ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิวัติน้ำมันพืช (ตอนที่ 1): อย่าปล่อยให้พวกมันหลอกพวกเราอีกต่อไป  (อ่าน 1903 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9785
    • ดูรายละเอียด
ภาพที่ 1: แสดงประวัติศาสตร์เส้นทางเดินของมะพร้าว
     
       
       ด้วยความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ได้นำน้ำมันมะพร้าวซึ่ง มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated oil) มาใช้เป็นอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์นับเป็นพันๆปี โดยที่คนในสมัยก่อนไม่ค่อยเป็นโรคเหมือนกับคนในสมัยนี้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคธัยรอยด์ โรคผิวหนัง ฯลฯ ที่น่าสนใจก็คือแม้โลกจะไม่ได้มีการเชื่อมโยงกันเรื่องข้อมูลข่าวสารเหมือนกับยุคนี้ แต่คนทั่วโลกที่ใช้น้ำมันมะพร้าวในอดีตต่างรู้สรรพคุณในการใช้ใกล้เคียงกันโดยมิได้นัดหมาย ทั้งในด้านการปรุงอาหาร เป็นยารักษาโรค ทาแผลจากของมีคมและฟกช้ำ ใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิวและเส้นผม ทั้งในอินเดียที่ใช้กันมากว่า 5,000 ปี ชาวปาปัวนิวกินี ชาวปานนามาชาวจาไมก้า ชาวไนจีเรีย โซมาเลีย และเอธิโอเปียชาวแอฟริกากลางและแอฟริกาใต้ ชาวพื้นเมืองในเกาะซามัว ชาวศรีลังกา ชาวฟิลิปปินส์ ชาวอินโดนีเซีย ชาวไทย นิยมใช้น้ำมันมะพร้าวมาปรุงอาหาร คาวหวาน โดยเฉพาะกะทิ ใช้เป็นยา เป็นเครื่องประทินบำรุงผิว รักษาผิว
       
        ด้วยคุณสมบัติที่เป็นน้ำมันพืชที่มีสรรพคุณหลายด้านที่เห็นผลตรงกันในหลายประเทศ ทำให้ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 น้ำมันมะพร้าวจึงกลายเป็นน้ำมันที่นิยมใช้ในการปรุงอาหารและยาทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา แม้ในยุโรปในเวลานั้นก็มีการนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้สำหรับคนป่วยที่มีปัญหาระบบย่อยอาหารหรือการดูดซึมอาหารที่ไม่ดี ตลอดจนใช้สำหรับเด็กเล็กที่ย่อยไขมันชนิดอื่นไม่ค่อยได้ สร้างภูมิคุ้มกัน ฯลฯ

ภาพที่ 2 : แสดงพื้นที่ในกรอบเส้นสีแดงที่เป็นแหล่งของมะพร้าวตามธรรมชาติ เพื่อให้ได้คิดตามว่าหากคนในโลกนี้เปลี่ยนน้ำมันพืชมาเป็นน้ำมันมะพร้าวประเทศใดจะได้รับประโยชน์สูงสุด


       ต่อมาเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484 -2488) กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองประเทศฟิลิปปินส์และหมู่เกาะต่างๆในย่านเอเชียและแปซิฟิก ส่วนไทยก็เป็นทางผ่านร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นด้วย ในเวลานั้นสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรฯเป็นศัตรูกับญี่ปุ่น ทำให้น้ำมันมะพร้าวในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกนี้ต้องหยุดส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรฯไปโดยปริยาย
       
        เมื่อน้ำมันมะพร้าวขาดแคลนในสหรัฐอเมริกาจึงทำให้ต้องมีการสานต่อการผลิตน้ำมันพืชชนิดอื่นขึ้นมาแทน ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้มีการคิดค้นน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (polyunsaturated oil) ขึ้นมา เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงา น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง ฯลฯ ผลก็คือทำให้เกิดการปลูกพืชเหล่านี้กันอย่างแพร่หลายมากในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะถั่วเหลือง ซึ่งสร้างผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรในยุคนั้นอย่างมหาศาล และทำให้สมาคมถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกากลายเป็นกลุ่มทุนที่มีอิทธิพลทางการเมืองในสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
       
        ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ประเทศญี่ปุ่นตกกลายเป็นผู้แพ้สงคราม หลังจากนั้น น้ำมันมะพร้าวจึงเริ่มส่งออกจำหน่ายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง ในเวลานั้นสงครามทางการค้าระหว่าง "น้ำมันพืชอิ่มตัว" และ "น้ำมันพืชไม่อิ่มตัว" ได้เริ่มต้นรุนแรงขึ้น
       
        และคู่แข่งอันสำคัญในเวลานั้น ฝ่ายน้ำมันพืชอิ่มตัวก็คือ "น้ำมันมะพร้าว" จากเอเชียและแปซิฟิก
       
        และฝ่ายที่เป็นน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวก็คือ "น้ำมันถั่วเหลือง" ที่ปลูกกันมากในสหรัฐอเมริกาในเวลานั้น
       
        กลุ่มสมาคมถั่วเหลืองแห่งอเมริกัน(American Soybean Association หรือ ASA) ได้โจมตีน้ำมันมะพร้าวว่าเป็นไขมันอิ่มตัว ทำให้เป็นคอเลสเตอรอลได้ง่าย ทำให้เป็นโรคหัวใจได้ง่าย อ้วนง่าย และทำให้เป็นอัมพาต !!!
       
        ในปี พ.ศ. 2500 เป็นเวลา 12 ปีหลังจากยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฏิบัติการทำลายความน่าเชื่อถือน้ำมันมะพร้าวได้รุนแรงขึ้นไปอีก โดยได้มีงานวิจัยที่ประดิษฐ์ขึ้นหลายชิ้น ที่ระบุว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อัมพาต และโรคอ้วน โดยงานวิจัยชิ้นเหล่านั้นนั้นมีการใช้ความร้อนและเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันมะพร้าวในส่วนที่ยังเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ให้เป็นน้ำมันไฮโดรจีเนตที่ผิดธรรมชาติ เพื่อทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดแล้วโจมตีน้ำมันมะพร้าวให้เสียหายโดยตรง เพราะงานวิจัยชิ้นนั้นไม่สอดคล้องกับงานวิจัยต่อๆกันมาอีกจำนวนมากในรอบ 50 กว่าปีที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังเลยแม้แต่น้อย
       
        แต่งานวิจัยการโจมตีไขมันอิ่มตัวไม่มีเพียงลักษณะดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ยังมีอีกหลายชิ้นแต่ไม่ได้โจมตีน้ำมันมะพร้าวตามธรรมชาติโดยตรงเพราะรู้ว่าโจมตีได้ยาก จึงเน้นการโจมตีน้ำมันที่เป็น "ไขมันอิ่มตัว" ก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพ และทำให้เชื่อว่าไขมันอิ่มตัวคือผู้ร้ายในวงการน้ำมันที่ใช้สำหรับปรุงอาหาร เพื่อเชื่อมโยงทางอ้อมว่าน้ำมันมะพร้าวคือไขมันอิ่มตัว ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงต้องทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพด้วย
       
        สำหรับในประเทศไทยก็มีการโฆษณาน้ำมันถั่วเหลืองยี่ห้อหนึ่งว่าน้ำมันถั่วเหลืองของยี่ห้อตัวเองแช่ตู้เย็นแล้วไม่เป็นไข แต่น้ำมันอิ่มตัวแช่ตู้เย็นแล้วเป็นไข เพื่อชักชวนผู้บริโภคให้รู้สึกหวาดกลัวว่าเมื่อเป็นไขแล้วจะเป็นก้อนไขมันอุดตันในเส้นเลือดในท้ายที่สุด โดยผู้บริโภคในยุคนั้นไม่เคยฉุกคิดเลยสักนิดว่าน้ำมันมะพร้าวจะเริ่มจับตัวเป็นไขเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่ร่างกายมนุษย์มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 36.4 - 37.0 องศาเซลเซียส จึงไม่มีทางจะเกิดไขขึ้นได้เลยในร่างกายมนุษย์
       
