ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.หวั่น รพ.ธรรมศาสตร์ ถูกน้ำทะลัก  (อ่าน 1294 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
รมว.สธ.รับนมผงสำหรับเด็กขาดแคลนหนัก เตรียมหาวิธีแก้ปัญหาด่วน พร้อมสั่งการเสริมคันดินรอบศูนย์พักพิงชั่วคราวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หลังระดับน้ำล้อมรอบ ...

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข เดินทางมาเยี่ยมประชาชนที่อพยพหนีตายน้ำท่วมบ้านเรือนมาพักอาศัยในบางส่วนของศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นเข้าประชุมประเมินสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมเปิดเผยว่า ต้องเร่งหาทางเจรจากับชาวบ้านปากคลองข้าวเม่าและปากคลองสาคู ในเขต ต.ธนู อ.อุทัย และ ต.หันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่อยู่ติดกัน กรณีรัฐต้องการตอกชิฟพลาย เพื่อขวางทางน้ำบางส่วนในการชะลอน้ำไหลเข้าพื้นที่ อ.อุทัย ที่จะได้ไป อ.วังน้อย อ.บางปะอิน และไหลเข้าสู่ จ.ปทุมธานี ฝั่งตะวันออก แต่ชาวบ้านคัดค้าน โดยประเมินแล้วหากตอกชิฟพลายขวางทางน้ำไหลได้ อาจทำให้น้ำที่ปากคลองในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มขึ้นมาอีก 20 ซม. ชาวบ้านจะยอมรับได้หรือไม่และหากจำเป็นต้องตอกจริงๆ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นตามที่ประเมินไว้แล้ว ชาวบ้านที่เสียสละจะได้รับการช่วยเหลือมากขึ้นอย่างไร ทั้งนี้ ต้องเร่งเจรจาและจับมือร้องขอ เพราะเป็นวิธีการเดียวที่จะชะลอน้ำไหลเข้าพื้นที่ อ.อุทัย และ อ.วังน้อย รวมถึงพื้นที่ติดต่อข้างต้น

นายวิทยา กล่าวเพิ่มอีกว่า อีกปัญหาที่ตนหนักใจคือ คันล้อมรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย รพ.ธรรมศาสตร์รังสิต และศูนย์อพยพผู้ประสบภัย เพราะคันล้อมเท่าที่ทราบสูงไม่ถึง 2 เมตร และมีการเสริมเพิ่มไปอีก 50 ซม.เท่านั้น หากมวลน้ำมีมากเช่นนี้ เชื่อว่าจะกั้นน้ำไม่อยู่ เพราะขนาดนิคมอุตสาหกรรมเสริมคันล้อมกันสูง 4-5 เมตร ยังทนสภาพน้ำท่วมหลากสูงไม่ได้ ดังนั้น หากป้องกันพื้นที่โดยรวมของมหาวิทยาลัย และ รพ.ทั้งหมด เนื้อที่นับพันไร่ไม่ได้ ท้ายที่สุดต้องเสียสละบางพื้นที่บางส่วน และเข้าเร่งป้องกันเฉพาะจุดอาคารที่สำคัญๆในพื้นที่ โดยตักเอาดินในมหาวิทยาลัยเองมาทำคันล้อมเฉพาะจุดอาคารที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงน้ำท่วม เช่น อาคาร รพ.ธรรมศาสตร์ รังสิต หรืออาจเป็นอาคารศูนย์อพยพ หรืออาคารสำคัญของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ยอมเสียสละพื้นที่บางส่วน เพื่อรักษาพื้นที่อาคารสำคัญไว้

นายวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับ รพ.ธรรมศาสตร์ จำเป็นต้องรอดพ้นน้ำท่วม โดยจะเร่งทำคันล้อมในส่วนของอาคารที่สำคัญๆ และทางเข้าออก เพื่อความสะดวกในการรักษาพยาบาล เพราะเป็น รพ.ใหญ่ของภาคกลาง ที่จำเป็นในช่วงน้ำท่วมมาก เพราะ รพ.อื่นในอำเภอต่างๆ ของหลายจังหวัดจมน้ำไปมากแล้ว นอกจากนี้ตนยังห่วงว่าในพื้นที่อพยพหลายแห่งพบว่าเด็กๆ เริ่มป่วยโรคทางเดินหายใจ ตัวร้อน และเด็กทารกขาดนมผง จึงแจ้งหน่วยงานต่างๆ หาทางช่วยเหลือด่วนเช่นกัน.

thairath.co.th