แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 380 381 [382] 383 384 ... 535
5716
วันที่ 19 มิถุนายน 2555         
                                                                                                                                           
      วันนี้ เมื่อเวลา 09.00 น. ณ โรงแรมรอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา จ.ชลบุรี นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ 
      จากนั้น นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด   นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา  และนายภักดีหาญส์  หิมะทองคำ  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
...........................................

10. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (กรณีพ้นตำแหน่งตามวาระ)
      คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (กรณีพ้นตำแหน่งตามวาระ) จำนวน 7 คน ดังนี้
1. ศาสตราจารย์ไกรสิทธิ์  ตันติศิรินทร์ เป็นประธานกรรมการ
2. ศาสตราจารย์ศิริชัย  กาญจนวาสี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล
3. รองศาสตราจารย์ชาย โพธิสิตา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล
4. นางนงราม  เศรษฐพานิช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล
5. นายกฤษฎา  อุทยานิน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน
6. นายณรงค์ศักดิ์  อังคะสุวพลา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
7. นายกิติศักดิ์  สินธุวนิช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสร้างเสริมสุขภาพ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป

5717


บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

เรื่อง การเบิกค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ
การรักษาพยาบาล กรณีการกำหนดอัตราค่าบริการสาธารณสุขและการกำหนดขั้นตอนในการควบคุมการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ

                                
กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๗/๐๗๗๑๗ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๐ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ รวมถึงบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมในระบบการเบิกจ่ายเงินตามบริการที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ (Fee for service) มีอัตราสูงขึ้นทุกปี  ดังนั้น เพื่อให้การใช้จ่ายเงินของแผ่นดินในการดำเนินการด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลเป็นไปโดยถูกต้อง มีวินัย คุ้มค่า โปร่งใส และสามารถตรวจสอบ ควบคุมได้ กรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงการคลัง จึงได้มีการดำเนินการดังนี้

๑. จัดทำอัตราการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยกำหนดอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ และประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๙

๒. ควบคุมการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ โดย

๒.๑ ได้พัฒนาระบบและแนวทางการตรวจสอบ ในการอนุมัติการใช้ยารักษาโรคมะเร็งที่มีราคาสูงก่อนการเบิกจ่าย (Pre authorization) ให้ครอบคลุมทั้งการบริการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยภายนอกและผู้ป่วยภายใน ในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็ง เม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งลำไส้ชนิด Gastrointestinal stromal tumor และ/หรือ มะเร็งเต้านม

๒.๒ กำหนดแนวทางการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งจะประกาศบัญชีรายการยาที่ให้เบิกจ่ายได้พร้อมกำหนดเงื่อนไขการเบิกจ่ายไว้ และยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติประเภทใดที่กระทรวงการคลังมิได้ประกาศ หรือมีการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ห้ามนำมาเบิกจ่ายในสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อดำเนินการแล้ว

กรมบัญชีกลางเห็นว่า การดำเนินการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และการพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่อง แม้ว่าวัตถุประสงค์หนึ่งในหลายประการ คือ การควบคุมค่าใช้จ่าย แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักการว่า ต้องไม่เป็นการลิดรอนสิทธิที่ได้รับอยู่เดิม นอกจากนี้ต้องอยู่ในขอบเขตของพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่สามารถดำเนินการได้ด้วย  ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมาย จึงขอหารือดังนี้

๑. การดำเนินการจัดทำอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวข้างต้นตามข้อ ๑ ได้อาศัยกรอบอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๑ (๑) ซึ่งบัญญัติว่า การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่นซึ่งมิใช่เป็นการตรวจสุขภาพประจำปีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้

(๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายในให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง  ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอาจกำหนดอัตราให้เบิกได้ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงก็ได้ ซึ่งพิจารณาประกอบกับนิยามตามมาตรา ๔ ที่บัญญัติว่า ค่ารักษาพยาบาล หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล ดังนี้

(๑) ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยา หรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่นๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค

(๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม

(๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ

(๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล

(๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี

กรณีการดำเนินการดังกล่าวอยู่ในขอบเขตของพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่สามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร

๒. พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๒๓ และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔ บัญญัติว่า ค่ารักษาพยาบาล หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาลดังนี้

(๑) ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ำยา หรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่นๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค

                                  ฯลฯ                                         ฯลฯ

กรณีการพัฒนาระบบและแนวทางการตรวจสอบในการอนุมัติการใช้ยารักษาโรคมะเร็งที่มีราคาสูงก่อนการเบิกจ่าย รวมทั้งการกำหนดแนวทางการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติดังกล่าวข้างต้นตามข้อ ๒ ซึ่งเป็นการกำหนดขั้นตอนในการควบคุมการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ จะสอดคล้องกับนิยามของคำว่า ค่ารักษาพยาบาล หรือไม่ อย่างไร

5718


ใครต้องการไปพบปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในครั้งนี้ด้วย.....แจ้งด่วน

5719
คนไทยยังสงสัย “กินไก่ทำให้นมโตจริงหรือ” แพทย์ด้านโภชนาการบำบัดระบุชัด เด็กไทยกินไก่มาก เกิดภาวะโตก่อนวัย เพราะในเนื้อไก่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เร่งให้ไก่โต แต่เกิดผลกระทบต่อคนกิน เด็กหญิงหน้าอกขึ้นเร็ว เด็กชายมีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ขณะที่กุมารแพทย์ยันเกิดผลกระทบจริง หลังจากเคยพบเด็กหลายคนเป็นแบบนี้ ให้เลิกกินไก่อกก็ยุบ แต่ต้องดูปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นด้วย ด้านซีพียืนยันไก่ไทยไม่ฉีดฮอร์โมนแล้ว เพราะอย.สั่งห้ามนำเข้ามากว่า 20 ปี แต่เจ้าของฟาร์มเลี้ยงระบุยังมีบางเจ้าที่แอบฉีดอยู่

“แม่ค่ะหนูอยากใส่เสื้อชั้นในบ้าง เพื่อนห้องเดียวกับหนูเขาใส่กันแล้ว” คำถามไร้เดียงสาเกิดขึ้นกับเด็กหญิงคนหนึ่ง ที่เพิ่งไปโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้เพียงวันเดียว สร้างความตกใจให้กับผู้ปกครองเด็กหญิงไม่น้อย หากมองโดยทั่วไป อาจจะคิดได้ว่า อิทธิพลของสื่อที่ส่งผลต่อความคิดของเด็กๆ สังคมปัจจุบันเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กผู้หญิงอยากโตเป็นสาวเร็วๆเหมือนเพื่อน หรือเด็กผู้ชายอยากโตเป็นหนุ่มวัยรุ่นเร็วกว่าเดิม ไม่ได้มีเรื่องใดผิดปกติ หรือมีข้อกังวลอื่นใดนอกจากการระวังเด็กๆ ให้เข้าใจสื่อในปัจจุบัน

แต่เมื่อสอบถามพ่อแม่อีกหลายคนที่ลูกอยู่ในวัยเดียวกัน  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจของลูกหลานในช่วงวัยเด็กนี้ กลับพบข้อน่าสงสัยประการหนึ่ง คือ เด็กยุคนี้มีร่างกายเจริญเติบโตรวดเร็วกว่า เด็กในอดีตรุ่นพ่อแม่มากนัก

ข้อสันนิษฐานหนึ่งเชื่อว่า มาจากอาหารการกินในยุคปัจจุบันที่น่าจะมีปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กๆ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสงสัยที่ว่า สารเคมีบางชนิดในอาหาร เช่น สารเร่งโตในไก่ ที่ถูกนำมาเป็นอาหารฟาสต์ฟู้ดยอดนิยม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กโตเร็วกว่าที่ควรจะเป็น จริงหรือไม่

แพทย์ชี้กินไก่มากทำเด็กหญิงอกโตเร็ว-เด็กชายเสี่ยงตุ้งติ้ง

จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังกลับไป พบว่าได้มีการติดตามประเด็นเพื่อหาข้อเท็จจริงกรณีอยู่บ้างแล้ว โดย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 พ.ญ.จุฬาภรณ์ รุ่งพิสุทธิ์พงษ์ แพทย์อายุรกรรม และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาบำบัด โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน เกี่ยวกับข้อถกเถียงในวงการแพทย์ ว่าการกินไก่จำนวนมากทำให้เด็กผู้หญิงโตเป็นสาวเร็วขึ้น ขณะที่เด็กผู้ชายเสี่ยงต่อการเบี่ยงเบนทางเพศจริงหรือไม่ โดยระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่การเจริญเติบโตของเด็กไทยในปัจจุบัน มีผลมาจากการได้รับสารเร่งโตที่ติดค้างอยู่ในเนื้อไก่ที่ถูกนำมาเป็นอาหารในชีวิตประจำวันของเด็กๆ

                 “ปัจจุบันพบว่าเด็กผู้หญิงไทยเริ่มมีประจำเดือนเร็วก่อนวัยอันควร ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้กินดีอยู่ดี และที่สำคัญคือ เด็กยุคใหม่มีการบริโภคไก่กันมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ต่อร่างกายของเด็กในช่วงที่ยังอยู่ระหว่างการเจริญเติบโต ทำให้เด็กเดี๋ยวนี้โต เร็วมาก อายุ 7-8 ปี ก็เริ่มมีเต้านม มีประจำเดือนกันแล้ว ตรงนี้ถือว่าเป็นการเจริญเติบโตที่เร็วผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาคือ เด็กโตเร็วขึ้น ในขณะที่กระดูกจะปิดเร็ว ทำให้ตัวเตี้ยลง” พ.ญ.จุฬาภรณ์ระบุ

นอกจากนี้พ.ญ.จุฬาภรณ์ยังเชื่อมโยงให้เห็นต่อไปด้วยว่า เป็นที่คาดการณ์ว่า ภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กส่วนใหญ่ ที่ระยะหลังต่างหันมานิยมบริโภคเนื้อไก่เป็นหลัก อาจทำให้ได้รับสารบางประเภทที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง อาทิ ได้รับฮอร์โมนเพศหญิงได้ในภายหลัง และสาเหตุส่วนหนึ่งอาจสืบเนื่องมาจากไก่  เนื่องจากไก่สมัยนี้ ผู้เลี้ยงจะอาศัยวิธีฉีดสารเร่งทำให้ไก่โตเร็ว เพื่อขายได้ทันตามความต้องการของตลาด ที่มีความต้องการบริโภคเนื้อไก่ค่อนข้างสูง ฉะนั้นวิธีการฉีดสารเคมี เพื่อเร่งให้ไก่โตเร็วก่อนกำหนด จึงไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้ ดังนั้น ผู้ใดที่กินไก่เข้าไปก็เทียบเท่าได้กับการได้รับฮอร์โมนเพศหญิง หรือเอสโตรเจน จากสารที่ฉีดเร่งโตของไก่เข้าไปในร่างกายด้วย และผลที่อาจเกิดขึ้นตามมา  อาจส่งผลทำให้ผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กๆ โตเร็ว เป็นหนุ่มเป็นสาวกันเร็วขึ้น สามารถมีลูกได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แก่เร็ว และอายุสั้นลง
         
                       “ไม่ว่าเพศหญิงหรือเพศชายที่ได้รับฮอร์โมนเพศหญิง จะได้รับผลกระทบเช่นกัน คือ ผู้หญิงจะได้รับฮอร์โมนเพศหญิงทำให้โต เป็นสาวเร็วขึ้น ขณะเดียวกันเพศชายที่ได้รับฮอร์โมนเพศหญิง ก็อาจเกิดผลข้างเคียง อย่าง เช่น เกิดอาการกระตุ้งกระติ้งได้” พ.ญ.จุฬาภรณ์กล่าว

การตั้งข้อสังเกตของ พ.ญ.จุฬาภรณ์จึงน่าจะเป็นอีกข้อมูลหนึ่ง ที่น่าจะเชื่อได้ส่วนหนึ่งว่า สาเหตุที่เด็กโตเร็วกว่าวัย น่าจะมีผลจากอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทไก่ฟาสต์ฟู้ด ไม่มากก็น้อย

กุมารแพทย์เผยอาจมีปัจจัยอื่นร่วมแต่แนวโน้มกินไก่มากกว่า

ขณะที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.พ.กิตติ อังศุสิงห์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อ  โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เคยให้ข้อมูลกับผู้ที่ไปร่วมงาน Family Health Fair 2011 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 ถึงปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการทำให้เด็กโตเร็วก่อนวัยว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นหนุ่มสาวเร็ว ได้แก่ กรรมพันธุ์ โภชนาการ หรือมีการทำงานของฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์เร็วเกินไป โดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจมีต้นเหตุจากเนื้องอกก็เป็นได้ เป็นความจริงที่ว่า เด็กผู้หญิงที่อวบอ้วนมักเป็นสาวเร็ว เด็กที่ผอมหรือออกกำลังกายอย่างหักโหมจะมีประจำเดือนช้า

ส่วนปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกี่ยวกับการเป็นสาวเร็ว ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนตกค้างในสัตว์ปีก และสารที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน เช่น บีพีเอในผลิตภัณฑ์พลาสติก นอกจากนี้การเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็ว เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมได้เช่นกัน เช่น จากที่พ่อก็เป็นหนุ่มเร็ว แม่มีประจำเดือนเร็วก่อนอายุ 12 ปี

อย่างไรก็ตามยังพบว่า เด็กผู้หญิงที่เป็นสาวเร็ว ประจำเดือนมาเร็ว ในขณะที่แม่อาจจะมีประจำเดือนเมื่ออายุ 14- 15 ปี แสดงว่าปัจจัยอื่นทางสิ่งแวดล้อม สามารถเอาชนะปัจจัยพันธุกรรมได้ และอาจเกี่ยวกับสารเล็ปตินที่เซลล์ไขมันสร้างขึ้น ไปออกฤทธิ์ในสมอง ทำให้เริ่มเป็นสาวเร็วขึ้น  เด็กผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากภายนอกนานพอสมควร แล้วหยุดการได้รับฮอร์โมนนี้ มักจะเริ่มเป็นสาวเร็วในเวลาต่อมา

นอกจากนี้ น.พ.กิตติยังมองว่า มีประเด็นที่น่าสนใจคือ มีฮอร์โมนเพศหญิงสังเคราะห์เจือปนในสัตว์ปีกเช่นไก่หรือไม่ แม้ว่าจะมีการประกาศห้ามใช้ฮอร์โมนนี้กับสัตว์ปีกมานานกว่า 15 ปี แต่มีข้อกังขา ทำให้ยังไม่น่าเชื่ออย่างสนิทใจว่า ไม่มีการใช้ฮอร์โมนนี้จริงหรือไม่ เพราะยังมีการผลิตฮอร์โมนนี้ทำเป็นเม็ดจำหน่ายอยู่

                      “จากประสบการณ์ที่เคยพบ มีเด็กหลายคนที่ชอบกินไก่แล้วมีเต้านมโต เมื่อแนะนำให้หยุดปรากฏว่าหน้าอกยุบลงได้ ซึ่งการตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนดังกล่าวค่อนข้างยุ่งยาก และต้องอาศัยเครื่องมือที่ซับซ้อนและมีราคาแพง อย่างไรก็ตามภาวะเป็นสาวก่อนวัย แตกต่างจากกรณีเป็นสาวตามวัย แต่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายอย่างรวดเร็วด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมน ซึ่งอาจมีประจำเดือนเร็วเกินไปเช่นกัน” น.พ.กิตติกล่าว

รักษาได้ต้องฉีดฮอร์โมนยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน

และยังพบข้อมูลซึ่งน.พ.กิตติเคยเขียนไว้เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ระบุว่า ที่เรียกว่าเป็นสาวก่อนวัย คือการที่เด็กหญิงเริ่มมีการพัฒนาของหน้าอกก่อนอายุ 8 ปี หรือมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 9 ปี แต่ถ้าอายุเกิน 13 ปีแล้วยังไม่เริ่มเป็นสาว ก็เรียกว่า เป็นสาวช้ากว่าปกติ ส่วนลักษณะทางเพศที่แสดงออกว่า เริ่มเป็นสาวแล้วนั้น ถูกกำหนดโดยฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมักไม่ทราบสาเหตุ แต่มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่เกิดจากเนื้องอกในสมองมากระตุ้นให้ฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองออกมาก่อนกำหนด

                       “ผลเสียของการเป็นสาวก่อนวัย จะเป็นผลโดยตรงจากฮอร์โมนเพศหญิง มี 2 ประการ คือ 1.ช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น เด็กจะสูงกว่าเด็กวัยเดียวกัน แต่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่เตี้ยกว่าปกติ เนื่องจาก ฮอร์โมนเพศหญิงทำให้โตเร็วในวัยเด็ก เป็นผลให้กระดูกปิดเร็วกว่า วัยปกติ เด็กบางรายอายุ 10-12 ปี ก็หยุดการเจริญเติบโตแล้ว เนื่องจากกระดูกปิดสนิท ดังนั้นระยะเวลาการเจริญเติบโตจึงสั้นกว่าปกติ เมื่อเป็นผู้ใหญ่จึงเตี้ยกว่าปกติ

2.ปัญหาทางด้านจิตใจ เด็กที่เป็นสาวก่อนวัยบางรายจะรู้สึกอายเพื่อน เพราะว่ามีหน้าอกโต บางรายถูกรังแกทางเพศจากผู้ใหญ่เพศชาย พบได้ตั้งแต่ถูกจับหน้าอก จนกระทั่งถูกข่มขืนและตั้งครรภ์ตั้งแต่วัยเด็ก”

ส่วนวิธีการรักษาเพื่อชะลอการเป็นสาว น.พ.กิตติกล่าวว่า จะต้องได้รับการให้ยาฉีด GnRH-agonist ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์ขึ้น ฉีดเข้ากล้ามเดือนละ 1 ครั้งทุกเดือนฮอร์โมนชนิดนี้จะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ทำให้ ฮอร์โมนเพศจากรังไข่ลดลง ยาชนิดนี้ต้องฉีดติดต่อกันไปจนอายุประมาณ 11-13 ปี เมื่อหยุดยาเด็กก็จะเริ่มเป็นสาวภายใน 3-6 เดือน

ซึ่งผลดีของการรักษาคือ จะทำให้หน้าอกมีขนาดเล็กลง บางรายจะยุบลงจนเหมือนเด็กปกติ การชะลอการเป็นสาว จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตตามปกติ เหมือนเด็กวัยเดียวกัน กระดูกก็จะไม่ปิดเร็ว เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะมีความสูงตามศักยภาพ ทางพันธุกรรม และทำให้สภาพจิตใจกลับมาเป็นปกติ เนื่องจากร่างกายกลับสู่สภาพเหมือนเด็กวัยเดียวกัน