        แต่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดก็เพราะเป็น "สงครามทางการค้า" ที่มีความรุนแรงอย่างมาก สมาคมถั่วเหลืองอเมริกัน เผยแพร่และรณรงค์อย่างหนักในช่วงปี พ.ศ. 2523 - 2532 ให้คนอเมริกันเลิกกินไขมันอิ่มตัว ซึ่งรวมถึงน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ซึ่งเรียกรวมๆว่าเป็นน้ำมันจากเขตร้อน (Tropical Oil) เป็นอันตราย ทำให้คอเลสเตอรอลสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เพื่อให้คนทั้งโลกไปบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Oils) โดยเฉพาะน้ำมันถั่วเหลืองแทน
       
        หลังจากนั้นคนอเมริกันและคนทั่วโลกก็หลงอยู่ในมายาคติและการโฆษณาชวนเชื่อ จึงตื่นตระหนกและรังเกียจใช้น้ำมันมะพร้าวมากขึ้น ส่งผลทำให้คนบริโภคน้ำมันมะพร้าวน้อยลงอย่างรวดเร็ว และคนบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองมากขึ้นเรื่อยๆ ราคามะพร้าวตกลง มีการโค่นต้นมะพร้าวในเอเชียแปซิฟิกจำนวนมากแล้วหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน

ภาพที่ 3 : แสดงการบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารในสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะหลังช่วงการรณรงค์ให้คนอเมริกันหวาดกลัวกับไขมันอิ่มตัว
     

ภาพที่ 4 : แสดงการเปลี่ยนแปลงของประชากรคนอ้วนและน้ำหนักเกินในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างมากในรอบ 19 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2533 - 2552)
       ในที่สุดสงครามน้ำมันพืชยุติลง "น้ำมันถั่วเหลือง" ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย!!!
     
 
        แต่สิ่งที่คนอเมริกันและทั่วโลกที่หันไปใช้น้ำมันถั่วเหลือง กลับได้รับคือ คอเลสเตอรอลที่มีอนุมูลอิสระทำลายหลอดเลือดสูงขึ้น เป็นโรคเบาหวานมากขึ้น อ้วนมากขึ้น(จนมีคนอ้วนมากที่สุดในโลก) และโรคหัวใจและโรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนอเมริกันมากที่สุด ทั้งๆที่ใช้น้ำมันถั่วเหลืองกันอย่างมหาศาลแล้ว และทำให้ในช่วง 15-20 ปีมานี้คนอเมริกันเริ่มตื่นตัวกับปัญหาสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น

ภาพที่ 5 : แผนภูมิแสดงเปรียบเทียบ % ของ 10 สาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรในสหรัฐอเมริการสหรัฐอเมริกา ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยโรคหัวใจและโรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในยุคปัจจุบัน

 
      เมื่อเห็นข้อมูลดังนี้อาจจะมีคนตั้งคำถามว่าการอ้วนขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงสาเหตุของการเสียชีวิตของคนอเมริกันอาจไม่ได้มาจากน้ำมันพืชก็ได้ ก็มีส่วนจริงอยู่เหมือนกัน แต่ก็ขอให้เก็บคำถามนี้เอาไว้ก่อน เพราะจะกล่าวถึงการศึกษาค้นคว้าและงานวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคเหล่านี้ต่อไป แต่ในชั้นนี้เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าการโฆษณาชวนเชื่อว่าการหยุดกินไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวแล้วหันมากินน้ำมันถั่วเหลืองแทนจะทำให้ไม่เป็นโรคหัวใจ ไม่เป็นโรคมะเร็ง หรือไม่เป็นโรคอ้วนนั้น ก็ไม่ได้เป็นความจริงแต่ประการใด


