ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดหน้ากาก....ใคร???...ตอนที่ ๓  (อ่าน 2546 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
เปิดหน้ากาก....ใคร???...ตอนที่ ๓
« เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2012, 10:35:15 »


  ในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงรายชื่อผู้ที่เป็นกรรมการและอนุกรรมการบอร์ด สปสช. ที่ต่างก็เป็นกันคนละหลายคณะ และได้รับเบี้ยเลี้ยงการประชุมอย่างมากมายมหาศาล บางคนอาจจะได้รับเงินตอบแทนเหล่านี้เดือนละหลายแสนบาท เพราะขยันจัดประชุมบ่อยๆ และได้กำหนดค่าเบี้ยประชุมสูงกว่ามติ ครม.ตามที่ สตง.ชี้ประเด็นไว้แล้ว

   มีผู้อ่านบางคนถามว่า รายชื่อกรรมการและอนุกรรมการบางคนไม่เห็นจะเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทเลย ที่ผู้เขียนเอามารวมไว้ด้วยก็เพราะว่า เราจะเห็นชื่อของคนเหล่านี้ออกมา “โจมตีหรือกล่าวหา” ว่า มีคนจ้องจะล้มหลักประกันสุขภาพ ในขณะที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สปสช.ชุดใหม่ ที่ไม่มีรายชื่อของกลุ่ม “บอร์ดเดิมๆ” ที่พวกเขาต้องการให้มาเป็นบอร์ดอีก
เริ่มจากการแถลงข่าวของกลุ่มเอ็นจีโอ ได้แก่นายนิมิตร เทียนอุดม และน.ส. บุญยืน ศิริธรรม กรรมการบอร์ดชุดใหม่ในกลุ่ม “ตัวแทนองค์กรเอกชน” ได้ออกมาแถลงข่าวว่า การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ไม่เหมาะสม ไม่โปร่งใส คนที่ได้รับเลือกไม่มีคุณสมบัติตามตำแหน่งและได้เสนอว่า ผู้ที่สมควรจะเป็นกรรมการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิการแพทย์แผนไทย คือ ผศ.สำลี ใจดี ซึ่งเคยเป็นกรรมการในบอร์ดชุดที่ผ่านมา

   เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองการเรียกร้องนี้ กรรมการบอร์ดในกลุ่มนี้ก็ได้ “ประท้วง”การแต่งตั้งนี้  โดยการไม่เข้าประชุมบอร์ด 2 เดือนติดต่อกัน และเมื่อมีการแต่งตั้ง นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์มาเป็นกรรมการบอร์ด ก็มีกรรมการบอร์ดในกลุ่มผู้แทนองค์กรเอกชนคือ นางสุนทรี เซ่งกี่ และน.ส.บุญยืน ศิริธรรม ไปยื่นฟ้องศาลปกครอง กล่าหาว่าการสรรหาและแต่งตั้งนพ.ประดิษฐ์  สินธวณรงค์นั้นไม่ถูกต้อง/เหมาะสม

   ในเวลาไล่เลี่ยกัน กลุ่มNGO สาธารณสุขก็ได้จัดประชุมและออกแถลงการณ์ ว่าพวกตนได้รวมกันจัดตั้ง “กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ” โดยมีนายจอน อึ้งภากรณ์ เป็นประธานกลุ่ม โดยความร่วมมือของหลายองค์กร อาทิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ผอ.ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่ม
ซึ่งรายชื่อแกนนำคนรักหลักประกันสุขภาพเหล่านี้ ก็คือบรรดาผู้ที่เคยเป็นกรรมการบอร์ดในนามกลุ่มผู้แทนองค์กรเอกชนในองค์กรเหล่านี้ทั้งสิ้น

http://news.thaipbs.or.th/video/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000002767

  ผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า แล้วทำไมจึงไม่มีการทักท้วงรายชื่อของกรรมการบอร์ดฟากที่มาจาก “องค์กรเอกชนบ้าง?   