แต่ขณะเดียวกันก็เกิดผลเสียที่ชัดเจนคือ ต้องถูกฉีดยาเข้ากล้ามทุกเดือนติดต่อกันนานหลายปี เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากยาราคาแพง ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเดือนละประมาณ 10,000 บาท และยังพบว่า บางรายมีอาการแพ้ยาทำให้ต้องหยุดการใช้ยา ส่วนผลเสียระยะยาว เท่าที่ติดตามข้อมูลทางการแพทย์ที่ใช้ยานี้มาประมาณ 15 ปี ยังไม่มีรายงานผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์

สัตวแพทย์ซีพียันไก่ไทยไม่ฉีดฮอร์โมนแล้ว

อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับสรีระของเด็กและวัยรุ่น ไม่ใช่ความเชื่อหรือการคาดเดา แต่เหตุผลและข้อมูลทางการแพทย์ก็สนับสนุนคำถามเรื่อง “กินไก่ทำให้อกโตก่อนวัยจริงหรือ” ได้เป็นอย่างดี

น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการ ด้านสุขภาพสัตว์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เคยตอบคำถามผู้ที่มีความสงสัยในประเด็นเดียวกันนี้ ทาง Facebook ของเครือซีพี ที่ชื่อ We are CP เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 ในหัวข้อ “ไขข้อสงสัยกินไก่แล้วอกโต” ระบุว่า ตามข้อเท็จจริงมีข้อเขียนเชิงวิชาการมากมายที่ยืนยันว่า ไก่ไทยไม่มีการใช้ฮอร์โมนมานานมากแล้ว และการกินไก่แบบปกติก็ไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดโรค “โรคหนุ่มสาวก่อนวัย” ยกเว้นคนที่เลือกกินเฉพาะไขมัน เช่น ไก่ทอด หรือหนังไก่ทอด เป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานาน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2529 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศห้ามใช้ยาเฮ็กโซเอสตรอล (Hexoestrol) ซึ่งเป็นยาที่ใช้สำหรับตอนสัตว์ปีก และเป็นฮอร์โมนสำหรับรักษาสัตว์ โดยมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีเฮ็กโซเอสตรอล ไม่ให้จำหน่ายในประเทศไทยแล้ว

ส่วนที่หลายคนอาจสงสัยว่า อาจมีการลับลอบใช้ คงต้องตอบว่ามันไม่คุ้มค่า และเสี่ยงต่อการขาดทุนของผู้เลี้ยงมาก เพราะฮอร์โมนที่ลักลอบย่อมมีราคาแพง ขณะที่ปัจจุบันไก่ไทยสามารถเลี้ยงให้โตได้ในเวลาเพียง 40-45 วัน ถ้าฉีดฮอร์โมนราคาแพงเข้าไป ฮอร์โมนยังไม่ทันทำงาน ไก่ก็ต้องถูกชำแหละเสียแล้ว จะคุ้มค่าได้อย่างไร และยังเสี่ยงถูกจับกุมด้วย ขณะเดียวกันเทคโนโลยีวิธีตรวจหาฮอร์โมนตกค้างสามารถทำได้ง่าย ซึ่งผู้เลี้ยงคงจะไม่เสี่ยงแน่นอน

นอกจากนี้ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ของโลก มีตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป หรืออียู และญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยอาหารอย่างมาก และมีการตรวจสอบการใช้สารหรือฮอร์โมนอย่างเข้มงวด เพราะถือเป็นสารอันตราย ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ผู้ประกอบการไทยจึงต้องยึดแนวทางการผลิต ตามข้อกำหนดทางการค้าของอียู ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก โดยให้ความใส่ใจตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเลี้ยงจนถึงการแปรรูป เพื่อไม่ให้มีสารอันตรายใดๆ ปนเปื้อนหรือตกค้างในสินค้าเป็นอันขาด และในการส่งออกที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เคยมีการตรวจพบว่า ไก่ของประเทศไทยมีการใช้สารดังกล่าว ผู้บริโภคจึงมั่นใจในความปลอดภัยของไก่ไทยได้

สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ถ้าไม่ใช้ฮอร์โมนแล้วอะไรทำให้ไก่โตเร็ว ตรงนี้คงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในภาคเกษตรของไทยเรานั้นได้มีความพยายามพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยมีการพัฒนาพันธุกรรมของตัวไก่ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีความแข็งแรง และมีการเจริญเติบโตที่ดีตามธรรมชาติ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเลี้ยง อย่างโรงเรือนปิดปรับอากาศได้ (EVAP) ที่ทำให้ไก่อยู่สุขสบาย ไม่เครียด จึงไม่ป่วย และเจริญเติบโตได้ดี โดยไม่ต้องใช้ฮอร์โมนหรือสารเร่งใดๆ

ประกอบกับการเลี้ยงโดยใช้หลักการตามมาตรฐานสวัสดิภาพและสุขอนามัยสัตว์ที่ดี เทียบเท่ากับมาตรฐานต่างประเทศ รวมทั้งมีมาตรการตรวจสอบย้อนกลับทั้งระบบ ขณะเดียวกัน นักโภชนาการก็จะคิดและพัฒนาสูตรอาหาร ที่เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์แต่ละสายพันธุ์หรือช่วงอายุ เพื่อให้สามารถแสดงออกถึงลักษณะเด่นทางพันธุกรรมได้อย่างเต็มที่ เหตุผลเหล่านี้คงพอจะตอบคำถามที่ว่า ทำไมไก่ไทยไม่จำเป็นต้องใช้สารเร่งโต และทำไมไก่ที่เลี้ยงในปัจจุบันถึงได้ใช้เวลาเลี้ยงน้อยกว่า แต่กลับโตดีกว่าไก่ที่เลี้ยงกันในอดีต


โต้ใครเชื่อว่ากินไก่แล้วอกโตแสดงว่าโบราณ-คร่ำครึ

อย่างไรก็ตามเมื่อกล่าวถึงประเด็นความเปลี่ยนแปลง หรือผลกระทบที่เกิดกับเด็ก น.สพ.นรินทร์กลับไม่เจาะจงว่าการกินไก่ทำให้อกโตจริงหรือไม่ แต่ระบุว่า “ส่วนคำถามที่ว่ากินไก่แล้วโตเร็วจริงหรือเปล่า” ก็คงต้องให้นายแพทย์รักษาคนมาช่วยตอบ ขออนุญาตนำงานเขียนของ น.พ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติมาอ้างอิง คุณหมอบอกว่า การเป็นหนุ่มสาวเร็วถือเป็นโรคอย่างหนึ่งเรียกว่า “โรคหนุ่มสาวก่อนวัย” ซึ่งมีสาเหตุหนึ่งมาจากการที่มีมวลไขมันพอกตัวเยอะ ในเด็กที่ชอบกินไก่ทอดหรือหนังไก่จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้สูง

ในอดีตสมัยที่มีการใช้ฮอร์โมนไก่อยู่นั้น ฮอร์โมนเหล่านี้มักละลายในไขมันได้ดี ดังนั้นเด็กที่กินเข้าไปก็เก็บสะสมไว้ในไขมัน เมื่อรับประทานมากเข้าจึงมีส่วนทำให้เกิด “โรคหนุ่มสาวก่อนวัย” ได้ นอกจากนี้ คุณหมอยังเพิ่มเติมว่า ฮอร์โมนไก่ ถูกใส่ความให้เป็นต้นเหตุของ "ซีสต์รังไข่" ด้วย  ทั้งๆ ที่ ทุกวันนี้ ยังไม่มีงานวิจัยใดที่บ่งชี้ว่า กินไก่หรือปีกไก่แล้วทำให้เกิดซีสต์ที่รังไข่ ในขณะที่ “ความอ้วน” ต่างหากที่เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิด “ซีสต์รังไข่” ใครที่กินแต่หนังไก่จนอ้วนมากจะเข้าข่ายเสี่ยงโดยปริยาย

ทั้งนี้ เนื้อไก่จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อสีขาว (White meat) ถือเป็นโปรตีนย่อยง่าย ไขมันน้อย ถ้าเทียบกับเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว นอกจากนี้ เนื้อไก่ก่อให้เกิด “ภูมิแพ้” น้อยกว่า ถ้าใครเป็นภูมิแพ้เรื้อรังไม่หาย หรือเด็กๆ มีภูมิแพ้เรื้อรัง เปลี่ยน จากเนื้อวัว มากินเนื้อไก่ก็ดี การที่เนื้อไก่ไม่ค่อยทำให้แพ้ง่าย เป็นเพราะกรดอะมิโนในเนื้อไม่ค่อยมากหน้าหลายตาเท่าเนื้อวัว จะเห็นได้ว่า ร.พ.ศิริราชยังนำเนื้ออกไก่มาบดทำเป็นน้ำเรียกว่า “นมไก่” ให้เด็กภูมิแพ้กินแทนนมวัวด้วย

น.สพ.นรินทร์ยังกล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตไก่อันดับต้นๆ ของโลก มาตรฐานการผลิตไก่ของไทยก็ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศที่เข้มงวดด้านมาตรฐานการผลิต น่าจะตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยต่อการบริโภคได้อย่างชัดเจนว่า ไก่ไทย ปลอดภัยไร้ฮอร์โมน ซึ่งความกังวลของผู้บริโภคในเรื่องนี้ จะทำให้เสียโอกาสในการรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์อย่างเนื้อไก่

ผู้ประกอบการรับ ยังมีฟาร์มฉีดสารเร่งโตในไก่

ขณะที่เมื่อสอบถามไปยังผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ เพื่อต้องการหาคำตอบว่า จริงหรือไม่ ที่ปัจจุบันไม่มีการใช้ฮอร์โมนกับไก่แล้ว และจริงหรือไม่ที่กินไก่มากแล้วทำให้หน้าอกโตก่อนวัย นายธนเดช แสงวัฒนกุล ผู้จัดการฟาร์มไก่ อุดมชัยฟาร์ม เปิดเผยว่า การฉีดฮอร์โมนเร่งโตในไก่ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากอาหารที่รับประทานได้พัฒนาไปสู่จุดสูงสุด มีการพัฒนาสายพันธุ์อาหารเหล่านั้นให้โตเร็ว ซึ่งอาจจะไม่เฉพาะแค่ไก่อย่างเดียว แต่มีอาหารชนิดอื่นด้วย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงตกอยู่กับผู้บริโภค

               “ในอดีตมีการฉีดสารเร่งโตแน่นอน โดยเฉพาะในไก่ตอน จะใช้วิธีฝังเม็ดยาไว้ที่หัว 2 เม็ด เพื่อทำให้ไก่โตเร็ว สวย น่ารับประทาน แต่ปริมาณไม่มากนัก และไม่ได้ฉีดสารดังกล่าวในไก่ทุกชนิด ฉีดเฉพาะไก่ตอนเท่านั้น และในปัจจุบันอาจจะมีบางฟาร์มที่ฉีดยาอยู่บ้าง ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับคุณธรรมของผู้ประกอบการ ที่ควรจะคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่กำไรเพียงอย่างเดียว”

ข้อมูลและความคิดเห็นที่ได้รับอาจไม่สามารถระบุลงไปได้อย่างชัดเจนว่า “กินไก่ทำให้อกโตจริงหรือ” เพราะแม้แต่ข้อมูลทางการแพทย์ที่ค่อนข้างมีน้ำหนัก กลับยังระบุว่า อาจเกิดจากปัจจัยอื่นร่วมด้วย ที่จะทำให้เด็กโตก่อนวัย แต่น้ำหนักของข้อมูลก็ยังเบี่ยงเบนไปยังฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นสารเร่งโตในไก่ และไม่มีในวัตถุดิบของอาหารชนิดอื่น ขณะที่สัตวแพทย์ยังยืนยันว่า ปัจจุบันไม่มีการฉีดฮอร์โมนดังกล่าวแล้ว จึงไม่อาจสรุปเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน แต่ในฐานะผู้บริโภคควรกินอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุลและไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วย


โดย ทีมข่าวศูนย์ข่าว TCIJ
13/06/2555

5720
แพทย์ชี้เด็กป.1 ยังไม่เหมาะใช้แท็บเล็ต ทั้งเรื่องความรับผิดชอบไม่พร้อม ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะร่างกายทำให้พัฒนาการร่างกายสมองช้า พูดช้า สบตาน้อย เหมือนเป็นออทิสติกส์ และยังมองไม่เห็นว่าจะพัฒนาไอคิว-อีคิวอย่างไร แนะควรแจกเด็กมัธยม-มหาวิทยาลัยน่าจะเหมาะกว่า และหากแจกกับเด็กเล็กก็ควรให้พ่อแม่รับแทน เพื่อตรวจสอบได้ว่า เด็กใช้ ทำอะไรบ้าง

ในที่สุดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สรุปออกมาเป็นที่เรียบร้อย ให้บริษัท เซิ่นเจิ้น สโคป ไซซ์ซิฟิก ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ผลิตแท็บเล็ต 900,000 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 2,400 บาท ขณะที่มีหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ถึงความพร้อมหลายๆ เรื่อง ต่อการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นับตั้งแต่เรื่องราคาเครื่องที่ต่ำมาก เป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นว่า คุณภาพของเครื่องจะด้อยลงไป ทำให้ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ กระทรวงศึกษาธิการซึ่งดูแลรับผิดชอบเรื่องหลักสูตร ยังไม่มีความพร้อมทั้งในเรื่องหลักสูตร และบุคลากร ทำให้มีคำถามขึ้นมากมายอีกเช่นกันว่า ในเครื่องแท็บเล็ตที่จะแจกนักเรียนนั้น มีอะไรให้นักเรียนเรียน ครูมีความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีมากน้อยแค่ไหน หากเด็กมีปัญหา หรือเครื่องมีปัญหา โรงเรียนมีความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องระบบ WiFi ปลั๊กไฟ และการดูแลรักษาเครื่อง ฯลฯ

แต่ทั้งหมดนี้ไม่สำคัญเท่ากับตัวของผู้ใช้แท็บเล็ตเอง ที่มีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องวัยเพียง 6-7 ขวบ ที่ยังไร้วุฒิภาวะในการดูแลตัวเอง ความปลอดภัยในการดูแลอุปกรณ์ไม่ให้ถูกลักขโมย และที่สำคัญที่สุดคือ เหมาะกับพัฒนาการของเด็กในวัยดังกล่าวหรือไม่ ทั้งด้านสมองและร่างกาย ศูนย์ข่าว TCIJ จึงหาคำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กถึงกรณีดังกล่าว เพื่อให้ผู้ปกครองจำนวนมากได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นว่า ควรปฏิบัติต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับบุตรหลานอย่างไร

แพทย์ชี้เด็ก 6-7 ปี ไม่เหมาะใช้แท็บเล็ต

รศ.พ.ญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับศูนย์ข่าว TCIJ ถึงการใช้แท็บเล็ตของเด็กนักเรียนชั้นป.1 ว่า เด็กอายุ 6-7 ปี เป็นเด็กที่อยู่ในวัยเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรพัฒนาทักษะทุกอย่างอย่างรอบด้าน เช่นทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมือ ในการขีดเขียน ทักษะในการฟัง การรอคอย นั่งให้นิ่ง ทักษะการเคลื่อนไหวโดยการเล่นกิจกรรมกีฬา หรือทักษะทางสังคม เช่น การรู้จักรอคอย การแบ่งปัน

ส่วนเรื่องทักษะด้านภาษา การขีดเขียน ความรู้ เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนความสำคัญแต่ละด้านจะพูดว่าสัดส่วนใดสำคัญที่สุดไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปพร้อมๆ กัน ถ้าในกรณีกล้ามเนื้อมือไม่มีแรงก็เขียนหนังสือไม่ได้ ถ้าสายตาไม่ดีมองกระดานไม่ชัด ก็เรียนไม่ได้ เป็นต้น

ทำให้พัฒนาการช้า-พูดช้า-สบตาน้อย-เหมือนออทิสติกส์

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า เด็กวัยนี้ควรต้องเรียนรู้ทักษะรอบด้านหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะเด็กป.1 โรงเรียนหลายแห่งไม่มีระดับชั้นอนุบาล ชั้นป.1 จึงเปรียบเสมือนโรงเรียนชั้นแรกของเด็ก เมื่อเด็กเข้าสังคมก็ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับเพื่อน ต้องเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกจด ระบาย การปา เคาะ ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่นการออกกำลังกาย ทักษะการสื่อสาร เช่น การฟัง คิด เขียน ต้องเป็นแบบการสื่อสารสองทาง (Two Ways Communications) ทักษะทางสังคม เช่น การรอคอย แบ่งปัน อดทน ฯลฯ ต้องทำอย่างรอบด้าน นอกจากนี้ความรับผิดชอบของเด็กวัย 6-7 ขวบ ที่ต้องดูแลรักษาแท็บเล็ตก็ไม่สามารถทำได้ เพราะขนาดกล่องดินสอที่เอาไปโรงเรียน พอกลับบ้านมา ยางลบ ไม้บรรทัด ดินสอก็ไม่ครบ สิ่งเหล่านี้ต้องคิดให้ดีหากจะแจกแท็บเล็ตให้เด็กวัยนี้ ฉะนั้นความเหมาะสมในการแจกแท็บเล็ต ถือว่าต้องพิจารณาให้รอบด้าน ทั้งในแง่ความรับผิดชอบของเด็ก พัฒนาการของเด็ก การกำกับดูแล เพราะทุกวันนี้ขนาดยังไม่ได้แจกแท็บเล็ตทุกระดับชั้น เด็กก็เล่นเกมส์จนมีผู้ป่วยเด็กติดเกมส์เยอะมาก พบว่าเด็กไทยสมัยนี้มีพัฒนาการพูดช้า สบตาน้อย มีพฤติกรรมชอบพูดภาษาต่างดาว หรือมีพฤติกรรมเหมือนเด็กออทิสติกส์มากขึ้น

แพทย์ห่วงเรื่องระบบ พัฒนาไอคิว-อีคิวอย่างไร

ส่วนการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในแท็บเล็ต จะมีส่วนช่วยพัฒนาไอคิว (ความฉลาดทางปัญญา) และอีคิว (ความฉลาดทางอารมณ์) ของเด็กได้หรือไม่นั้น พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า ในแง่ความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาหรือไอคิว จะถือว่าแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเสริมสร้างได้ดี ถ้าเด็กใช้สิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ได้หมายความว่า พัฒนาการจะไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเด็กสมัยนี้คือ ทุกคนมักจะใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวก และชอบใช้การตัดถ้อยคำ หรือข้อความแล้ววางในหน้ากระดาษส่งครู ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะไม่ช่วยในการพัฒนาไอคิว ส่วนอีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ ขณะนี้ยังมองไม่ออกว่า แท็บเล็ตจะช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างไร มีเกมส์ที่ส่งเสริมอีคิวหรือไม่ ส่วนจะช่วยในการแยกแยะของเด็กได้หรือไม่

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะขนาดหลักสูตรปกติยังไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดได้หรือไม่ การพัฒนาทางอีคิว จะต้องเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันและมีคนคอยให้คำแนะนำ หล่อหลอมมาตั้งแต่เล็กๆ ทั้งครอบครัว และครูผู้สอน  มีต้นแบบที่ดีสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและโรงเรียน พ่อแม่ต้องมีความเอาใจใส่ รวมทั้งการส่งเสริมศักยภาพของเด็ก

