ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาสูงเฝ้าระวังเชื้อ4ตัว-ชงตั้งกก.แก้เชื้อดื้อยา  (อ่าน 1896 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
ไทยพบเชื้อแบคทีเรีย ดื้อยาสูง เฝ้าระวังเชื้อ 4 ตัว ชี้คุมใช้ยาเกินไม่ได้ เสี่ยงเกิดซูเปอร์บั๊ก นำเข้ายาฆ่าเชื้อปีละ 2 หมื่นล้าน ชงครม.ตั้งกก.แก้เชื้อดื้อยา

ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข กล่าวแถลงข่าวงานวันอนามัยโลก 2554 ในวันที่ 7 เมษายน ของทุกปีว่า ในปีนี้องค์การอนามัยโลก(ฮู) มุ่งแก้ปัญหาดื้อยาต้าน จุลชีพให้ประเทศสมาชิกรณรงค์ควบคุม การใช้และจำหน่ายยาปฏิชีวนะ โดยเน้น 1.อย่าใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น 2.หากจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา
 
 ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวว่า จากการติดตามเฝ้าระวังการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียมากว่า 10 ปี ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า เชื้อแบคทีเรียดื้อยาสูง ขึ้น ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด ได้แก่ 1.เชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนียอีที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ดื้อยาเพนนิซิลลินเพิ่มจากร้อยละ 47 ในปี 2541 เป็นร้อยละ 64 ในปี 2553 และดื้อยาอิริโธมัยซินจากร้อยละ 27 เป็นร้อยละ 54 และยาตัวใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาทดแทน ขณะนี้เริ่มพบการดื้อยาแล้ว

 2.เชื้ออีโคไลที่ทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ และการติดเชื้อในช่องท้อง ดื้อยาปฏิชีวนะ กลุ่มที่ออกฤทธิ์กว้างเพิ่มจากร้อยละ 19 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 52 ในปี 2548 และดื้อต่อยาในกลุ่มฟลูออโรควิโนโลนถึงร้อยละ 60 ใช้เกินจำเป็นอย่างมากทั้งในคนและในสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม เป็นปัญหามากต่อการรักษาโรคติดเชื้อ

 3.เชื้ออะซีนีโตแบคเตอร์ บอแมนนิอาย เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในโรงพยาบาล พบมีการระบาดของเชื้อชนิดนี้ที่ดื้อยาทุกชนิด ดื้อยากลุ่มคาบาพีเนม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 63 ในปี 2553 หรือดื้อยาเพิ่มขึ้นถึง 30 เท่าตัว และดื้อยาเซฟ โฟเพอราโซน/ซาลแบคแทม ซึ่งเป็นยาด่านสุดท้ายที่ใช้ในการรักษาเชื้อนี้ จากร้อยละ 3 เพิ่มเป็นร้อยละ 44 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และ 4.เชื้อสูโดโมแนส แอรูจิโนซา ซึ่งเป็นเชื้อฉวยโอกาสทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ และระบบไหลเวียนโลหิต พบการดื้อยาร้อยละ 20-40

 ผศ.นพ.กำธร กล่าวอีกว่า ไทยเสี่ยงจะเกิดเชื้อดื้อยาแบบ ซูเปอร์บั๊กได้หรือไม่นั้น คงไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน แต่ถ้ายังคุมการใช้ยาเกินจำเป็นและใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลไม่ได้ อาจพบซูเปอร์บั๊กได้เช่นกัน

 ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผอ.สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ข้อมูลอย.พบว่า ตั้งแต่ปี 2543  ไทยผลิตและนำเข้ากลุ่มยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะสูงเป็นอันดับหนึ่งในปี 2550 มีมูลค่ารวม 2 หมื่นล้านบาท จะมีการเสนอครม.ตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายควบคุมแก้ปัญหาเชื้อดื้อยา

คม ชัด ลึก
18 กุมภาพันธ์ 2554