My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวสมาพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015, 20:42:31

หัวข้อ: เก็บตกบรรยากาศการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. (๒๗ กพ.)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015, 20:42:31
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/1.jpg)

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/2.jpg)

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/3.jpg)

พิธีเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ เริ่มด้วยการต้อนรับ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยแพทย์หญิงพจนา กองเงิน ที่ปรึกษาสมาพันธ์ฯ และ นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร รองประธานสมาพันธ์ฯ

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/4.jpg)


นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร กล่าวรายงานต่อ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/5.jpg)


นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ แสดงปาฐกถาพิเศษ ต่อผู้เข้าร่วมประชุม
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/7.jpg)

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/6.jpg)


แพทย์หญิงพจนา กองเงิน เป็นตัวแทน มอบช่อดอกไม้ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นกำลังใจให้ท่านทำงานเพื่อชาติต่อไป
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/8.jpg)


นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร เป็นตัวแทนมอบของที่ระลึกจากสมาพันธ์ฯ ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/9.jpg)


(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/10.jpg)
หัวข้อ: การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ การประชุมเลือกกรรมการบริหารสมาพันธ์ฯชุดใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:00:53
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/11.jpg)


แพทย์หญิงสุธัญญา บรรจงภาค (โรงพยาบาลนครปฐม) เป็นพิธีกร ดำเนินการประชุมภาคเช้า
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/11-1.jpg)


(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/11-2.jpg)
ผลการเลือกกรรมการชุดใหม่
ประธานสมาพันธ์ฯ              นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร (โรงพยาบาลราชบุรี)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          นายแพทย์ชวน ชีพเจริญรัตน์ (โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          นายแพทย์ศรวัสย์ ศิลาลาย (โรงพยาบาลปัตตานี)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          นายแพทย์ธนะสิทธิ์ ก้างกอน (โรงพยาบาลชลบุรี)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          แพทย์หญิงพัชรี ยิ้มรัตนบวร (โรงพยาบาลบุรีรัมย์)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          นายแพทย์สันติ สุขหวาน (โรงพยาบาลดำเนินสะดวก)

(http://)
หัวข้อ: การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ - การอภิปราย "ผู้ป่วย คือ ผู้บริโภค ?"
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:09:59
การอภิปราย เริ่มต้นด้วยนายแพทย์วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี   ต่อด้วย นายแพทย์โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์ และนายแพทย์เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
ดำเนินการอภิปรายโดย นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/2015-02-28_202121.jpg)


(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/2015-02-28_192622.jpg)

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันจนเลยเที่ยง หิวข้าวกันถ้วนหน้า
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/15.jpg)


แพทย์หญิงพจนา กองเงิน เป็นตัวแทนสมาพันธ์ฯ มอบของที่ระลึก ขอบคุณวิทยากรทั้งสามท่าน

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/16%202.jpg)
หัวข้อ: การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ - ภาคบ่าย
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:20:55
นายแพทย์ยุธยา อวนกลิ่น (โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา) เป็นพิธีกร ภาคบ่าย

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/19.jpg)

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/20.jpg)
การอภิปราย กำหนดเวลาการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ดำเนินการอภิปรายโดย นายแพทย์เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์ โรงพยาบาลสงขลา  เริ่มด้วย โดย นายแพทย์ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผู้อำนวยการกองกฎหมาย  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/21.jpg)
ต่อจากนั้นเป็นเวลาของ ดร.กฤษดา แสวงดี รองผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/2015-02-28_194414.jpg)

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/22%202.jpg)
นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร เป็นตัวแทนสมาพันธ์ฯ มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร และผู้ดำเนินการอภิปราย
หัวข้อ: การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ - ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ปัจจุบัน - อนาคต
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:30:29
เซสชั่นสุดท้าย คือ การบรรยายพิเศษ เรื่องใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/DSC_5021.jpg)

บรรยาย โดย นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/29.jpg)


นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร เป็นตัวแทนมอบของที่ระลึกให้นายกแพทยสภา

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/30.jpg)