สพฐ.แจกแท็บเล็ตนำร่องเนื้อหายังไม่ครบ

อย่างไรก็ตามตั้งแต่ช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้แจกแท็บเล็ตเพื่อทดลองใช้ เป็นการนำร่องกว่า 100 เครื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นผู้ให้บริการดาวน์โหลดเนื้อหาหลักสูตรกว่า 300 เรื่อง ใน 5 กลุ่มสาระคือ ภาษาไทย อังกฤษ สังคม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นป.1 เพื่อเป็นการทดลองใช้ในระบบดังกล่าว แต่เมื่อใช้จริงกลับพบว่า ใช้งานได้เพียง 1 เรื่องเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและเกิดการตั้งคำถามถึงสิ่งที่จะตามมาหลังจากการแจกแท็บเล็ต

ศูนย์ข่าว TCIJ ตรวจสอบข้อมูลจากสพฐ.เบื้องต้นพบว่า สพฐ.เริ่มนำร่องแจกแท็บเล็ตประจำภาคกลาง 100 เครื่อง นำร่องในระดับชั้นป.1 และ ชั้นป.4  โดยโรงเรียนที่นำร่องในส่วนของกทม.คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) แผนกประถม โดยเนื้อหาที่ดาวน์โหลดมาจากสพฐ. ไม่ได้สอดคล้องกับความรู้ที่นักเรียนมีอยู่ อีกทั้งใช้งานได้จริงเพียง 1 เรื่อง คือ การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของสัตว์ต่างๆ จากการบรรจุเนื้อหาในหลักสูตรสำหรับนักเรียนชั้นป.1 กว่า 300 เรื่อง

แพทย์ระบุเล่นมากอาจสมาธิสั้น-อ้วนเตี้ย-สายตาสั้น-สมองผิดปกติ

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวต่อว่า การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสำหรับเด็กสมัยนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเด็กต้องเรียนรู้ พ่อแม่บางคนก็ให้เด็กเรียนรู้เทคโนโลยีพวกนี้ ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นป.1 ด้วยซ้ำไป แต่ของแบบนี้เป็นดาบสองคม มีทั้งข้อดี ข้อเสีย เหมือนกับโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต วีดิโอ ถ้าใช้ไม่ถูกทางก็มีแต่ผลเสียมากกว่าผลดี เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีก็เหมือนกัน

“ทุกวันนี้เวลาเจอคนไข้ที่เป็นเด็กพบว่า ส่วนใหญ่เอามือถูไถไอแพด ไอโฟน หรือแท็บเล็ตกันทั้งนั้น ไม่สบตา ไม่สื่อสารกับใคร อยู่ในโลกส่วนตัว ดังนั้นทุกอย่างต้องอยู่ในทางสายกลาง เด็กเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่ในยุคไฮเทค ใช้เทคโนโลยีเป็น แต่จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้เป็นตั้งแต่อายุ 6-7 ขวบ ดูเหมือนว่าแท็บเล็ตจะทำให้เด็กสนใจกับจอเป็นที่ดึงดูด แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เด็กกลายเป็นคนที่มีสมาธิสั้น เนื่องจาก ภาพต่างๆในจอ เปลี่ยนเร็วมาก เด็กก็จะคุ้นเคยกับความเร็ว รอคอยไม่ได้ นับว่าเสียสมาธิได้ง่าย”  รศ.พญ.จันท์ฑิตากล่าว

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวอีกว่า แม้ว่าข้อมูลงานวิจัยในต่างประเทศยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากมีข้อมูลที่ขัดแย้งกันบางกรณีเห็นว่า เทคโนโลยีผ่านจอภาพมีส่วนทำให้เด็กสมาธิสั้น แต่ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเด็กเห็นว่า แท็บเล็ตมีส่วนทำให้เด็กสมาธิสั้น รวมถึงเป็นตัวเพาะความรุนแรงให้เด็กผ่านเกมส์ ที่เด็กต้องการเล่นเพื่อเอาชนะ

สอดคล้องกับ รศ.พ.ญ.นิตยา คชภักดี ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มองว่า เด็กในวัย 6-8 ขวบมีความจำเป็นต้องเรียนรู้จากของจริง ได้สัมผัสได้พูดได้คุยกับคน ซึ่งหากนำแท็บเล็ตมาใช้กับเด็กกลุ่มนี้ ควรจะต้องเตรียมความพร้อมของพ่อแม่มากกว่า เนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่อเทคโนโลยี ในทางกลับกันหากไม่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนช่วยในด้านพัฒนาการ ก็จะส่งผลร้ายกับเด็กเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ตามการที่เด็กสัมผัสจอแท็บเล็ตตลอดเวลา จะทำให้เด็กสายตาสั้น สมองผิดปกติ คอเอียงเพราะนั่นนานติดต่อกันหลายชั่วโมง  รวมไปถึงการมีปัญหาในครอบครัวขาดการติดต่อสื่อสารกับพ่อแม่ ทั้งยังมีแนวโน้มนำไปสู่โรคอ้วน-เตี้ยด้วย

แนะเวลาเล่นแท็บเล็ตไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวว่า แม้ว่าแท็บเล็ตจะเป็นเทคโนโลยีที่ดึงดูดในการมองเห็นของเด็ก เนื่องจากเด็กมีความสนใจกับข้อมูลทุกประเภทที่เข้ามาบนจอ ถ้าไม่กำหนดเวลาให้ชัดเจนเด็กก็จะติดจอเหล่านี้ เหมือนกรณีเด็กติดเกมส์ ทักษะการเคลื่อนไหว เล่นกีฬาให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัยก็จะไม่มี  เด็กในวัยนี้การเล่นกีฬานับว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมมาก เนื่องจากการใช้มือประสาน การกะระยะสายตาจะพัฒนาได้ดี  เด็กจะเข้าใจกฎกติกาของกีฬา ทำให้เรียนรู้การรอคอย เรียนรู้การแพ้ชนะ ถือเป็นการฝึกทักษะทั้งหมด ทั้งยังทำให้เด็กวัยนี้แข็งแรง กินได้ดี นอนหลับสนิท รวมถึงได้สังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ แต่วันนี้การเรียนรู้ การสื่อสารไม่มี เพราะถูกลดรอนโดยการหมกมุ่นอยู่กับจอทุกประเภท ถ้าจะใช้ต้องวางกรอบกติกาให้ชัดเจน เหมือนกติกาการให้เด็กดูทีวี ถ้าพ่อแม่เลือกและชี้แนะ แนะนำ กำกับดูแลสื่อผ่านจอทุกประเภทควรกำหนดเวลาไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น รวมถึงต้องเลือกรายการให้เด็ก  ผู้ใหญ่ต้องกำกับ พ่อแม่ต้องนั่งดูด้วย รวมถึงมีผู้ชี้แนะ มีการสื่อสารโดยพ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบในการเรียนรู้กับอุปกรณ์เหล่านั้นรวมถึงแท็บเล็ตด้วย

“เทคโนโลยีมันมาเร็ว ประโยชน์จากมันมหาศาล แต่ถ้าไม่มีการกำกับดูแลจะเป็นดาบสองคม เด็กสามารถจะเข้าไปดูอะไรก็ได้ เช่นการเล่นเกมส์ที่นำไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง ถ้าไม่มีการกำกับดูแล ปล่อยให้เป็นอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่สมัยนี้ไม่มีเวลา ต้องปากกัดตีนถีบทำงาน ในบางครั้งพ่อแม่ก็อยากเล่นแท็บเล็ต หรือไอแพด ไอโฟนก็ซื้ออีกเครื่องให้ลูก เพื่อไม่ให้ลูกกวน พฤติกรรมเหล่านี้นำไปสู่ปัญหาครอบครัวในภายหลัง”

ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กวัยนี้ ผู้ใหญ่ต้องพิจารณาให้ดีว่า จะบรรจุหลักสูตรไหน อย่างไร เพื่อให้เหมาะกับวัยของเด็ก ไม่ให้เด็กหมกมุ่นกับจอเหล่านี้ เพราะขนาดผู้ใหญ่ยังติดเทคโนโลยี เด็กจะไม่ติดได้อย่างไร ทุกวันนี้หากสังเกตจะเห็นว่า เวลาที่ขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้า จะเห็นว่า ไม่มีใครสบตากับใคร ทุกคนต่างอยู่ในโลกส่วนตัว มือก็กดโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต

แนะรัฐแจกเด็กมัธยม-มหาวิทยาลัยน่าจะคุ้มค่ากว่า

พ.ญ.จันท์ฑิตากล่าวต่อว่า ทางแก้ง่ายๆ คือ รัฐบาลควรแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กในระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือเด็กมหาวิทยาลัย เพื่อการใช้ประโยชน์จากแท็บเล็ตอย่างคุ้มค่า ใช้งานอย่างเหมาะสม และมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะไม่หมกมุ่นกับเรื่องที่อันตราย สิ่งเหล่านี้มองว่าเป็นเรื่องคุ้มค่า รวมถึงการกำกับดูแลได้ง่าย เด็กวัย 6-7 ขวบเหมาะสมที่จะเรียนรู้กับธรรมชาติ และระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ ตัวครูผู้สอนก็ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น กำกับดูแลเป็น

ส่วนตัวครูผู้สอนรวมถึงพ่อแม่เป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลในการใช้งานแท็บเล็ตใช่หรือไม่  พ.ญ.จันท์ฑิตา กล่าวว่า คนที่อยู่รอบตัวเด็กทั้งครูและพ่อแม่ต่างมีบทบาทสำคัญ ขณะที่ครูยืนอยู่หน้าห้องแล้วเด็กอีก 30-40 คน อยู่หลังห้อง เวลาสอนเด็กแต่ละคนจะก้มอยู่กับหน้าจอของตัวเอง โดยที่ครูไม่รู้เลยว่าเด็กเล่นเกมส์ หรือเข้าโปรแกรมไหนอยู่ แต่ถ้าเป็นกระดาษ หรือกระดานที่ต้องจด ต้องเขียน ไม่มีทางทำอย่างอื่น เพราะครูผู้สอนมองเห็นได้ ซึ่งทักษะในการใช้น้ำหนักมือ พัฒนาการด้านการฝึกเรียบเรียงประโยค คำ ถ้าเป็นแท็บเล็ตก็จะใช้ได้เพียงไม่กี่นิ้ว ไม่ได้ลงน้ำหนัก จะวางมืออย่างไร สะกดคำอย่างไร

ด้านงานวิจัยในต่างประเทศจะพบว่า งานวิจัยด้านสมองหากเราใช้อวัยวะส่วนใดของร่างกายเยอะ สมองในส่วนนั้นจะพัฒนา การใช้แท็บเล็ตจะพัฒนาแค่ 2 นิ้ว ส่วนนิ้วอื่น แขนขาไม่ได้ใช้งานการเชื่อมโยงไม่เต็มที่ ถือว่าต้องคำนึงมาก ไม่ใช่พิจารณาเพียงเรื่องการพัฒนาสมอง (Brains Development) ไม่ใช่เน้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทำให้เด็กเสี่ยงติดเกมส์มากกว่าใช้เรียน

ขณะที่ ผศ.น.พ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่รัฐบาลแจกแท็บเล็ตให้เด็กชั้นป.1 ขณะนี้ถือว่ายังไม่มีความพร้อม เนื่องจากแจกเครื่องไปโดยไม่มีการเตรียมเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับเด็กในการใช้แท็บเล็ต ควรจะเร่งทำบทเรียนที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับตัวเครื่องในลักษณะที่มีการตอบโต้กันไปมา ซึ่งผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการไม่มีความพร้อมทำให้กลายเป็นของเล่น มีโอกาสทำให้เด็กกลายเป็นเด็กติดเกมส์ เนื่องจากแท็บเล็ตมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและนำไปสู่การเล่นเกมส์ออนไลน์

น.พ.ณัทธรกล่าวว่า มีสื่อที่จูงใจเด็กมากกว่าทั้งภาพและเสียงที่ปรากฏในแท็บเล็ต จะทำให้เด็กมีสมาธิสั้นลง ถ้าเราปล่อยให้เด็กเล็กไม่ฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เด็กเป็นคนวอกแวกง่าย คิดอะไรผิวเผิน ซึ่งมีผลการวิจัยในต่างประเทศระบุว่า การที่เด็กใช้สื่อเร็วเกินไปจะมีผลต่อพัฒนาการทางสมองมาก นอกจากนี้จะมีการซึมซับความรุนแรงที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรง ถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้  รวมไปถึงการถูกล่อลวง

เมื่อถามว่า การใช้แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์พกพา จะส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพหรือไม่  น.พ.ณัทธร กล่าวว่า เด็กส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษามักจะมีเหตุมาจากการติดเกมส์ ติดอินเตอร์เน็ต ในบางกรณีอาจจะถึงขั้นภาวะซึมเศร้า ทำให้เกิดการติดเกมส์ ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่นำไปสู่ปัญหาสังคมหลายอย่าง เหมือนภูเขาน้ำแข็ง ถ้าพ่อแม่ดูแลลูกดี มีระเบียบวินัยก็จะลดปัญหาเหล่านี้ ถือเป็นการสะท้อนการดูแลเด็กในครอบครัวสมัยใหม่ที่ปล่อยปละละเลยเด็ก และเลี้ยงดูด้วยการให้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเช่น โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน รวมไปถึงแท็บเล็ตด้วย

“มันเป็นยุคของจอ ทุกคนอยู่กับจอไม่มีใครคุยกัน เพราะทั้งพ่อ แม่ และลูกต่างอยู่กับหน้าจอทั้งหลาย ความสัมพันธ์พื้นฐานในบ้านไม่ดีแล้ว การจัดการปัญหาต่างๆ ในครอบครัวก็ไม่ดีตามไปด้วย  ทางที่ดีควรจะมีการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ต้องเป็นนายเทคโนโลยี ระวังตัวมากขึ้น กำกับการใช้เทคโนโลยีตั้งแต่เด็กยังเล็ก และรู้เท่าทันเด็ก ที่สำคัญคือ ต้องควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีเป็นแบบอย่างให้ลูก รวมไปถึงครูอาจารย์ก็ต้องทำหน้าที่เหมือนพ่อแม่” น.พ.ณัทธรกล่าว

คาดเกิดปัญหาสังคม-อาชญากรรมตามมาอีกเพียบ

น.พ.ณัทธรกล่าวด้วยว่า เด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ กลั่นกรองเนื้อหาที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต อาจจะโหลดเกมส์อะไรมาที่พ่อแม่ ไม่สามารถควบคุมกำกับ ทำให้เด็กเกิดภาวะเสี่ยง เรื่องสำคัญที่สุดต่อนโยบายการแจกแท็บเล็ต คิดว่าต้องแจกกับพ่อแม่เพื่อกำหนดแนวทาง และตรวจสอบได้ว่าลูกเล่นอะไร ใช้อย่างไร และคิดว่าเด็กที่ควรจะแจกคือเด็กตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไปจนถึงมหาวิทยาลัย การเอาเงินไปแจกกับเด็กเล็กถือเป็นการใช้เงินที่ไม่คุ้มค่า

“มันเป็นนโยบายที่ไม่ฉลาดเท่าไหร่ ควรจะไปแจกเด็กโต เพราะมันไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ได้ไม่คุ้มเสีย ที่ได้ยังไม่ชัดว่าจะได้อะไร อย่างน้อยที่เห็นภาพเลาๆ คือ จะมีเด็กติดเกมส์มากขึ้น เด็กจะไปดูสื่อน่าห่วงมากขึ้น เด็กอาจถูกทำร้ายร่างกายมากขึ้น เนื่องจากคนที่ไม่มีแท็บเล็ตจะไปทำร้ายเด็กเพื่อชิงไปขาย ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้ ประเด็นนี้มีทั้งผลดีและผลเสีย แต่เท่าที่ดูแล้วจะพบว่าผลเสียมากกว่า” น.พ.ณัทธรกล่าว


โดย เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ
07/03/2555

5721
ชี้ไทยยังขาดพยาบาลอีกกว่า 4 หมื่นคน สาเหตุขาดพยาบาลมาจากคนต้องการเข้าถึงบริการการแพทย์มากขึ้น ขณะที่หน่วยงานจ้างน้อยลง ขณะที่อนาคตไทยต้องการพยาบาล 1 คนต่อประชากร 400 คน แต่ก็ยังทำไม่ได้ เพราะความต้องการมาก กลับผลิตได้น้อย อาจารย์พยาบาลก็ขาดแคลน จะยิ่งแย่ถ้าลูกจ้างอีกเกือบ 2 หมื่นคนลาออกไปอีก แนะทางแก้ปัญหา 5 ประเด็นใหญ่ ดึงคนเก่าไว้ สร้างคนใหม่ทดแทน ทำให้ชีวิตการงานเจริญก้าวหน้าเหมือนอาชีพอื่น พัฒนาคนเกษียณอายุมาเป็นอาจารย์ ปรับปรุงค่าตอบแทนให้เป็นธรรมและคุณภาพชีวิต สร้างแรงจูงใจสำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่กันดารและขาดแคลน
 
จากกรณีที่ศูนย์ข่าว TCIJ ได้นำเสนอข่าวกลุ่มวิชาชีพพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เตรียมรวมตัวกันเพื่อออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลโดย กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงาน ก.พ.เร่งแก้ไขปัญหาการบรรจุตำแหน่งราชการให้กับพยาบาลลูกจ้าง และ ปัญหาความการขึ้นสู่ตำแหน่งพยาบาลชำนาญการพิเศษที่ยังติดขัดอีก 300 กว่าตำแหน่ง โดยระบุว่าหากรัฐบาลยังไม่เร่งแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม จะมีการรวมตัวกันหยุดงาน พร้อมเรียกร้องให้สังคมหันมาให้ความสำคัญกับอาชีพพยาบาลเนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องทำงานในสภาวะกดดัน และความคาดหวังของสังคมจนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปัจจุบันเกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านพยาบาลอย่างรุนแรง

นายกฯแถลงชัดจะพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพทั้งระบบ

ทั้งนี้ศูนย์ข่าว TCIJ ได้ติดตามข้อมูลในปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าขอข้อมูลจาก ดร.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล ซึ่งได้ติดตามศึกษาประเด็นดังกล่าว พร้อมกันนี้ได้มีการดำเนินการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อการแก้ปัญหาและเตรียมที่จะนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย ดร.กฤษดาเปิดเผยว่า จากนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 ส.ค.2554 ที่ผ่านมา มีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาพของประชาชนอยู่ด้วย ระบุว่า รัฐบาลมีนโยบายลงทุนด้านบริการสุขภาพ โดยการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพทั้งระบบ พัฒนาระบบสารสนเทศด้านสาธารณสุข และเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอและยัง กำหนดแผนงานแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรในพื้นที่ สนับสนุนให้มีการเร่งผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้กลับไปปฏิบัติงานในภูมิลำเนาในชนบท พร้อมกับการสร้างขวัญกำลังใจในเรื่องของความก้าวหน้าและค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งการแถลงนโยบายครั้งนั้นถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ ที่จะทำให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

