ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.สั่งสำรองเตียงรพ.ทุกแห่ง5% รองรับผู้ป่วยน้ำท่วมกรุง  (อ่าน 1167 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
สธ. สั่งสำรองเตียงในโรงพยาบาลทุกแห่งใน กทม. 5% รองรับผู้ประสบภัย นายกฯ​ ตั้งคณะกรรมการฯ บริหารสถานการณ์อุทกภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุขเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์...

 

 

นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า คณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะขยายเป็นวงกว้างมาถึงเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่งของกระทรวงสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เป็นต้น ยังผลให้ไม่สะดวกในการไปใช้บริการ โดยนายกรัฐมนตรีได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข รองรับสถานการณ์ ทั้งการสำรองเตียงรองรับผู้ป่วย การรับ-ส่งผู้ป่วย และค่าใช้จ่ายในการบริการ

รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า คณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัยชุดนี้ ประกอบด้วยคณะกรรมการที่ปรึกษาจำนวน 11 ท่าน มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีซึ่งกำกับงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นรองประธาน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร และมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็น กรรมการและเลขานุการ ส่วนคณะกรรมการอำนวยการ มีจำนวน 22 คน มี รมว.สาธารณสุข เป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เจ้ากรมแพทย์ 3 เหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะแพทยศาสตร์จาก ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองปลัดกทม. นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน โดยมีนายแพทย์สมชัย นิจพาณิชย์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการดังกล่าวมีบทบาทหน้าที่ กำหนดเป้าหมาย นโยบายการบริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเขต กทม.และปริมณฑล วางแผนการจัดการด้านการแพทย์ให้ครอบคลุมพื้นที่อุทกภัย และประชาชนทุกสิทธิการรักษา ประกอบด้วยการบริการในโรงพยาบาล การบริการเชิงรุกนอกโรงพยาบาล และการส่งต่อผู้ป่วย จัดทำแผนงานควบคุมโรค ฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประสานโรงพยาบาลสังกัดต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวม 38 แห่ง ซึ่งมีเตียง 16,096 เตียง ให้สำรองเตียงในโรงพยาบาลทุกแห่งไว้ 5% ของจำนวนเตียงที่มีอยู่ใน รพ. โดยในจำนวนนี้ให้จัดสรร 10% ของเตียงสำหรับผู้ป่วยหนักที่ต้องรักษาตัวในไอซียู

ไทยรัฐออนไลน์  16 ตค 2554