(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/31.jpg)
หัวข้อ: ของที่ระลึกในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:38:43
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/27%20Feb%202558%20Thaihospital%20org/DSC_4923.jpg)
หัวข้อ: Re: เก็บตกบรรยากาศการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. (๒๗ กพ.)
เริ่มหัวข้อโดย: today ที่ 01 มีนาคม 2015, 00:26:12
 :D :D :D :D :D :D
หัวข้อ: ผู้ป่วยคือผู้บริโภค? โดย นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี(1)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 มีนาคม 2015, 02:19:17
                     พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551ได้กำหนดลักษณะของคดีผู้บริโภคไว้ว่า ต้องเป็นคดีแพ่งดังต่อไปนี้
                    1) คดีพิพาทระหว่างผู้บริโภค (รวมถึงผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทน)กับผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
                    2) คดีพิพาทตาม ก.ม ว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า ไม่ปลอดภัย (Product Liability Law)
                    3) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีสองประเภทข้างต้น
                    4) คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพ.ร.บ. นี้
    และยังกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ต้องส่งให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
                      และส่วนหนึ่งของหลักการและเหตุผลในการออก พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551คือ
“..............สมควรให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค...........”
คำจำกัดความสำคัญที่กฎหมายบัญญัติ
                    “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย
                    “บริการ” หมายความว่า การรับจัดทําการ งาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆโดยเรียกค่าตอบแทน เป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่นแต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยแรง งาน
                   “ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความ รวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
                    ซึ่งจากคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ในหลายกรณีที่วินิจฉัยว่าคดีทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมถึงคดีที่เกี่ยวข้องเป็นคดีผู้บริโภค นั่นหมายถึงว่าผู้ให้การรักษาพยาบาลทั้งหลายทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนตกอยู่ในฐานะ"ผู้ให้บริการและเป็นผู้ประกอบธุรกิจ"และผู้ป่วยกลายเป็น"ผู้ได้รับบริการและเป็นผู้บริโภค"ตามนัยแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าว

คราวนี้เรามาดูข้อเท็จจริงแล้วเปรียบเทียบกันตามตัวอย่างดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1(การบริการ)
เอารถไปซ่อมวันอู่ปิด>>บังคับให้ช่างเปิดอู่ได้ไหม?
ซ่อมรถเสร็จบอกไม่มีเงินเจ้าของอู่ยอมไหม?

หิวข้าวตาลายไปร้านอาหารตอนตีสอง>>ปลุกคนขายมาทำข้าวให้ทานได้ไหม?

อยากไปฟิตเนสตอนปิดแล้ว>>บอกให้เจ้าของเปิดร้านได้ไหม?

แอร์ที่บ้านเสียตอนตีหนึ่ง ปลุกให้ช่างมาซ่อมได้ไหม?

อยากเช่าพื้นที่ในเซ็นทรัล แต่ไม่มีเงิน เจ้าของยอมให้เช่าไหม?

อยากไปเที่ยวเมืองนอกแต่ไม่มีค่าเครื่องบิน สายการบินยอมให้ขึ้นไหม?

ถูกเบี้ยวหนี้จำนวนหลายล้านบาท จะนำเรื่องไปฟ้องศาลล้มละลายวันอาทิตย์ได้ไหม?

จำเป็นต้องใช้เงิน จะตามผู้จัดการแบ๊งค์ มาทำเรื่องขอกู้เงินตอนเที่ยงคืนได้หรือไม่?

สั่งก๋วยเตี๋ยวแล้วรอนานแถมเด็กเสิร์ฟพูดไม่ถูกหู จะตะโกนต่อว่าคนขายด้วยเสียงอันดังได้ไหม?

และถ้าประชาชนเกิดความไม่พอใจ”ผู้ให้บริการ”ดังกล่าว สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้หรือไม่?

คราวนี้มาเปรียบเทียบกับการรักษาพยาบาลบ้าง
กรณีที่ 2(การรักษาพยาบาล)
ลูกเป็นไข้สูงตอนตีสี่ ไปร.พ.ปลุกหมอมารักษาได้ไหม?

ถูกยิงที่ท้องนำส่งร.พ.หมอบอกไม่มีเงิน ไม่รับรักษาได้ไหม?

ปวดท้องคลอดวันเสาร์ไปร.พ.หมอบอกวันหยุดราชการให้มาคลอดใหม่วันจันทร์ได้ไหม?

มาร.พ. รอคิวนานแถมเจ้าหน้าที่พูดไม่ถูกหู จะตะโกนต่อว่าแพทย์พยาบาลด้วยเสียงอันดังได้ไหม?

และถ้าประชาชนเกิดความไม่พอใจ”ผู้ให้การรักษาพยาบาล”ดังกล่าว สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้หรือไม่?
และคำตอบของคุณเป็นเช่นไร?