นอกจากนี้นโยบายด้านสาธารณสุข 16  ประการ ของนายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุข ก็ได้สร้างความชัดเจนในแนวทางการพัฒนาการสาธารณสุขของประเทศ  และการพัฒนาบุคลากร  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พยาบาลที่ยังมีความขาดแคลน และปัญหาความก้าวหน้าของผู้ประกอบวิชาชีพที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ประชาชนต้องการบริการเพิ่ม-ข้อจำกัดการจ้าง สาเหตุปัญหาขาดแคลนพยาบาล

ชี้มี 2 ปัจจัยทำให้ขาดแคลนพยาบาล

ดร.กฤษดากล่าวว่า ปัจจุบันการขาดแคลนพยาบาล ซึ่งเป็นกำลังคนหลักในระบบบริการสุขภาพ ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างเต็มที่ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพยาบาล พบว่ามี 2 ประการหลัก คือ  ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น และ หน่วยงานมีข้อจำกัดในการจ้างงาน และไม่สามารถรักษากำลังคนพยาบาลไว้ในระบบบริการสุขภาพได้ตามความต้องการ สวนทางกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และระบาดวิทยา ประกอบกับการขยายหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนไทย และการขยายบริการสุขภาพ เพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ในฐานะศูนย์กลางการบริการการแพทย์ (Medical Hub) ในภูมิภาคเอเชีย ทำให้ให้มีความต้องการพยาบาลเพิ่มมากขึ้น แม้จะมีความพยายามในการแก้ปัญหานี้อย่างต่อเนื่องแต่ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาคลี่คลายลงจนถึงปัจจุบัน

อนาคตคนไทยต้องการพยาบาล 1 คน ต่อ 400 คน

จากข้อมูลผลการศึกษาของสภาการพยาบาล เพื่อคาดประมาณความต้องการพยาบาลในระยะ 10 ปีข้างหน้า ด้วยวิธี Health Demand Method ทั้งจากการใช้บริการสุขภาพของประชาชนไทย ประมาณ 65 ล้านคน และชาวต่างชาติ พบว่า ในระหว่างปี พ.ศ.2553-2562 ประเทศไทยจะมีความต้องการพยาบาลใน อัตราส่วนพยาบาล 1 คน ต่อ 400 ประชากร หรือประมาณ 163,500-170,000 คน ซึ่งผลการสำมะโนประชากรในปีพ.ศ. 2553 พบว่ามีประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย 65.4 ล้านคน ควรจะต้องมีพยาบาลวิชาชีพประมาณ 163,500 คน ในขณะที่มีพยาบาลวิชาชีพอายุน้อยกว่า 60 ปี ทำงานในภาคบริการสุขภาพทั่วประเทศ ประมาณ 130,388 คน (ข้อมูลของสภาการพยาบาล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2554) ยังขาดแคลนอยู่ ประมาณ 33,112 คน ซึ่งเป็นการขาดแคลนในกระทรวงสาธารณสุขมากที่สุด ประมาณ 21,000 คน สำหรับพยาบาลด้านอาชีว-อนามัย มีความต้องการอีกประมาณ 8,000 คน สำหรับการดูแลด้านสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพและการขาดแคลนนี้ จะมากยิ่งขึ้นถ้าพยาบาลวิชาชีพที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว 18,000 คน ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุข

ส่วนการขาดแคลนในโรงพยาบาลอื่นๆ ในสังกัดภาครัฐและโรงพยาบาลเอกชน ประมาณ 12,100 คน  จำนวนพยาบาลที่ทำงานในภาคบริการของประเทศในปัจจุบัน  มีจำนวนใกล้เคียงกับไต้หวัน  ในขณะที่มีประชากรของประเทศไทยสูงกว่าไต้หวัน 3 เท่า รวมประมาณการขาดแคลนพยาบาลโดยรวมในปัจจุบันมีสูงถึง  41,100 คน

ขาดแคลนพยาบาลทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อมากขึ้น

ดร.กฤษดากล่าวต่อว่า ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล ไม่ได้เกิดเพียงเฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้น แต่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก จากสาเหตุที่แตกต่างกัน จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า ความเพียงพอของพยาบาล ส่งผลสำคัญที่จะสามารถลดอัตราการตายของมารดาและทารกลงได้ เพราะจะสามารถให้ความครอบคลุมการให้วัคซีนในเด็กเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการขาดแคลนพยาบาล ยังส่งผลกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชน โรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่สามารถเปิดแผนกผู้ป่วยหนักได้ บางแห่งไม่สามารถเปิดให้บริการหอผู้ป่วยในใหม่ให้เพียงพอได้ ทั้งที่มีอาคารและเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆพร้อมแล้ว ทำให้เกิดสภาพผู้ป่วยล้นเตียง

นอกจากนี้ยังพบว่า โรงพยาบาลที่ขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายในโรงพยาบาลสูงขึ้น และระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอีกด้วย

สาเหตุสำคัญคือต้องการมากแต่ผลิตน้อย

ส่วนสาเหตุที่ทำให้พยาบาลขาดแคลนมากนั้น ดร.กฤษฎากล่าวว่า เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกพูดถึงมาโดยตลอด แต่กลับยังพบว่ายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่ 1.ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ในขณะที่รัฐมีข้อจำกัดในการผลิต  ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาการบริการด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งด้านความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมทั้งการขยายสถานบริการสาธารณสุขไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศถึงระดับตำบล และจากความสำเร็จของระบบประกันสุขภาพ หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันประชาชนไทยมีหลักประกันครอบคลุมถึง ร้อยละ 97.4 และ ก็ทำให้มีประชาชนมาใช้บริการสุขภาพในสถานบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จึงเป็นการเพิ่มผู้ป่วยมากขึ้น

“จากรายงานการให้บริการของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีการใช้บริการผู้ป่วยนอก, ผู้ป่วยในและการผ่าตัดเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 21.77, ร้อยละ 14.58 และร้อยละ 33.36 ตามลำดับ แต่กำลังคนพยาบาลมีอัตราเพิ่มเพียงร้อยละ 9.01 ต่อปีเท่านั้น ซึ่งเป็นผลของการลดการผลิตพยาบาลวิชาชีพ และนโยบายการลดขนาดกำลังคนภาครัฐ ตั้งแต่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 เป็นต้นมา ทำให้มีพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาใหม่ เข้าทำงานในโรงพยาบาลภาครัฐลดลง ตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 เป็นต้นมา ประกอบกับมีการขยายตัวอย่างมากของบริการสุขภาพภาคเอกชน โดยเฉพาะการส่งเสริม Medical Hub ส่งผลให้ความต้องการพยาบาล เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอีกด้วย” ดร.กฤษดากล่าว

อาจารย์พยาบาลก็ขาดแคลน

ดร.กฤษฎากล่าวต่อว่า นอกจากนั้นการพัฒนาศูนย์การแพทย์ที่เป็นเลิศ (Excellent center) ของโรงพยาบาลต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีการรักษาพยาบาลขั้นสูง เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ในการเปิดเสรีการค้าบริการสุขภาพ ส่งผลให้มีความต้องการที่จะต้องพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญของพยาบาลเฉพาะทาง ให้สอดคล้องกับด้านการแพทย์อย่างต่อเนื่องอีกปีละกว่า 1,000 คน  ซึ่งความต้องการกำลังคนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้เอง ทำให้สถาบันการศึกษาพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างต้องเพิ่มการผลิตพยาบาลจาก ปีละ 6,000 คน เป็น ปีละ 7,000-8,500 คน ระหว่างปี 2549-2553 (Mega project) และจะต้องเพิ่มเป็น ประมาณ 9,000 คนต่อปี ระหว่างปี 2554-2559 อย่างไรก็ตามปัญหาก็ยังเกิดตามมาอีก เมื่อยังคงมีข้อจำกัดจากการขาดแคลนอาจารย์พยาบาลอีกกว่า 1,000 คน  เนื่องจากขาดแรงจูงใจผู้ที่จะเข้าทำงานเป็นอาจารย์

ขาดตำแหน่งบรรจุเป็นขรก.ยิ่งไหลไปสู่ร.พ.เอกชน

นอกจากนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้สถานการณ์การพยาบาลกำลังรุนแรงมากขึ้น อีกประเด็นหนึ่งคือ การขาดตำแหน่งราชการบรรจุพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งจากนโยบายลดขนาดกำลังคนภาครัฐ  ซึ่งก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี2545เป็นต้นมา ทำให้มีการยกเลิกการให้ทุนนักศึกษาพยาบาล ที่เดิมได้รับการคัดเลือกจากชนบท และรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนในสถาบันการศึกษาพยาบาลใกล้บ้าน และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ เพื่อทำงานในภูมิลำเนา ที่ดำเนินการมากว่า 50 ปี

แต่เมื่อมีการยกเลิกการให้ทุนและลดกรอบอัตราตำแหน่งราชการทำให้กระทรวงสาธารณสุข และภาครัฐ ต้องจ้างพยาบาลเป็นลูกจ้างชั่วคราว ในขณะที่ภาคเอกชนเริ่มขยายบริการหลังวิกฤติเศรษฐกิจ และต้องการพยาบาลเพิ่มด้วยเช่นกัน

จากข้อมูลพบว่า ในระหว่างปี 2549-2553 จำนวนพยาบาลวิชาชีพทำงานเต็มเวลาในโรงพยาบาลเอกชน เพิ่มจาก11,000 คน เป็น 15,000 คน เป็นการเพิ่มถึงร้อยละ 36.36 ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งการเข้างานสู่งานในภาคเอกชนของพยาบาลวิชาชีพปีละประมาณ 1,000 คน สภาการพยาบาลคาดว่า ในอีก 5 ปี ข้างหน้า ภาคเอกชนจะต้องการพยาบาล ถึง 20,000 คน เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ได้เข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพจาก JCI ที่กำหนดให้มีการจัดอัตรากำลังพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ตามมาตรฐานบริการพยาบาลสากล ซึ่งมาตรฐานอัตรากำลังของพยาบาลไทยต่ำกว่าที่กำหนดของมาตรฐานวิชาชีพอยู่ถึงร้อยละ 30 ซึ่งหากปล่อยให้การแข่งขันในกลไกตลาดแรงงานดำเนินต่อไป อาจทำให้เกิดการบริการ 2 มาตรฐานระหว่างภาครัฐ และเอกชน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของประชาชนไทยที่ไม่มีกำลังจ่าย

“ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีพยาบาลที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวประมาณ 18,000 คน และยังขาดแคลนทั่วประเทศอยู่อีกประมาณ 33,112 คน  ซึ่งการขาดแคลนก็จะทำให้ผู้ที่อยู่ในระบบต้องทำงานหนักขึ้น เสี่ยงต่อความผิดพลาด และการฟ้องร้องก็จะทำให้มีการลาออกมากขึ้น การขาดแคลนกำลังคนในกระทรวงสาธารณสุข และภาครัฐอื่นๆ นี้ ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่ง มีการปรับตัวอย่างไร้ทิศทาง เพื่อให้สามารถดึงดูดให้พยาบาลเข้ามาทำงาน และรักษาคนไว้ในระบบ โดยเฉพาะการเพิ่มอัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนต่างๆในโรงพยาบาลในเมืองให้ทัดเทียมภาคเอกชน ทำให้ขาดแรงจูงใจที่คนจะไปทำงานในเขตชนบท เพราะค่าตอบแทนต่ำกว่า  ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายภาครัฐสูงขึ้นในขณะที่ได้ประสิทธิผลเท่าเดิม  ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นอยู่เช่นนี้ จะทำให้ต้นทุนด้านสุขภาพของประชาชนสูงขึ้นอย่างแน่นอน” ดร.กฤษดาระบุ

น่านสูญเสียพยาบาลสูงถึงร้อยละ 90 ต่อปี

นอกจากจะมีการสูญเสียพยาบาลเนื่องจากการสูงอายุ และเกษียณอายุกว่าปีละ 2,000 คนในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้าแล้ว ยังพบว่ามีการสูญเสียพยาบาล ที่ลาจากวิชาชีพก่อนวัยอันควรอีกด้วย ผลการศึกษาเพื่อคาดประมาณระยะเวลาการทำงานในวิชาชีพพบว่า ในช่วง ปี 2538 และปี 2548 พยาบาลวิชาชีพ มีระยะเวลาทำงานในงานบริการสุขภาพเฉลี่ย เพียงคนละ 22.5 ปีเท่านั้น และมีอัตราการสูญเสียร้อยละ 4.45 ต่อปี  สาเหตุสำคัญของการออกจากวิชาชีพก็คือ การขาดความก้าวหน้าในการทำงาน มีปัญหาสุขภาพ ค่าตอบแทนน้อย งานหนัก และการขาดความมั่นคงจากการถูกจ้างานเป็นลูกจ้างชั่วคราว

โดยในปี 2548 ซึ่งเป็นปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุขไม่มีตำแหน่งข้าราชการรองรับพยาบาลที่สำเร็จการศึกษา จึงต้องจ้างพยาบาลวิชาชีพเป็นลูกจ้างชั่วคราว จากเงินบำรุงของหน่วยบริการ มีการสูญเสียพยาบาลวิชาชีพสูงถึงร้อยละ 23.3 ของผู้สำเร็จการศึกษาในปีนั้น โดยจังหวัดที่อยู่ห่างไกลมีอัตราการสูญเสียสูงมาก เช่น จ.น่าน มีการสูญเสียถึงร้อยละ 90 ของจำนวนโควต้าพยาบาลที่จังหวัดได้รับจัดสรร ส่วนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าอัตราการสูญเสียต่ำมาก เพียงร้อยละ 7.7 ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงเกิดวิกฤตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงสาธารณสุขใช้มาตรการพิเศษ โดยการจัดสรรอัตราตำแหน่งว่างที่มีอยู่ในขณะนั้น เพื่อใช้บรรจุพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นโควตาของพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาการสูญเสียพยาบาลวิชาชีพออกจากพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

มูลค่าความสูญเสียจากการลาออกสูงถึงปีละ 90 ล้านบาท

ดร.กฤษฏายังให้ข้อมูลต่ออีกว่า จากผลการศึกษาเดียวกัน ยังพบด้วยว่า การลาออกของพยาบาลวิชาชีพที่เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป 95 แห่ง ในระหว่างปี 2548-2553 มีอัตราการลาออกรวม ร้อยละ 40.84 โดยในจำนวนนี้เป็นการลาออกภายในปีแรกของการทำงานถึงร้อยละ 48.68 และออกภายในปีที่ 2 ร้อยละ 25.57 ถ้าไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ส่งผลให้อายุการทำงานเฉลี่ยของพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ในโรงพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปสั้นเพียง 1.2 ปีเท่านั้นหากประมาณค่าความสูญเสียเป็นตัวเงินจากการลาออก และการมีอายุการทำงานสั้นของลูกจ้างเหล่านี้ ทำให้อัตราการสูญเสีย ร้อยละ 80.05 ต่อปี ซึ่งสูงกว่ากลุ่มข้าราชการ ถึง 18 เท่า จึงทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมากในระบบกำลังคน

“หากคำนวณเป็นตัวเงินตามที่มีการศึกษาพบว่า Cost of turnover ของพนักงานที่เข้าใหม่ จะประมาณ ร้อยละ 30-50 ของ Annual salary เงินเดือนของตำแหน่งนั้นใน 1 ปี เช่นในระหว่าง 5 ปีที่ผ่านมามีพยาบาลที่มีค่าจ้างประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน ลาออกรวมปีละ 1,000 คน จะเป็นการสูญเสียถึง 90,000,000 บาทต่อปี  โดยที่รัฐและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร จากการลงทุนมหาศาลในการผลิตพยาบาลใหม่มาชดเชยความสูญเสียดังกล่าว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารสุขที่ลงทุนผลิตพยาบาลวิชาชีพถึงปีละ 2,500–3,000 คน  แต่ไม่มีอัตรารองรับ จึงต้องสูญเสียไปอย่างน่าเสียดาย” ดร.กฤษฎาระบุ

มีต่อ

5722
พยาบาลร้องรัฐบาลคืนตำแหน่งซี 8 ให้พยาบาลระดับบริหาร หลังยึดตำแหน่งว่างไปบรรจุหมอแทน จี้เร่งบรรจุตำแหน่งข้าราชการให้กับลูกจ้างในร.พ.ชุมชนทั่วประเทศกว่า 2,000 ตำแหน่ง ต้นเหตุพยาบาลรัฐขาดแคลนเพราะขาดขวัญ กำลังใจ และถูกมองต้อยต่ำกว่าอาชีพอื่นในสายเดียวกัน ประธานชมรมผู้บริหารพยาบาลฯ ระบุ ร้องเรียนผ่านทุกหน่วยงานไปแล้วหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล หากยังไม่คืบเตรียมนัดชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศ แต่จะคำนึงถึงคนไข้ให้มากที่สุด และจะถือจริยธรรมเป็นเรื่องใหญ่ เผยผลวิจัยชี้คุณภาพชีวิตพยาบาลแย่ ทั้งป่วยเป็นมะเร็ง-ครอบครัวแตกแยก

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา พยาบาลนับเป็นอาชีพที่ทำงานหนักเพื่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ และเสียสละให้กับสังคมมาโดยตลอด จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุขก็ว่าได้ เพราะจากสถิติเมื่อเดือนธ.ค.2554 มีพยาบาลขึ้นทะเบียนกับสภาการพยาบาล แบ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ 162,848 คน พยาบาลเทคนิค 8,925 คน รวม 171,773 คน ซึ่งพยาบาลเหล่านี้ต้องทำงานในโรงพยาบาลนับพันแห่งทั่วประเทศ โดยเรียกร้องเกี่ยวกับสวัสดิการเพื่อตัวเองน้อยมาก แต่การไม่เรียกร้องกลับกลายเป็นว่า การดูแลสวัสดิการและความรู้สึกของพยาบาลเหล่านั้นจากรัฐ ไม่ได้รับการเหลียวแลไปในที่สุด ประกอบกับทุกวันนี้พยาบาลแต่ละเวรที่ต้องทำงานถึง 8 ชั่วโมง จะต้องดูแลคนป่วยตลอดเวลามากถึงคนละ 20 ราย ขณะที่รัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องการบรรจุตำแหน่งพยาบาลเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อแบ่งเบาภาวะอันหนักอึ้งนั้นเลย มิหนำซ้ำการกำหนดตำแหน่งพยาบาลในระดับบริหารยังถูกกดไว้ ให้เติบโตได้เพียงข้าราชการระดับ 8 เท่านั้น ขณะที่ความสามารถและภาระหน้าที่รับผิดชอบมีอยู่เต็มมือ ทำให้เกิดปัญหาในวงการพยาบาลมากมาย มีพยาบาลจำนวนมากที่ผ่องถ่ายไปยังโรงพยาบาลเอกชน ส่วนหนึ่งเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่ได้รับค่าตอบแทบสูงกว่า และมีสวัสดิการที่ดีกว่า กระทั่งล่าสุดความอดกลั้นของผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยทั่วประเทศ ก็ไม่อาจวางเฉยได้อีกต่อไป

