แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - patchanok3166

หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 19
181
จักษุแพทย์ มธ. มั่นใจ “ดวงตา” ของ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงปลอดภัย ชี้ จอประสาทตาใช้เวลา 5-10 นาที ปรับการทำงานเป็นปกติหลังออกจากถ้ำ ไม่เกิดอันตรายถาวร แนะค่อยๆ ให้เจอแสงด้วยแว่นกันแดด เหตุเซลล์รับแสงทำงานหนักขณะอยู่ที่มืด เมื่อเจอแสงจึงรู้สึกจ้ากว่าปกติ


จากกรณีทีมปฏิบัติการสามารถค้นหาทีมหมูป่า 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย พบแล้ว โดยอยู่เลยจากพัทยาบีชประมาณ 400 เมตร ซึ่งทั้งหมดปลอดภัยดี แต่มีอาการอ่อนเพลีย โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อพาตัวทั้งหมดออกมา อย่างไรก็ตาม กระแสสังคมมีความเป็นห่วงถึงดวงตาของทั้ง 13 คน อาจเกิดอันตราย หลังออกจากถ้ำ เพระาอยู่ในที่มืดมานานถึง 10 วัน


วันนี้ (3 ก.ค.) รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าศูนย์ตาธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ก่อนอื่นตนขอร่วมแสดงความยินดีกับคนไทยทุกคนและผู้คนอีกกว่าครึ่งโลก ที่ส่งกำลังใจให้ทีมกู้ภัยฯสามารถช่วยเหลือน้องๆ นักฟุตบอลออกมาจากถ้ำหลวงได้สำเร็จ ส่วนประเด็นที่ผู้คนให้ความเป็นห่วง หนึ่งในนั้นคือ การที่เด็กๆ ติดอยู่ในถ้ำที่มืดสนิทนานเกือบ 10 วัน จะเกิดอันตรายกับดวงตาหรือไม่นั้น เท่าที่ประเมินจากคลิปที่เผยแพร่ออกมาขณะพบตัวทั้ง 13 คน คาดว่า ไม่น่ามีปัญหาด้านดวงตา ส่วนการออกจากที่มืดมาสู่แสงสว่างนั้น ก็ไม่ได้น่ากังวลอย่างที่คิด เนื่องจากสามารถจอประสาทตาจะปรับให้รับแสงสว่างได้ แม้จะอยู่ในที่มืดมาเป็นระยะเวลานานก็ตาม ยืนยันว่า จะไม่เกิดอันตรายถาวร ซึ่งต่างจากคนที่จ้องดวงอาทิตย์ตรงๆ แบบนี้จะทำให้จอประสาทตาเสียหายได้


“ในจอประสาทตาคนเรามีเซลล์รับแสง 2 ชนิด คือ เซลล์ชนิดแท่งสำหรับรับแสง และเซลล์ชนิดโคนสำหรับมองเห็นสี ซึ่งเมื่อเราอยู่ในที่มืด เซลล์ชนิดแท่งสำหรับรับแสงจะทำงานหนักขึ้น เพื่อพยายามให้เห็นแสง ขณะที่เซลล์รับสีจะทำงานน้อยลง เพราะไม่มีสีสันใดๆ ในที่มืด ดังนั้น เมื่อออกมาเจอแสงสว่าง การทำงานของเซลล์รับแสงที่เยอะผิดปกติจะทำให้รู้สึกแสงจ้ามากกว่าคนอื่นเห็น แต่จอประสาทตาปรับตัวเอง โดยเซลล์รับแสงจะกลับไปทำงานปกติ ส่วนเซลล์รับสีจะเริ่มทำงานมากขึ้น ทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติ ไม่เกิดความพิการถาวรอย่างที่หลายคนกลัว” รศ.นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว


รศ.นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า จอประสาทตาจะใช้เวลาในการปรับดวงตากับสภาพแวดล้อมใหม่ประมาณ 5-10 นาที โดยการปรับแสงสว่างนั้น ควรให้ค่อยๆ เจอแสงเพิ่มทีละน้อย เช่น เตรียมแว่นกันแดดให้ใส่ระหว่างนำเด็กๆ ออกสู่แสงสว่างครั้งแรก โดยสวมแว่นกันแดดตั้งแต่อยู่ภายในถ้ำ ซึ่งแว่นกันแดดจะใช้แบบใดก็ได้ หรือแว่นกันแดดทั่วๆ ไปก็ได้ เพราะใช้เพื่อตัดแสงเป็นเวลาไม่นาน 5-10 นาทีเท่านั้น เพื่อให้จอประสาทตากลับมาปรับตัวในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ ไม่เหมือนแว่นกันยูวีเวลาอยู่กลางแดด ที่ตามหลักแล้วจะต้องกันได้ 95-98% ทั้งนี้ แม้จะมีการอยู่ในที่มืดมานานเป็นเดือน หลักการก็เป็นเช่นเดียวกันคือ ดวงตาสามารถปรับรับแสงสว่างในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ แต่แค่ต้องค่อยเพิ่มการรับแสงทีละน้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อดูแลสภาพทั่วไปของน้องๆ แล้วสามารถนำไปตรวจสุขภาพตาเพิ่มเติมเพื่อความสบายใจได้




เผยแพร่: 3 ก.ค. 2561  โดย: MGR Online

182
สธ.กำชับสื่อสารคลินิกเอกชน ร้านขายยา หากพบผู้ป่วยมีไข้เกิน 2 วัน อาการไม่ดีขึ้น ให้ไป รพ. ห้ามจ่ายยา ฉีดยา กลุ่มแก้ปวดลดไข้ต้านการอักเสบ หวั่นทำโรคไข้เลือดออกรุนแรงขึ้น พร้อมจัดทำโครงการจิตอาสาปราบยุงลาย ถวายเป็นพระราชกุศล


วันนี้ (29 มิ.ย.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และโฆษก สธ. กล่าวภายหลังประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทั่วประเทศ เพื่อติดตามการดำเนินงานมาตรการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก ว่า สธ.มีข้อสั่งการใน 2 เรื่อง สำคัญ คือ


 1.การดูแลรักษาผู้ป่วย กำชับให้สื่อสารเชิงรุกถึงมาตรการรักษาผู้ป่วยให้ถึงคลินิกเอกชนและร้านขายยา แนะนำหากมีผู้ป่วยมีไข้เกิน 2 วัน อาการไม่ดีขึ้นต้องแนะนำให้ไปโรงพยาบาล ห้ามฉีดยา ห้ามจ่ายยา กลุ่มแก้ปวดลดไข้ต้านการอักเสบ หรือกลุ่ม NSAIDs เนื่องจากจะเป็นอันตรายหากผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก และให้จัดอบรมชี้แจงเกณฑ์การวินิจฉัยโรคและรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยให้เหมาะสม


2.การควบควบคุมโรค ได้จัดทำ “โครงการจิตอาสาปราบยุงลาย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล” ให้ทุกพื้นที่จัดกิจกรรมรณรงค์ตลอดเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป โดยจัดรณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศ ในระหว่างวันที่ 9-15 กรกฎาคม ที่ศูนย์ราชการ ศาลากลางจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาล หลังจากนั้นให้ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคให้จัดทีมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ ศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายต้องเป็นศูนย์


“ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน โรคที่พบได้บ่อยคือไข้เลือดออกโดยเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน อาจพบผู้ป่วยได้มากกว่า 10,000 ราย ต่อเดือน หากไม่มีการควบคุมป้องกันโรคที่ดี ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกพร้อมกำชับให้เร่งรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชนทั่วประเทศเป็นจิตอาสาปราบยุงลาย” นพ.โอภาส กล่าว


สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 29 มิถุนายน 2561 พบผู้ป่วยแล้ว 22,539 ราย เสียชีวิต 38 ราย พบผู้ป่วยในอายุ 15-34 ปี คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาในกลุ่มอายุ 5-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 36 ส่วนผู้เสียชีวิตเป็นผู้ใหญ่มากถึง 28 ราย โดยเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น มีภาวะซีด  มีภาวะ ตับ ไต หัวใจทำงานบกพร่อง มีภาวะอ้วน เป็นต้น ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือประชาชน ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านตนเอง เพราะขณะนี้พบบ้านในชุมชนมียุงลายถึงร้อยละ 29 หรือสามบ้านพบ 1 บ้าน ถ้าประชาชนไม่ร่วมมือกันจะไม่สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้



เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2561   โดย: MGR Online

183
สปสช.เผย 6 เดือน ยอดผู้ป่วยผ่าตัดวันเดียวกลับสะสม 947 ราย ผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบสูงสุด 378 ราย สะท้อนผลสำเร็จ เพิ่มศักยภาพดูแลผู้ป่วย เข้าถึงการรักษาเพิ่ม ลดความแออัด รพ.ประหยัดงบประมาณ


นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากแนวทางการพัฒนาประเทศไทย “ไทยแลนด์ 4.0 ด้านสาธารณสุข” ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ สปสช., กรมบัญชีกลาง และ สำนักงานประกันสังคม ส่งเสริมการรักษาด้วยระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (one day surgery: ODS) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ราชวิทยาลัยแพทย์, สมาคมและองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมมือพัฒนาระบบบริการผ่าตัดวันเดียวกลับในการดูแลผู้ป่วย ในส่วนของการดำเนินการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อเป็นการสนับสนุนการบริการผ่าตัดวันเดียวกลับ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้เห็นชอบให้ สปสช.ปรับกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายชดเชยค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขรักษาพยาบาลให้กับหน่วยบริการสอดคล้องกับการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ และ สปสช.ได้ออกประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ พ.ศ. 2561


นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า จากรายงานผลการดำเนินงานระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภายหลังจาก สปสช.ได้ประกาศหลักเกณฑ์เบิกจ่ายฯ นั้น ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน 2561 มีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและเบิกจ่ายในระบบจำนวน 68 แห่ง ทั้งโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงเรียนแพทย์ เป็นต้น โดยเดือนมกราคม 2561 ที่เริ่มต้นดำเนินการปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายนี้ มีผู้ป่วยเข้ารับบริการ จำนวน 43 ราย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นในเดือนถัดไป ส่งผลให้ในช่วง 6 เดือน มีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับสะสมทั้งสิ้น จำนวน 947 ราย (ข้อมูล 1 ม.ค.- 20 มิ.ย. 61)


ทั้งนี้ เมื่อแยกดูข้อมูลบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับตามรายโรค มีการให้บริการผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนขาหนีบมากที่สุด จำนวน 378 ราย รองลงมา เป็นผ่าตัดหลอดเลือดดำโป่งพองในหลอดอาหารและกระเพาะ จำนวน 181 ราย ตัดติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่ จำนวน 147 ราย โรคนิ่วในท่อน้ำดี จำนวน 60 ราย โรคถุงน้ำอัณฑะ จำนวน 58 ราย ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด จำนวน 46 ราย ภาวะหลอดอาหารตีบ จำนวน 38 ราย โรคริดสีดวงทวาร จำนวน 29 ราย และภาวะท่อน้ำดีตีบ จำนวน 10 ราย


“จากข้อมูลผลการดำเนินงานนี้ นอกจากสะท้อนการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จโดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ได้ร่วมพัฒนาระบบการรักษาและดูแลผู้ป่วยผ่าตัดวันเดียวกลับอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยลดทั้งเวลานอนในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงติดเชื้อของผู้ป่วย ลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ป่วยและญาติระหว่างมาโรงพยาบาล ลดระยะเวลารอคอยผ่าตัด รวมถึงลดความแออัดผู้ป่วยในโรงพยาบาล ทำให้มีเตียงว่างเพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินและซับซ้อนเพิ่มขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว


นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า สปสช.พร้อมสนับสนุนการผ่าตัดแบบวันเดียวกับ นอกจากเป็นหนึ่งในภารกิจและบทบาทหน้าที่ของ สปสช.ในการร่วมพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานแล้ว ในอนาคตเชื่อว่าการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ที่ก้าวหน้าแล้ว ยังดีกับตัวผู้ป่วยและระบบบริการสาธารณสุขในภาพรวมประเทศ เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยภายใต้งบประมาณจำกัด ขณะนี้โรงพยาบาลหลายแห่งได้มีการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแล้ว อาทิ การให้ผู้ป่วยเตรียมตัวที่บ้านก่อนมารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาล การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ การพักฟื้นหลังผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองและกลับบ้านได้ในวันเดียวหรืออยู่ในโรงพยาบาลไม่เกิน 24 ชั่วโมง นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย



เผยแพร่: 1 ก.ค. 2561  โดย: MGR Online

184
กรมควบคุมโรค เดินหน้ารณรงค์ “Test for Life ตรวจเพื่อก้าวต่อ” ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีฟรีปีละ 2 ครั้ง ย้ำตรวจเร็ว รู้ผลเร็ว รับการรักษาได้เร็ว ช่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี หากไม่พบได้รับการดูแลแนะนำป้องกันความเสี่ยง


วันนี้ (1 ก.ค.) นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ทุกวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ตรวจเอชไอวี (Voluntary Counseling and Testing Day: VCT Day) โดยให้ความสำคัญของการรู้สถานะการติดเชื้อเอชไอวีของตนเอง และได้กำหนดคำขวัญรณรงค์ คือ “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์: Test for Life ตรวจเพื่อก้าวต่อ” ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ติดเชื้ออีกจำนวนมากที่ยังไม่ทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดง และจะทราบได้โดยการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น การตรวจเร็ว รักษาเร็วมีความสำคัญอย่างมากต่อการยุติปัญหาเอดส์


“หากพบว่าติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยเร็ว สามารถวางแผนการใช้ชีวิต ดูแลรักษาสุขภาพ หากพบว่าไม่ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับการแนะนำเพื่อป้องกันให้ปลอดภัยตลอดไป โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้ยาป้องกันก่อน-หลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี รวมทั้งการใช้เข็มและอุปกรณ์ฉีดที่สะอาดด้วย ซึ่งไม่ว่าผลการตรวจเป็นอย่างไร ลบหรือบวก ก็จะก้าวต่อไปได้” นพ.อัษฎางค์ กล่าว


นพ.อัษฎางค์ กล่าวว่า ประชาชนสามารถตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง ได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยแสดงบัตรประชาชนที่มีเลข 13 หลัก และรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ฟรีตามสิทธิ สำหรับเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถรับบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้โดยไม่ต้องขอคำยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อจะได้รู้สถานะการติดเชื้อของตนเอง หากรู้ว่าติดเชื้อเอชไอวีจะได้เข้ารับการรักษาทันที ทั้งนี้ สามารถค้นหาสถานบริการปรึกษา/ตรวจเอชไอวี ได้ที่ www.buddystation.org สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนปรึกษาเอดส์ โทร. 1663


นพ.อัษฎางค์ กล่าวว่า ขอเชิญชวนหน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วนร่วมรณรงค์ ตลอดเดือนกรกฎาคม ตามแนวคิด ตรวจเร็ว รักษาเร็ว ยุติเอดส์ : Test for Life ตรวจเพื่อก้าวต่อ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการรู้สถานะการติดเชื้อ จะได้ลดปัญหาการเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคโดยสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ผ่านทาง Facebook Live ในแฟนเพจ “สอวพ.” ทุกวันพุธ เวลา 11.30 น. ตลอดเดือนกรกฎาคม หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422



