกฎหมาย หากมีข้อแก้ไขในรายละเอียดก็สามารถดำเนินการได้ เมื่อผ่านเข้าสู่สภาฯเมื่อผ่านวาระหนึ่งแล้ว ก็จะไปขั้นการพิจารณาของกรรมาธิการ ซึ่งเป็นขั้นที่แก้ไขรายละเอียดได้ ถ้าแก้ไขไปแล้วยังต้องปรับปรุงต่อไปอีก วุฒิสภาก็ยังปรับปรุงแก้ไขได้อีก หากไม่เห็นพ้องกัน ก็ยังสามารถตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภาได้อีก ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขก็จะตั้งหน่วยงานหรือตัวแทนของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าไปเป็น กรรมาธิการด้วย เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และเห็นพ้องต้องกันมากที่สุด เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้รับบริการและบุคลากรผู้ให้บริการ ซึ่งหากไม่ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย ฉบับดังกล่าวเข้าสู่สภาฯ กฎหมายนี้ก็ไม่มีโอกาสได้นับหนึ่ง จะติดค้างอยู่เช่นนี้ ไม่มีโอกาสบังคับใช้ในอนาคต โดยคาดว่ากฎหมายฉบับนี้ จะเข้าสู่ที่ประชุมในสมัยหน้า เข้าใจว่าจะบรรจุในระเบียบวาระต้นๆของสภาผู้แทนราษฎร

*********************************** 22 มิถุนายน 2553

แหล่ง ข่าวโดย » สำนักสารนิเทศ
[มิถุนายน อังคาร 22,พ.ศ 2553 16:27:27]

หมายเหตุ จากผู้บันทึก

ร่างที่เสนอเป็นร่างของเอ็นจีโอ ที่ตัดผู้เป็นตัวแทนสภาวิชาชีพออก จากการเป็นกรรมการ และจะทำให้มีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนมหาศาลจากทุกส่วน รัฐบาล โรงพยาบาลทุกแห่ง คลินิก ร้านขายยา สถานบริการสุขภาพทุกประเภท

เฉพาะคนป่วยที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ปีละ๑๖๐ล้านครั้ง กระทรวงสาธารณสุขก็ต้องจ่ายให้กองทุนนี้หัวละ๕บาทต่อ การใช้บริการ๑ ครั้ง ปีละเกือบหมื่นล้านบาท ที่ยังไม่รวมการเรียกเก็บจากส่วนอื่นๆ

การใช้เงินจากกองทุนนี้ ไม่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังก็ได้ เพราะ กรรมการกำหนดระเบียบเองได้ และสตง.ตรวจสอบไม่ได้เช่นเดียวกับการใช้เงินจากกองทุน สปสช. กรรมการมาจากพวกของเอ็นจีโอ ๘ คน จากรัฐและไม่ใช่พวกเอ็นจีโอ ๗ คน

จำนวนคนตายในโรงพยาบาลปี๒๕๕๒ ประมาณ๑.๗หมื่นคน รวมกับตายนอกโรงพยาบาลอีกรวมแล้ว ประมาณ ปีละ ๔แสนคน หากหัวหมอเรียกค่าเยียวยา ก็จะใช้เงินเฉพาะคนตายหัวละห้าหมื่น-สองแสนบาท ตกราวปีละ๘,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท ยังไม่นับรายที่ไม่ตาย แต่มีเหตุให้ไม่พอใจการดูแลรักษา และรายที่อาการแย่ลง อีกไม่รู้จำนวน ยังมีรายที่เป็นความพิการตามเหตุตามปัจจัยอีก รายที่โรคกลายเป็นโรคเริื้อรัง อีก

การเรียกเงินค่าเสียหายอีกโดยไม่นับครั้ง

เหตุนี้นำไปสู่การเป็นขาใหญ่ของ เอ็นจีโอ เพราะสามารถโหวตเอาเงินได้ ผลประโยชน์ตรงนี้ จะนำไปสู่อะไร? ลองคิดดู จะเกิดอะไรในวงการแพทย์และสาธารณสุขบ้านเรา เมื่อมีแรงจูงใจและคนจูงใจให้เกิด การเรียกร้องค่าเสียหายแบบ ไม่ต้องพิสูจน์

ในแง่กฎหมาย ยังมีการวิเคราะห์ว่า พรบ.ฉบับนี้ยังเป็นการแสดงความรับผิด ดังนั้น เมื่อไปฟ้องอาญาต่อ ก็ต้องชนะอีก ไม่ใช่กฎหมายจำกัดสิทธิที่จะฟ้อง ร้องเอาความผู้ให้บริการ และไม่เป็นการปกป้องผู้ให้บริการที่ตั้งใจดูแลผู้ป่วยอย่าง ซื่อตรง แต่เป็นการปกป้องคนไม่รับผิดชอบให้พ้นผิดโดยไม่ต้อง พิสูจน์หากไม่มีการฟ้องร้อง แต่หากมีการฟ้องร้อง ผู้ให้บริการทั้งหมด มีความผิด โดยไม่ต้องพิสูจน์

หน้า: 1 ... 30 31 [32]