พยาบาลรัฐเจอ 2 ปัญหาหลัก ไม่บรรจุ-ไม่เติบโต

นางจงกล อินทสาร ประธานชมรมผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ  ถึงกรณีกลุ่มวิชาชีพพยาบาลยื่นหนังสือต่อนายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุข เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรม ในการบรรจุตำแหน่งข้าราชการให้กับพยาบาลอัตราจ้างในโรงพยาบาลชุมชน จำนวนกว่า 20,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ รวมทั้งปัญหาการตั้งแต่ตำแหน่งพยาบาลชำนาญการพิเศษ นางจงกลกล่าวว่า เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ปัจจุบันปัญหาพยาบาลขาดแคลนกำลังเกิดขึ้นในโรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ทำให้เกิดปัญหาจำนวนพยาบาลไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย ส่งผลต่อการให้บริการด้านสุขภาพกับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา

ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการขาดแคลนบุคลากรพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ มาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ปัญหาการไม่ได้รับการบรรจุเข้าสู่ระบบราชการ และความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการเติบโตในสายวิชาชีพ ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะมีความพยายามในการเคลื่อนไหว เพื่อให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไข แต่พบว่ายังไม่คืบหน้า จนกลายเป็นความกดดัน และคับข้องใจของกลุ่มพยาบาลเป็นอย่างมาก และหากปัญหายังคงคาราซังอยู่เช่นนี้ กลุ่มพยาบาลที่ได้รับผลกระทบอาจจะต้องมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อให้สังคมหันมามองและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวบุคลากรพยาบาลโดยตรงเท่านั้น แต่หมายถึงคุณภาพการให้บริการต่อประชาชนอีกด้วย

ระบบห่วยทำพยาบาลรัฐหายครึ่งต่อครึ่ง

นางจงกลกล่าวว่า ขณะนี้ชมรมฯ รวมไปถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้อง กำลังหาช่องทางที่จะให้รัฐบาล หันมาแก้ไข 2 ประเด็นหลักนี้ ประเด็นแรก เรื่องของการบรรจุตำแหน่งนั้น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น และส่งผลโดยตรงต่อการขาดแคลนบุคลากรพยาบาล เนื่องจากพยาบาลต่างขาดขวัญและกำลังใจ เนื่องจากไม่มั่นใจในความมั่นคงของวิชาชีพ เพราะไม่ได้รับการบรรจุเป็นราชการ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการลดขนาดข้าราชการของรัฐบาล ทำให้ไม่มีตำแหน่งที่จะสามารถบรรจุพยาบาลใหม่ๆ ได้ ดังนั้นทำให้กลุ่มพยาบาลเหล่านี้ เลือกที่จะออกไปทำงานในสถานพยาบาลอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลเอกชน หรือ สถานพยาบาลในบริษัท โรงงานอุตสาหกรรม แทนการทำงานในโรงพยาบาลรัฐ เพราะนอกจากจะได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าแล้ว ยังเป็นงานสบายกว่าการทำงานในโรงพยาบาลของรัฐด้วย

ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า ปีแรกของพยาบาลที่เข้าใหม่จะมีพยาบาลหายไปจากระบบราชการถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และ ในปีที่ 2 จะมีพยาบาลหายจากระบบไปจากที่เหลืออีก 25 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นในปีที่ 3 จะเหลือพยาบาลในระบบราชการอยู่เพียง 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

“ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เราจะต้องหาคนเข้ามาใหม่ และต้องคอยฝึกคนใหม่ๆ ขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนจะได้พยาบาลที่ได้รับการฝึกงานจากโรงพยาบาลรัฐไปแล้ว คุณภาพการทำงานระหว่างคนมีประสบการณ์แล้ว ย่อมดีกว่าคนที่ฝึกใหม่แน่นอน ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วพยาบาลเหล่านั้นถูกฝึกไปจากโรงพยาบาลของรัฐทั้งสิ้น เพราะพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จะต้องดูแลคนไข้ได้หลายอย่าง มีประสบการณ์มากกว่าเยอะมาก แต่กลับเป็นว่าเมื่อเราฝึกคนแล้วเขาก็ไม่อยู่ เพราะไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ขาดความความมั่นคง ผลกระทบจึงเกิดขึ้นกับทั้งโรงพยาบาลรัฐเอง และส่งไปถึงประชาชนด้วย” นางจงกลกล่าว

ลดตำแหน่งดองพยาบาลระดับบริหาร

ส่วนการเคลื่อนไหวในประเด็นที่ 2 นางจงกลกล่าวว่า เป็นเรื่องของความก้าวหน้าในวิชาชีพพยาบาลที่ถูกละเลยซึ่งแตกต่างกับวิชาชีพด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ทั้งนี้ในส่วนของวิชาชีพพยาบาลนั้น ในอดีตส่วนใหญ่เมื่อได้รับการบรรจุจะเริ่มตั้งแต่ระดับ 3 หรือปัจจุบันเรียกว่า ตำแหน่งพยาบาลปฏิบัติการ และหากทำงานจนมีประสบการณ์ และมีผลงานด้านวิชาการเพียงพอ ก็จะได้เลื่อนขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นระดับ 7 หรือพยาบาลชำนาญการพิเศษในปัจจุบัน ซึ่งในระบบดังกล่าวมีการดำเนินการมาจนกระทั่งในปี พ.ศ.2550 กลุ่มของผู้บริหารพยาบาลชุมชน จึงมีการพูดคุยกันว่า ที่ผ่านมาในการทำงานของผู้บริหารพยาบาลชุมชน ที่ต้องรับผิดชอบดูแลองค์กรทั้งหมดตลอด 24 ชั่วโมง แต่กลับปรากฎว่า ระดับตำแหน่งกลับเท่ากันหมดกับกลุ่มพยาบาลในระดับรองๆ ลงไป ส่งผลต่อการทำงาน เพราะเมื่อมีผู้บริหารเกษียณอายุราชการหรือลาออกแล้ว จึงไม่มีใครอยากจะขึ้นมารับตำแหน่งนี้ เพราะไม่อยากรับผิดชอบ และตำแหน่งหน้าที่ที่เป็นอยู่ก็เป็นระดับเดียวกัน ความก้าวหน้าอื่นจึงไม่จำเป็นต้องมี

ดังนั้นจึงกลายเป็นปัญหาทำให้หาบุคลากรด้านการบริหารในระดับสูงขึ้นมาไม่ได้ เพราะทุกคนพอใจที่จะอยู่ในหน้าที่เดิมมากกว่า จนเป็นเหตุให้มีแนวคิดต่อการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ โดยมีการรวมตัวกันเพื่อหาทิศทางการขับเคลื่อนหาช่องทางว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้วิชาชีพพยาบาลมีความก้าวหน้า กลุ่มผู้บริหารการพยาบาลจึงได้ต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวมาตลอด

จนในที่สุดมีการประกาศให้ หัวหน้าพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนสามารถขึ้นสู่ระดับ 8 หรือตำแหน่งพยาบาลผู้ชำนาญการพิเศษได้ แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เมื่อมีเงื่อนไขว่า หากจะมีคนขึ้นตำแหน่งนี้ได้นั้น จะต้องรอจนกว่าจะมีตำแหน่งว่างที่เกิดจากการลาออก หรือเออรี่รีไทน์ แล้วยุบตำแหน่งนั้น เพื่อนำเงินมาใช้ในกับตำแหน่งของพยาบาลชำนาญการพิเศษ เท่ากับว่าคนจำนวนลดลง แต่งานเท่าเดิม ในขณะที่ในกลุ่มของแพทย์ กลับไม่ต้องทำเช่นนั้น สามารถขยับขึ้นไปได้เลย ซึ่งตอนนั้นมีผู้บริหารการพยาบาลในระดับหัวหน้าพยาบาลของโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ที่ได้ขึ้นถึงระดับตำแหน่งพยาบาลผู้ชำนาญพิเศษได้จำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังขาดอยู่อีกถึง 300 กว่าตำแหน่ง

ร้องกก.สิทธิ์ช่วย-เสนอก.พ.ทบทวน

“เราจึงพยายามหาช่องทางจะทำอย่างไร เพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรม จึงนำเรื่องทั้งหมดไปยื่นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาเป็นปีในการที่คณะกรรมการสิทธิฯ ตีความ สรุปว่า กรณีนี้ถือว่าไม่เป็นธรรมจริงๆ จากนั้นเราจึงนำเรื่องเสนอไปที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้ทบทวน และขอให้แก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพ คือทุกวิชาชีพจะต้องมีการเติบโตได้ โดยไม่มีความเหลี่อมล้ำ แต่ระหว่างนั้นกระทรวงสาธารณสุข กลับมีคำสั่งเรียกกลับตำแหน่งว่างทั้งหมดเพื่อไปใช้ในการบรรจุแพทย์และเภสัชกร ยิ่งทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับกลุ่มพยาบาลมากขึ้นไปอีก ซึ่งกรณีนี้เราก็เคยไปยื่นเรื่องที่ศาลปกครองมาแล้ว แต่ศาลไม่รับฟ้อง เนื่องจากไม่ได้เป็นการยื่นในช่วงเกิดปัญหาใหม่ๆ ถือว่าเป็นการรับสภาพ” นางจงกลกล่าว

กมธ.สาธารณสุขสั่งก.พ.- สธ.ศึกษาแต่ไม่คืบ

หลังจากนั้นกลุ่มพยาบาลจึงนำเรื่องนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุข รวมทั้งยื่นหนังสือต่อไปยังปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทำให้คณะกรรมาธิการฯ เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อหาทางออกร่วมกันเมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ผลการประชุมในวันนั้น คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ก.พ.กับกระทรวงสาธารณสุข ไปหารือกันในประเด็นนี้ แม้ทางก.พ.จะระบุว่า หากดำเนินการจะต้องดำเนินการกับทุกสายวิชาชีพในกระทรวงสาธารณสุข ที่มีปัญหาเดียวกันก็ตาม โดยคณะกรรมาธิการฯ ให้เวลาทั้งสองหน่วยงาน 2 สัปดาห์กลับไปศึกษาหาแนวทาง เพื่อแก้ปัญหาให้กับกลุ่มพยาบาล แล้วให้กลับมารายงานผล แต่หลังจากนั้น 5 สัปดาห์ กลุ่มผู้บริหารการพยาบาลได้ติดตามผลก็ได้รับทราบว่า ทางก.พ.และกระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานกลับมายังคณะกรรมาธิการฯ ว่า ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้นขอเวลาเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามมีการรายงานข้อมูลในทางลับว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวกับทุกสายวิชาชีพ ไม่ได้ดำเนินการเฉพาะกลุ่มของพยาบาลกลุ่มเดียวเท่านั้น จึงกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มพยาบาลเกิดความข้อสงสัย และความคับข้องใจอีกครั้งจนเป็นสาเหตุของการนำมาซึ่งการเรียกร้องให้กลุ่มพยาบาลที่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขเตรียมพร้อมออกมารวมกลุ่มเรียกร้องอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งหนึ่ง

ทางออกสุดท้ายหยุดงานประท้วง

นางจงกลกล่าวอีกว่า เนื่องจากขณะนี้ทั้งสองประเด็นยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ แม้ว่า จะมีความพยายามในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพยาบาลตลอดมา ปัญหาจึงกำลังขยายวงออกไปอย่างมาก จากความกดดันของพยาบาลทั่วประเทศ ไม่เพียงแต่ในกลุ่มผู้บริหารเท่านั้น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ ผลประโยชน์ตอบแทนที่พยาบาลจะได้รับเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่ได้ และต้องสูญเสียไปเป็นเวลานาน ทำให้พยาบาลรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม หากเปรียบเทียบในระหว่างวิชาชีพด้านสาธารณสุขด้วยกัน ขณะนี้จึงมีความเป็นไปได้ว่า หากไม่ได้คำตอบกลุ่มพยาบาลก็อาจจะต้องเลือกการออกมาชุมนุม หรือนัดหยุดงาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะให้เป็นทางเลือกสุดท้าย โดยการหยุดงานดังกล่าวจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรักษาจริยธรรมของการพยาบาล

“ตอนนี้เราได้แต่บอกกับเพื่อนพยาบาลทั่วประเทศว่า อย่าเพิ่งเดินขบวน อย่าเพิ่งหยุดงาน เพราะมุมมองของคนทั่วไป ภาพคนที่ให้บริการด้านชีวิตมาเดินขบวนย่อมเป็นภาพติดลบอย่างแน่นอน เราจึงพยายามหาแนวทางในการเจรจาให้ได้ผลมากที่สุด เพื่อหาทางขับเคลื่อนปัญหา ตอนนี้รัฐมนตรีสาธารณสุขรับปากว่าจะดูแล เราก็จะต้องดูก่อน แล้วทบทวนว่าจะทำอย่างไร หากก.พ.อิดออด ทางที่ดีก็ต้องให้เรื่องเข้าครม.ให้ได้ แต่ยังไม่มีช่องทาง ส่วนการเดินขบวน หยุดงาน ผละงานจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะทำ โดยจะไม่ทำให้ส่งผลกระทบต่อคนไข้ที่ป่วยหนัก หรือมีผลต่อชีวิต แต่จะใช้พยาบาลในหน่วยงานอื่นๆ แทน เพราะเรายังมีจริยธรรมในวิชาชีพ” นางจงกลระบุ

อยากร้องนายกฯ ในฐานะผู้หญิงด้วยกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่าการเคลื่อนไหวมีเส้นตายที่แน่นอนหรือไม่ นางจงกลกล่าวว่า เนื่องจากในสายวิชาชีพตอนนี้เกี่ยวเนื่องกับการเป็นข้าราชการ หากจะดำเนินการใดๆ จำเป็นจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยจะต้องให้ผ่านทางกระทรวงสาธารณสุขก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มพยาบาลเอง เคยเดินทางไปปิดกระทรวงสาธารณสุขมาแล้ว และได้รับการตอบรับจากผู้ใหญ่ในกระทรวงฯ ว่าจะดูแล และให้ความหวังทำให้ทั้งหมดสลายตัวกลับไป ดังนั้นหากจะดำเนินการอะไรอีกครั้งจำเป็นที่จะต้องมีการวางระบบให้ดี และหารือผู้ใหญ่ด้วย ทั้งนี้ก่อนหน้านี้มีการพูดคุยกันในกลุ่มที่เคลื่อนไหวว่า ต้องการที่จะเข้าขอความเป็นธรรมจากนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นผู้หญิงเช่นเดียวกันแต่ผลสรุปต้องการให้เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนก่อน

ระบุนศ.พยาบาลตอนนี้เรียนเพราะไม่มีทางเลือก

นางจงกลกล่าวต่อว่า อยากให้สังคมหันมาให้ความสนใจประเด็นปัญหาเรื่องของสวัสดิการ ค่าตอบแทน ของพยาบาล เพราะที่ผ่านมามักถูกมองข้าม ซึ่งอาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องทำงานในสภาวะกดดันอยู่ตลอดเวลา และต้องอยู่ท่ามกลางความคาดหวังของผู้ป่วยทุกคนว่า จะต้องได้รับการบริการที่ดี แต่หากมองย้อนกลับไปจะพบว่า ปัญหาคุณภาพของพยาบาลกลับลดลง ในอดีตผู้ที่จะเข้าเรียนพยาบาลจะต้องเข้าสู่กระบวนการสอบแข่งขันและคนที่เป็นหัวกระทิเท่านั้น ที่จะมีโอกาสเข้าเรียนเป็นพยาบาล แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป

และสาเหตุที่กลุ่มของวิชาชีพพยาบาลไม่ได้รับการดูแลเรื่องสวัสดิการ โอกาสก้าวหน้าเติบโตทางวิชาชีพนี่เอง ทำให้การเรียนการสอนวิชาชีพพยาบาลขณะนี้จะมีเพียงกลุ่มของเด็กที่ไม่มีทางเลือก ไปทางอื่นไม่ได้ เกรดคะแนนต่ำ เข้ามาเรียนด้วยแค่ความหวังว่าจะไม่ตกงาน เพราะบุคลากรขาดเยอะ แต่เมื่อเรียนจบออกมาจึงไม่ได้พยาบาลที่มีคุณภาพ และหากปัญหาพื้นฐานทั้งหมดของพยาบาลไม่ได้รับการแก้ไข สถานการณ์ของวิชาชีพพยาบาลก็จะเป็นเช่นนี้เรื่อยไป

“คนเข้าสู่ระบบจะมีคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆ และจะส่งผลต่อคุณภาพการบริการให้กับประชาชนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันที่รัฐบาลเปิดให้มีโครงการ  30 บาท ทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาที่ระบบการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐมากขึ้น จากเดิมที่ไปตามคลินิก โรงพยาบาลเอกชน เพราะเป็นการรักษาฟรี พยาบาลจึงต้องรับงานหนักจนโหลด เพราะรัฐบาลไม่ได้เตรียมการเรื่องบุคลากรรองรับให้เหมาะสมปัญหาจึงจะตามมาอย่างน่าเป็นห่วง เพราะพยาบาลต้องทำงานในทุกมิติ ตั้งแต่ ส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกัน และรักษา”

คุณภาพชีวิตแย่ป่วยมะเร็งอื้อ-หย่าร้างมากที่สุด

“มีงานวิจัยออกมาอย่างชัดเจนว่า วันนี้พยาบาลไทยมีอัตราส่วนของการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น สาเหตุเพราะไม่มีเวลาพักผ่อน ในขณะเดียวกันก็มีอัตราการหย่าร้างที่สูงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะว่าไม่มีเวลาที่จะให้ความสุขกับสามีได้ เพราะต้องขึ้นเวรดึกๆ เวลาให้กับครอบครัวน้อย อัตราการเป็นโสดก็สูง เพราะชีวิตต้องอยู่กับการทำงาน จนกระทั่งบางคนบอกว่า ถึงจะได้ค่าโอที ค่าขึ้นเวร แต่พวกเขาไม่เอาอยากขอแค่เวลาพักผ่อนมากกว่า เพราะพยาบาลทำงานหนักเกินไป และดูเหมือนจะเป็นวิชาชีพที่ถูกมองว่าต่ำกว่าวิชาชีพอื่นในสายเดียวกัน ทั้งแพทย์ เภสัชกรและอื่น”

