ผู้เขียน หัวข้อ: เบื้องหลังไอเดียเจาะ 5 ถนน ผลักน้ำพ้น"กรุงเทพ"  (อ่าน 1282 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด

ช่วงเช้าที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมที่รังสิตบริเวณคลอง 9-10  เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ว่า วันนี้ได้สั่งให้คณะกรรมการที่ดูแลเรื่องการระบายน้ำและกรมชลประทาน ไปสำรวจ 5 จุดที่มีข้อเสนอให้เจาะถนนเพื่อระบายน้ำ และจะมีการทดลองเจาะ 1 จุด

เบื้องหลังแนวคิดเจาะถนนระบายน้ำ มีที่มาอย่างไร ?

เมื่อวันที่27 ตุลาคม  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและทรัพยากรน้ำชาวไทย นำโดยนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  ขอให้เจาะถนนขวางทางน้ำก้อนมหึมาจ่ออยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร 6 สาย

1.ถนนนิมิตใหม่

2.ถนนประชาร่วมใจ

3.ถนนราษฎร์อุทิศ

4.ถนนสุวินทวงศ์

5.ถนนเชื่อมสัมพันธ์

6.ถนนร่วมพัฒนา

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยระบายน้ำออกจาก กทม.ราว 120 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวัน มากกว่าการระบายผ่านระบบการระบายน้ำผ่านคลองกรุงเทพฯทั้งหมดถึง 4 เท่า

1.ข้อมูลสำคัญ

ปี 2554 มีปริมาณมวลน้ำคลอดฤดูฝน 36,000 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าที่เคยทุกปี ปี 2538 เท่ากับ 25,000 ล้าน ลบ.ม.

2.ปัญหาเฉพาะหน้า

ทางตอนเหนือกรุงเทพฯจมน้ำไปแล้ว น้ำรอท่วมเข้ากรุงเทพฯอีก 12,000 ล้าน ลบ.ม.

3.การแก้ไขที่เสี่ยงต่อเกิดวิกฤตการณ์ในกรุงเทพฯ

การแก้ปัญหามีเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ คือ นำน้ำเข้ากลางกรุงเทพฯแล้วสูบออกลงแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะ

การระบายของสถานีสูบน้ำในกรุงเทพฯทั้งหมดของสถานีสูบน้ำ พระโขนง พระรามเก้า บางเขน บางซื่อ มีจำนวนเพียง 30 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน อีกทั้งยังเเสี่ยงน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เพราะหากจะให้มีน้ำเพียงพอต่อการสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำเป็นการยากที่จะควบคุมผ่านระบบคลองของกรุงเทพฯ ที่ไม่เคยทำงานลักษณะนี้ จะก่อให้เกิดปัญหาน้ำเอ่อท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากการเร่งสูบลงแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายน้ำเต็มกำลังอยู่แล้ว กรณีนี้ปริมาณน้ำจะรวมสะสมยกตัวมากทางตอนเหนือคลองของกรุงเทพฯ นั่นคือพื้นที่บริเวณต้นคลองจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ หากควบคุมไม่ได้เขตเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดจะเสียหายอย่างคาดการณ์ไม่ได้

4.แนวทางที่เป็นทางแก้ปัญหาที่นำเสนอ

ต้องผันน้ำออกไปทางบริเวณทุ่งตะวันออกเป็นบริเวณฟลัดโฟล์ว ( FLOOD FLOW) ปกติของการตั้งรับน้ำท่วมของกรุงเทพฯ

นั่นคือเร่งการระบายน้ำให้ออกทุ่งตะวันออก เพราะมีสถานีสูบน้ำลงคลองชายทะเลรวมกับการระบายผ่านคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตลงแม่น้ำบางปะกงและการระบายผ่านสถานีสูบน้ำลงแม่น้ำนครนายก รวมคลองสูบน้ำนครนายก รวมคลองสูบน้ำสุวรรณภูมิสามารถระบายผ่านเครื่องสูบน้ำได้ปริมาณน้ำถึง 60 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน รวมปริมาณน้ำที่ไหลลงทะเลตามแนวฟลัดโฟล์วปกติ จะสามารถระบายได้มากกว่า 120 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน อัตราการระบายต่อวันมากกว่าการระบายผ่านระบบการระบายน้ำผ่านคลองกรุงเทพฯทั้งหมดถึง 4 เท่า และมีความเสี่ยงต่อการเสียหายทางเศรษฐกิจต่ำกว่ามาก เนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้ไม่ใช่เขตเศรษฐกิจสำคัญ

5.การดำเนินการให้สัมฤทธิผลคือ

5.1 จัดการการป้อนน้ำให้กับระบบระบายน้ำของคลองเลียบชายทะเลตลอดแนว เนื่องจากเมื่อวานวันที่ 26 ตุลาคม 2554 การสุ่มตรวจการทำงานเครื่องสูบน้ำจำนวน 89 เครื่อง บริเวณดังกล่าวพบว่ามีการสูบน้ำเพียง 29 เครื่อง หรือร้อยละ 30 เท่านั้น และเดินเครื่องไม่เต็มกำลัง เนื่องจากไม่มีปริมาณน้ำเพียงพอในการสูบน้ำ จากการสะสมของน้ำที่รอท่วมกรุงเทพฯ บริเวณเหนือเขตสายไหมและถนนหทัยราษฎร์ และถนนร่มเกล้า

ดังนั้น ต้องเร่งระบายน้ำออกแนวทุ่งตะวันออก โดยการที่เร่งระบายปริมาณน้ำมหาศาลที่คาดว่าจะเอ่อท่วมในเร็ววันนี้ ข้ามถนนเข้าสู่เขตรามอินทรา ลาดพร้าว วังทองหลาง ที่มีน้ำท่วมเป็นหย่อมๆ อยู่แล้ว (จะทำให้น้ำที่ท่วมดอนเมืองอยู่ขณะนี้ลดความรุนแรงลงทันทีด้วย) การนี้จักทำให้น้ำเดินทางออกไปทางทุ่งตะวันออกลงคลองประเวศบุรีรมย์ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เข้าสู่ระบบคลองของคลองเลียบชายทะเลที่เป็นที่ตั้งของเครื่องสูบน้ำและแนวฟลัดโฟล์วจัดการระบายน้ำในแนวนี้จะยังเป็นการเบี่ยงน้ำหลบนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังด้วย

5.2 การระบายน้ำโดยคลองระบายสุวรรณภูมิ เมื่อน้ำมาถึงถนนบางนา-ตราดเปิดน้ำให้ลงสู่คลองที่ 26 แทน การบังคับน้ำเช่นนี้จะทำให้สามารถควบคุมการไหลไม่ให้ทำความเสียหายให้นิคมอุตสาหกรรมบางพลีได้ดีกว่าปล่อยให้เอ่อล้นแบบควบคุมทิศทางไม่ได้

5.3 ขอรับการสนับสนุนยืมรถขุดดินหรือแบ๊กโฮขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในภาคเอกชน เช่น อิตาเลียนไทย ช.การช่าง ซีพโก้ โดยยินยอมให้ขยายระยะในสัญญางานที่ทำอยู่กับภาครัฐและเชิญชวนภาคเอกชนสนับสนุนขยายสัญญาก่อสร้างสำหรับบริษัทที่ให้ความร่วมมือแนวทางนี้

มติชนออนไลน์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554