ผู้เขียน หัวข้อ: กรมอนามัยลงพื้นที่ให้ความรู้ ปชช.หลังน้ำลด  (อ่าน 1462 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
กรมอนามัยจัดทีมลงพื้นที่ ให้ความรู้ประชาชนหลังน้ำลด พร้อมแนะ 5 ทางรอดปลอดโรค               
                   
       วันนี้ (23 พ.ย.) ดร.นพ. สมยศ  ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย  กล่าวถึงการจัดทีมลงพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองในพื้นที่น้ำท่วมขัง และน้ำลด ว่า ขณะนี้หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร สถานการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ แต่หลายพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขัง  จึงได้จัดทีมนักวิชาการลงพื้นที่กระจายความรู้ให้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรค ทั้งนี้ยังได้นำสิ่งของที่จำเป็น เช่น เจลล้างมือ หน้ากากอนามัย คู่มือประชาชนฉบับพกพาและคู่มือ รื้อ ล้าง หลังน้ำลด ซึ่งเน้นข้อปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในช่วงน้ำท่วมและหลังน้ำลด พร้อมแนะนำ 5 ทางรอดปลอดโรค             
     
       “เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายลง สิ่งสำคัญที่ประชาชนจะต้องคำนึงถึง คือ การทำความสะอาดบ้านเรือน และการดูแลสภาพแวดล้อมในบริเวณบ้านและชุมชน เพราะน้ำท่วมจะพัดพาสิ่งสกปรกมากจากทุกสารทิศส่งผลให้เกิดการหมักหมม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ ฉะนั้น จึงต้องมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสัตว์มีพิษ โดยศึกษาได้จากคู่มือของกรมอนามัย ซึ่งมีข้อปฏิบัติดังนี้

1.ตรวจดูระบบไฟฟ้า ต้องไม่ตัวเปียกและพร้อมใช้งาน

2.สำรวจตรวบสอบความเสียหายของตัวบ้านและบริเวณบ้านเรือน

3.เตรียมการก่อนล้างโดยจัดเตรียมอุปกรณ์  สำหรับเก็บกวาดทำความสะอาด คัดแยกเศษวัสดุและขยะประเภทต่างๆ

4.ทำความสะอาดควรทำทันทีหลังน้ำลดจะช่วยให้ขจัดคราบสกปรกได้ง่ายโดยใช้ผงซักฟอก

5.ดูแลปรับปรุงห้องครัว  ภาชนะอุปกรณ์ต่างๆเพื่องป้องกันเชื้อราปนเปื้อนในอาหาร

6.ดูแลปรับปรุงห้องส้วม ชำระล้างให้ทั่วพื้นผิวโดยใช้น้ำผสมผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดขัด ในกรณีส้วมเต็มให้ใช้น้ำหมักชีวภาพเทราดลงในคอห่านหรือโถส้วม เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์และสิ่งปฏิกูลทำให้กลิ่นและแก๊สที่เกิดจากการหมักในบ่อเกรอะลดลง"อธิบดรกรมอนามัย กล่าว
                 
       
       ทั้งนี้ 5 ทางรอดปลอดโรคที่อธิบดีกรมอนามัยแนะนำมีดังนี้

1.อย่าทิ้งขยะ อุจจาระ  เศษอาหารลงในน้ำ ให้ใส่ถุงดำ มัดปากถุงให้แน่น

2.อย่าเล่นน้ำเน่าขัง   หากสัมผัสน้ำเน่าเสียต้องล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด

3.กินอาหารปรุงสุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาด

4.หลังน้ำลด  ล้างบ้านเรือน ห้องสุขา ภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ

5.ช่วยกันล้างตลาด ประปาชุมชนและสถานที่สาธารณะตามหลักสุขาภิบาล เพื่อป้องกันโรค

พร้อมแนะนำผู้ที่ต้องทำความสะอาดควรสวมหน้ากากอนามัย ผ้าปิดปาก เพื่อลดการสูดดมกลิ่นขยะที่หมักหมม หรือสารเคมีที่อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ สวมถุงมือ เพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อโรคและล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 พฤศจิกายน 2554