  ถ้ามาเปิดดูวิธีการเลือกกรรมการหลักประกันฯหรือบอร์ดจากฝ่ายเอกชนจะเห็นได้ว่า องค์กรเอกชนที่จะมีสิทธิ์ส่งรายชื่อบุคคลเข้ามาเป็นกรรมการนั้น จะต้องเป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมมาไม่น้อยกว่า 1 ปี และได้มาขึ้นทะเบียนกับ สปสช.ก่อนครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่มีเหตุให้มีการคัดเลือกกรรมการ  และถ้าองค์กรใดดำเนินกิจกรรมหลายกลุ่ม ให้ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิคัดเลือกเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

  ซึ่งจะเห็นได้ว่า เหตุใดจึงมีองค์กรเอกชนด้านเอดส์มากมายหลายองค์กร เช่น เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์  หรือองค์กรเอกชนในนามกลุ่มผู้ป่วยโรคไต มะเร็ง ธาลัสซีเมีย และผู้ป่วยกลุมโน้นกลุ่มนี้มากมาย

   ตอนนี้ก็คงจะถึงบางอ้อแล้วว่า ก็เพื่อเตรียมส่งคนไปลงคัดเลือกเป็นกรรมการบอร์ดในนามองค์กรเอกชนนี่เอง และการคัดเลือกกรรมการในส่วนองค์กรเอกชนคราวนี้ ก็เกิดขึ้นในขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ ยังเป็นรมว.สธ.ซึ่งยังไม่ต้องรีบร้อนเลือกก็ได้ เพราะตาม ม.15 วรรค 2 ได้กำหนดไว้ว่า สามารถชะลอการเลือกตั้งกรรมการหลังจากกรรมการชุดเดิมหมดหน้าที่ไปแล้ว 90 วัน

   แต่ทำไมต้องรีบคัดเลือกกรรมการจากกลุ่มองค์กรเอกชน? ผู้อ่านก็คงจะรู้คำตอบแล้วว่า เพราะนายจุรินทร์ฯเป็นรัฐมนตรีที่มีความเห็นเหมือนองค์กรเอกชนเป็นเนื้อเดียวกันอยู่แล้ว (ซึ่งการกล่าวเช่นนี้มีประจักษ์พยานให้เห็นตลอดมาในขณะที่นายจุรินทร์เป็น รมว.สธ.และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ. นายจุรินทร์ก็ไปเสวนาเรื่องบัตรทองที่สมาคมนักข่าว ในทำนองสนับสนุนชมรมแพทย์ชนบท

   โดยที่ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะมีกรรมการทั้งหมด 30 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง9 คน กรรมการจากเทศบาล อบต. อบจ.และองคต์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นรวมแล้ว 4 คนกรรมการจากองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร 5 คน กรรมการจากผู้ประกอบอาชีพด้านสาธารณสุข 5 คน  และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7 คน

  ซึ่งกรรมการในกลุ่มผู้แทนองค์กรเอกชนนี้ มีความสัมพันธ์ในทาง “กัลยาณมิตร” กับ สปสช.เนื่องจากต้องไปลงทะเบียนกับ สปสช. และเลือกกัน “ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”

 ส่วนผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชนนั้น ก็ถูกกำหนดไว้แล้วในม.13(5) คือมีสิทธิเข้ามาเป็นกรรมการได้ 1 คน

 ส่วนผู้เป็นกรรมการตามตำแหน่งนั้น ก็คงจะไม่เข้าใจการทำงานของสปสช.อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากมีการ “ส่งตัวแทน” สลับกันมาประชุม จึงไม่ได้ติดตามงานของสปสช.อย่างต่อเนื่อง

  มีอดีตกรรมการตามตำแหน่งที่เคยเข้าประชุม ได้เคยเล่าว่าเมื่อตนได้ทักท้วงเรื่องการใช้งบประมาณที่ไม่เหมาะสม ก็จะถูก สปสช. มองว่า “เป็นแกะดำ” ในหมู่กรรมการ

   ส่วนการบริหารจัดการ “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” นั้นกำหนดไว้ว่า ให้ทำ”ตามมติกรรมการ” นั่นคือกรรมการทุกคนและประธานกรรมการต่างก็มีคนละ 1 เสียงเท่ากัน

   ฉะนั้น ถ้าเลขาธิการ สปสช.(หรือผู้สามารถ”สั่งการ”เลขาธิการ สปสชได้.) มีเสียงสนับสุนจากกรรมการกลุ่มผู้แทนองค์กรเอกชน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7 คน แล้ว รวมกับคะแนนเสียงจากรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง และกรรมการโดยตำแหน่งอีกไม่กี่คน ก็นับได้ว่ามีเสียงเกินครึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และสามารถ “กุมอำนาจการบริหารกองทุนและการบริหารสปสช.ไว้ในมือแล้ว”

 หมายเหตุ เท่าที่ผู้เขียนเฝ้าสังเกตการณ์มาหลายสิบปี พบว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมักอยู่ในโอวาทของรัฐมนตรี เนื่องจากกลัวจะหลุดจากเก้าอี้

