ผู้เขียน หัวข้อ: ประกันกั๊กบริหารค่ารักษาขรก.  (อ่าน 1470 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
ประกันกั๊กบริหารค่ารักษาขรก.
« เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2010, 13:02:23 »
 กรมบัญชีกลางคาดได้ผลสรุป ดึงธุรกิจประกันชีวิตบริหารงบเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ธ.ค.นี้ หลังยื่น 2 โจทย์ใหญ่ 1.สิทธิขรก.ต้องไม่ด้อยลงไปกว่าเดิม  2.สามารถคุมงบรายจ่ายไม่ให้เพิ่มจากเดิม

เผยยอดเบิกจ่ายรักษาพยาบาลยังสูงต่อเนื่องปีงบ 53 พุ่งถึง 70,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อปีเพิ่ม 20% ด้านสมาคมประกันชีวิต ชี้อุปสรรค รัฐไม่มีข้อมูลแบบสถิติย้อนหลัง 20 ปีขึ้นไป การเข้าบริหารอาจยาก
 นายรังสรรค์  ศรีวรศาสตร์  อธิบดีกรมบัญชีกลาง  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงประเด็นความคืบหน้าของแนวทางที่จะให้ธุรกิจประกันชีวิตเข้ามาบริหารค่า รักษาพยาบาลข้าราชการว่า  ขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาโดยสมาคมประกันชีวิต  และบริษัททริสเรทติ้งฯอยู่  ซึ่งทันทีที่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน  ก็จะมีการรายงานเข้ามาที่กรมบัญชีกลางเพื่อพิจารณา  โดยเชื่อว่าขั้นตอนดังกล่าวนี้น่าจะแล้วเสร็จไม่เกินสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้  หรือเดือนธันวาคมเป็นอย่างช้าว่าทางบริษัทที่ทำธุรกิจประกันชีวิตจะสามารถทำ ได้หรือไม่
 ทั้งนี้  สำหรับขั้นตอนการศึกษาที่อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานนั้น  มองว่ามาจากที่ทางกรมเองได้มีการยื่นเงื่อนไขที่ค่อนข้างหนัก 2 ประการที่สำคัญเป็นโจทย์ให้  ประกอบด้วย 1.สิทธิของข้าราชการจะต้องไม่น้อยลงกว่าเดิมที่เป็นอยู่  และ2. ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้สูงไปกว่าเดิม  ซึ่งการตั้งโจทย์ดังกล่าวก็เพื่อเป็นการตอบโจทย์แนวคิดของการประหยัดงบ ประมาณรายจ่ายประจำในส่วนของค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ  ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี  จนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านงบประมาณขึ้น
 "เราต้องการประหยัดงบประมาณให้ได้มากที่สุด  ดังนั้น จึงต้องมีการยื่นเงื่อนไขค่อนข้างหนักให้กับทางบริษัทประกันชีวิต  เพราะหากทำแล้วไม่สามารถประหยัดงบประมาณได้ก็ไม่รู้ว่าจะทำไปเพื่ออะไร  โดยจากเดิมจะมีการตั้งงบประมาณในส่วนของค่ารักษาพยาบาลข้าราชการประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท  แต่ทุกปีก็จะพบว่าใช้งบประมาณเกินไป  โดยล่าสุดก็ใช้ไปถึง 70,000 ล้านบาท  ซึ่งทำให้ต้องไปดึงเงินจากงบกลางเข้ามาใช้  จนส่งผลให้งบประมาณเพื่อการลงทุนในแต่ละปีต้องลดลงไปด้วย  จึงต้องหาแนวทางเพื่อประหยัดให้ได้มากที่สุด  แต่สิทธิของข้าราชการจะต้องไม่น้อยลงไป" นายรังสรรค์ กล่าวและว่า     
 นายรังสรรค์  กล่าวต่อไปอีกว่า  ที่ผ่านมาเท่าที่ได้มีการปรึกษาหารือกับทางสมาคมประกันชีวิตนั้น  เชื่อว่าบริษัทประกันชีวิตน่าจะสามารถตอบรับกับโจทย์ที่ทางกรมตั้งเงื่อนไข ไว้ได้  ถึงแม้ว่าจะมีการยกกรณีเปรียบเทียบเมื่อครั้งที่ได้ดำเนินการในระบบดังกล่าว ให้กับสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แต่ปรากฏว่าเบี้ยประกันอยู่ในอัตราที่สูงมาก  โดยหากมองลึกลงไปในรายละเอียดจะพบว่าจำนวน ส.ว. นั้นมี 100 กว่าท่านเท่านั้น  เพราะฉะนั้นค่าเบี้ยประกันที่สูงจึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด
 ขณะที่ในส่วนของกรณีของข้าราชการนั้น  ปัจจุบันจำนวนข้าราชการมีอยู่กว่า 5 ล้านคน  ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มาก  โดยที่ข้าราชการบางกลุ่มก็เป็นกลุ่มของคนรุ่นใหม่  อายุยังไม่ถึง 50 ปี  ซึ่งจะมีอัตราการเจ็บป่วยที่น้อยมาก  หรือแทบจะไม่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเลยในแต่ละปี  โดยหากนำข้าราชการกลุ่มดังกล่าวมาเฉลี่ยค่าใช้จ่ายกับกลุ่มข้าราชการที่มี อายุมากแล้ว  ก็ถือว่ามีความเหมาะสม  เพราะฉะนั้นค่าเบี้ยประกันก็น่าจะสามารถปรับลดลงมาได้ด้วยเช่นเดียวกัน
 "หากผลสรุปที่ออกมาปรากฏว่าทางธุรกิจประกันชีวิต  ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขที่เราตั้งเอาไว้ได้  เราก็คงจะต้องหาแนวทางอื่นมาดำเนินการ  เพื่อประหยัดงบประมาณในส่วนดังกล่าวต่อไป"
                      ดร.อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (บจก.) และในฐานะอุปนายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในเบื้องต้นบริษัทคงต้องเข้าไปศึกษาเงื่อนไขของภาครัฐและข้อมูลการเบิกจ่าย ค่ารักษาพยาบาลย้อนหลังอย่างละเอียด ซึ่งปัญหาคือ ภาครัฐไม่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสถิติย้อนหลัง 20 ปีขึ้นไป ถือเป็นส่วนสำคัญที่ระบบประกันชีวิตต้องใช้คำนวณต้นทุนและความเสี่ยง
          ขณะเดียวกันมองว่า ภาครัฐไม่มีความจำเป็นต้องดึงบริษัทประกันเข้าไปบริหารก็ได้ แต่โดยการสร้างความร่วมมือผ่านทางสมาคมประกันชีวิตไทย ในลักษณะเป็นการตั้งคณะทำงานที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ ซึ่งทางสมาคม พร้อมสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ แบบไม่คิดค่าใช้จ่าย
           "แนวทางนี้ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับภาครัฐมากกว่า เพราะบริษัทประกันสามารถใช้ความชำนาญที่มีอยู่มาให้คำแนะนำควบคุมค่าใช้ จ่าย/ปิดจุดอ่อนให้กับภาครัฐ ทั้งยังประหยัดงบรายจ่ายอีกทาง"
                       การศึกษาปัญหาในเบื้องต้น พบช่องโหว่ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลรั่วไหล อยู่ที่กระบวนการเบิกจ่ายของผู้ป่วยนอก OPD ที่มีมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยใน IPD มูลค่า 15,000 ล้านบาท ทางโรงพยาบาลสามารถควบคุมได้อยู่แล้ว
                  จากสถิติการจัดงบประมาณสำหรับค่ารักษาพยาบาลข้าราชการมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เร็วมากเฉลี่ยประมาณปีละ 20%     โดยในปีงบประมาณ 2554 รัฐได้จัดสรรงบรายจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลข้าราชการในวงเงินสูงถึง 62,500 ล้านบาท  ซึ่ง 1 ใน 4 ของงบรายจ่ายเป็นรายจ่ายของผู้ป่วยใน ขณะที่ 3ใน4 หรือ 75% ของงบเบิกจ่ายเป็นผู้ป่วยนอก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,587
28 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553