โอดค่าชีวิตพยาบาลกับหมอไม่เท่ากัน

นอกจากนี้นางจงกลยังได้กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ งานด้านการพยาบาลของไทยในขณะนี้ว่า รัฐบาลควรสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มพยาบาลมากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพด้านสุขภาพด้วยกัน เช่นเรื่องค่าตอบแทน ซึ่งปัจจุบันมีความแตกต่างมาก โดยเฉพาะระหว่างแพทย์กับพยาบาล เช่นเรื่องของเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย แพทย์จะได้รับตั้งแต่ 10,000-70,000 บาทขึ้นอยู่กับอายุงาน ขณะที่พยาบาลได้ในหลักพันบาทเท่านั้น หรือ ค่าเสี่ยงภัยหรือค่าชีวิตของแพทย์กับพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงภัย ก็มีอัตราไม่เท่ากัน

ซึ่งในความเป็นจริงค่าชีวิตของคนในทุกวิชาชีพ หรือทุกคนควรจะเท่ากัน และพยาบาลเองถือว่าเป็นด่านแรกที่ต้องปะทะกับคนไข้ ซึ่งล่าสุดจะเห็นว่าพยาบาลถูกยิงเสียชีวิตที่จ.สระแก้ว รวมถึงการบรรจุงานตามข้อเรียกร้อง เพราะมิฉะนั้น พยาบาลจะทำงานในโรงพยาบาลของรัฐเพียง 1 ปี ก่อนที่จะออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน ทำให้บุคลากรในโรงพยาบาลรัฐหรือชุมชนมีบุคลากรไม่เพียงพอ และรัฐบาลเองก็ไม่ได้มีการแก้ปัญหาเรื่องนี้ โรงพยาบาลจะต้องหาบุคลากรเอง ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างยาก ถึงแม้จะมีเงินจ้างแต่ก็ไม่ค่อยมีคนเข้ามาทำ เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนถึงกับไปจองตัวนักศึกษาพยาบาลตั้งแต่เรียนไม่จบ และยังมีเงินกินเปล่าให้ด้วยในหลักแสนบาท หรือบางแห่งก็มีการให้หัวคิวหากหาพยาบาลมาให้ได้ ทำให้โรงพยาบาลรัฐสู้ไม่ได้ คนที่ทำอยู่จึงต้องทำงานหนักเกินความเหมาะสมนั่นเอง

“เรื่องอาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่หนักมาก ในอดีตบางคนแม้จะท้องใกล้คลอดก็ยังต้องมาทำงานดูแลคนไข้ เดินทั้งวัน คนที่มีครอบครัวแล้วก็ยังต้องห่างกับครอบครัว อยากจะย้ายตามสามีก็ไปไม่ได้เพราะไม่มีคนมาแทน เป็นเรื่องที่คับข้องใจอย่างมากของพยาบาล แต่กลับไม่ได้รับการดูแล  และในสายงานเดียวกัน วิชาชีพพยาบาลยังถูกมองว่าต่ำต้อยที่สุด ทั้งที่เราทำงานหนักที่สุด การเคลื่อนไหวครั้งนี้เราเพียงอยากให้สังคมหันมาให้ความสำคัญกับอาชีพพยาบาลบ้าง และรัฐบาลเองก็ควรจะดูแลเรื่องนี้ ซึ่งหากเรื่องยังไม่คืบหน้าทางเลือกสุดท้ายก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องออกมาเคลื่อนไหว เพราะตอนนี้พยาบาลในอัตราจ้างจำนวนกว่า 20000 คนเขาอึดอัดและพร้อมที่จะเคลื่อนไหว” นางจงกลกล่าวในตอนท้าย

โดย ชุลีพร บุตรโคตร ศูนย์ข่าว TCIJ
http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=417
28/03/2555

5723


ปลัดกระทรวงสาธารณสุขพูดไว้อย่างไร? พูดต่อหน้ารัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมใหญ่สมาพันธ์แพทย์ รพศ/รพทฯ  เมื่อ 9 มีนาคม 2555 ทบทวนกันอีกที

"ครับ ก็ผมคิดว่า อย่างนี้นะครับ หนึ่งเนี่ย ฉบับ 7 เนี่ย ก็คงไม่ยกเลิกแน่นอน นะครับ เพราะว่า อันนี้ ผมยืนยัน ทีนี้เนี่ย การที่จะตัดสินใจว่าจะใช้ ฉบับ 7 บวกด้วย P4P หรือถ้าเกิด P4P เนี่ย มันใช้แล้วเนี่ย เราประเมินดูเนี่ย รายได้ที่เราได้เนี่ย มันดีขึ้นกว่าฉบับ 7 อย่างเดียวเนี่ย ผมคิดว่าก็ถึงตอนนั้นน่ะ ต้องตัดสินใจ คือ คือ อยากเรียนอย่างนี้นะครับว่า ฉบับ 7 เนี่ย ผมก็เรียนพวกเรา พวกเราก็รู้ข้อมูลดีว่า สตง. นี่ ท้วงฉบับ 7 นะครับ อันนี้ผมต้องเรียนว่า ท่าน ท่านต้องเข้าใจจุดพื้นฐาน แล้วเราก็ไม่สามารถไปบังคับให้ สตง. เนี่ยเปลี่ยนในตัวจุดยืนอันนี้ของเค้ายาก ของเค้าได้ ทีนี้เนี่ย ถ้าเรามองภาพระยะยาว ถ้าท่านเนี่ยสามารถใช้ P4Pเนี่ย แล้วเนี่ยเงินรายได้ที่ท่านได้มันสูงกว่าฉบับ7เนี่ย สมมุติว่าซักครึ่งหนึ่งเนี่ย ท่านโอเคไหม เนี่ย แล้วผมคุยมากับทุกหน่วยงาน ไม่ว่ากระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ  นะครับ ท่าน ท่าน อย่าลืมนะ สำนักงบประมาณเค้ายังคิดว่าเงินบำรุงนี่ คือเงินของแผ่นดินนะ คล้ายๆงบประมาณอันหนึ่งนะครับ แล้วก็กรมบัญชีกลางนะครับ สตง. ทุกคนนี่เห็นด้วย ถ้าท่านจ่ายเงินตามปริมาณงานที่ท่านทำ หลักการก็ชัด นี่ เพราะฉะนั้น เนี่ย ผมคิดว่า มาส่วนถึงเรื่องการปฏิบัติเนี่ย ก็ต้องมาดู ว่าถ้าปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เนี่ย มันดีกว่าเดิมไหม ผมถึงบอกว่า ผมยังต้องรอเวลานิดหนึ่ง ไม่ใช่ซื้อเวลานะ ผมถึงบอกว่า พยายามให้ไปทำเป็น เค้าเรียกว่าอะไร นำร่อง น่ะ เดี๋ยวให้ผู้ตรวจทวีเกียรติ เนี่ย รีบรายงานขึ้นมา แล้วเดี๋ยวเราจะได้มานั่งตัดสินใจด้วยกัน ผมจะไม่ตัดสินใจด้วยตัวของผมเองทั้งหมด จะเชิญพวกเรานั่นแหละมา จะได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยกัน นะครับ ก็คงเป็นเบื้องต้น นะครับ"

ฟังเสียงคำต่อคำ
http://s1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/?action=view&current=9-4.mp4

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

แล้วสิ่งที่เกิดขึ้น คือ









...
สมาพันธ์แพทย์รพศ/รพท เคยนำเสนอไว้ว่า หากต้องการปรับเปลี่ยนระเบียบค่าตอบแทนใหม่ ทางผู้ปฏิบัติงานมีความเห็นว่า ระเบียบใหม่ควรมีเนื้อหาที่ไม่สร้างความขัดแย้ง และต้องมีความเป็นธรรม ดังนี้




...

พี่ๆน้องๆ เตรียมพร้อมกันได้แล้วครับ

5724
 สธ.เปิดตัวการแพทย์แนวใหม่ “เภสัชพันธุศาสตร์” พัฒนาเทคนิคตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงจากยา 3 ชนิด “ยาลมชัก ยาลดกรดยูริก และยาต้านไวรัส” ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างปลอดภัย ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
       
       วันนี้ (7 มิ.ย.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานแถลงข่าว “การตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง” ว่า จากการศึกษาหาลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาบางชนิดในชาวเอเชียและชาวไทย พบว่า พันธุกรรม HLA-B*1502 อัลลีล (อ่านว่า เอชแอลเอบีหนึ่งห้าศูนย์สองอัลลีล) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการแพ้ยากันชัก Carbamazepine และพันธุกรรม HLA-B*5801 อัลลีล (เอชแอลเอบีห้าแปดศูนย์หนึ่งอัลลีล) เป็นปัจจัยเสี่ยงในการ แพ้ยา Allopurinol ซึ่งเป็นยาลดกรดยูริกในเลือด และพันธุกรรม HLA-B*5701 อัลลีล (เอชแอลเอบีห้าเจ็ดศูนย์หนึ่ง อัลลีล) เกี่ยวข้องกับการแพ้ยา Abacavir ที่เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ลักษณะทางพันธุกรรม HLA-B*1052 พบได้บ่อยในคนเอเชีย รวมทั้งคนไทยและคนจีน ในคนไทยสามารถพบลักษณะทางพันธุกรรมชนิด HLA-B*1502 อัลลีล 15% และ HLA-B*5801 อัลลีล 15% ส่วน HLA-B*5701 พบได้น้อยประมาณ 1% ข้อมูลจากการสำรวจร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ยารุนแรง จากยาลมชัก 6,000-7,500 คน
       
       ทั้งนี้ แนวโน้มการใช้ยาดังกล่าว และยาลดกรดยูริก มีมากขึ้น ส่งผลให้คนไทยมีโอกาสแพ้ยารุนแรงเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นถึงปัญหา จึงได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง ซึ่งถือเป็นการแพทย์แขนงใหม่ ที่เรียกว่า เภสัชพันธุศาสตร์ เป็นการใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วยในการเลือกใช้ยา ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน หรือที่เรียกว่า Personalized medicine โดยการพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเอชเอลเออัลลีลให้กับผู้ป่วยก่อนเริ่มการใช้ยาทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ยากันชัก Carbamazepine ยาลดกรดยูริกในเลือด Allopurinol และยาต้านไวรัส Abacavir ซึ่งการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะผื่นแพ้ยารุนแรงนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการบรรเทาปัญหาการแพ้ยารุนแรงทางผิวหนังในผู้ป่วยชาวไทย และถือเป็นการยกระดับมาตรฐาน การสาธารณสุขของประเทศ จากเดิมที่เพียงแค่ทำการรักษาภาวะผื่นแพ้ยารุนแรงไปสู่การป้องกันการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ด้วยวิทยาการสมัยใหม่
       รมข.สธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของผื่นแพ้ยาเป็นกลุ่มอาการที่รวมถึงภาวะการมีไข้และออกผื่น ซึ่งเกิดผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายในด้วย โดยทั่วไปจะเกิดหลังจากได้รับยามาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ส่วนอาการผื่นแพ้ยาแบบรุนแรง หรือ Severe Cutaneous Adverse Reaction นั้นจะรวมถึงกลุ่มอาการ Steven-Johnson Syndrome หรือ SJS และ Toxic Epidermal Necrolysis หรือ TENS ที่ผิวหนังมีอาการอักเสบรุนแรง เป็นแผลพุพองเหมือนโดนไฟไหม้ และมีอาการหลุดลอกของผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุในช่องปาก ริมฝีปาก เยื่อบุทางเดินอาหารและเยื่อบุตา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสพิการและเสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 30 ดังนั้นเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมที่กรมวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น เป็นวิธีการตรวจที่ผ่านการตรวจสอบ ที่ได้มาตรฐาน มีความถูกต้อง แม่นยำสูง ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้เปิดให้บริการตรวจแก่โรงพยาบาลแล้ว การตรวจสารพันธุกรรมให้กับผู้ป่วยก่อนที่จะใช้ยาทั้ง 3 ชนิด จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยประกอบให้แพทย์พิจารณาก่อนการสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงต่อผื่นแพ้ยาดังกล่าวให้แก่ผู้ป่วย หากผลตรวจบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นแทน เป็นการบริหารยารูปแบบใหม่ให้ผู้ป่วยได้รับยา อย่างปลอดภัย ช่วยเพิ่ม ความมั่นใจให้แพทย์ และเภสัชกรในการรักษาผู้ป่วย
       
       นายแพทย์บุญชัย สมบูรณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการวิจัยพัฒนาเทคนิคการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 เป็นวิธีการตรวจสารพันธุกรรมที่พัฒนาขึ้นบนเทคนิคพีซีอาร์ ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง ใช้ตัวอย่างเลือดที่เก็บในสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA อย่างน้อย 1 มิลลิลิตร หรือใช้วิธีเก็บเซลล์จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม ใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ประมาณ 5 วัน ก็ทราบผลแล้ว ซึ่งผลจากการพัฒนาเทคนิกการตรวจใหม่นี้ สามารถช่วยลดงบประมาณในการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงจำนวนมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์เพียง 1,000 บาทต่อราย ซึ่งถูกว่าการตรวจด้วยเทคนิคการตรวจที่นำเข้าจากต่างประเทศจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ 2-5 เท่า นอกจากนี้ข้าราชการสามารถเบิกค่าตรวจวิเคราะห์ได้ ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พร้อมให้บริการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว
       
       อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมียาอีกหลายชนิดที่เป็นยาต้องสงสัยที่ทำให้เกิดการแพ้ยารุนแรง เช่น cotrimoxazole, phenytoin, amoxicillin, phenobarbital, ibuprofen, rifampicin, isoniazid เป็นต้น ทางกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และโรงพยาบาลเครือข่ายภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 16 แห่ง ได้มีโครงการวิจัยต่อเนื่องเพื่อค้นหายีนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาที่มีอุบัติการณ์แพ้ยารุนแรงที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาทำการวิจัยอีกประมาณ 2-3 ปี แต่เชื่อว่า ผลที่ได้น่าจะช่วยลดอุบัติการณ์การแพ้ยารุนแรงลงได้อีกมาก ในอนาคตอันใกล้คนไทยจะใช้ยาได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในภาพรวมด้านนโยบายสาธารณสุขของประเทศ ถือเป็นการพัฒนาระบบการสาธารณสุขของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติอีกด้วย


ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 มิถุนายน 2555

5725
 กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ หนุนรัฐบาลเดินหน้าสร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ใช้รูปแบบเหมือนระบบฉุกเฉิน 3 กองทุน เสนอรัฐบาลทำเรื่องมะเร็ง คู่กับไต และเอดส์ ชี้ มะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงสุดคนไทย ถ้าลดเหลื่อมล้ำได้จะช่วยคนได้อีกมาก เตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ให้นำกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ เข้าโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินด้วย
       
       นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแถลงจุดยืนสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ เพื่อสร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว และเสนอรัฐบาลเดินหน้าลดเหลื่อมล้ำโรคมะเร็ง ควบคู่กับการที่รัฐบาลมีแนวทางจะลดความเหลื่อมล้ำโรคไต และโรคเอดส์ ในระยะต่อไป เพราะโรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย เป็นสาเหตุการตายสูงสุด 1 ใน 5 ของคนไทย ขณะที่สิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกัน ทั้งสิทธิประโยชน์ วิธีการจ่ายเงินให้ รพ. ยาที่ได้รับ หากรัฐบาลทำให้สิทธิประโยชน์โรคมะเร็งทั้ง 3 กองทุนเหมือนกัน จะมีประโยชน์อย่างมากต่อความก้าวหน้าของนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ
       
       นางสาวสุรีรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จะยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรียกร้องให้นำกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ เข้ารวมเป็นส่วนหนึ่งนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว เนื่องจากที่ผ่านมา นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน ยังถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะยังไม่สามารถรวมการบริหารจัดการกองทุนผู้ประสบภัยจากรถเข้ามาได้ ทำให้ประชาชนและหน่วยบริการยังประสบความยุ่งยากในการเบิกจ่ายเช่นเดิม ผู้ป่วยบางรายยังต้องจ่ายเงินล่วงหน้าไปก่อน ขณะเดียวกัน ไม่เห็นด้วยกับการเรียกการเก็บเงินจากประชาชน 30 บาท เนื่องจากเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ป่วย และทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลยากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี และ รมว.สธ.เคยพูดว่า จะต้องพัฒนาระบบริการคุณภาพก่อนจึงจะเก็บเงิน 30 บ.ดังนั้น ต้องพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่าได้พัฒนาคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังมีปัญหาคุณภาพการเข้าถึงบริการอีกมาก จึงไม่ควรเก็บเงิน
       
       นายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบายที่ดีในการเริ่มต้นสร้างระบบสุขภาพมาตรฐานเดียวให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพียงแต่ในรายละเอียดการบริหารจัดการที่ยังทำให้นโยบายไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ ประเด็นนี้รัฐต้องเข้าไปกำกับอย่างจริงจัง สิ่งสำคัญคือ นายกรัฐมนตรีควรลงมากำกับดำเนินการให้มากขึ้น เพราะการลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน มีขอบเขตของภารกิจของภารกิจมากกว่า รมว.สธ.แต่ครอบคลุมไปถึงการทำงานของหลายกระทรวง เช่น การกำกับต้นทุนโครงสร้างราคายา ราคาบริการการแพทย์ รพ.เอกชน การทำให้กองทุนผู้ประสบภัยจากรถร่วมในนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน สำนักงานประกันสังคม
       
       “สำหรับการดำเนินการในเดินหน้าทิศทางในอนาคตต้องครอบคลุมไปถึงโรคอื่นๆ ด้วย เช่น ไต มะเร็ง เอชไอวี/เอดส์ รวมถึงโรคอื่นๆ ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำในอนาคต จึงต้องมีการวางแนวทางการรักษาของแต่ละโรค และกำกับให้แพทย์มีแนวทางการรักษาในแนวทางเดียวกัน มีระบบการจัดการที่เอื้อให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ และมีกรรมการควบคุมราคาอัตราค่าบริการทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์และยาด้วย ทั้งหมดก็เพื่อประโยชน์ที่เกิดกับตัวผู้ป่วยโดยตรง และเป็นผลดีต่อระบบการเงินการคลังของประเทศ” นายนิมิตร์ กล่าว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 มิถุนายน 2555

5726
 “วิทยา” เปิดกระแส “แอโรบิก ฮูลาฮูป” กระตุ้นประชาชนออกกำลังกายสลายพุง ลดป่วยเบาหวาน ความดัน ให้โรงพยาบาลในสังกัดกว่า 1 หมื่นแห่งทั่วไทย จัดลานเต้นสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และประกวดครั้งใหญ่เดือนสิงหาคม 2555
       
       วันนี้ (7 มิ.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาสาธารณสุขสามัคคี ครั้งที่ 33 ประจำปี 2555 พร้อมด้วยนายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจากทั่วประเทศ ร่วมพิธีกว่า 1,500 คน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสาธารณสุขออกกำลังกาย สร้างสุขภาพ ลดโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นแบบอย่างสร้างวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพดี แก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยในวันนี้ผู้บริหาร และข้าราชการ เจ้าหน้าที่ได้พร้อมใจกัน เต้นแอโรบิก และ เต้นฮูลาฮูป เพื่อเป็นแบบอย่างการออกกำลังกายด้วย
       
       นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข สู้รบกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่มาจากพฤติกรรมการกินอยู่ของประชาชน ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ที่สำคัญ ได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต และมะเร็ง ซึ่งมีผู้ป่วยรวมกว่า 2 ล้านคน เสียชีวิตรวมกว่าปีละแสนราย และโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุให้คนไทยอายุสั้นขึ้น ต้องเร่งแก้ไขปลูกฝังพฤติกรรมประชาชนไทยให้มีสุขภาพดี ลดป่วย โดยเน้น 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การออกกำลังกาย การกินอาหารลดหวานมันเค็ม เพิ่มการกินผักผลไม้ ลดละการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยในปีนี้มีนโยบายจะกระตุ้นให้คนไทยออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศ และ อสม.เป็นแบบอย่างการมีสุขภาพดี นำการออกกำลังกาย เน้นให้เต้นแอโรบิก และเต้นฮูลาฮูป ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สนุกเพลิดเพลิน ทำได้ทุกเพศทุกวัย และจะช่วยทำให้หุ่นดี น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดเอว ให้อยู่ในมาตรฐาน คือ ผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร ผู้ชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร
       
       นายวิทยา กล่าวว่า ในส่วนกลางจะให้ทุกกรม จัดลานออกกำลังกายทุกสัปดาห์ๆ ละ 3 ครั้ง ในส่วนภูมิภาคมีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกระดับ ตั้งแต่โรงพยาบาลศูนย์ จนถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้งหมด 10,592 แห่ง จัดลานออกกำลังกาย เช่นกัน หรือ และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดลานออกกำลังกายให้ประชาชน อย่างจริงจัง มั่นใจว่า จะสามารถเอาชนะโรคไม่ติดต่อได้
       
       ทางด้าน นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการกระตุ้นให้ประชาชนออกกำลังกาย กระทรวงสาธารณสุขจะจัดประกวดการเต้นฮูลาฮูป ซึ่งเป็นการออกกำลังกายยอดนิยมครั้งใหญ่ทั่วประเทศ ในปลายเดือนสิงหาคม 2555 นี้ มี 2 ประเภท คือ ประเภทลีลา ได้ทั้งสุขภาพและความสวยงาม และประเภทมาราธอน คือ เต้นได้นานที่สุด มีรางวัลนับแสนบาท มอบให้ทีมที่ชนะเลิศ
       
       ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 พบประชาชน อายุ 11 ปี ขึ้นไปจำนวน 58 ล้านคน พบออกกำลังกายเพียง 35 ล้านคน หรือร้อยละ 26 เป็นกลุ่มเด็กมากที่สุดร้อยละ 60 รองลงมา คือ เยาวชนร้อยละ 40 กลุ่มสูงอายุร้อยละ 24 ต่ำสุดคือ วัยทำงานร้อยละ 19 ทั้งนี้ ฮูลาฮูป เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก สามารถเผาผลาญไขมันได้ดี ทำให้เลือดไหลเวียนดี หัวใจทำงานดีขึ้น ปริมาณไขมันใต้ชั้นผิวหนังลดน้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง การเต้นฮูลาฮูป 30 นาที จะเผาผลาญพลังงานได้มากถึง 150-200 แคลอรี เพิ่มความกระชับและแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และช่วงสะโพก เอว ก้น ได้รูปมีสัดส่วน การทรงตัวดี แต่ไม่ควรหักโหม ควรเล่นครั้งละประมาณ 30-60 นาที

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 มิถุนายน 2555

5727


ชะตา "แพทย์ พยาบาล ทันตฯ" ในเงื้อมมือ "เอ อี ซี"

กรณีที่ศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยแพร่ผลการศึกษาเรื่อง “ศักยภาพการแข่งขันของการเปิดเสรีแรงงานวิชาชีพไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเ ซียน หรือเออีซี (ASEAN Economic Community: AEC) ระบุว่ากลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล เป็น 3 ใน 7 สาขาอาชีพที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบมากที่สุดภายหลังประเทศไทยมีการเปิดเ สรีแรงงานอาเซียนในปี 2558 นั้น ถือเป็นเรื่องที่สังคมไทยควรให้ความสนใจและติดตามอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าผลกระทบจะออกมาในรูปแบบใด จะเป็นผลกระทบในด้านบวกหรือด้านลบ แต่เนื่องจากทั้ง 3 สาขาอาชีพนี้เป็นเรื่องของการให้บริการด้านสุขภาพ ผลกระทบจึงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ผู้ที่อยู่ใน 3 กลุ่มสาขาอาชีพเท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงประชาชนทั้งประเทศด้วย
 
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.คลินิก.นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา แสดงความคิดเห็นว่า ในอีก 4 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาเซียน โดย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ร่วมกันจัดทำความตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน หรือ เอ็มอาร์เอ (Multual Recognition Arrangement: MRA) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นของแรงงานฝีมือใน 7 สาขา ได้แก่ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และบัญชี ซึ่งจะช่วยให้นักวิชาชีพสามารถเข้าไปทำงานในประเทศสามาชิกอาเซียนได้สะดวกมา กขึ้น โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน แต่ยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายของประเทศนั้นๆ  

ศ.คลินิก นพ.อำนาจ บอกว่า สำหรับประเทศไทยมี 7 อาชีพ ที่อยู่ในข้อตกลงนี้ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก และช่างสำรวจ ซึ่งในส่วนของแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล นั้น  มีการพูดคุยกันในองค์กรวิชาชีพ ทั้ง แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภากายภาพบำบัด สภาเภสัชกรรม และสภาเทคนิคการแพทย์ เพราะเชื่อว่าจะต้องมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ เพราะนอกจากใน 10 ประเทศอาเซียนแล้ว ในอนาคตยังมี จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และรัสเซีย ที่จะขอเปิดเสรีการแพทย์กับไทยด้วย เมื่อพิจารณาในเรื่องผลกระทบ จะพบว่าการเปิดเสรีการแพทย์จะกระทบต่อ

1.ด้านระบบธุรกิจสถานพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการลงทุนในโรงพยาบาลเอกชน ที่เปิดให้ต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้ถึงร้อยละ 70 จากเดิมที่เคยให้สิทธิได้ไม่เกินร้อยละ 49
 
2.ด้านการศึกษา หลักสูตรทั้งภาษาไทยและนานาชาติ (อินเตอร์) นักศึกษาที่จบและทำงานจะต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งแพทยสภาเป็นผู้จัดสอบและออกใบอนุญาตให้ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่เรียนในประเทศไทย หรือชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน โดยจะมีการสอบ 3 ส่วน ทั้งนี้ส่วนที่ 1 และ 2 จะเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษและภาษาไทย ส่วนที่ 3 เป็นภาคปฏิบัติ จะเน้นการสื่อสารกับคนไข้ จึงต้องใช้ภาษาไทย เพราะต้องมีการซักประวัติ พูดคุย เพื่อลดปัญหาการเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้องเหมือนที่ผ่านมา หากแพทย์สามารถสอบผ่าน ก็จะได้รับใบประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงคนไทยที่จะไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย ที่จะต้องไปสอบใบอนุญาตของประเทศนั้นๆ ส่วนเรื่องการออกใบรับรองจากแต่ละสถาบันการศึกษานั้น อาจยืดหยุ่นในรูปแบบของคณะกรรมการร่วมเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ คาดว่าจะมีความคืบหน้าในเร็วๆนี้  

ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ได้เปิดหลักสูตรแพทย์อินเตอร์เต็มรูปแบบ และประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์อีกจำนวนหนึ่ง แต่หากสามารถเปิดหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ได้ ในอนาคตจะทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมมากขึ้น เป็นผู้นำในทางการแพทย์ และเป็นศูนย์กลางสุขภาพ หรือ เมดิคัล ฮับ (Medical Hub) เต็มตัว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายฝ่ายวิตกกังวลคือ การเปิดเออีซีจะทำให้เกิดปรากฎการณ์แพทย์ไหลเข้าไหลออก การเคลื่อนย้ายแพทย์นี้ จะทำให้ประเทศไทยได้แพทย์ที่เพียงพอต่อความต้องการของคนไข้ ซึ่งขอให้มั่นใจได้ว่าแม้จะเป็นแพทย์ต่างชาติ แต่หากเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องพูด อ่าน เขียนภาษาไทย และสื่อสารได้ดีในระดับที่เทียบเท่ากับแพทย์คนไทย แต่เชื่อว่าในระยะแรกแพทย์ต่างชาติยังคงมีเข้ามาในประเทศไทยไม่มาก เพราะติดเรื่องการใช้ภาษาไทย จึงไม่น่าห่วงว่าจะทำให้แพทย์ไทยถูกแพทย์ต่างชาติแย่งงานทำ ส่วนแพทย์ไทยที่คาดว่าจะไหลออกไปทำงานในประเทศที่ให้รายได้ดีกว่านั้น แพทยสภายังเชื่อว่าจะออกไปไม่มากเช่นกัน เพราะความรู้สึกของคนส่วนใหญ่มักเชื่อว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้านเรา” ซึ่งพิสูจน์ได้จากในอดีตที่มีแพทย์หลายคนไปทำงานในต่างประเทศ ในที่สุดก็ต้องกลับเมืองไทย เพราะทนคิดถึงบ้านไม่ไหว สำหรับในการเตรียมความพร้อมให้แพทย์ไทยทัดเทียมกับแพทย์ต่างชาตินั้น หากพูดถึงเรื่องฝีมือไม่น่ากังวล เพราะแพทย์ไทยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ แต่ในส่วนของทักษะภาษานั้น อาจยังด้อยกว่าหลายๆ ประเทศสมาชิกอาเซียน ขณะนี้ในหลายสถาบันการศึกษาจึงเริ่มสอนเพิ่มเติมภาษาอังกฤษให้นักศึกษาแพทย์ บ้างแล้ว ซึ่งโดยสรุปการเปิดเออีซีจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจองค์กรวิชาชีพก็ยังคงติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื ่องนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป      
 
ทางด้าน ทพ.ศิริชัย ชูประวัติ นายกทันตแพทยสภา ก็มีความเห็นว่า ในการประชุมผู้แทนสภาวิชาชีพ ส่วนใหญ่ไม่ได้มองว่าแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล จะถูกแย่งงานหรือมีความเสี่ยงใดๆ แต่ในความเห็นส่วนตัวยังเชื่อว่า เออีซีก็เหมือนกับการ “คบเพื่อน” ย่อมมีทั้งการ “เสียเปรียบ” และ “ได้เปรียบ” เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นในข้อตกลงต่างๆ ที่ทำร่วมกันในกลุ่มอาเซียน จึงเน้นเรื่องความเท่าเทียมกัน ซึ่งทุกคนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้กติกาของประเทศนั้นๆ แต่ขณะนี้ส่วนใหญ่จะเห็นแต่ข้อดีของการเปิดเออีซี เพราะจะเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และมีความร่วมมือที่เน้นให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด  

ทพ.ศิริชัย กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลของประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่ายังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หลักสูตรทันตแพทย์ในแต่ละประเทศยังมีความหลากหลาย ซึ่งจะทำให้มาตรฐานของแต่ละประเทศแตกต่างกัน และไม่เท่าเทียมกันแน่นอน เช่น ประเทศไทย ยึดหลักสูตรตามแบบสหรัฐอเมริกา เรียนจบหลักสูตรภายใน 6 ปี ขณะที่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ยึดหลักสูตรแบบอังกฤษเรียนเพียง 5 ปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้น หากเปิดเออีซีจะใช้วิธีวัดมาตรฐานจากการสอบ และการใช้ภาษาไทย ซึ่งเรื่องนี้ไม่ถือว่าเป็นการกีดกันชาวต่างชาติเข้ามาทำงาน เพราะคนไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศก็ต้องใช้ภาษาของประเทศนั้นๆ ได้ดีเช่นกัน  
 
ทพ.ศิริชัย ยังให้ข้อมูลอีกว่า จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่าขณะนี้ประเทศไทยมีทันตแพทย์ประมาณ 12,000 คนทั่วประเทศ แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะในต่างจังหวัดยังขาดแคลนอีกประมาณ 4,000 คน ที่หลายฝ่ายเกรงว่าหากเปิดเออีซี จะทำให้ทันตแพทย์ไทยส่วนหนึ่งเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งจะยิ่งทำให้ประชาชนไทยขาดแคลนทันตแพทย์มากขึ้นนั้น เรื่องนี้ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากเชื่อว่าหากทันตแพทย์ไทยจะไปทำงานต่างประเทศจริงๆ จะต้องมุ่งเข้าไปในประเทศที่ร่ำรวยและตอบแทนรายได้ที่มากกว่าในประเทศไทย ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก เพราะจะถูกประเทศนั้นๆ กีดกันด้วยข้อจำกัดด้านการใช้ภาษาท้องถิ่น ถ้าไม่เก่งจริง คงไปได้ยาก ที่สำคัญทันตแพทย์ไม่เหมือนแพทย์ หรือพยาบาลที่เดินทางไปทำงานที่ไหนก็ได้เพียงลำพัง แต่ทันตแพทย์จะต้องมีทีม คือมีผู้ช่วย และเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการทำงานซึ่งหากไปทำงานในต่างประเทศจะต้องลงทุนด้วยงบประมาณที่สูงมาก อาจจะไม่คุ้มค่าหากเทียบกับการทำงานในประเทศไทย  
 
อย่างไรก็ตาม ทพ.ศิริชัย ย้ำว่าทันตแพทยสภาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเรื่องเหล่านี้ ขณะนี้หลายๆ สถาบันการศึกษาก็ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเอง จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น แต่ไม่ได้เต็มรูปแบบเพราะส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เนื้อหาทางวิชาการมากกว่า จึงมีแนวคิดที่จะให้นักศึกษาที่เตรียมจะจบใหม่ใช้วิธีเรียนภาษาอังกฤษเสริมจ ากภายนอก และสอบวัดระดับในสถาบันที่ได้มาตรฐานและให้ได้ใบรับรองเพื่อนำไปพิจารณาควบค ู่ก่อนอนุมัติใบปริญญาบัตรแทน  

มาถึงกลุ่มอาชีพพยาบาล ดร.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล คนที่ 2 ก็มีความเห็นไม่ต่างกันว่า ขณะนี้ประเทศไทยผลิตพยาบาลได้ประมาณ 9,000-10,000 คนต่อปี ในอีก 3 ปีข้างหน้า เด็กจะจบใหม่อีกประมาณ 9,000 คน ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศท ี่ใช้บริการในประเทศไทย เมื่อพิจารณาหลักสูตรการเรียนพยาบาล สำหรับในประเทศไทยนั้น ใช้เวลาเรียนประมาณ 4 ปี จึงจะให้ออกไปทำงาน แต่ในต่างประเทศส่วนใหญ่เรียนต่ำกว่า 4 ปี ที่สำคัญพยาบาลไทยยังมีจุดแข็งที่เรื่องของความอ่อนโยน มีใจรักบริการ ดังนั้นในเรื่องของทักษะการทำงานและการให้บริการจึงมั่นใจได้ว่าพยาบาลไทยไม ่เป็นรองใคร หากจะมีจุดอ่อนบ้างก็ตรงที่พยาบาลไทยอาจจะมีปัญหาด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องให้เรียนเสริมเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ในสถาบันการศึกษาเอกชนส่วนใหญ่จัดให้เรียนแบบ 2 ภาษา เพื่อให้ใช้ภาษาได้ทัดเทียมกับประเทศสมาชิกอาเซียน  
 
“ถามว่าการเปิดเออีซีเป็นเรื่องน่ากลัว หรือทำให้พยาบาลของไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกแย่งงานหรือไม่ เรื่องนี้สภาการพยาบาลไม่ห่วง ไม่น่าหนักใจ แต่ยอมรับว่าก็อาจจะมีพยาบาลต่างชาติ เช่น ฟิลิปปินส์ เข้ามาทำงานบ้าง แต่โดยหลักการของสภาการพยาบาลที่มุ่งคุ้มครองผู้บริโภค ควบคุมวิชาชีพให้ได้มาตรฐาน ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่จะเข้ามาเป็นพยาบาลในประเทศไทย จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ และจะต้องสำเร็จหลักสูตรจากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลให้การยอมรับและรั บรอง ดังนั้น พยาบาลต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยก็จะต้องเสนอเอกสารเพื่อให้สภากา รพยาบาลตรวจสอบว่าหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่จบเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ในกลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน นอกจากนี้จะต้องเข้าสอบใบอนุญาตซึ่งข้อสอบเป็นภาษาไทยด้วย ซึ่งในระยะแรกหลังเปิดเออีซีจะเป็นเรื่องยากสำหรับพยาบาลต่างชาติที่ประสงค์ เข้ามาทำงานในประเทศไทย” ดร.กฤษดา กล่าว  

นอกจากนี้ ดร.กฤษดา ยังบอกว่า ปัจจุบันพยาบาลทั้งหมดกระจายอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐร้อยละ 80-85 อยู่ในโรงพยาบาลเอกชนร้อยละ 12-15 หากโรงพยาบาลเอกชนจะรับพยาบาลต่างชาติเข้ามาทำงานก็ถือว่าเป็นส่วนที่น้อยมา ก ส่วนกรณีพยาบาลไทยประสงค์ที่จะไปทำงานในต่างประเทศ ก็ถือว่าเป็นสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ไม่มีการปิดกั้นใดๆ แต่สภาการพยาบาลจะไม่ส่งเสริม เพราะยึดหลักปกป้องคนไทยให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแม้จะมีการเปิดเออีซี แต่ด้วยจุดแข็งของพยาบาลไทยจึงเป็นที่ต้องการของนานาชาติ ซึ่งขณะนี้พบว่า มีพยาบาลไทยไปขอแปรเอกสารบ้างแล้ว โดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีประมาณ 700 คนต่อปี แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้ไปทำงานในต่างประเทศทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่าพยาบาลไทยไม่ได้ไปทำงานในกลุ่มอาเซียน แต่ส่วนใหญ่เดินทางไปประเทศนอกกลุ่มอาเซียน ซึ่งได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าด้วย แต่ที่น่ากังวลมากกว่านั้นคือ ขณะนี้พบว่าตามแนวชายแดนด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีโรงพยาบาลเอกชนไปลงทุนเพื่อรับลูกค้าที่มีฐานะจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจจะมีการเปิดรับสมัครพยาบาลที่มาจากประเทศติดชายแ ดนไทยเข้ามาทำงานด้วย เพราะใช้ภาษาสื่อสารกับลูกค้าต่างชาติได้ ซึ่งหากเป็นดังเช่นที่คาดการณ์ไว้ จะทำให้พยาบาลไทยถูกแย่งงานไปบางส่วนแน่นอน  
 
จากข้อมูลของฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซ์ซิม แบงค์ ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน Joint Commission International: JCI Accreditation ของสหรัฐอเมริกา จำนวน 28 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในอาเซียน สะท้อนว่าโรงพยาบาลในประเทศไทยมีความโดดเด่นด้านมาตรฐานของสถานพยาบาล อีกทั้งแพทย์ไทยยังได้รับการยอมรับด้านความสามารถในระดับสากล ขณะที่อัตราค่าบริการยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ ทำให้ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบที่เกื้อหนุนให้สามารถดึงดูดผู้ป่วยต่างชาติเข ้ามาใช้บริการรักษาพยาบาลได้มากที่สุดในเอเซีย ซึ่งสถิติในปี 2553 มากถึง 1.74 ล้านคน แต่ธุรกิจการรักษาพยาบาลของประเทศไทยภายใต้เออีซีก็ยังต้องเผชิญกับความท้าท าย และต้องเร่งปรับตัว เนื่องจาก
 
1.ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์
2.การแข่งขันในธุรกิจการรักษาพยาบาลมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกับสิงคโปร์ และ มาเลเซีย และ
3.ยังต้องเผชิญกับการกำหนดเงื่อนไขเพื่อเป็นข้อจำกัดในการลงทุน  เช่น อินโดนีเซีย กำหนดให้ต่างชาติลงทุนในโรงพยาบาลขนาด 200 เตียงขึ้นไปเท่านั้น  
 
เมื่อการเปิดเออีซีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องรู้เท่าทัน!