  จึงไม่น่าแปลกใจที่ กลุ่มกรรมการชุดเดิมจะเรียงหน้ากันออกมาโจมตีว่านักการเมืองและรพ.เอกชนจ้องจะล้มบัตรทอง เพราะส่งคนของรัฐมนตรีและรพ.เอกชนมาเป็นกรรมการ สปสช. ทั้งๆที่ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ก็เข้ามาตามบทบัญญัติของม.13(5) เพียง 1 คน เท่านั้น และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็เป็นคนของรัฐมนตรีจริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ (เพราะรัฐมนตรีไม่เคยแถลงว่าใช่หรือไม่ใช่)
 
 ผู้อ่านไม่สงสัยหรือว่า แล้วอยู่ๆทำไม นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ผู้เคยเป็นกรรมการในนามผู้ทรงคุณวุฒิมาแล้ว 2 สมัย จึงเปลี่ยนร่างทรงมาเป็นกรรมการในนามผู้แทนองค์กรเอกชน?

  ใครอยากทราบก็คงต้องไปถาม นพ.วิชัยฯเอาเอง เพราะยังไม่มีใครตรวจสอบความถูกต้อง/เหมาะสมในเรื่องนี้

 แต่ถ้ามาดูการตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการจากกลุ่มองค์กรเอกชนในกรรมการชุดที่แล้วมา  ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นคนของฝ่ายของรัฐมนตรี(นพ.มงคล ณ สงขลา) และกลุ่มชมรมแพทย์ชนบท และเครือข่ายองค์กรเอกชน ที่คงสนิทแนบแน่นกับสปสช. เพราะองค์กรเอกชนเหล่านี้ต้องไปขึ้นทะเบียนกับ สปสช. และรู้การกำหนดคัดเลือกและวิธีการคัดเลือกเป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่า กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท สามารถ”กุมอำนาจการบริหารกองทุนและ สปสช.มาได้อย่างยาวนานถึง 10 ปี

   พอมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคนที่มาเป็นบอร์ด  ในกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ได้มาจากกลุ่มพวกตน  ก็ทำให้คนดังที่เห็นในข่าว ออกมาโจมตีการตั้งกรรมการและเลยเถิดต่อไปอีกว่ามีกลุ่มคนต้องการล้มหลักประกันสุขภาพ พร้อมทั้งอธิบายว่ามีขั้นตอนที่จะล้มหลักประกันสุขภาพอยู่ 4 ขั้นตอน และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพยังได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเก็บเงิน 30 บาท และอีกหลายๆประเด็น รวมทั้งได้มีการจัดตั้งกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพในอีกหลายๆภาคไม่ว่าอีสาน ใต้ ตะวันตก

http://www.dailynews.co.th/thailand/9662 กลุ่มคนอีสานรักหลักประกันสุขภาพ เคลื่อนไหวค้านการเก็บ 30 บาท
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328677470&grpid=&catid=19&subcatid=1904  กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพภาคตะวันตก

 โดยกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วยโรคไต มะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ได้เข้ายื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี  เพื่อขอให้รัฐบาลทบทวนนโยบายที่จะเรียกเก็บ 30 บาท การดำเนินการให้ระบบสุขภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้ผลักดันให้สภาพิจารณา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข http://www.newsplus.co.th/NewsDetailMobile.php?id=36431
 
ซึ่งข้อความในการแถลงการณ์ หรือข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี มีเนื้อหาที่เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องหรือเป็นไปในทางเดียวกันกับกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีแถมเรื่องการผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ่วงเข้าไปอีก 1 เรื่อง

 กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท ที่มีชื่อให้ข่าวสื่อมวลชนก็คือ นพ.เกรียงศักดิ์ วิชระนุกูลเกียรติ นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท  ออกมาให้ความเห็นสอดประสานในเรื่องเดียวกันโดยต่อมาไม่นาน ประธานชมรมแพทย์ชนบท คือ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ก็ได้ออกมาสนับสนุนความเห็นของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพว่ามีจริง http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=470515&ch=gn1

ชมรมแพทย์ชนบทได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1
http://phanomgon.blogspot.com/2012/01/pantipcom-l11565896-4.html

แถลงการณ์ฉบับที่ 2  http://www.thaireform.in.th/multi-dimensional-reform/2011-12-08-05-21-57/item/7023-2012-01-26-10-39-11.html
   
และแถลงการฉบับที่ 3
http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9550000014141

  ยังมีเหตุการณ์ที่ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม และนางสุนทรี เซ่งกิ่ง กรรมการบอร์ดสปสช.จากตัวแทนองค์กรเอกชน ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนมติการสรรหาและการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของบอร์ดสปสช.ทั้ง 7 คนว่าไม่ได้ดำเนินการโดยสุจริตและโปร่งใสและมีความต้องการของคนกลุ่มนี้ที่ต้องการจะเปลี่ยนตัวคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างต่อเนื่อง