เผยแพร่: 1 ก.ค. 2561 โดย: MGR Online

185
เมื่อเริ่มสูงวัย ร่างกายย่อมเสื่อมลงไปตามกาลเวลา การเอาใจใส่ต่อสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่กว่าจะทราบถึงสุขภาพของตนเองก็ต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง หลายคนคิดว่าการตรวจสุขภาพประจำปีทั่วไปก็เพียงพอ แต่ไม่จริงเสมอไป

ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราส่วนของผู้สูงอายุเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด นับเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจาก สิงคโปร์ ทั้งนี้ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ในอนาคต เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี



การประเมินสมรรถภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1.การตรวจประเมินผู้สูงอายุ โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 2.การตรวจประเมินภาวะทางด้านร่างกาย ความจำและอารมณ์ โดยนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด เช่น การตรวจความสมดุลของกล้ามเนื้อ ไขมันและน้ำในร่างกาย ด้วยเครื่อง Body Composition Evaluation การตรวจประเมินความเสี่ยงในการหกล้ม ด้วยแบบทดสอบ Time up and Go test ตรวจประเมินการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ โดย Tandem Standing Test ตรวจประเมินกำลังกล้ามเนื้อขา Five Time Sit to Stand การตรวจวัดความเร็วในการเดินเพื่อประเมินความเร็วและระยะการก้าวเท้า และสำรวจการควบคุมความสมดุลในการเดิน 4 Meter Gait Speed Test รวมถึงการตรวจความสามารถด้านการเรียนรู้และการรับรู้ และการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางด้านอารมณ์ เป็นต้น


การตรวจสมรรถภาพในผู้สูงอายุ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้ อาทิ อาการซึมเศร้า หรือการหกล้มจนเกิดภาวะทุพพลภาพ ซึ่งพบได้บ่อยๆ โดยมี 10 ความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุควรรู้ คือ


 1. อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) มีโอกาสเป็นได้มากกว่าวัยอื่น เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและบทบาทในสังคม เช่น ผมขาว ผิวหนังเหี่ยวย่น นั่งและยืนนานๆ ไม่ได้ เป็นต้น หากผู้สูงอายุรับไม่ได้กับภาวะที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ส่งผลให้เกิดอาการเบื่อหน่าย หมดกำลังใจ ขาดความรัก รู้สึกว่าไม่มีคุณค่าและไม่มีใครต้องการ ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตผู้สูงอายุที่ใกล้ชิด หากมีภาวะแยกตัว เบื่อหน่าย หรือทุกข์ใจ ไม่ควรละเลย ควรรีบปรึกษาแพทย์ และเข้ารับการตรวจความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและความประเมินการแสดงออกทางอารมณ์ การแสดงออกทางความคิด ทางพฤติกรรม และการแสดงออกทางกาย เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์ในผู้สูงอายุ



2. การล้ม (Fall) เป็นปัญหาที่พบบ่อยและอันตรายมากในวัยสูงอายุ จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการล้ม 28-35% ส่วนในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 32-42% โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่ไปเข้าห้องน้ำ เนื่องจากสูญเสียการทรงตัว เพราะสมอง กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ เกิดความเสื่อม การได้ยินและมองเห็นลดลง ทำให้มีโอกาสลื่นล้มได้ง่าย ซึ่งการบาดเจ็บมีตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงขั้นรุนแรง พิการและเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรดูแลใส่ใจและหมั่นสังเกตการทรงตัวของผู้สูงอายุ หากเกิดการล้มควรให้อยู่ในท่าเดิมและรอผู้เชี่ยวชาญมาทำการเคลื่อนย้ายเพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง และแม้จะบาดเจ็บไม่มากก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอีกครั้ง ควรมีการตรวจประเมินการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุด้วยการตรวจ Tandem Standing Test เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงภาวะทรงตัวบกพร่องและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการหกล้มและได้รับบาดเจ็บ เพราะการทรงตัวบกพร่องจะเสี่ยงต่อการหกล้มได้ 4-5 เท่า และแบบทดสอบ Time Up and Go Test เพื่อประเมินความเสี่ยงในการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหว



3. สมองเสื่อม (Dementia Disease) ภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการรู้คิด (Cognitive Function) ซึ่งเป็นกระบวนการรับรู้ เรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากสมองทำหน้าที่ผิดปกติไปจากเดิม เสื่อมลง จากการที่อายุมากขึ้น โรคต่างๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึมเศร้า โรคทางระบบประสาท เป็นต้น รวมถึงพันธุกรรมก็มีส่วนด้วยเช่นกัน ดังนั้นการกระตุ้นการรู้คิดผ่านกิจกรรมต่างๆ จึงมีประโยชน์อย่างมาก เช่น จับคู่ภาพ ทายคำ ต่อจิ๊กซอว์ วาดรูป หมากรุก เป็นต้น เพื่อกระตุ้นการคิด อ่าน สมาธิ ความจำ โดยมุ่งเน้นขั้นตอนการทำกิจกรรมที่ชัดเจนเข้าใจง่ายมากกว่าผลของกิจกรรม นอกจากนี้ยังควรตรวจประเมินความสามารถด้านการเรียนรู้และการรับรู้ เพื่อหาความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ นำไปสู่การป้องกันและการรักษาอย่างเหมาะสม



4. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Weakness) ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะจำนวนขนาดและเส้นใยของกล้ามเนื้อบวกกับกำลังการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ซึ่งอาการอ่อนแรงมีหลายระดับ ตั้งแต่กำมือแน่น ไม่แน่น ไปจนถึงการยกขา บางคนเมื่อเป็นแล้วอาจมีอาการช่วงสั้นๆ แล้วหายไป แต่บางครั้งไม่มีสัญญาณเตือนและมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้นการหมั่นสังเกตและตรวจเช็กกับแพทย์เฉพาะทาง อย่างการตรวจประเมินกำลังกล้ามเนื้อขา ด้วยการตรวจ Five Time Sit to Stand จะมีการจับเวลาผู้สูงอายุในการลุกนั่ง 5 ครั้ง เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการรับความรู้สึก การทรงตัว และความเร็วในการเคลื่อนไหว


5. การเดินผิดปกติ (Abnormal Walking) สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุจะเสื่อมลงตามวัย โดยเฉพาะการเดินที่ช้าลง การก้าวเท้าที่สั้นลง เนื่องจากความเสื่อมของเนื้อเยื่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ การประหยัดพลังงานที่ใช้ในการยืน เดิน อีกทั้งเมื่อผู้สูงอายุเจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลบางครั้งไม่สามารถเดินได้ ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยการเดินวันละ 20 - 30 นาทีทุกวัน โดยใส่เครื่องพยุง เช่น ข้อเท้าและข้อเข่า เลือกรองเท้าที่เหมาะกับการเดิน ย่อมช่วยป้องกันการล้มและการบาดเจ็บของข้อต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ความเร็วในการเดินยังเป็นตัวพยากรณ์อายุขัย (Mortality) ได้ด้วย โดยพบว่าผู้สูงอายุในวัย 75 ปีที่เดินช้าเสียชีวิตเร็วกว่าผู้สูงอายุที่เดินด้วยความเร็วปกติถึง 6 ปี และเสียชีวิตเร็วกว่าผู้สูงอายุที่เดินเร็ว 10 ปี การตรวจประเมินสมรรถภาพผู้สูงอายุด้วยการวัดความเร็วในการเดิน(4 Meter Gait Speed Test) จะเป็นการตรวจความบกพร่องของเนื้อเยื่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ ดูความสามารถในการควบคุมสมดุลและการเดิน เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบอัตราความเร็วในการ ระยะก้าว เป็นต้น


