ผู้เขียน หัวข้อ: หลัง "หย่าร้าง" ชีวิตเสี่ยงตายเพิ่มขึ้น 10 เท่า  (อ่าน 1672 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
 เป็นที่ทราบกันดีว่า การหย่าร้างนอกจากจะทำให้สถาบันครอบครัวล่มสลาย ทำให้ลูกกับพ่อแม่ไม่ได้อยู่ร่วมกัน ฯลฯ ยังไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของคู่สมรสที่หย่าร้างกันไปด้วย ล่าสุดมีงานวิจัยใหม่ ๆ ออกมาที่ชี้ให้เห็นว่า ผลพวงจากการหย่าร้างนั้นกระทบทั้งสามี และภรรยา แต่จะเป็นในแง่ใดบ้างและมีเรื่องดีแทรกอยู่ไหม ลองติดตามกันดูค่ะ
       
       ข้อแรก สำหรับคุณผู้ชายที่เกรงว่า จะเป็นโรคหัวใจเมื่อแก่ตัวลงหรือไม่นั้น หนึ่งในผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสพบว่า ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 9,500 ราย ที่อยู่ในช่วงอายุ 60 ปี กลุ่มพ่อม่ายมี ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจถึง 37.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กลุ่มผู้ชายที่ยังมีคู่ชีวิตอยู่เคียงข้างนั้นเสี่ยงน้อยกว่าคือ 31.7 เปอร์เซ็นต์
       
       ส่วนกลุ่มหญิงม่ายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ 33 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่หญิงที่ยังอยู่ในสถานะสมรสนั้นมีโอกาสเพียง 21.5 เปอร์เซ็นต์
       
       ต่อมาเป็นเรื่องของการได้รับการซัพพอร์ตจากสังคมรอบข้างหลังการหย่า ร้าง ซึ่งผลการศึกษาระบุว่า ผู้ชายมักจะเจ็บหนักกว่าผู้หญิง ส่วนหนึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่า เป็นเพราะผู้ชายไม่ได้เตรียมใจกับการแยกทาง นอกจากนั้นแล้วพวกผู้ชายยังไม่ถนัดเรื่องการอธิบายสภาพจิตใจ ภาวะอารมณ์ของตนเองออกมาเป็นคำพูดเมื่อพวกเขากำลังเผชิญหน้ากับช่วงเวลาที่ โหดร้ายเหล่านั้นด้วย
       
       ขณะที่ผู้หญิงนั้นถนัดกับการพูดบรรยายความรู้สึกออกมา และพวกเธอก็มีเพื่อน ญาติพี่น้อง ตลอดจนเครือข่ายสังคมที่คอยเป็นผู้รับฟังอยู่ค่อนข้างมาก
       
       สำหรับปัญหาด้านสุขภาพ ภาวะโภชนาการก็มีผลเช่นกัน โดยพบว่า หลังการหย่าร้าง หญิงม่ายเป็นฝ่ายดูแลสุขภาพของตนเองได้ดีกว่าพ่อม่าย (อ้างอิงจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Epidemiology and Community Health) แต่ชายที่หย่าร้างมาแล้วก็ใช่ว่าจะต้องปล่อยตัวปล่อยใจให้อ้วนตุ้ยนุ้ย เพราะนักวิจัยได้สอบถามความเห็นของผู้ชาย 9,000 คนที่อยู่ในช่วงวัย 40+ และพบว่า เหตุผลที่ทำให้ ผู้ชายที่หย่าร้างมาแล้วกลับมาให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเองมากขึ้นได้ก็ คือ การมีสาวคนใหม่ให้เขาพิชิตใจนั่นเอง
       
       อย่างไรก็ดี การหย่าร้างอาจทำให้ทั้งพ่อม่ายและแม่ม่ายหันไปหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ เช่นกัน และพ่อม่ายมีโอกาสหันไปดื่มเหล้าแก้กลุ้มสูงกว่าด้วย
       
       สำหรับใครที่เกรงว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม จำอะไรไม่ค่อยได้ ก็อย่าพึ่งหย่าร้าง เพราะการหย่าร้างเพิ่มโอกาสของการเกิดโรคนี้เป็นสามเท่า เมื่อเทียบกับคนปกติที่มีวัยเท่ากัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ที่ผ่านการหย่าร้างมานั้น จะขาดการส่งเสริม - สนับสนุนจากคนรัก กลับบ้านมาก็ไม่มีใครให้พูดคุยด้วย ต้องอยู่ตามลำพังเงียบ ๆ เวลามีปัญหาก็ขาดคนให้กำลังใจ
       
       สุดท้าย นักวิจัยยังพบว่า การหย่าร้างนั้นได้ไปลดความคาดหวังที่จะมีชีวิตอยู่ของมนุษย์เราลง และผู้ชายจะมีโอกาสสูงกว่า นอกจากนั้นยังเสี่ยงต่อการเกิดความเครียด การดำเนินชีวิตภายใต้ความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์จัด มีเพศสัมพันธ์แบบไม่เลือกหน้า ขับรถเร็ว ฯลฯ
       
       นอกจากนั้น ยังมีผลการวิจัยที่ทำใน 16 ประเทศโชว์ว่า พ่อม่ายมีโอกาส "เสียชีวิต" สูงกว่าชายที่ยังแต่งงานอยู่ถึง 10 เท่า ในช่วงวัยเดียวกันด้วย
       
       ถึงว่า นักการเมืองบ้านเราไม่ค่อยมีใครหย่าร้างกันเลย...
       
       เรียบเรียงจากเดลิเมล
ผู้จัดการออนไลน์    15 ธันวาคม 2553