       แต่ในทางตรงกันข้าม ดร.เรย์ พีท (Ray Peat) ผู้เชี่ยวชาญด้านธัยรอยด์ และฮอร์โมน แห่งมลรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ได้เขียนรายงานเอาไว้เมื่อปี พ.ศ. 2548 ค้นพบว่า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อมีการรณรงค์ในเรื่องการโจมตีน้ำมันมะพร้าวอย่างหนักหน่วง ทำให้คนเชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวทำให้อ้วนคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และอ้วนง่าย ในช่วงเวลานั้นมีรายงานบันทึกปรากฏในหนังสือเอนไซโคลพีเดียแห่งสหราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2489 ว่า ผู้เลี้ยงหมูได้ซื้อน้ำมันมะพร้าวเอาไปเลี้ยงหมูเพราะเชื่อว่าจะทำให้หมูอ้วนเร็วทำน้ำหนักง่ายตามการโฆษณาของสมาคมถั่วเหลืองอเมริกัน แต่เมื่อนำน้ำมันมะพร้าวมาให้หมูกินแล้วปรากฏว่า...
       
        หมูที่เลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าว "ผอมลง"ทั้งเล้า!!!
       
        หลังจากนั้นวงการธุรกิจปศุสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ทั่วโลกต่างก็ได้มีความรู้มากขึ้นว่าหากจะเลี้ยงให้สัตว์ตัวเองอ้วนขึ้นนั้น ต้องให้กิน "ถั่วเหลือง" และ "ข้าวโพด" เพราะล้วนแล้วแต่เป็นธัญพืชที่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งสิ้น ไม่มีใครเลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าวอีกต่อไป เพราะรู้ว่าน้ำมันจาก "ถั่วเหลือง" และ "ข้าวโพด" นั้นเป็นไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลืองในยุคหลังมีการตัดแต่งพันธุกรรมจะกดการทำงานของไทรอยด์ให้ต่ำลง ทำให้เกิดการเผาผลาญได้ช้าลง สัตว์จึงกินน้อยแต่ขุนให้อ้วนง่าย ไขมันเยอะ เหมาะอย่างมากในการทำน้ำหนักให้ได้กำไรในการขาย

ภาพที่ 6 : ภาพจากภาพยนตร์ Food Inc. สารคดีเปิดโปงอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารได้รับรางวัลออสก้า แสดงการเปรียบเทียบขนาดของไก่ในยุคเมื่อปี พ.ศ. 2493 (ซ้ายมือ) หลังยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านมา 5 ปีที่ใช้เวลาเลี้ยง 70 วัน กับ ไก่ที่เลี้ยงในยุคปี พ.ศ. 2551 (ขวามือ) ที่กินถั่วเหลืองตัดแต่งพันธุกรรมและฉีดยาปฏิชีวนะในช่วงเวลา 48 วัน


       และเมื่อปี พ.ศ. 2554 ดังเต รอคชีซาโน (Dante Roccisano) และ มาเช เฮนเนอเบอร์ค (Maciej Henneberg) จากหน่วยงานวิจัยทางด้านชีวมนุษยวิทยาและกายวิภาคเชิงเปรียบเทียบ จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งแอดเดลเลทด์ (University of Adelaide) ประเทศออสเตรเลีย ได้ทำหัวข้อการศึกษาในเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองโดยเฉพาน้ำมันถั่วเหลืองต่อหัวประชากรในหลายประเทศโดยอาศัยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าปริมาณการบริโภคน้ำมันถั่วแหลืองมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญสอดคล้องกับภาวะโรคอ้วน
       
        ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะมาปฏิวัติน้ำมันพืช เอาความจริงกลับคืนมา และไม่ให้พวกมันหลอกพวกเราอีกต่อไป

 ณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ASTVผู้จัดการรายวัน    4 ตุลาคม 2556

ployploy

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 13
    • ดูรายละเอียด
Com on!!gclubcasino vegasroyal1688cambodia poipetholidaypalaceonline