6. ประสาทสัมผัส (Sense) ทางหู การได้ยินลดลง มีอาการหูตึงมากขึ้น การเสื่อมของอวัยวะในหูชั้นในมีมากขึ้น เสียงพูดเปลี่ยนไป เพราะกล้ามเนื้อกล่องเสียงและสายเสียงบางลง ระดับเสียงสูงจะได้ยินน้อยกว่าระดับเสียงต่ำ มีข้อมูลวิจัยระบุว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุจะเสียเสียงสูงก่อน นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการเวียนศีรษะและเคลื่อนไหวไม่คล่อง เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในมีภาวะแข็งตัว ทางตา การมองเห็นไม่ดีเหมือนเคย เนื่องจากรูม่านตาเล็กลงและตอบสนองต่อแสงลดลง หนังตาตก แก้วตาเริ่มขุ่นมัว เกิดต้อกระจก ลานสายตาแคบ กล้ามเนื้อลูกตาเสื่อม ความไวในการมองภาพลดลง สายตายาว เวลามืดหรือกลางคืนการมองเห็นจะไม่ดี ตาแห้งและเยื่อบุตาระคายเคืองง่าย ทางจมูก การดมกลิ่นไม่ดีเหมือนเดิม เนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกเสื่อม ต่อมรับรสทำหน้าที่ลดลง การรับรสของลิ้นเสียไป อาจเกิดภาวะเบื่ออาหาร โดยรสหวานจะเสียก่อนรสเปรี้ยว รสขม และรสเค็ม



7. ระบบขับถ่าย (Bowel and Bladder System) จากการเสื่อมของเซลล์และกล้ามเนื้อหูรูดต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาระบบขับถ่าย ปัสสาวะ มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะบ่อย ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าและรุนแรงกว่าผู้ชาย เนื่องจากหมดประจำเดือนถาวร ทำให้ขาดฮอร์โมนเพศ อุจจาระ ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ ที่สำคัญคือท้องผูกเป็นประจำ เนื่องจากกระเพาะอาหารและลำไส้ลดการบีบตัวตามอายุ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ทานผักผลไม้น้อย ดื่มน้ำน้อย รวมถึงอาจเป็นจากผลข้างเคียงของยาที่ทานเข้าไป



8. กระดูกพรุน (Senile Osteoporosis)ปัญหากระดูกของผู้สูงอายุ คือ แคลเซียมจะสลายออกจากกระดูกมากขึ้น ทำให้น้ำหนักกระดูกลดลง เปราะ หักง่าย ความยาวกระดูกสันหลังลดลง หมอนรองกระดูกบางลง หลังค่อมมากขึ้น ความสูงลดลง เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก ตึง แข็ง อักเสบ ติดเชื้อง่ายขึ้น ดังนั้นหากออกกำลังกายประจำจะช่วยลดความเบา
บางของมวลกระดูกได้ รวมทั้งการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ที่สำคัญคือตรวจเช็กกับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันและรับมือกับปัญหากระดูกพรุนได้ถูกวิธี


9. ท่าทางและการทรงตัว (Posture and Balance) ท่าทางของผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตประจำวันมีความสำคัญ เพราะอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายต้องทำงานร่วมกัน ที่สำคัญท่าทางและการทรงตัว ที่ดีส่งผลต่อความคล่องตัวในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาที่พบค่อนข้างบ่อย เช่น เดินแอ่นหลัง เดินหลังค่อม เดินเซ ก้าวเท้าสั้นลง ขณะก้าวปลายเท้าจะออกด้านข้างมากกว่าหนุ่มสาว เป็นต้น ซึ่งสามารถทำให้ดีขึ้นได้โดยการทำกายภาพ เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวที่คล่องตัวและเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรีระของแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจประเมินการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการตรวจ Tandem Standing Test ร่วมกับการตรวจประเมินอื่น ๆ ตามการวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง เพื่อจะได้เคลื่อนไหวและออกกำลังกายได้ถูกท่า

10. ความอึด (Endurance) เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นความอึดย่อมลดลงยกตัวอย่างเช่น เมื่ออายุ 40 ปี และอายุ 50 ปีขณะที่ขึ้นบันไดในจำนวนขั้นที่เท่ากัน ความอึดอาจไม่เท่ากัน ในวัย 50 ปีอาจจะรู้สึกเหนื่อยง่ายมากขึ้นและอดทนได้น้อยกว่า เป็นต้น ฉะนั้นการออกกำลังกายเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ อย่างการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ จะช่วยเพิ่มความทนทานของระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของปอด เนื่องจากมีการใช้ออกซิเจนสันดาปไขมันสร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อ เป็นต้น โดยต้องเลือกชนิดการฝึกที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินสมรรถภาพ กำลังกล้ามเนื้อ การทรงตัว ความเสี่ยงในการล้มโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อดูแลตนเองอย่างถูกต้อง


นอกจากนี้ ยังมีการตรวจความสมดุลของกล้ามเนื้อ ไขมัน และน้ำในร่างกาย ประเมินด้วยเครื่อง Body Composition Evaluation เพื่อวัดปริมาณไขมัน กล้ามเนื้อ กระดูก ปริมาณน้ำในร่างกาย วัดสมดุลของกล้ามเนื้อแขนขาและน้ำหนักตัวที่เหมาะสม เพื่อเป็นการวิเคราะห์ภาวะโภชนาการ วางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ทั้งนี้ การตรวจประเมินภาวะในด้านต่างๆ และการได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุดึงศักยภาพตามวัยออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยแพทย์จะเลือกวิธีการกายภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพเรื่องเทคนิค วิธีการและระยะเวลาในการฝึกฝน ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในแต่ละราย ซึ่งมีศักยภาพในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดียามสูงวัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูกรุงเทพ โทร. 1719



เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2561  โดย: MGR Online

186
สธ.ปรับแผนช่วยเหลือ 13 ชีวิตติด “ถ้ำหลวง” ใหม่ ใช้เฮลิคอปเตอร์ส่งต่อ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ เท่านั้น ใช้เวลาเพียง 15 นาที แทนการใช้ส่งต่อด้วยรถ ห่วงอ่อนแรง อากาศชื้น มีผลต่อทางเดินหายใจ ต้องระวังดวงตาหลังออกจากที่มืด ด้านครอบครัวความเครียดลดลงหลังพูดคุยกับ “บิ๊กตู่”


วันนี้ (1 ก.ค.) นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เขตสุขภาพที่ 1 กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการปรับแผนการช่วยเหลือ 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ใน “ถ้ำหลวง” ใหม่ โดยจะใช้การเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปยังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งจะสามารถขนย้ายทั้ง 13 คนได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 15 นาที หากเดินทางโดยรถยนต์ต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมง อีกทั้งขณะนี้จากการประเมินสถานการณ์ เบื้องต้นเชื่อว่า ทั้ง 13 คน น่าจะอ่อนแรง เพราะขาดอาหารและน้ำ หรือหากได้รับก็ไม่เพียงพอ ไม่เต็มที่ เกลือแร่ในร่างกายคงไม่สมดุล แต่หากมีบาดแผลตามร่างกายก็จะทำแผลที่ รพ.สนาม ส่วนเรื่องอากาศการหายใจไม่น่าเป็นห่วง แต่สภาพอากาศที่ชื้น อาจมีผลกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนการไม่ได้เจอแสงแดดมาหลายวัน ย่อมมีผลกับสายตา โดยขณะอยู่ในที่มืด ม่านตาจะขยาย ฉะนั้น เมื่อออกมาภายนอกต้องมีการปิดดวงตา เพื่อให้ดวงตาปรับสภาพ