            ถ้าคุณตอบว่ากรณีทั้งสองเหมือนกันทุกประการทุกฝ่ายสามารถเลือกกระทำหรือไม่กระทำตามสิทธิและหน้าที่ของตัวเองได้อย่างอิสระก็ต้องยอมรับว่าผู้ให้การรักษาพยาบาลเป็น”ผู้ให้บริการ”และผู้ป่วยเป็น”ผู้บริโภค”

           แต่ถ้าคุณตอบว่ากรณีทั้งสองแตกต่างกัน ต้องกลับมาคิดไตร่ตรองใหม่แล้วว่าจริงๆแล้วการรักษาพยาบาลควรจะอยู่ในฐานะเช่นไร
หลักการ เหตุผล ทฤษฎี และปรัชญาทางกฎหมาย

           ความต้องการพื้นฐานของประชาชนนับตั้งแต่ได้มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นสังคมและมีผู้นำของตนเอง แบ่งได้เป็น2ประการคือ
                     1) ความต้องการได้รับความปลอดภัยในชีวิต
                     2) ความต้องการได้รับความสะดวกสบายในชีวิต

            ดังนั้นจึงเป็นที่มาของกิจการที่ฝ่ายปกครองจะต้องจัดทำหรือเป็นการใช้อำนาจทาง ปกครองหรือเป็นการดำเนินกิจการทางปกครองเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ(Service Public) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนดังกล่าวข้างต้น อันประกอบด้วย
                    1)กิจการที่จัดทำเพื่อคุ้มครองประชาชน
            ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การป้องกันประเทศ การสงวนรักษาสาธารณะสมบัติของรัฐ กิจการประเภทนี้ถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่ต้องเข้าจัดทำเองเพื่อความ มั่นคงความปลอดภัยของประเทศโดยไม่อาจมอบหมายให้เอกชนจัดทำได้
                     2)กิจการที่จัดทำเพื่อบำรุงส่งเสริมหรือสนองความสะดวกสบายของประชาชน
              ได้แก่กิจการอันเป็นสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆเช่นการไฟฟ้า การประปา การคมนาคม การสาธารณสุข……….
             กิจการ เหล่านี้ถ้าหากฝ่ายปกครองเห็นว่าเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ เกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศหรือเป็นกิจการที่ช่วยเหลือในการครองชีพของ ประชาชนหรือเพื่ออำนวยบริการแก่ประชาชน รัฐต้องเป็นผู้จัดทำเองจะมอบหมายให้เอกชนจัดทำไม่ได้

            แต่ถ้าฝ่ายปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่าการมอบหมายให้เอกชนนำไปจัดทำจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ส่วนรวมหรือแก่ประชาชนส่วนใหญ่ ฝ่าย ปกครองก็อาจมอบหมายให้เอกชนนำไปจัดทำเองได้ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของสัญญา ทางปกครอง หรือการสัมปทาน ซึ่งฝ่ายปกครองยังเป็นผู้ควบคุมกำหนดเงื่อนไขของการจัดทำบริการสาธารณะพร้อม ทั้งต้องให้อำนาจฝ่ายปกครองที่จะเพิกถอนหรือยุบบริการสาธารณะที่กระทำโดย เอกชนนั้นได้
ปัจจุบันองค์กรที่จัดทำบริการสาธารณะแบ่งเป็น4 รูปแบบคือ
                      1)ราชการ ได้แก่กิจการที่กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอรวมทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆเป็นผู้ดูแลโดยมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฏษฏีกาที่ออกตามพระราชบัญญัติกำหนดให้ดำเนินการในกิจการ นั้นๆ
                      2)รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฏษฏีกาซึ่งถือเป็นองค์กรของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการใช้วิธีดำเนินงานอย่างเอกชน
                      3)องค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ราชการและไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราช กฤษฏีกาที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542
                      4) เอกชนทำกิจการที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะโดยได้รับมอบหมายจากฝ่ายปกครองและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและควบคุมของฝ่ายปกครองด้วย อาจเรียกว่า “สัมปทานบริการสาธารณะ”ซึ่ง ถือว่าเป็นสัญญาทางปกครองอย่างหนึ่งและยังหมายรวมถึงองค์กรวิชาชีพต่างๆที่ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมวินัยและจริยธรรมในการประกอบอาชีพด้วยมาตรการ ต่างๆเช่นการวางกฏข้อ บังคับทางวิชาชีพ การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การพิจารณาลงโทษเมื่อมีการกระทำผิดและการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็น ต้น  ตัวอย่างเช่น แพทยสภา สภาทนายความ
หัวข้อ: ผู้ป่วยคือผู้บริโภค? โดย นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี(2)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 มีนาคม 2015, 02:22:19
ความแตกต่างระหว่าง “การบริการสาธารณะ” และ “การบริการ”

