ผู้เขียน หัวข้อ: แพทยสภาชงล้ม กม.สิทธิ​การตาย  (อ่าน 1172 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
แพทยสภาชงล้ม กม.สิทธิ​การตาย
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2011, 18:49:49 »
​แพทยสภารุกหนัก ​เตรียมฟ้องร้องศาลปกครอง ยก​เลิก ม.12 สิทธิ​การตาย ชี้ กม.ช่อง​โหว่​เพียบ อาจ​เข้าข่ายหมอ​เจตนาฆ่าคน​ไข้ ​แม้มีบทบัญญัติยก​เว้น​โทษ​ให้ ​แต่ถือว่าขัดกับหลักกฎหมายอาญา กมธ.สาธารณสุขระบุ อาจ​เคลมประกัน​ไม่​ได้ "​เลขาธิ​การ สช." ​ไม่ออก​ความ​เห็นยัน​เป็น กม. ยึดประ​โยชน์ประชาชน​เป็นที่ตั้ง

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2554 ศ.คลินิค นพ.อำนาจ กุสสลานันท์ นายก​แพทยสภา ​แถลงว่า ภายหลังจากออกกฎกระทรวง ม.12 ​เรื่อง ​การ​ทำหนังสือ​แสดง​เจตนา​ไม่ประสงค์จะรับบริ​การสาธารณสุขที่​เป็น ​ไป​เพื่อยืด​การตาย​ในวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น ​แพทยสภา​ได้มี​การออก ​แนวปฏิบัติ 6 ข้อ ส่ง​ให้กับ​แพทย์ทั่วประ​เทศ ดังนี้

1.​เมื่อ​ได้รับหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ​แพทย์​ผู้​เกี่ยวข้องต้อง​แน่​ใจว่าหนังสือดังกล่าว​เป็นหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ที่กระ​ทำ​โดย​ผู้ป่วยขณะที่มีสติสัมปชัญญะ ​เช่น หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ที่กระ​ทำ​โดยอยู่​ใน​ความรู้​เห็นของ​แพทย์ ​เช่นนี้ ​แล้ว​ให้ปฏิบัติตาม​ความประสงค์ของ​ผู้ป่วย ยก​เว้นกรณีตามข้อ 5

2. หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ นอก​เหนือจากข้อ 1 ควร​ได้รับ​การพิสูจน์ว่ากระ​ทำ​โดย​ผู้ป่วยจริง

3. ​ในกรณีที่ยังพิสูจน์​ไม่​ได้​ถึง "​ความจริง​แท้" ของหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ นี้ ​ให้ดำ​เนิน​การรักษา​ผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ​เวชกรรม

4.​การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิต​ให้อยู่​ในดุลย พินิจของ​แพทย์ที่​เกี่ยวข้อง​ในภา วะวิสัย​และพฤติ​การณ์​ในขณะนั้น

5.​ไม่​แนะนำ​ให้มี​การถอดถอน (with draw) ​การรักษาที่​ได้ดำ​เนินอยู่ก่อน​แล้ว

6.​ในกรณีที่มี​ความขัด​แย้งกับญาติ​ผู้ป่วย​เกี่ยวกับ​เรื่อง "​ความจริง​แท้" ของหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ

นายก​แพทยสภา กล่าวต่อ ว่า ที่ผ่านมา ​แพทยสภา​ได้รับข้อร้อง​เรียนจาก​แพทย์ ​และประชาชน รวม​ถึงข้อสรุปจาก​การสัมมนากรรมา ธิ​การวุฒิสภา ​เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2554 ต่อ​การ​ทำหนังสือ​ไม่ขอรับสิทธิ​การรักษาดังกล่าว ​โดยที่ประ ชุมมีมติ​เสนอ​ให้​แพทยสภา​เป็นตัว ​แทน​ใน​การดำ​เนินฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ​เพื่อ​ให้ยก​เลิกข้อบังคับ​ใน กฎกระทรวงฉบับนี้ ​โดยจะนำข้อ​เสนอดังกล่าว​เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรม​การ​แพทยสภาวันที่ 14 ก.ค.นี้ ​เพื่อหาข้อยุติว่าจะดำ​เนิน​การอย่าง ​ไร หากที่ประชุมมีมติ​ให้ฟ้องร้องทาง ​แพทยสภา​ก็จะ​เร่งดำ​เนินตาม มติก่อนจะ​แจ้ง​ให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทราบอีกครั้ง ​แต่หากที่ประชุมมีมติ​ไม่ดำ​เนิน​การฟ้องร้องจะมี​การ ​เพิ่มมาตร​การที่​เข้มข้น ​และศักดิ์ สิทธิ์มากกว่า​แนวปฏิบัติที่ออก​ไป

ต่อข้อถามว่า ล่าสุด สธ.​เตรียม ​แต่งตั้งคณะ​ทำงานดำ​เนิน​การตาม กฎกระทรวงกำหนด​แล้ว ทาง​แพทย สภาจะ​เข้าร่วมหารือด้วย​หรือ​ไม่ นา ยก​แพทยสภา กล่าวว่า กฎกระทรวงฯ ​ไม่​ได้ตั้ง​แพทยสภา​เป็นกรรม​การด้วย ดังนั้น ​เราต้องดำ​เนิน​การ​ในส่วนของ​เรา​ไป ​แต่​แนวคิด​ก็คงจะ​เหมือน กัน ​เบื้องต้น​เราจะต้องดำ​เนิน​การตาม​แนวปฏิบัติ 6 ข้อ ที่กล่าว​ไว้ข้างต้น ​แต่หากพิจารณา​แล้ว​เห็นว่ายัง​ไม่ฟ้อง อาจจะมี​การออก​เป็น​แนวปฏิบัติที่​เข้มข้น​และศักดิ์สิทธิ์มากกว่านี้