นพ.ธงชัย กล่าวว่า ส่วนเรื่องสภาพจิตใจญาติของทั้ง 13 ชีวิต ขณะนี้ได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ อีกทั้งที่ผ่านมา ได้รับรู้การส่งแรงใจจากทุกพื้นที่ของประเทศ ที่ส่งมาให้ ก็มีกำลังใจและมีความหวัง และนายกรัฐมนตรีเองก็ได้มาพูดคุยด้วย ประกอบกับทางทีมแพทย์ก็จำกัดบุคคลที่เข้าไปพูดคุยซักถามก็ช่วยลดความเครียด แต่จะมีผู้ปกครอง 2-3 คนที่ยังคงมีความเครียดมากอยู่


น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า หลังจากที่ครอบครัวนักบอลได้พบกับนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้มีกำลังใจดีขึ้น บรรเทาความวิตกกังวลลงได้มาก สภาวะทางสุขภาพจิตดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ยิ้ม หัวเราะได้ นอนหลับพักผ่อนได้ดี สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตทางใจของญาติเช่นกัน อารมณ์จิตใจจะตึงเครียด ความกังวลห่วงใยยังคงสูงตามระยะเวลาที่รอคอยจะพบกับลูกหลานที่ยังติดอยู่ภายในถ้ำ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อร่างกายได้ ปรากฏอาการถี่ขึ้น เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย ใจสั่น ภาวะหายใจไม่อิ่ม หงุดหงิด โกรธ โมโหง่าย ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเจ้าหน้าที่ได้จัดกิจกรรมผ่อนคลายให้ตามความเหมาะสม เช่น การฝึกสอนการนวดคลายเครียดง่ายๆ ฝึกให้ทำสมาธิ ซึ่งจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายลงได้ดี รวมทั้งการขอความร่วมมือสื่อมวลชนให้ระมัดระวังเรื่องการสัมภาษณ์ครอบครัว เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางจิตใจมากที่สุด


นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ประชาชนทั่วประเทศที่ติดตามผลการค้นหาช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่า 13 คน ของทีมเจ้าหน้าที่ อาสากู้ภัยทุกฝ่าย ซึ่งในวันนี้เป็นวันที่ 8 อาจก่อความเครียดให้ผู้ติดตามได้เช่นกัน ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ประชาชนยึดหลัก 6 ประการดังนี้ 1. ให้ตั้งความหวังที่เหมาะสม ควรเผื่อใจไว้สำหรับทุกผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งบวกและลบ 2. เป็นกำลังใจให้ทีมผู้ปฏิบัติงานทุกคน 3. เลือกติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือเท่านั้นคือข่าวจากภาครัฐ เพื่อลดความสับสน 4. ดูแลสุขภาพร่างกาย รับประทานอาหาร และนอนหลับให้เพียงพอ เป็นเวลา 5. มีกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ทำงานบ้าน อ่านหนังสือ ฟังเพลง ไม่จดจ่อกับข่าวติดต่อกันเกิน2ชั่วโมง และ 6. ทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการช่วยเหลือเท่าที่สามารถทำได้ ตามกำลังความสามารถ อาจเป็นด้านการให้ข้อมูลความรู้ หรือสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับการให้ความช่วยเหลือ





1 ก.ค. 2561  โดย: MGR Online

187
ขนาดเวลาดูหนัง ยังต้องมีป๊อปคอร์น แล้วทำไมเวลาดูฟุตบอลโลก 2018 ถึงจะมีของทานเล่นเพลิน ๆ บ้างไม่ได้ แต่จะให้จัดหนัก จัดเต็มช่วงดึกๆ ก็คงไม่ไหว แต่ถ้าไม่มีของขบเคี้ยวเลย ก็เหมือนอรรถรสในการเชียร์บอลจะขาดหายไป


ดังนั้น เพื่อให้การเชียร์บอลโลกของแก๊งคุณไม่เงียบเหงา Tonkit360 ขอเสนอ “ของทานเล่น” ประเภทเบา ๆ ขนาดพอดีคำ หยิบรับประทานง่าย ไม่หกเลอะเทอะ ส่วนของทานเล่นที่ว่าควรมีอะไรบ้างนั้น ลองดูไอเดียที่เรานำมาฝากกันเลย


 
1. ถั่วชนิดต่างๆ

ถึงแม้ถั่วจะเป็นขนมทานเล่นที่ย่อยยาก แต่ก็มีประโยชน์ค่อนข้างเยอะ ทั้งช่วยให้ระดับน้ำตาลในเส้นเลือดสมดุล รวมถึงมีไขมันดีที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำให้ถั่วชนิดต่างๆ จัดเป็นหนึ่งในขนมทานเล่นที่เหมาะกับการจับโยนใส่ปากช่วงดูบอลโลกเป็นที่สุด


 
2. ผลไม้นานาชนิด

ถึงจะนอนดึก เพราะดูบอล เราก็สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยการทานผลไม้นะจ๊ะ เพราะผลไม้แต่ละชนิดล้วนมีประโยชน์ในตัวของมันเอง เราอาจเลือกทานฝรั่ง, แอปเปิ้ล, องุ่น, ชมพู่ หรือกล้วย เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าอยากได้ความหลากหลาย (ไม่ขี้เกียจจนเกินไป) ก็จัดเป็นผลไม้รวมไปเลยค่ะ


 
3. ปลาแห้ง ปลาเส้น ปลากรอบ

สารพัดผลิตภัณฑ์ปลาแปรรูป อาทิ ปลาสวรรค์ ตราทาโร หรือขนมปลากรอบ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งขนมทานเล่นยอดนิยม ที่นอกจากจะเคี้ยวเพลินแล้วยังมีโปรตีนค่อนข้างสูง เรียกได้ว่า ทั้งอร่อยและมีประโยชน์กันทีเดียว เหมาะหยิบมาเคี้ยวเล่นเพลิน ๆ ตอนนั่งลุ้นทีมโปรดทำประตูนะจ๊ะ


 
4. สาหร่ายอบกรอบ

“สาหร่าย” เป็นของทานเล่นยอดนิยมที่สามารถหาทานได้ง่ายๆ โดยเฉพาะสาหร่ายที่ผ่านกรรมวิธีการ “อบ” มาแล้ว เพราะจะได้ไม่อ้วน แถมหาซื้อง่าย ส่วนประโยชน์ของสาหร่ายอบกรอบนั้น ทั้งช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก และช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด


 
5. เมล็ดทานตะวัน

มาปิดท้ายด้วย “เมล็ดทานตะวัน” ที่มีคุณค่าทางโภชนาการอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่าง ๆ อาทิ วิตามินเอ, วิตามินอี และวิตามินบี 2 รวมไปถึงสารอาหารอื่น ๆ อย่างโปรตีน, ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ที่สำคัญกินเพลินจนหมดถุงก็ยังไม่อ้วนเลยนะจ๊ะ



02 ก.ค. 61  sanook.com

188
คนไข้ปวดหัวไมเกรน ไม่พอใจรอคิวนาน ตบหน้าพยาบาล ที่ รพ.ชัยภูมิ ตำรวจชี้เป็นเรื่องเล็กน้อย เพจดังแฉเส้นใหญ่จัด บีบคนเจ็บให้รับผิดชอบ

           จากกรณี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมือง จ.ชัยภูมิ รับแจ้งเหตุทะเลาะวิวาทในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยพบว่าคนเจ็บคือ น.ส.ประภาพร แคล่วไพรี เจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลชัยภูมิ ยืนให้การในห้องฉุกเฉิน