  หลังจากนั้น ก็มีกลุ่มประชาชนเครือข่ายโรคไตได้ออกมาให้ข้อมูลว่า พวกตนเกรงว่าบอร์ดใหม่จะทำให้พวกผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเหมือนเดิม

   ประกอบกับมีสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจในข้อมูลเหล่านี้ ได้จัดรายการทาง voice tv, spring news และรายการคม ชัด ลึก ของเนชั่นทีวี หรือรายการ “ตอบโจทก์”ทางโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ต่างก็จัดรายการเรื่องที่ประชาชนเกรงว่าจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการรักษาเหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคไต หรือจัดรายการว่าจะล้มบัตรทอง ตามการกล่าวหาของกลุ่มชมรมแพทย์ชนบท และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ การให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ คม ชัด ลึก ของ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ (phone in) ที่ให้ความเห็นเช่นเดียวกันในเรื่องของการที่มีกลุ่มคนจะล้มหลักประกันสุขภาพ

   จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท กลุ่มผู้แทนองค์กรเอกชนต่างๆรวมทั้งผู้ป่วยหลายกลุ่ม และหลายพื้นที่ ทำไมจึงออกมากล่าวหาว่าจะมีการล้มบัตรทอง เนื่องจากเปลี่ยนคณะกรรมการบอร์ดใหม่  ที่ไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มบอร์ดเดิม ทั้งๆที่กรรมการบอร์ดชุดนี้ยังไม่ได้เริ่มทำงานพิจารณาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์หรือสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยแต่อย่างใดทั้งสิ้น

   อนึ่งการเปลี่ยนกรรมการครั้งนี้ ก็เป็นไปตามวาระ  และเป็นที่น่าสงสัยว่า นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เคยเป็นกรรมการบอร์ดทั้งในนามผู้ทรงคุณวุฒิการแพทย์แผนไทย  การแพทย์ทางเลือก ซึ่งครบ 2 วาระแล้ว และในขณะนี้ ก็ได้กลับเข้ามาเป็นกรรมการบอร์ดอีกครั้ง แต่มาในนามของผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้สูงอายุ จึงน่าจะต้องตรวจสอบว่า นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ขาดคุณสมบัติในการที่จะเป็นกรรมการบอร์ดอีกครั้งหรือไม่? อย่างไร?
 
    นอกจากนี้แล้ว สตง.ได้ชี้ประเด็นการบริหารสำนักงานและบริหารกองทุนอย่างไม่ถูกต้องอีก 7 ประเด็น ซึ่งมีข่าวออกมาว่า นายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เคยให้ข่าวว่าจะตั้งกรรมการสอบสวนเลขาธิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว หรือยังไม่ได้ทำอะไร?  และก็เป็นเวลาครบวาระการคัดเลือกเลขาธิการ สปสช.คนใหม่ กลุ่มชมรมแพทย์ชนบทและกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพก็ออกมาให้ข่าวว่ากลุ่มการเมืองกำลังจะ”ฮุบกองทุน”ไปบริหารเองเนื่องจากมีเงินกองทุนเป็นจำนวนมากมายมหาศาลหลายแสนล้านบาท

   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและชมรมแพทย์ชนบท จึงน่าสังเกตว่า เกิดขึ้นเพราะอะไร? เพราะต้องการยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยเกิดความเข้าใจผิดว่า จะมีการลดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์ในระบบบัตรทอง หรือเป็นเพราะคนในชมรมแพทย์ชนบทกำลังหวั่นวิตกว่า กลุ่มตนจะ “หมดอำนาจ” ในการบริหารงบกองทุนหลายแสนล้านบาท และสูญเสียผลประโยชน์ที่เคยมีส่วนได้รับจากการเป็นกรรมการแลอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ถ้ามาดูข้อสังเกตที่ชมรมแพทย์ชนบทออกมาอ้างถึงความไม่เหมาะสมของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็จะเห็นว่าไม่แตกต่างจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดก่อนที่เคยเป็นกรรมการมาแล้ว เช่น

นพ.ไพจิตร ปวบุตร เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่วนในบอร์ดชุดใหม่ ก็มีนพ.จรัล ตฤณวุฒิพงศ์

นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิการแพทย์ทางเลือก(ไม่ทราบว่ามีความรู้การแพทย์ทางเลือกสาขาอะไร?) ส่วนบอร์ดชุดใหม่มีนพ.พินิจ หิรัญโชติ ซึ่งมีความรู้ด้านฝังเข็ม นับว่ามีคุณสมบัติตรงตามตำแหน่ง

นพ.ยุทธ โพธารามิก เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านสังคมศาสตร์ ส่วนบอร์ดชุดใหม่ นพ.อิทธพร คณะเจริญ ก็คงมีคุณสมบัติเป็นแพทย์เหมือนกัน

ผศ.สำลี ใจดี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ไม่ทราบว่าเรียนสำเร็จทางการแพทย์แผนไทยหรือไม่? ส่วนบอร์ดชุดใหม่ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ ก็ไม่ทราบว่ามีความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยหรือไม่

นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านประกันสุขภาพ เปรียบเทียบกับ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ซึ่งก็คงมีความสามารถไม่ต่างกับนพ.สุวิทย์วิบุลผลประเสริฐ เท่าใดนัก

นายเจษฎ์ โทณะวณิก เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย เปรียบเทียบกับบอร์ดชุดปัจจุบันคือนายเสงี่ยม บุญจันทร์ ซึ่งก็เป็นทนายความ

ส่วนกรรมการจากฝ่ายผู้แทนองค์กรเอกชน ชุดที่แล้วมีนางยุพดี สิริสินสุข มีวิชาชีพเภสัชกร แต่มาเป็นกรรมการในนามผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร ก็ไม่ทราบว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นผู้แทนองค์กรเอกชนด้านการเกษตรหรือไม่/อย่างไร? ส่วนบอร์ดชุดปัจจุบันมีนางบุญยืน ศิริธรรมเป็นผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำนา ทำสวน หรือทำไร่?

  ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า “กลุ่มคนรักหลักประกัน” แทบทั้งหมดเป็นกรรมการบอร์ดชุดก่อน และชุดปัจจุบันหลายคน รวมทั้งผู้ที่มีชื่อเป็นอนุกรรมการหลายๆชุดในบอร์ดชุดก่อน ต่างก็ปรากฏรายชื่อเป็นประธานและสมาชิกของกลุ่มรักหลักประกันสุขภาพแทบทั้งสิ้น

   จึงไม่แปลก ที่จะตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่ม “แกนนำ” ของคนรักหลักประกันสุขภาพ นั้นคือกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจในการ “บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ที่มีเงินงบประมาณหลายแสนล้านบาท ซึ่งดำเนินการปลุกระดมกลุ่มผู้ป่วยหลายๆกลุ่ม  ให้เข้าใจว่ามีคน “กลุ่มใหม่” ที่เข้ามาเป็นกรรมการและอนุกรรมการโดยมุ่งหวังผลประโยชน์ แบบที่กลุ่มแกนนำคนรักหลักประกันสุขภาพเคยผลัดกันได้รับผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 10 แล้ว

   แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ทำไมสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทอาวุโส จึงไม่ได้เปิดเผยตัวว่าเป็นกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เหมือนกับสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทรุ่นเยาว์ ?

   ประชาชนที่ไม่รู้ถึงความตื้นลึก/หนาบางของระบบการทำงานของกรรมการและอนุกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาจจะหลงเชื่อการใส่ร้ายป้ายสีของ “กลุ่มแกนนำคนรักหลักประกันสุขภาพ”  หรือเป็นกลุ่มประชาชนจัดตั้ง และรวมกลุ่มกันออกมาเรียกร้องสิทธิในการรับบริการสาธารณสุข เนื่องจากได้รับข้อมูลว่าจะมีการเก็บเงิน และจะทำให้ประชาชนไม่ได้รับสิทธิในการรักษาเหมือนบอร์ดชุดเดิม  จึงมีการรวมกลุ่มกันออกมาเรียกร้องเหมือนๆกันในอีกหลายหลายพื้นที่

  โดยที่ประชาชนเหล่านี้ไม่รู้เท่าทันว่า เป็นการต้องการยื้อแย่งอำนาจในการบริหารกองทุน ที่ทำให้โรงพยาบาลไม่ได้รับงบประมาณเพียงพอที่จะให้บริการที่มีมาตรฐานแก่ประชาชนได้  (อันนี้ได้สอบถามจากชาวบ้านคนหนึ่งที่มาจากชมรมโรคไต ซึ่งตอบไม่ได้ว่ามาเพราะอะไร แต่มาเพราะหมอจากชมรมแพทย์ชนบทบอกให้มา ก็ต้องมา เพราะเคยร่วมงานกันมานานแล้ว!)

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.
9 ก.พ. 55.