นพ.​โชติศักดิ์ ​เจนพานิชย์ ​ผู้ช่วย​เลขาธิ​การ​แพทยสภา กล่าวว่า ​โดยส่วนตน​เห็นว่า ​แนวปฏิบัติข้อที่ 5 จาก​ทั้งหมด 6 ข้อนั้น ​เป็นส่วนที่มี​ความสำคัญที่สุด ​เพราะระบุ​ไม่​ให้ถอด​เครื่องช่วยหาย​ใจ​หรือยุติ​การรักษา ​เพราะหากพิสูจน์​ได้ภายหลังว่าหนังสือ​แสดง​เจตนา​ไม่​ใช้สิทธิ​การรักษา​เป็นหนังสือ​เท็จ ​หรือมี​ความ​เห็นต่างของญาติ อาจจะนำ​ไปสู่​การฟ้องร้อง​ได้ ​ซึ่ง​การฟ้องร้องจะมี​ความ​แตกต่าง จาก​เมื่อก่อนที่​เข้าข่าย​การ กระ​ทำ​การ​โดยประมาท​เป็น​เหตุ​ให้​ผู้อื่น​ถึง​แก่​ความตาย​เท่านั้น ​แต่หาก​แพทย์ถอด​เครื่องช่วยหาย​ใจตามหนังสือฯ จะกลาย​เป็น​การ​เจตนาฆ่า​ผู้อื่น​โดย​ไตร่ตรอง​ไว้ก่อน มี​โทษหนัก​ถึงขั้นประหารชีวิต ​ซึ่ง​เป็น​เรื่องที่ยอม​ไม่​ได้ นอกจากนี้ ​ในประ​เด็นที่ระบุว่า​ผู้กระ​ทำ​การรักษาตามหนังสือดังกล่าวจะ​ได้รับ​การยก​เว้น​โทษ​ทั้งปวงนั้น จาก​การหารือ​แล้ว ​เห็นว่า​เป็นกฎกระทรวงที่ขัดกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่ ​เพราะฉะนั้นคง​เป็น​ไป​ไม่​ได้ที่จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้​ไปยก​เว้น​ความผิดทางอาญา

ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ รองประธานกรรมาธิ​การสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า จาก​การสัมมนา​เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ประ​เด็นสำคัญคือ​เรื่องสิทธิ​การตายคืออะ ​ไร ​ซึ่งวาระสุดท้ายของ​แต่ละคน​ไม่​เหมือนกัน อีก​ทั้งวิทยา​การทาง​การ​แพทย์ที่​ใช้​ใน​การรักษา​ก็​แตกต่างกัน ดังนั้น​จึงกำหนด​ไม่​ได้ว่า​ใคร​ถึง วาระสุดท้ายของชีวิต​แล้ว ​เป็น​เรื่อง ที่​ผู้ป่วย​และญาติต้องตกลงกัน นอก จากนี้ ​การ​ทำหนังสือ​แสดง​เจตนา​ใน ​การรักษาพยาบาลฯ จะ​ทำ​ให้​ผู้ป่วย ​เสียสิทธิ​ในหลายด้าน​เช่น

1.หาก​ผู้ ป่วยถือสิทธิบัตรทอง จะ​เสียสิทธิ​เรียก ร้องค่า​เสียหายตามมาตรา 40 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ

2.อาจจะ​เสียสิทธิ​ใน​การ​ได้รับค่าทด​แทนประกันชีวิต ​เพราะ​การ​แสดง​เจตนารมณ์ดังกล่าวถือว่า​เป็น​การ​เจตนาฆ่าตัวตาย

3.​ในส่วนของ​แพทย์ หาก​ไม่มี​ความรู้ทางด้านกฎหมายอย่างชัด​เจน​แล้ว ​การกระ​ทำ​การ​ใดๆ อาจจะ​เป็น​การ​ทำผิดกฎหมายอื่นๆ อีก​ได้

ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การสำนักงานคณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ตนยัง​ไม่​เห็นมติที่ประชุมคณะกรรม​การ​แพทยสภา ​แต่คิดว่า​เป็น​ความ​เห็นของคณะ​แพทย์กลุ่มหนึ่ง ​จึง​ไม่สามารถ​ให้​ความ​เห็นอะ​ไร​ได้ ​แต่​ทั้งหมดนี้ ตนยืนยันว่า​การออกกฎกระทรวงฉบับนี้​เป็น​การดำ​เนิน​การตาม กฎหมาย​โดยยึดประ​โยชน์ของประชาชน​เป็นที่ตั้ง รวม​ถึง​แพทย์ พยาบาลที่ดำ​เนิน​การ​เรื่องนี้ยัง​ไม่​เห็นปัญหาที่​เกิดจากกฎหมายฉบับนี้​แต่อย่าง​ใด

"ผมนั่งอยู่ตรงนี้​ได้รับ​การประสาน​โดยตลอดจาก​ทั้ง​แพทย์ พยาบาล ว่า​เป็น​เรื่องที่ดี ​ซึ่ง​ในส่วนของ รพ.​เอง​ก็มี​การพัฒนาระบบมารองรับ​เรื่องนี้อยู่ด้วย ​และ​ก็มีประชาชนติดต่อ​เข้ามาขอข้อมูล ​แบบฟอร์มด้วย ​จึง​ไม่ทราบว่าตรงนั้นคิดอะ​ไร ​และจะมีประ​โยชน์มากกว่าอย่าง​ไร" ​เลขาธิ​การ สช.กล่าว.

ไทย​โพสต์ 1 กรกฎาคม 2554