           สอบถามผู้เห็นเหตุการณ์ เล่าว่า มีคนไข้เป็นหญิง ชื่อนางสาวบี (นามสมติ) มีอาการปวดหัวไมเกรนมารักษาตัวในห้องฉุกเฉิน ก่อนจะไม่พอใจพยาบาลที่ให้รอนานและได้รับการบริการล่าช้า จึงเกิดอาการโมโหตบเข้าที่หน้าพยาบาล ทางเจ้าหน้าที่จึงโทร. แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยระงับเหตุ

    ด้าน ร.ต.ท. อุทัย หงส์วิเศษ รองสว ร้อยเวร 20 สภ.เมือง จ.ชัยภูมิ เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมการและทีมบริหารกำลังคุยกัน เพราะเป็นมาตรการของโรงพยาบาล เวลาบุคลากรถูกทำร้ายก็ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งหากจะแจ้งความก็ให้ทางโรงพยาบาลดำเนินการตามกฎหมาย แต่ช่วงนี้ทางโรงพยาบาลก็รักษาคนไข้รายนี้ตามปกติ โดยรอจนกว่าจะหายแล้วจึงค่อยมาคุยกันเพราะเป็นเรื่องเล็กน้อย

30 พ.ค. 2561  โดย ไทยรัฐออนไลน์

189
นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องเคยติดแหง็กอยู่ในช่วงเวลาที่ค้นพบว่า ตัวเองเดินทางท่องเที่ยวไปกับกระเป๋าเดินทางที่ผิดประเภท เพราะกระเป๋าเดินทางนั้นมีมากมายหลากหลายประเภทให้คุณเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง


ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวหลายคนมักจะเลือกใช้เป็นเป้สะพายหลัง และให้ความสำคัญว่า เป้ใบนั้นมีพื้นที่การจัดเก็บสัมภาระได้มากแค่ไหน และต่อไปนี้คือ เคล็ดลับในการเลือกกระเป๋าเดินทางให้เหมาะสมกับตัวคุณ สำหรับการเดินทางครั้งต่อไป

พื้นที่การจัดเก็บที่ดี


กระเป๋าเป้สะพายหลังแบบเก่าจะมีกระเป๋าด้านหน้าสำหรับการเข้าถึงที่รวดเร็วและมีพื้นที่ว่างขนาดใหญ่สำหรับใส่สิ่งที่คุณต้องการเก็บ สำหรับบางคนก็อาจจะเพียงพอแล้ว แต่นักเดินทางท่องเที่ยวมืออาชีพต้องการความเป็นระเบียบมากกว่านั้น ดังนั้นควรเลือกกระเป๋าที่มีช่องเก็บของหลายๆ ช่อง และกระเป๋าต่างๆ ก็สามารถทำงานได้เป็นอย่างดีในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้รูปแบบและพื้นที่ของช่องเก็บของที่แตกต่างกันก็จะเป็นประโยชน์ในการเก็บของแก่นักเดินทางอีกด้วย

แผ่นรองหลัง


เมื่อสะพายกระเป๋าที่มีแผ่นรองหลังจะทำให้หลังของคุณสบายมากขึ้น เนื่องจากแผ่นรองหลังจะช่วยลดน้ำหนักของกระเป๋าที่หลังของคุณจะต้องแบกรับเอาไว้ ในปัจจุบัน แผ่นรองหลังได้มีการพัฒนาให้มีความสบายและทันสมัยมากขึ้น โดยเป็นรูปทรงโค้งตามหลังธรรมชาติของคุณ ซึ่งจะช่วยดูแลและบรรเทาอาการปวดหลังได้ นอกจากนี้แผ่นรองหลังนี้จะสร้างพื้นที่ขนาดเล็กระหว่างหลังของคุณกับกระเป๋า เพื่อช่วยให้ระบายอากาศได้ดี ทำให้คุณรู้สึกเย็นสบายระหว่างที่สะพายกระเป๋าเอาไว้

ทนทานและมีช่องเก็บของจำนวนมาก


กระเป๋าประเภทนี้ จะช่วยให้คุณไม่ต้องพกกระเป๋าหลายใบ คุณสามารถแยกส่วนสิ่งของเครื่องใช้ของคุณออกเป็นส่วนๆ แล้วจัดเก็บไว้ในแต่ละช่องของกระเป๋าเป้ได้เลย ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการหยิบใช้ได้ โดยกระเป๋าบางประเภททำจากผ้าชนิดกันน้ำ ก็จะยิ่งมีประโยชน์ในการลุยไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่อาจมีฝนตก ทำให้น้ำไม่ซึมเข้าสู่ด้านในของกระเป๋าได้


21 มิ.ย. 61 โดย sanook.com

190
“บิ๊กฉัตร” ฝาก รพ.ชายแดน วางระบบการทำงาน เน้นความเข้มแข็ง รพ.สต. อสม. บูรณาการระดับอำเภอ ชู “รพ.สวนผึ้ง” จ.ราชบุรี สร้างรั้วแข็งแรง ใช้ อสม.- อสต. ช่วยดูแลป้องกันโรคระบาดตามแนวชายแดน


วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่ รพ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโรงพยาบาลพื้นที่ชายแดน ว่า การดูแลสุขภาพประชาชนมีความซับซ้อน ยิ่งเป็นโรงพยาบาลพื้นที่ชายแดนยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะต้องดูแลทั้งประชาชนในพื้นที่และประชากรเพื่อนบ้านที่ข้ามแดนมา เพื่อป้องกันโรคที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย ซึ่งในเรื่องของงบประมาณและกำลังคนยอมรับว่ายังมีปัญหาไม่เพียงพอ โดยไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะโรงพยาบาลชายแดน แต่เป็นทั้งประเทศ อย่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้รับงบประมาณติด 5 อันดับของประเทศ แต่ก็ยังต้องของบประมาณกลางปีเพิ่มอีกกว่าหมื่นล้านบาท เนื่องจากงบประมาณในการดูแลประชาชนไม่เพียงพอ สำหรับการมาตรวจเยี่ยม รพ.สวนผึ้ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชายแดนติดกับประเทศพม่า ก็พบว่า มีการวางแผนและระบบในการดูแลที่ชัดเจนทั้งประชาชนในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องของการสร้างรั้วให้แข็งแรง คือ ให้ความรู้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองได้ และวางระบบในการดูแลประชากรที่ข้ามแดนเข้ามา


“โรคที่มาพร้อมกับประชากรข้ามแดนเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะช่องทางที่เข้ามาไม่ได้มีแค่ช่องทางถาวร แต่ยังมีพรมแดนตามธรรมชาติจำนวนมากที่สามารถเข้ามาได้ตลอด รพ.สวนผึ้ง จึงวางระบบโดยมีทั้งประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ดูแล เพื่อให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ทำให้สามารถป้องกันโรคที่จะระบาดได้ ส่วนปัญหาเรื่องการเก็บเงินจากผู้ป่วยข้ามแดนไม่ได้นั้นก็ยังมีปัญหา แต่ก็เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนที่จะต้องดูแล” พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว


พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ที่อยากแนะนำคือ จะต้องมีการวางระบบ เพราะหากทำงานกันอย่างทื่อๆ จะไม่ประสบความสำเร็จ โดยจะต้องเพิ่มความเข้มแข็งของ รพ.สต. อสม. และบูรณาการทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะในระดับอำเภอ เพราะเรื่องสุขภาพไม่สามารถดูแลด้วย สธ.เพียงหน่วยงานเดียวได้ จำเป็นต้องมีการบูรณาการกัน อย่างเรื่องผู้สูงอายุ ก็มีหลายหน่วยงานที่เกีย่วข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นต้น

เผยแพร่: 22 มิ.ย. 2561   โดย: MGR Online

191
สธ. เตรียมขยายคลินิก “โรคหืด - โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง” สู่บริการปฐมภูมิ รพ.สต. ให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการใกล้บ้านยิ่งขึ้น ลดอัตราการกำเริบรุนแรงและนอนรักษาในโรงพยาบาล หลังสร้างเครือข่ายคลินิกโรคปอดฯ ใน รพ. แล้วกว่า 1,415 แห่ง


