ผู้เขียน หัวข้อ: อย.ชี้ใช้ “พาราเซตามอล” เกินจำเป็นเสี่ยงตับวาย  (อ่าน 904 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
 อย.เผยคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ยาพาราเซตามอล รักษาได้ทุกอาการปวด เร่งสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริโภค แนะให้อ่านข้อบังคับใช้และฉลากก่อนใช้ยา หากใช้อย่างผิดวิธีหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงเกิดพิษต่อตับ นำไปสู่สภาวะไตวาย
       
       นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข้อมูลการใช้ยาพาราเซตามอลของคนไทย พบว่า ส่วนใหญ่มักใช้ยาพาราเซตามอลเกินกว่าปริมาณที่กำหนด เนื่องจากมีความเข้าใจว่าเป็นยาพื้นฐานที่มีความปลอดภัย และสามารถรักษาได้ทุกอาการปวด ซึ่งความเป็นจริง ยาพาราเซตามอล มีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้ เท่านั้น และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ เพราะอาจจะนำไปสู่การเกิดพิษต่อตับ จนนำไปสู่ภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุดในเรื่องนี้

   

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
       นพ.บุญชัย กล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในการใช้ยาพาราเซตามอล จึงได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่องยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและเอกสารกำกับยา โดยกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอล ทั้งที่เป็นยาสามัญ และยาสามัญประจำบ้าน ต้องมีข้อความ คำเตือนบนฉลาก ได้แก่ 1.ถ้าใช้ยานี้เกินขนาดที่ระบุไว้บนฉลาก หรือเอกสารกำกับยา จะทำให้เป็นพิษต่อตับได้ และไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน และ 2.ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้
       
       ทั้งนี้ ยาพาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้าน สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป อย.จึงมีมาตรการกำหนดให้ฉลากยาระบุวิธีใช้ยาอย่างเคร่งครัดคือ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ดไม่เกินวันละ 4 ครั้ง และต้องมีขนาดบรรจุเป็นแผงละ 4 และ 10 เม็ดเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคใช้ยาเกินขนาดที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ขอให้ผู้บริโภคใช้ยาอย่างระมัดระวัง ควรอ่านฉลากและเอกสารกำกับยาอย่างถ้วนถี่ และปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานยาเกินกว่าปริมาณที่ระบุไว้โดยเฉพาะยาพาราเซตามอลไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) และหากมีความผิดปกติหรือมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร บวมบริเวณท้อง กดเจ็บบริเวณตับ ขอให้พบแพทย์โดยด่วน และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา



ASTVผู้จัดการออนไลน์   20 พฤศจิกายน 2555 18:21 น.