การบริการสาธารณะ (Service Public)ตามหลักกฎหมายมหาชนเป็นกิจการระหว่างฝ่ายปกครองกับประชาชนโดยมีลักษณะที่สำคัญคือ เกี่ยวข้องกับประโยชน์มหาชนและดำเนินงานโดยองค์กรหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือที่ฝ่ายปกครองมอบหมายภายใต้ระบบกฏหมายที่แตกต่างจากกฏหมายเอกชน
การบริการ (service)เป็นกิจการระหว่างเอกชนต่อเอกชนและอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเอกชน

คำนิยามที่สำคัญคือ
1) ผู้บริโภค( Consumers) 
2) ผู้ประกอบธุรกิจ > ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ (Services)

ถ้า 1)ผู้บริโภค พิพาทกับ 2) ผู้ให้บริการ ก็เข้าองค์ประกอบของ”คดีผู้บริโภค”
แต่ “การรักษาพยาบาล” จะตรงกับความหมายของ “ผู้ให้บริการ” หรือไม่ ต้องกลับมาตีความใน
ความหมายของ“บริการ” ว่า การรักษาพยาบาลถือเป็นการรับจัดทําการงาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆโดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น.......”หรือไม่


ซึ่ง พิจารณาแล้วเห็นว่า"การรักษาพยาบาล"ไม่น่าจะตรงกับความหมายของ"การบริ การ"ตามที่กฎหมาย(เอกชน)กำหนด แต่น่าจะเข้าได้กับความหมายของ "การบริการสาธารณะ"ตามหลักกฎหมายมหาชน

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้นพอจะกล่าวได้ว่า

               การรักษาพยาบาลจัดเป็น บริการสาธารณะ(Service public) ตามหลักกฎหมายมหาชน ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มากซึ่งรัฐต้องจัดหาไว้ให้แก่ประชาชนเพราะเป็น1ในปัจจัย 4 ของ มนุษย์ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายมหาชนและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสห ประชาชาติรวมถึงที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

              การรักษาพยาบาล ต้องมีความต่อเนื่องอย่างถาวรเช่นเดียวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย การดูแลความมั่นคงของประเทศ หรือการดูแลการคมนาคมทางอากาศ

               การรักษาพยาบาล อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยรัฐทั้งในระดับชาติและในระดับองค์กรปกครองท้องถิ่น
              รัฐอาจมอบหมาย การรักษาพยาบาลให้ภาคเอกชนรับไปจัดการแทนภายใต้การควบคุม ดูแลของหน่วยงานภาครัฐก็ได้ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการสัมปทาน(concession) หรือ สัญญาทางปกครอง (Administrative Contract) หรือการมอบอำนาจ (habilitation) หรือในรูปของ องค์กรวิชาชีพ (OrganismesProfessionnels) ต่างๆ
              การวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรวิชาชีพมีสถานะเช่นคำพิพากษาของศาล (des decisions  jurisdictionnelles) ด้วย เหตุผลที่เนื่องมาจากองค์กรวิชาชีพเหล่านี้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐให้เป็นผู้ ดูแลควบคุมและดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุดจึงมีการมอบอำนาจรัฐ(habilitation) บางประการที่เป็นอำนาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองและมีอำนาจเช่นศาลเพื่อที่จะสามารถจัดระเบียบในการประกอบวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง หนังสือ"สัญญาทางปกครอง" โดย ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์)
               ถ้าจัดให้ “การรักษาพยาบาล”เป็น “การให้บริการ” และข้อพิพาทจากการรักษาพยาบาลจัดเป็น คดีผู้บริโภค ข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับ ศาล อัยการ ตำรวจ ทนายความก็น่าจะจัดเป็นคดีผู้บริโภคเช่นกันเพราะมีบริบทเกี่ยวกับการบริการเช่นกัน
              ในบทความเรื่อง Patients are not consumers (ผู้ป่วยมิใช่ผู้บริโภค) ของ Dr.Paul Krugman ซึ่งเป็น Professor of Economics and International Affairs ของPrinceton University และเป็นนักเศรษฐศาตร์รางวัลโนเบลในปีค.ศ.2008 ( Nobel Prize Economist 2008) ก็สนับสนุนหลักการนี้เช่นกันดังเช่นส่วนหนึ่งของบทความที่กล่าวว่า

               “สิ่ง ที่สะดุดตาผมในขณะที่ผมพิจารณา............. “ทำให้นโยบายของรัฐในการรักษาพยาบาลตอบสนองต่อทางเลือกของผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น” และนี่คือคำถามของผมว่า ทำไมมันถึงกลายเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับกันได้ที่ไปกำหนดให้ “ผู้ป่วย” กลายเป็น “ผู้บริโภค”ได้”