วันนี้ (23 มิ.ย.) นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขอยู่ในลำดับต้นๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย มักมีอาการหอบรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินและนอนรักษาในโรงพยาบาล จากสถิติ - สาธารณสุข ปี 2558 มีผู้ป่วยโรคหืดนอนรักษาในโรงพยาบาล 115,577 คน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 249,742 คน โดยไทยพบผู้ป่วยโรคหืดประมาณร้อยละ 7 ของประชากร และพบผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอีกจำนวน 1.5 ล้านคน  คาดว่า ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ 5 ป่วยเป็นโรคนี้ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประมาณการว่า ในปี ค.ศ. 2020  หรือ พ.ศ. 2563  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของประชากรโลก


นพ.มรุต กล่าวว่า สธ. ได้กำหนดให้โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD & Asthma) เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดบริการความเป็นเลิศด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Service Excellence NCDs) มุ่งเน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวมในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพ โดย 14 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่ายในโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ ปัจจุบัน สธ. มีโรงพยาบาลเครือข่ายที่มีคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่ายแล้ว 1,415 แห่ง ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการกำเริบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลให้ในปี 2554 - 2557 จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาและนอนในโรงพยาบาลลดลงกว่าร้อยละ 23 อย่างไรก็ดี แนวโน้มในปี 2558 - 2560 พบอัตราการกำเริบเฉียบพลันของโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10  ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย โดยในอนาคตอันใกล้นี้ จะส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขหรือสมาชิกเครือข่ายที่ทำคลินิกได้มาตรฐานแล้วขยายรูปแบบและแนวทางการรักษาไปสู่ระบบบริการปฐมภูมิหรือ PCC (Primary Care Custer) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาที่ใกล้บ้านมากยิ่งขึ้น


ทั้งนี้ คลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย เป็นคลินิกที่ง่ายต่อการประเมิน ง่ายต่อการรักษาและได้คุณภาพ ถึงจะไม่มีแพทย์เฉพาะทางก็สามารถทำได้โดยแพทย์ทั่วไป และผู้ที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานคลินิกฯ  โดยใช้การประเมินโดยซักถามประวัติอาการของโรค วัดค่าลมจากปอดโดยเครื่องวัดรักษาผู้ป่วยตามแนวทางการรักษาอย่างง่ายที่กำหนด นัดติดตามอาการสม่ำเสมอ สอนเทคนิคการใช้ยาพ่นที่ถูกวิธี ให้ความรู้เรื่องโรคหอบ การประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เป็นต้น




เผยแพร่ 25 มิ.ย. 2561  โดย: MGR Online





192
สปสช. คาด โอนงบกลางปี 4.1 พันล้านบาท สำหรับผู้ป่วยใน “สิทธิบัตรทอง” ให้ รพ. แล้วเสร็จในสิ้น มิ.ย. นี้ ชี้ รัฐบาลเพิ่มเงินช่วย รพ. มีสภาพคล่องดีขึ้น

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 อนุมัติงบกลาง ปี 2561 จำนวน 4,186.13 ล้านบาท สำหรับบริการผู้ป่วยในในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพิ่มเติมนั้น ในส่วนการดำเนินงานของ สปสช. ภายใต้มติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการโอนเงินให้โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการผู้ป่วยใน คาดว่า ภายในสิ้นเดือนมิ.ย. 2561 นี้จะดำเนินการแล้วเสร็จ



“ผลจากการที่รัฐบาลอนุมัติงบกลางให้นี้ จะช่วยทำให้อัตราจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมก่อนที่จะได้รับงบกลางอยู่ที่ประมาณ 7,500 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ หรือ RW ซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งบอกว่าไม่เพียงพอ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานบอร์ด สปสช. ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ได้รับทราบสถานการณ์ปัญหา จึงเป็นที่มาของการของบกลางปีเพิ่ม ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ สนับสนุนเต็มที่ และท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อนุมัติเพิ่มให้ ซึ่งจะทำให้การจัดสรรเงินสำหรับบริการผู้ป่วยในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะอยู่ที่ 8,000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์หรือ RW ซึ่งเป็นตัวเลขที่เหมาะสม ไม่กระทบกับสภาพคล่องของโรงพยาบาล และหากสิ้นปีงบประมาณมีเงินค่าบริการผู้ป่วยในคงเหลือก็จะโอนคืนให้โรงพยาบาลทั้งหมด ก็จะทำให้ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์หรือ RW เพิ่มขึ้นอีกด้วย” เลขาธิการ สปสช. กล่าว




เผยแพร่:  25 มิ.ย. 2561   โดย: MGR Online

193
ใครที่เป็นโลหิตจาง นอกจากจะไม่แข็งแรง เหนื่อยง่าย หน้ามืด วิงเวียนศีรษะง่ายแล้ว ยังบริจาคเลือดไม่ได้ด้วยนะ เพราะฉะนั้นเรามาบำรุงร่างกายของเราให้แข็งแรง ด้วยอาหารดีๆ ที่จะช่วยบำรุงเลือดของเราให้เข้มข้นขึ้น ป้องกันภาวะโลหิตจางกันดีกว่า

 

5 อาหารบำรุงเลือด ป้องกันเลือดจาง

    1.เลือดสัตว์ ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆ

อาหารเหล่านี้จะมีธาตุเหล็กอยู่มาก ซึ่งเจ้าธาตุเหล็กนี่แหละที่จะช่วยบำรุงโลหิต และธาตุเหล็กที่มาจากสัตว์ ลำไส้จะดูดซึมไปใช้ได้มากกว่าธาตุเหล็กที่มาจากพืชอีกด้วย ดังนั้นทานเข้าไปเสียบ้างนะ (จากประสบการณ์ตรง เราเป็นคนที่ “เกือบ” จะอยู่ในภาวะโลหิตจางจนบริจาคเลือดไม่ได้ ระดับความเข้มข้นของเลือดคือคาบเส้นพอดี พี่หมอแนะนำให้ทานต้มเลือดหมูให้บ่อยขึ้นค่ะ)

 

    2.ผักใบเขียวเข้ม

อีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ทานมังสวิรัติ แม้ว่าธาตุเหล็กที่ได้จากพืชจะไม่มากเท่าจากสัตว์ แต่ก็ควรทานก่อนที่จะอยู่ในภาวะขาดธาตุเหล็ก ผักที่แนะนำได้แก่ คะน้า บล็อกโคลี่ ผักบุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม

เคล็ดลับ เมื่อร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชไปใช้ได้น้อย เราจึงควรทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงควบคู่ไปด้วย เพื่ออาศัยกรดเกลือในกระเพาะอาหาร และวิตามินซีช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ อาหารที่มีวิตามินซี สูง ส้ม มะละกอ ฝรั่ง มะนาว เป็นต้น

 

    3.ไข่

เป็นอีกหนึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ส่วนใหญ่คือโปรตีน แต่ก็ยังมีปริมาณของธาตุเหล็กที่จะช่วยบำรุงโลหิตของเราให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะไข่แดงจะมีธาตุเหล็กสูงกว่าไข่ขาว

 

    4.ธัญพืชต่างๆ

ถั่วชนิดต่างๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วดำ อัลมอนด์ รวมไปถึงข้าวโอ๊ต และจมูกข้าวสาลี ก็เป็นแหล่งอาหารที่นอกจากจะมีโปรตีนที่ดีต่อการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และบำรุงโลหิตอีกด้วย

 