สำนักข่าวอิศรา
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2012

5728
 สธ.สนองนโยบาย “นายกฯปู” ยกระดับมาตรฐานตลาดนัดที่มีกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มความมั่นใจประชาชน ทั้งเขตเมือง- ชนบท บริโภคอาหารปลอดภัย ราคากันเอง เล็งกำหนดให้ตลาดนัดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ประกอบการจะต้องขึ้นทะเบียนขออนุญาต สถานที่จำหน่าย/ผู้ขายต้องสะอาด อาหารปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อนอย่างน้อย 4 ชนิด คือ บอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน
       
       นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งสนองนโยบายของนายกรัฐมนตรี ควบคุมคุณภาพอาหารบริโภคทุกชนิดให้ปลอดภัย ไร้สารอันตราย หรือเชื้อโรคปนเปื้อน เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย พร้อมยกระดับครัวไทยเป็นครัวโลก ที่ผ่านมา สธ.ได้จัดระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารทุกจังหวัด โดยเฉพาะสถานที่จำหน่ายที่มีโครงสร้างถาวร เช่น ตลาดสด ซึ่งเป็นแหล่งรวมวัตถุดิบประกอบอาหารของประชาชน จะต้องได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดขั้นต่ำ 3 ประการ คือ
1.สถานที่สะอาด
2.อาหารที่วางขายต้องไม่มีสารปนเปื้อนอันตรายอย่างน้อย 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอร์มาลิน สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สารฟอกขาว และสารเร่งเนื้อแดง และ
3.ต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น มีตาชั่งมาตรฐานเทียงตรง ราคายุติธรรม มีชุดตรวจสอบการปนเปื้อนทางเคมี จนถึงขณะนี้ได้รับรองมาตรฐานตลาดสดครอบคลุมไปแล้วร้อยละ 83 จากตลาดสดที่มีทั่วประเทศ 1,600 กว่าแห่ง จะเร่งให้ครบ 100% ในปีนี้
   
       รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ยังมีนโยบายควบคุมมาตรฐานของตลาดนัด ซึ่งเป็นจุดจำหน่ายอาหารชั่วคราว และกำลังเป็นที่นิยมทั่วประเทศ มีทั้งในเขตเมืองและชนบท เนื่องจากราคาสินค้าย่อมเยา คาดว่า ทั่วประเทศจะมีตลาดประเภทนี้ทุกตำบล รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 แห่ง บางหมู่บ้านมีนัดวันเว้นวัน จึงต้องมีการดูแลคุมครองผู้บริโภคให้ได้รับอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยตลาดนัดจัดว่าเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ผู้ประกอบการตลาดนัด จะต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต.เทศบาล ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะนี้ กรมอนามัยได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานของตลาดนัดเรียบร้อยแล้ว และจะประชุมชี้แจงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ดูแลตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ในเร็วๆ นี้ จากนั้นกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ หรือในภูมิภาค เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล ประเมินสภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาด โดยแบ่ง 3 ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน ระดับดี และระดับดีมาก
       
       สำหรับมาตรฐานของตลาดนัด จะต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 3 ประการ ได้แก่
1.ความสะอาดของสถานที่ เช่น ต้องอยู่ห่างจากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครกที่กำจัดขยะสิ่งปฏิกูลอย่างน้อย 100 เมตร แผงจำหน่ายอาหารต้องยกสูงกว่าพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ ไม่จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาด หรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ผู้ขายอาหาร และผู้ช่วยต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อไปสู่ผู้ซื้อ เช่น โรคอหิวาตกโรค บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม เป็นต้น อาหารที่ปรุงเสร็จต้องมีการปกปิด ป้องกันการปนเปื้อน
2.อาหารที่จำหน่ายต้องปลอดภัยจากสารต้องห้ามอย่างน้อย 4 ตัว ได้แก่ สารฟอร์มาลิน หรือน้ำยาดองศพ สารกันรา หรือกรดซาลิชิลิก สารบอแรกซ์ หรือน้ำประสานทอง และสารฟอกขาว และ
3.มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ระบบตาชั่งกลาง เป็นต้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 มิถุนายน 2555

5729
สธ.ไม่ง้อ ก.พ.เล็งยกระดับลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานกระทรวง แทนบรรจุข้าราชการ พร้อมเร่งประชาพิจารณ์สภาวิชาชีพฯ เรื่องร่างรูปแบบการจ้างงานบุคลากรสาธารณสุข ฟุ้งเงื่อนไขดีกว่า ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต
   
       นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงได้หาแนวทางการแก้ปัญหาบุคลากรสาธารณสุข โดยเสนอปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนบุคลากรต่อ สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และขอให้เปิดบรรจุเพิ่มเติมในตำแหน่งข้าราชการ กระทั่ง ก.พ.ได้อนุมัติไปเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ประมาณ 2,400 ตำแหน่งในส่วนของ แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร แล้วนั้น ขณะนี้ยังต้องเร่งดำเนินการต่อในเรื่องการแก้ปัญหาลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งมีอยู่กว่า 31,000 คน ที่ยังไม่ได้ตำแหน่งทางราชการ โดยแผนในการแก้ปัญหาหลัก คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกจ้างจำนวนดังกล่าว ให้ดีขึ้นเทียบเท่าข้าราชการ ซึ่งก่อนหน้านี้ สธ.ได้กำหนดแผนไว้ว่า จะจ้างงานในรูปแบบของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข แต่หลังจากการรับฟังปัญหาเพิ่มเติมจากภาคท้องถิ่น แต่ละพื้นที่ ทราบว่า ยังมีบุคลากรหลายท่าน มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีพอ และมีสวัสดิการยังไม่ดีเมื่อเทียบกับภาระงาน ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงเงื่อนไขการจ้างงานอีกครั้ง
       
       ทั้งนี้ จากการที่ได้หารือกับสภาวิชาชีพ ทุกด้านในเรื่องของการจ้างงานนอีก 5 ปี ข้างหน้า คือ ปี 2560 นั้น เบื้องต้นมีข้อเสนอเกี่ยวกับจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมของสภาวิชาชีพ ว่า ต้องการบุคลากรแพทย์ทั่วไปในอัตราแพทย์ 1 คนต่อประชากร 3,000 คน พยาบาล 1 คนต่อประชากร 550 คน และเภสัชกร 1 คนต่อประชากร 8,000 คน ซึ่งกระทรวงได้ทำต้นร่างรูปแบบการจ้างงานเสร็จแล้ว ยังเหลือแค่การทำประชาพิจารณ์กับทุกสภาวิชาชีพ เท่านั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีนี้
       
       นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า หากแผนงานดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ และทุกสภาวิชาชีพยอมรับในตำแหน่งพนักงาน สธ.จะเป็นการดีต่อบุคลากรทุกคนโดยนอกจากค่าตอบแทนที่ดีและมั่นคงแล้ว สิ่งที่จะได้รับเพิ่มเติมและต่างจากตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว อาทิ เรื่องสิทธิในการโยกย้ายสถานที่ปฎิบัติงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การส่งเสริมการศึกษาต่อ ฯลฯ แต่ในส่วนของสิทธิการรักษาพยาบาลนั้นจะเป็นการใช้สิทธิประกันสังคม ไม่ใช่สิทธิข้าราชการ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 มิถุนายน 2555

5730
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รับการรับรองจากฟีฟ่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน ให้เป็นศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางการแพทย์ของสถาบันฟุตบอลนานาชาติ และเป็นแห่งที่สามของเอเชีย
       
       ประธานฝ่ายแพทย์ของฟีฟ่า นายแพทย์จีรี โวด์แรค (Jiri Dvorak, FIFA Chief Medical Officer) เป็นตัวแทนของฟีฟ่าเดินทางมามอบประกาศนียบัตร FIFA Medical Centre of Excellence หรือ “ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางการแพทย์ของสถาบันฟุตบอลนานาชาติ” ให้แก่ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพและวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน และเป็นแห่งที่สามของเอเชีย (ญี่ปุ่น, กาตาร์, ไทยและซาอุดิอาระเบีย) โดยในปัจจุบันมีสถาบันทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองทั่วโลกอยู่ 26 สถาบันเท่านั้น เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา
       
       ทางวิทยาลัยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล โดย "นพ. โอภาส สินเพิ่มสุขสกุล" ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ อาจารย์จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน ให้เป็น FIFA Medical Centre of Excellence พร้อมกับศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ โดยทางวิทยาลัยได้ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างบุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีความสามารถใน 5 สาขาหลักของประเทศ ได้แก่ เวชศาสตร์การกีฬา สรีรวิทยาการกีฬา ชีวกลศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา และโภชนศาสตร์การกีฬาฯลฯ ออกสู่สังคม
       
       "ปัจจุบันได้ขยายหลักสูตรการศึกษาไปถึงในระดับปริญญาเอก(นานาชาติ) พร้อมทั้งดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพร่างกายและเก็บสถิติการบาดเจ็บในกีฬาฟุตบอลและกีฬาอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลงานที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียและระดับนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพอย่างรอบด้านทางการศึกษาค้นคว้าวิจัยตลอดจนการให้การดูแล รักษา และฟื้นฟูสุขภาพบุคคลากรฟุตบอลและทางการกีฬาอื่นๆให้มีสมรรถภาพที่ดี มีคุณค่ากับวงการกีฬาของประเทศไทยต่อไป"
       
       ทางด้าน "นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร" กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพกล่าวว่า ปัจจุบันฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมมากที่สุดในโลก โดยมีการคำนวณคร่าวๆว่ามากกว่า 600 ล้านคน การที่นักฟุตบอลจะเก่งหรือมีความสามารถในการเล่นระดับโลกได้นั้น นอกจากพรสวรรค์แล้ว การใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้กับนักฟุตบอลจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
       
       "ในเวลาที่นักฟุตบอลมีการบาดเจ็บเกิดขึ้น การให้การดูแลรักษาทันทีที่มีการบาดเจ็บ การวิเคราะห์โรคที่รวดเร็ว แม่นยำ โดยอาศัยแพทย์ทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการบาดเจ็บของนักฟุตบอลและเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัย เช่น การใช้เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เอ็มอาร์ไอสนามแม่เหล็ก ตลอดจนการรักษาทั้งทางยาและการผ่าตัดด้วยวิธีการที่ทันสมัยโดยอาศัยการผ่าตัดผ่านกล้องและมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก จะช่วยทำให้นักฟุตบอลหายจากการบาดเจ็บนั้นได้อย่างรวดเร็วที่สุด"
       
       นายแพทย์ชาตรีกล่าวต่อว่า สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การฟื้นฟูสภาพร่างกายควบคู่กับการรักษาระดับความฟิตของหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ตลอดจนการทำกายภาพบำบัดด้วยโปรแกรมที่ดีคุณภาพระดับสากล จะส่งผลให้นักฟุตบอลกลับลงไปเล่นได้อย่างเช่นก่อนการบาดเจ็บได้โดยเร็ว และมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้นฟีฟ่าจึงมีนโยบายที่จะให้การรับรองสถาบันทางการแพทย์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งจะต้องมีการสนับสนุนการป้องกันการบาดเจ็บอย่างเป็นรูปธรรม มีการศึกษา อบรมตลอดจนการวิจัยเพื่อองค์ความรู้ใหม่ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่นักฟุตบอล และประชาสัมพันธ์ให้นักฟุตบอลทั่วทุกภูมิภาคของโลกว่าจะสามารถเข้าไปรับการดูแลได้ที่ใดบ้าง
       
       “นับเป็นความภาคภูมิใจของทางโรงพยาบาลที่ได้รับรองมาตรฐานด้านเวชศาสตร์การกีฬาจาก FIFA สถาบันชั้นนำทางด้านกีฬาฟุตบอลระดับโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นการดำเนินงานในด้าน “เวชศาสตร์การกีฬา” ว่าทางศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพได้มีบทบาทและให้ความสำคัญเป็นอย่างดีมาโดยตลอด โดยได้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพของนักฟุตบอลทีมชาติ นักฟุตบอลประจำทีมสโมสรฟุตบอลชั้นนำในไทยพรีเมียร์ลีก ทั้งในเรื่องของการดูแลรักษานักกีฬาที่เกิดการบาดเจ็บ การฟื้นฟูและมุ่งเน้นในเรื่องของการเพิ่มสมรรถภาพด้านร่างกาย เทคนิคการเตรียมความพร้อม เทคนิคการเล่นกีฬาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกทั้งยังรวมถึงงานด้านโภชนาการ และจิตวิทยาการกีฬา ได้อย่างมีมาตรฐาน”
       
       นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นายแพทย์ไพศาล จันทรพิทักษ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ และประธานฝ่ายแพทย์สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานจากฟีฟ่าได้นั้นจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์การพิจารณาและคุณสมบัติ 7 ประการ ได้แก่
       
       1. Multidisciplinary Approach (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา) มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาที่สนับสนุนการดูแล การป้องกันและการรักษานักฟุตบอล เพราะนักฟุตบอลไม่ได้มีปัญหาเฉพาะการบาดเจ็บเท่านั้น อาจมีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บได้ทุกเรื่อง เช่น สมอง ไขสันหลัง ตา หู คอ จมูก ระบบหายใจ ทางเดินอาหาร ทันตกรรม หัวใจ ดังนั้นสถาบันนั้นๆจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ นอกจากแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา แพทย์ออร์โธปิดิกส์ (กระดูกและข้อ) แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดสำหรับการดูแลการบาดเจ็บ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา ฟิตเนสและโภชนาการด้วย
       
       2. Team Physician Experience (แพทย์ประจำทีมฟุตบอล) สถาบันนั้นๆจะต้องมีแพทย์ที่ทำหน้าที่แพทย์ประจำทีมฟุตบอล เพื่อการมีประสบการณ์ตรงในการดูแลนักฟุตบอล รู้ปัญหาและความต้องการของนักฟุตบอล ทั้งนี้ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ มีแพทย์ที่ทำหน้าที่แพทย์ประจำทีมฟุตบอลทีมชาติหลายชุด แพทย์ประจำทีมสโมสรฟุตบอลชั้นนำในไทยพรีเมียร์ลีก เช่น เอสซีจีเมืองทองยูไนเต็ด, บุรีรัมย์ยูไนเต็ด เป็นต้น
       
       3. Prevention (การป้องกันการบาดเจ็บและเจ็บป่วย) สถาบันนั้นๆต้องสนับสนุนการป้องกันการบาดเจ็บและเจ็บป่วยของนักฟุตบอล โดยมีการตรวจเช็คร่างกายก่อนการแข่งขันเป็นประจำ มีการสนับสนุนโปรแกรมการวอร์มอัพของฟีฟ่า (The 11+ หรือ เดอะอิเลเว่นพลัส) ที่ได้ผลในการป้องการบาดเจ็บได้เป็นอย่างดี ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพให้การตรวจเช็คร่างกายนักฟุตบอลทีมชาติและทีมสโมสรชั้นนำมาโดยตลอด ส่วนการวอร์มอัพของฟีฟ่านั้นได้มีการนำเสนอสาธารณชนทางสื่อหนังสือพิมพ์และการอบรมสัมมนามาโดยตลอด และในปลายปีนี้ช่วงฟุตซอลโลกในไทย ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพจะได้ร่วมมือกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และฟีฟ่าทำโครงการเดอะอิเลเว่นพลัส ให้รับรู้กันโดยทั่วประเทศไทย โดยฟีฟ่าจะส่งวิทยากรมาเปิดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้ที่สนใจในเดือนพฤศจิกายนศกนี้
       
       4. Education (การศึกษาอบรม) สถาบันจะต้องมีระบบการฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนักฟุตบอล เพื่อให้ทราบองค์ความรู้ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ มีระบบการเรียนการสอนดังกล่าวมาโดยตลอด
       
       5. Research (การทำวิจัย) สถาบันจะต้องมีการสนับสนุนให้มีการทำวิจัยเพื่อศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆเพื่อประโยชน์ในวงการฟุตบอล ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพได้ร่วมมือกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยดังกล่าวและสนับสนุนให้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียและระดับนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ
       
       6. Events (การมีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขันฟุตบอล) ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการแข่งขันฟุตบอลของฟีฟ่า เอเอฟซี และของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด ในการแข่งขันฟุตบอลระดับโลกที่สำคัญที่ผ่านมา นพ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รับการแต่งตั้งจากฟีฟ่า ให้เป็นประธานฝ่ายแพทย์ของการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงชิงแชมป์โลก รุ่นอายุต่ำกว่า 19 ปี ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2004 และเช่นเดียวกันในปลายปีนี้ในการแข่งขันฟุตซอลโลก 1-18 พฤศจิกายน 2555
       
       7. กิจกรรมอื่นๆ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมความรู้ด้านเวชศาสตร์ฟุตบอล (Football Medicine) แก่สาธารณชน โดยผ่านการเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ ตลอดจนการนำเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ เกี่ยวกับองค์ความรู้ดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมการวอร์มอัพเดอะอิเลเว่นพลัสของฟีฟ่า
       
       "ซึ่งทั้งหมดก็คือคุณสมบัติองค์รวมที่ทำให้ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐานจากฟีฟ่าให้เป็น FIFA Medical Centre of Excellence ด้วยคุณสมบัติที่ครบถ้วนดังกล่าวข้างต้น โดยการรับรองครั้งนี้จะมีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ก่อนที่จะมีการรับรองครั้งใหม่ ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยที่สร้างมาตรฐานและพัฒนาศักยภาพจนเป็นที่ยอมรับขององค์กรระดับโลกอย่างฟีฟ่า"

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 มิถุนายน 2555

หน้า: 1 ... 380 381 [382] 383 384 ... 535