               “............การรักษาพยาบาลที่ใช้ผู้บริโภคเป็นหลัก (Consumer-based Medicine) ได้กลายเป็นความล้มเหลวในทุกที่ที่มีการลองใช้”
 
              “ประเทศ สหรัฐอเมริกา มีระบบการรักษาพยาบาลที่ถูกผลักดันจากผู้บริโภคมากที่สุดเมื่อเทียบกับ ประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว มีค่าใช้จ่ายสูงสุดแต่คุณภาพของการดูแลไม่ได้ดีไปกว่าระบบที่มีค่าใช้จ่าย ต่ำกว่าในประเทศอื่นๆ”

              “ตามที่ผมได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าถือเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์กับความเห็นที่ว่า
“คนไข้คือผู้บริโภค”และว่า “การรักษาพยาบาลคือการทำธุรกรรมทางการเงินธรรมดาๆ”

              “ถึง ที่สุดแล้ว การรักษาพยาบาลเป็นอะไรที่ต้องมีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเกี่ยวกับความเป็น ความตาย การตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยภูมิความรู้ความ เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างมากมายมหาศาล นอกเหนือจากนั้นก็คือการตัดสินใจดังกล่าวอาจต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขพิเศษ เช่นผู้ป่วยอยู่ในภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้(Incapacitate) หรืออยู่ในภาวะที่มีความเครียดอย่างรุนแรง(severe stress)หรือ ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนทันทีทันใด โดยไม่มีเวลาที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยนกันหรือแม้แต่มีเวลาที่จะหาทางเลือกอื่นเพื่อการเปรียบเทียบเลย” ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่เราต้องมี “Medical Ethics” “หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณทางการแพทย์” ทำไมแพทย์ถึงต้องมีวิถีประเพณีปฏิบัติที่ดูแล้วเป็นพิเศษ เป็นที่คาดหวัง ในมาตรฐานที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆโดยเฉลี่ย............”

               นอกจากนี้ในการประชุม 1'st ASEAN Medical and Dental Disciplinary Board meeting ที่กรุง Jakarta ประเทศ Indonesia เมื่อวันที่ 27-29 April 2014 นั้นมีข้อสรุปที่น่าสนใจไว้ในข้อที่5ว่า

             “ทุกประเทศในประชาคมอาเซียนเห็นพ้องต้องกันว่าคดีทุรเวชปฏิบัติ(คดีทางการแพทย์)ไม่ควรอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค” (All ASEAN countries agree that the medical malpractice cases should not be covered under Consumer Protection Act)

            ด้วยเหตุผลต่างๆข้างต้นพอที่จะสรุปได้หรือไม่ว่า “ผู้ป่วยมิใช่ผู้บริโภค” และคดีทางการแพทย์มิใช่ “คดีผู้บริโภค”


ท.ค. น.พ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี
วท.บ.,พ.บ., น.บ.(เกียรตินิยม อันดับ2),น.ม. บ.ป.ค.

หัวข้อ: ผู้ป่วย คือ ผู้บริโภค? (นพ.โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 23 มีนาคม 2015, 18:46:23
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
สาระสำคัญและผลกระทบต่อสาธารณสุขไทย

   พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผุ้บริโภค พ.ศ.2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 38 ก หน้า 32 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 และ ในมาตรา 2 ของ พระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติว่า ให้ใช้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 และ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การฟ้องร้องคดีแพ่งจำนวนมากที่เป็นคดีผู้บริโภคได้ฟ้องร้องตามกำหมายฉบับนี้
   เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ขอสรุปสาระสำคัญ เรียงตามลำดับดังนี้
1.   ความหมายของคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้
2.   เรื่องทั่วไป
3.   บทบัญญัติที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณสุขไทย

1.   ความหมายของคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า
คดีผู้บริโภค หมายความว่า
(1)   คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา 19 หรือตามกฎหมายอื่น
กับ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
(2)   คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
(3)   คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีตาม (1) และ (2)
(4)   คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
จากบทบัญญัติจะเห็นว่าคดีผู้บริโภคตามกฎหมายนี้ต้องเป็นคดีแพ่งเท่านั้น จะเป็นคดีอาญาหรือ
คดีอื่นใดนอกจากคดีแพ่งไม่ได้ คดีดังกล่าวต้องเป็นคดีที่พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยมีคู่กรณีคือผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ

   ผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา 19 คือ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค  (1)
   การฟ้องส่วนใหญ่ในคดีผู้บริโภคจะเข้าตามความหมายใน (1)  ส่วนการฟ้องบริษัทยาในฐานะผู้ผลิต / นำเข้า / จัดจำหน่ายยา ซึ่งถือได้ว่าเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย จากความหมายของคำว่า สินค้า และ สินค้าที่ไม่ปลอดภัย จากบทบัญญัติในมาตรา 4 และบัญญัติความรับผิดของผู้ประกอบการในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 จะเข้าตามความหมายใน (2)
   กรณี  นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจอาจมีเรื่องประกันแห่งหนี้ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ที่เกี่ยวพันกับสัญญาหลักซึ่งเป็นคดีผู้บริโภคตามความหมายใน (1) หรือ (2) คดีดังกล่าวที่เกี่ยวข้องจะเข้าตามความหมาย (3) ส่วนความหมายใน (4) บัญญัติเผื่อไว้ในอนาคตว่าหากมีคดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ถือได้วาคดีเช่นว่านั้นเป็นคดีผู้บริโภคด้วย (2)
   กฎหมายได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ผู้บริโภค และ ผู้ประกอบธุรกิจ อ้างอิงตามความหมายในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 (1)
   พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ให้ความหมายผู้บริโภคไว้ดังนี้ ผู้บริโภคหมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ  แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม ส่วนคำว่าผู้ประกอบธุรกิจหมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการและให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย

2.   เรื่องทั่วไป
กฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาผสมกันระหว่างกฎหมายวิธีสบัญญัติ ที่กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และกฎหมายสาระบัญญัติที่กล่าวถึงสิทธิ และหน้าที่ของคู่กรณี  เนื้อหาในมาตรา 7  วางหลักการดำเนินคดีผู้บริโภคโดยให้อ้างอิงจากกฎหมายนี้และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา  หากไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวให้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง หากมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่  มาตรา 8 ให้อำนาจประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด  กระบวนการพิจารณาคดีค่อนไปทางระบบไต่สวนแต่มากกว่าที่จะเป็นระบบกล่าวหา
ตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ มีกรณีที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขได้ฟ้องผู้รับบริการ
สาธารณสุขเป็นจำเลยที่ 2 ให้ชำระเงินค่ารักษาพยาบาล และฟ้องผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 ให้ร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นคดีผู้บริโภค ซึ่งมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามมาตรา 8  ว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ และประธานศาลอุทธรณ์ได้อาศัยบทบัญญัติในมาตรา 3 ร่วมกับความหมายของคำว่าผู้บริโภค – ผู้ประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
วินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภค ตามความหมายของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาผู้บริโภค มาตรา 3
(1)   (1)  และมีกรณีหนึ่งที่ผู้รับบริการสาธารณสุขฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุขเป็นคดีผู้บริโภค  จำเลยได้
ยื่นคำร้องขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งประธานศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภค เช่นกัน แต่คำวินิจฉัยในกรณีหลังนี่ศาลให้ปรับเข้ากับความหมายตาม
มาตรา 3 (3)  (4)   อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้รับบริการสาธารณสุขที่ใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการสาธารณสุขและไม่ต้องชำระเงินเพราะรัฐจ่ายให้ ถือได้ว่าเป็นผู้ได้รับบริการโดยชอบ แม้มิได้เสียค่าตอบแทน หากมีการฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุข ถือว่าเป็นคดีผู้บริโภคเช่นกัน (2)

3.   บทบัญญัติที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณสุขไทย
การฟ้องคดี  การพิจารณาคดี  คำพิพากษาและคำสั่งตัดสินคดี  ในส่วนที่กระทบต่อสาธารณสุขไทยสรุปดังนี้

3.1   เรื่องของอายุความ
มาตรา 13  วางหลักเรื่องอายุความในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย  โดยผลของสารที่สะสมในร่างกายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ ใช้สิทธิฟ้องได้ในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ถึงความเสียหาย ซึ่งต่างจากการฟ้องคดีผู้บริโภคแบบเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 448 กรณีละเมิด มีอายุความหนึ่งปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวฯ และในมาตรา
14 ยังกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่นับอายุความในระหว่างที่มีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายอีกด้วย

3.2   ค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา 18 วางหลักไว้ว่า หากเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย การยื่นคำฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด ซึ่งแตกต่างจากประประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ผู้ฟ้องไม่ได้รับสิทธิยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
(ความรับผิดชอบในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุดหมายถึงคำพิพากษาของศาลที่สั่งให้คู่ความฝ่ายใดต้องรับผิดชอบ)

