ผู้เขียน หัวข้อ: ศิริราชทุ่ม 12 ล้าน ซื้อเครื่องตรวจอีโบลาเครื่องแรกในไทย  (อ่าน 551 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9784
    • ดูรายละเอียด
ศิริราชเผยสั่งซื้อเครื่องตรวจหาเชื้อไวรัสอีโบลาราคา 12 ล้านบาท เข้าประเทศไทยเป็นเครื่องแรก ชี้เป็นเครื่องระบบปิด มีความปลอดภัยสูง เผยเริ่มมีจำหน่ายในต่างประเทศแล้ว สำหรับประเทศที่ยังไม่มีแล็บนิรภัยระดับ 4 คาดถึงไทยสิ้น พ.ย.นี้ ย้ำล้างมือช่วยป้องกันติดเชื้อในโรงพยาบาล

        วันนี้ (13 พ.ย.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา รพ.ศิริราช ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการวันป้องกันโรคติดเชื้อศิริราช 2557 Siriraj IC Days 2014 “ทัศนะในการควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 พ.ย.นี้ เพื่ออบรมบุคลากรภายในและบุคคลภายนอก ในการป้องกันโรคติดเชื้อ และโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมวิชาการประจำปี เพื่อช่วยสร้างเสริมศักยภาพให้บุคลากรของโรงพยาบาล รวมถึงบุคคลภายนอก ให้เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะภายในโรงพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียเกือบทั้งหมด ขณะที่ไวรัสมักจะเกิดการติดเชื้อภายนอกโรงพยาบาล สาเหตุหนึ่งมาจากการสัมผัสผู้ป่วยแล้วไม่ได้ล้างมือ ทำให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนอื่น ทั้งเจ้าหน้าที่ภายในโรงพยาบาลที่สัมผัสผู้ป่วยคนหนึ่งแล้วไม่ล้างมือ และไปสัมผัสผู้ป่วยอีกคนก็อาจทำให้ผู้ป่วยคนนั้นติดเชื้อได้ หรือบุคคลภายนอกที่มาเยี่ยมผู้ป่วย เมื่อสัมผัสผู้ป่วยแล้วไม่ล้างมือ และมีการไปสัมผัสบุคคลภายนอกต่อ ก็อาจทำให้บุคคลนั้นได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายด้วย
       
        ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าวว่า การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อนั้นสามารถทำได้ด้วยการล้างมือตามหลัก 6 ขั้นตอน คือ 1. ฝ่ามือถูฝ่ามือพ่วงซอกนิ้วมือ 2. ฝ่ามือถูหลังมือพ่วงซอกนิ้วมือ 3. ถูหลังข้อนิ้วมือ 4. ถูนิ้วหัวแม่มือ 5. ปลายนิ้วมือถูเส้นลายมือ และ 6. ถูรอบข้อมือ โดยจะต้องล้างเช่นนี้ทั้งสองมือ ก็จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยไปยังคนอื่นได้
       
        ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าวอีกว่า สำหรับโรคติดเชื้อที่สำคัญในขณะนี้ และกำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลกคือ เชื้อไวรัสอีโบลา คาดว่าจะมีการแพร่ระบาดมากกว่า 1 ปี และจำนวนผู้ติดเชื้อมาก จากการติดต่อไร้พรมแดนและการเดินทางที่รวดเร็ว โดยขณะนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อกว่าร้อยละ 7 แล้ว อย่างไรก็ตาม แอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาที่ศิริราชคิดค้นขึ้นก็ถือเป็นความหวังที่จะนำมาช่วยรักษา โดยวันที่ 16 พ.ย.นี้ ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา หัวหน้าทีมผู้ผลิตแอนติบอดี รักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลา ศ.ดร.รวงผึ้ง สุทเธนทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย และนักวิจัย จะนำแอนติบอดีดังกล่าวที่คิดค้นได้ ขนาด 25 kda จำนวน 5 โคลนนิ่ง ไปทดสอบที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ กับเชื้อไวรัสอีโบลาจริง ในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ว่าจะสามารถยับยั้งโปรตีนของเชื้ออีโบลาได้หรือไม่ คาดทราบผลสิ้น พ.ย.นี้ หากประสบความสำเร็จก็จะลัดขั้นตอนการทดลองในสัตว์และในคน นำไปใช้รักษาผู้ป่วยในประเทศระบาดที่ทวีปแอฟริกาทันที
       
        “จากการที่คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติจะเพิ่มห้องปฏิบัติการในการตรวจเชื้อไวรัสอีโบลาอีก 6 แห่ง หนึ่งในนั้นมีศิริราชด้วยนั้น ขณะนี้ศิริราชได้เตรียมความพร้อมโดยสั่งซื้อเครื่องตรวจหาเชื้อไวรัสอีโบลาซึ่งเริ่มมีจำหน่ายแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 เครื่องดังกล่าวมีลักษณะเป็นระบบปิด ทำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยเครื่องตรวจเชื้อไวรัสอีโบลาเครื่องนี้จะเป็นเครื่องแรกที่นำเข้ามาในประเทศไทย โดยเพียงนำเลือดมาตรวจก็สามารถรู้ผลทันที มีราคา 12 ล้านบาท คาดว่าจะมาถึงสิ้นเดือน พ.ย.นี้” ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 พฤศจิกายน 2557