    5.อาหารทะเล

อาหารทะเลอย่างปลา กุ้ง ปลาหมึก ปู อุดมไปด้วยโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ มากมาย รวมไปถึงธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงโลหิตอีกด้วย แต่อย่าทานมากเกินไป เพราะอาหารทะเลที่อร่อยสุดๆ มักมาพร้อมกับปริมาณแคลอรี่ และคอเลสเตอรอลที่มากตามไปด้วย

 

นอกจากอาหารแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโลหิตจาง ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย จะได้ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู สร้างเม็ดเลือดแดงดีๆ ไว้บำรุงร่างกายให้แข็งแรงไปด้วยกัน คราวนี้ก็จะไม่เหนื่อย หน้ามืด หรือเป็นลมเป็นแล้งง่ายอีกแล้วล่ะค่ะ




18 มิ.ย 61  ขอขอบคุณ  ข้อมูล :หมอชาวบ้าน,Honest Docs

194
ไม่ว่าจะป็นวงการความสวยความงามของผู้หญิง หรือวงการกีฬา ยาสเตียรอยด์ก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบมาเป็นประเด็นกันอยู่เรื่อยๆ ถึงความอันตรายของมัน ยาสเตียรอยด์อันตรายจริงหรือ แล้วใช้อย่างไรถึงจะไม่เกิดอันตราย Sanook! Health หาคำตอบมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

 

สเตียรอยด์คืออะไร?

สเตียรอยด์ เป็นชื่อเรียกโดยย่อของกลุ่มยาที่มีชื่อเต็มว่า corticosteroid ยา กลุ่มนี้มีฤทธิ์และข้อบ่งใช้มากมาย สามารถใช้ในโรคหรือภาวะต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

 

สเตียรอยด์มีกี่ประเภท?


ยากลุ่มสเตียรอยด์สามารถแบ่งตามรูปแบบของการใช้ยาได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่


1. สเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก สามารถแบ่งตามรูปแบบของยาและตัวอย่างของโรคที่ใช้ได้ ดังนี้

     - ยาทา (ทั้งในรูปครีม โลชัน ขึ้ผึ้ง) สำหรับรักษาผื่นแพ้ ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน

     - ยาหยอดตา ยาป้ายตา ยาหยอดหู สำหรับรักษาภูมิแพ้หรืออักเสบที่ตาและหู

     - ยาพ่นจมูก สำหรับรักษาโรคภูมิแพ้ที่มีอาการทางจมูก ริดสีดวงจมูก

     - ยาพ่นคอ สำหรับรักษาโรคหืด ภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการหอบ

 

2. สเตียรอยด์ประเภทกินและฉีด


การรักษาโรคหรือภาวะบางอย่าง จำเป็นต้องใช้ยากินหรือยาฉีดเท่านั้น เช่น อาการแพ้บางชนิด โรคหืดชนิดรุนแรง โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน ผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เป็นต้น

 

สเตียรอยด์กับนักกีฬา


ที่นักกีฬามักแอบใช้สารสเตียรอยด์ เพราะสเตียรอยด์ช่วยเบิร์นไขมัน เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้โตเร็วขึ้น และช่วยฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อให้หายจากอาการบาดเจ็บได้ ดังนั้นในกรณีที่แพทย์สั่งยาให้นักกีฬา เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ จึงอาจเป็นไปได้ที่ยาเหล่านั้นอาจมีสเตียรอยด์ผสมอยู่ด้วย แต่สเตียรอยด์เป็นสารต้องห้ามสำหรับนักกีฬา เพื่อป้องกันนักกีฬาโด๊ปร่างกายโดยใช่เหตุ และตัวสเตียรอยด์เองก็เป็นสารอันตรายที่ต้องแพทย์ต้องเป็นผู้สั่งให้เท่านั้น ดังนั้นหากนักกีฬาถูกจับได้ว่าใช้สารกระตุ้นอย่างผิดกฎหมาย ก็จะถูกทำโทษโดยการแบน ไม่ให้ลงแข่งขันเป็นระยะเวลาหนึ่ง

 

อันตรายจากการใช้ยาสเตียรอยด์

ถ้ากินหรือฉีดยาสเตียรอยด์ในขนาดน้อยๆ เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ มักไม่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง แต่ถ้ากินหรือฉีดต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียที่รุนแรงหลายประการด้วยกัน ได้แก่ติดเชื้อโรค (ยากดการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย) เป็นเบาหวาน (ยาทำให้น้ำตาลในเลือดสูง)บวมและความดันโลหิตสูง (ยาทำให้ขับน้ำลดลง แต่เพิ่มการสะสมไขมันที่หน้า หลังและท้อง) กระดูกพรุน (ยารบกวนสมดุลการสร้างกระดูก) รวมทั้งเป็นแผลในทางเดินอาหาร ผิวหนังเหี่ยวย่นและบาง ตาเป็นต้อ การทำงานของต่อมหมวกไตผิดปกติ รบกวนการเจริญเติบโตในเด็ก เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมียาสมุนไพรบางชนิดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย. ที่แอบใส่สารสเตียรอยด์ เพื่อให้ผลการรักษาที่ดีตามสรรพคุณที่โฆษณาไว้ ทำให้เราอาจได้รับสเตียรอยด์โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย. ตรวจส่วนผสมของยาก่อนทาน และควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทานยาทุกครั้ง

 

ทราบอย่างนี้แล้ว ควรระวังสเตียรอยด์ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทา หยอด พ่น หรือฉีด ควรใช้เมื่อแพทย์เป็นผู้สั่งให้เท่านั้นค่ะ








19 มิ.ย. 61  sanook.com

195
หมอแนะ 8 วิธีดูแลร่างกาย ผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อเอชไอวี ชี้หากดูแลไม่ดี ทำอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิต รวมถึงแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้


นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี จะมีภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอ ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อต่างๆ รวมถึงเชื้อวัณโรคได้ง่าย หากผู้ป่วยวัณโรคมีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย จะทำให้เชื้อวัณโรคมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นกว่าปกติ คือ มีไข้ยาวนานกว่าปกติ น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า การแพร่กระจายของวัณโรคปอดไปยังอวัยวะอื่นๆ มากกว่า เช่น เยื่อหุ้มสมอง กระดูก หรือต่อมน้ำเหลือง ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก นอกจากนี้ อาจเกิดอาการข้างเคียงจากยาที่รักษาวัณโรค เช่น การแพ้ยา ภาวะดื้อยา และอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้น หากพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคปอด แพทย์จะแนะนำให้ตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป


พญ.วิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษาวัณโรคในปัจจุบันจะให้การรักษาระยะสั้นประมาณ 6 เดือน หากผู้ป่วยได้รับการรักษาจนครบกำหนดและไม่ดื้อยา พบว่า มีโอกาสหายขาดมากกว่าร้อยละ 95 แต่ปัญหาที่พบคือ ผู้ป่วยที่แพ้ยาง่ายและไม่มารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน และการรักษาขาดความต่อเนื่อง ส่วนการรักษาเชื้อไวรัสเอชไอวีไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การให้ยาต้านไวรัส เพื่อชะลอความเสียหายที่จะเกิดกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจึงควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำต่างๆอย่างเคร่งครัด ดังนี้


1. รับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และสังเกตผลข้างเคียงที่เกิดจากการรับประทานยารักษาวัณโรค
2. รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และพักผ่อนให้เพียงพอ
3. ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่นเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ จนกว่าอาการไอจะลดลงหรือหายไป
4. ปิดปาก จมูก เวลาไอ จาม และบ้วนเสมหะในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
5. สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
6. งดบริจาคเลือดและอวัยวะต่างๆ
7. งดสิ่งเสพติดทุกชนิด
8. ควรพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง





 18 มิ.ย. 2561   โดย: MGR Online

หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 19