3.3   การฟ้องคดีจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
มาตรา 20 วางหลักเรื่องคำฟ้องด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ถ้าฟ้องด้วยวาจา  เจ้าพนักงานคดีจะจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุ
แห่งการฟ้องรวมทั้งคำขอบังคับชัดเจนพอที่ทำให้เข้าใจได้ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทย์นั้นแก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้อง สำหรับคดีแพ่งอื่นๆ  ที่มิใช่คดีผู้บริโภค โจทก์ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่ง มาตรา 172
ที่ต้องทำคำฟ้องเป็นหนังสือแสดงข้อหาและคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง  มิฉะนั้นอาจเข้าเกณฑ์เป็นฟ้องเคลือบคลุม และการที่กฎหมายวางหลักให้ศาลสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องส่วนที่มีปัญหาให้ถูต้อง แสดงว่าหลักเกณฑ์เรื่อง ฟ้องเคลือบคลุมหรือฟ้องขาดสาระสำคัญ ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 จะนำมาใช้ในคดีผู้บริโภคไม่ได้เป็นอันขาด (2)

3.4   ภาระการพิสูจน์
มาตรา 29 วางหลักเรื่องภาระการพิสูจน์กรณีการผลิต การประกอบ การออกแบบส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจนั้น ดังนั้นหลักของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1  เรื่อง คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น จึงใช้ไม่ได้กับคดีผู้บริโภคตามกฎหมายนี้
   หลักกฎหมายมาตรานี้ หากผู้รับบริการสาธารณสุขฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุขเป็นคดีผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขต้องพิสูจน์ว่าตนไม่ได้กระทำผิดตามคำฟ้อง

3.5    อำนาจศาลมนการพิพากษาเกินคำขอ การแก้ไขคำพิพากษา การสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษ

เรื่องนี้มีรายละเอียดแยกเป็น  3 ประเด็น ดังนี้

   3.5.1 อำนาจศาลในการพิพากษาเกินคำขอ
   มาตรา 39 วางหลักเรื่องการพิพากษาเกินคำขอว่า ในคดีที่ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคเป็นโจทก์ ถ้าศาลเห็นว่าจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้อง หรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องหรือกำหนดวิธีบังคับให้เหมาะสมได้ แม้จะเกินกว่าที่ปรากฏในคำขอบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่คู่ความได้ยกขึ้นมากล่าวอ้างกันมาแล้วโดยชอบซึ่งทำลายกฎเหล็กอย่างสิ้นเชิง ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่ง มาตรา 142 ที่วางหลักเรื่องนี้ว่า คำพิพากษาชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ ห้ามมิให้พิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
   จากหลักกฎหมายมาตรานี้  สรุปได้ว่าการพิพากษาเกินคำขอสงวนสิทธิไว้เฉพาะกรณีที่ฝ่ายผู้บริโภคเป็นโจทย์เท่านั้น โดยอาจเป็นโจทก์ผู้เริ่มคดีหรือเป็นจำเลยที่ฟ้องแย้งผู้ประกอบธุรกิจก็ได้ ตรงกันข้ามศาลจะให้อำนาจตามมาตรานี้ในคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลยที่ฟ้องแย้งคดีนี้ไม่ได้  (2)  คำพิพากษาเกินคำขอมีที่ใช้ 2 กรณี คือ
1.   จำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้อง
2.   วิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยี่ยวยาความเสียหายตามฟ้อง
อย่างไรก็ตามกฎหมายยังให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบธุรกิจอยู่บ้างคือ คำพิพากษาเกินคำ
   ขอที่ศาลหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยดังกล่าว ต้องเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่คู่ความได้กล่าวอ้างแล้ว

       3.5.2   การแก้ไขคำพิพากษา
มาตรา 40 วางหลักเรื่องการแก้ไขคำพิพากษาว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ
หรืออนามัย และในเวลานั้นไม่สามารถรู้ได้แน่ว่าความเสียหายที่แท้จริงมีเพียงใด ศาลอาจกล่าวไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ยังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นอีกภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ศาลกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง การแก้ไขคำพิพากษาในคดีแพ่งทั่วไปจะเป็นเฉพาะกรณีแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงอื่นหากจะแก้ไขคำพิพากษาต้องเป็นการแก้ไขโดยศาลที่สูงกว่า ดังรั้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
   จากหลักกฎหมายมาตรา 40 จะเห็นได้ว่าการแก้ไขคำพิพากษานี้จะกระทำได้เมื่อในเวลาพิพากษาคดีไม่สามารถรู้ได้ชัดว่าความเสียหายนั้นแท้จริงมีเพียงใด และจำกัดอยู่เฉพาะกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย เท่านั้น ถ้าเป็นกรณีอื่นๆ ย่อมไม่เข้าเกณฑ์ แต่ยังเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้คัดค้าน อันเป็นหลีกการพื้นฐานเรื่องการฟังความทุกฝ่ายอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องการสงวนไว้ซึ่งสิทธิฯ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 444 ได้วางหลักไว้ว่า ถ้าเวลาพิพากษาโพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้ว่าความเสยหายนั้นมีเพียงใด สงวนไว้ซึ่งสิทธิจะแก้ไขได้ภายใน 2 ปี

   3.5.3 การสั่งจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษ
   มาตรา 42 วางหลักเรื่องการสั่งจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษว่า ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องเป็นการ
กระทำที่ฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น จากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ เช่น ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบกิจได้รับสถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ  การที่ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรเทาผลเสียหายที่เกิดขึ้นตลอดจนการที่ผู้บริโภคมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดไม่เกินห้าหมื่นบาท ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกินห้าเท่าของค่าเสียหายของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด
   หลักการในมาตรานี้ศาลต้องกำหนดค่าเสียหายที่แท้จริงก่อน จากนั้นศาลจึงจะพิจารณากำหนดจำนวนค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร คือเป็นส่วนที่เสริมเพิ่มเติมจากค่าเสียหายที่แท้จริง แต่ต้องคำนึงพฤติการณ์ต่างๆ เหล่านี้ประกอบด้วย คือ
1.   ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ
2.   ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ
3.   สถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ
4.   การที่ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น
5.   การที่ผู้บริโภคมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหาย
ค่าเสียหายดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นมา ศาลมีอำนาจสั่งให้จ่ายได้ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง  แต่ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงไม่เกินห้าหมื่นบาท ก็ขยายเพดานให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกินห้าเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง

พระราชบัญญัตินี้ได้เปลี่ยนแปลงระบบการฟ้องและการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในศาลยุติธรรมไปอย่างมาก นับจากพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ พบว่าคดีแพ่งในศาลชั้นต้นประมาณ 60-70% เป็นคดีผู้บริโภค ผลในทางปฏิบัติพบว่าแม้ผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครอง และมีความสะดวกในการฟ้องผู้ประกอบการธุรกิจโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ในด้านกลับกันผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะสถาบันทางการเงินได้ใช้กฎหมายนี้ฟ้องลูกหนี้ผู้บริโภคเสร็จเร็วขึ้น ทำให้มีการกล่าวกันในหมู่นักกฎหมายฉบับนี้ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งพนักงานเร่งรัดหนี้สินของสถาบันทางการเงิน (5)   และนักกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยอมรับเรื่องนี้ โดยปรากฏมีบทความวิชาการเรื่องนี้ออก
เผยแพร่ (6)  
   ผู้ให้บริการสาธารณสุขจะต้องระมัดระวังตัวในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น เพราะการฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทกแทน จากผลอันไม่พึงประสงค์จากการรับบริการสาธารณสุข สามารถกระทำได้อย่างง่ายมากตามพระราชบัญญัตินี้  สามารถฟ้องด้วยวาจา ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องจ้างทนาย ผู้ฟ้องแทบจะปิดประตูแพ้ในประเด็นข้อกฎหมายอย่างสิ้นเชิง  คำพิพากษานั้นเอื้อประโยชน์แก่ผู้ฟ้องเป็นอย่างยิ่ง

   ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้า กับ ผู้บริโภคสินค้า/บริการ  นับแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับ กระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำเลยมากขึ้นและมีการใช้เงินเพื่อไกลเกลี่ยจำนวนมาก อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ก็กลายเป็นอาวุธย้อนกลับมาทำร้ายผู้บริโภคที่มีฐานะเป็นลูกหนี้สถาบันการเงินอีก หวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1.   พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
2.   ธานิศ เกศวพิทักษ์ คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2
3.   คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ ที่ 8/2551
4.   คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ ที่ 31/2552
5.   สุรินทร์ ทองมา เอกสารประกอบคำบรรยาย พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
6.   เรวดี ขวัญทองยิ้ม บทความวิชาการเรื่อง พระบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ.2551 : กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคหรือเครื่องมือทวงหนี้ใหม่ของนายทุน (?)

นายแพทย์โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์
พบ.,วว. โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, ป. ฝังเข็ม, นบ., บธ.ม.