ผู้เขียน หัวข้อ: หัวข้อ และกลุ่ม-การสัมมนาสรุปปัญหา และทางออก-ร่างพ.ร.บ.ฯ 10 พย. 2553  (อ่าน 1865 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
กลุ่มที่ 1 ผู้เสียหายความเสียหายและการชดเชย
ประธาน นพ.อำนาจ กุสลานันท์ / เลขา นพ.ชาญฤทธิ์ ล้อทวีสวัสดิ์


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   ชื่อร่าง พ.ร.บ. ผู้ได้รับความเสียหาย หรือ ผู้ได้รับผลกระทบ   

2   หลักการ พ.ร.บ.
•   คุ้มครองเฉพาะผู้รับบริการ
•   คุ้มครองผู้ให้บริการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๐(๒)
•   คุ้มครองทุกฝ่ายที่เสียหาย   

3   นิยาม “ความเสียหาย”
•   ความเสียหายโดยสุดวิสัย
•   ความเสียหายจากความขาดแคลนของระบบ
•   ความเสียหายจากตัวโรคและการรักษาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
•   ความเสียหายจากการปฏิบัติตัวและสภาพสังขารของผู้ป่วย
•   ความเสียหายที่อาจถูกตีความนำมาใช้เบิกเงินช่วยเหลือได้ โดยผิดวัตถุประสงค์
•   ความเสียหายจากทุรเวช   

4   นิยาม “ผู้ได้รับความคุ้มครอง”
•   ผู้รับบริการสาธารณสุข /  ผู้ให้บริการสาธารณสุข
•   ประชาชนไทย / แรงงานต่างด้าว / นักท่องเที่ยว    

5   ระยะเวลาที่เกิดความเสียหาย ที่เหมาะสม
•   5 ปีตามระเบียบการเก็บเอกสารเวชระเบียนปกติ
•   10 ปีนับจากวันให้การรักษาพยาบาล
•   10 ปีนับจากวันที่รู้ถึงความเสียหาย(ไม่จำกัดอายุ)   

6   เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม มาตรา ๔๑ ที่ถูกขยายขึ้นใน พ.ร.บ. นี้
•   จากเดิม 50,000/ 120,000/ 200,000 เพิ่มได้ตามมติกรรมการ / รมว.สธ.   

7   การไม่พิสูจน์ถูกผิดเหมาะสมกับกรณีทางการแพทย์หรือไม่
•   ในต่างประเทศให้พิสูจน์ถูกผิดแต่ไม่เอาโทษ ผลในมุมมองของผู้ป่วย   

8   กลไกการเบิกจ่ายที่ผูกกับมาตรฐานวิชาชีพฯ ที่เหมาะสมหรือไม่ ทั้งที่ความเสียหายอาจเกิดจากผู้ป่วย / โรค / ระบบที่แตกต่างกันได้ 

กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพฯ
ประธาน นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี / เลขา นพ.จรูญศักดิ์ นวลแจ่ม


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   ใช้มาตรฐานวิชาชีพ กับความเสียหาย ที่เบิกเงินได้จะเป็นปัญหาหรือไม่   

2   การพิสูจน์ความเสียหายของผู้เสียหายกับของผู้ประกอบวิชาชีพฯเข้าใจต่างกันจะเป็นปัญหาหรือไม่   

3   การจ่ายเงินเบื้องต้นช่วยเหลือให้ผู้เสียหายหากผู้ประกอบวิชาชีพฯ พิสูจน์ไม่ได้ใน 30 วันจะเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงหรือไม่   

4   กรณีเรียกผู้ประกอบวิชาชีพฯมาให้ข้อเท็จจริง และหากไม่มามีโทษจำคุกเหมาะสมหรือไม่   

5   กรณีเรียกผู้ประกอบวิชาชีพฯและสถานพยาบาลมาไกล่เกลี่ยและจ่ายเพิ่มเติมได้ทำให้กลไกทำงานซับซ้อนขึ้นหรือไม่   

6   กรณีประนีประนอมยอมความแล้วยังฟ้องต่อได้ภายหลังเหมาะสมหรือไม่   

7   กรณีไม่จ่ายเงินช่วยเหลือในกลุ่มได้มาตรฐานวิชาชีพฯ ทำให้แพทย์ที่ดีอาจถูกฟ้องขึ้นศาลได้เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดเชย (เดิม ม.๔๑ จ่ายอยู่แล้ว)   

8   กรณีสถานพยาบาลต้องจ่ายเงินเข้าระบบตามจำนวนหัวและความเสี่ยงของผู้ป่วยทำให้ รพ.ที่ดูแลคนไข้มากต้องจ่ายเข้ากองทุนมากผิดหลักการรัฐสวัสดิการหรือไม่   

9   กรณีต้องทำรายงานส่งคณะกรรมการว่าปรับปรุงระบบแล้วทั้งที่มีหลายหน่วยงานควบคุมมาตรฐานอยู่ให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาโดยไม่มีความรู้เฉพาะจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่   

10   กรณีการเก็บเอกสารเวชระเบียนโดยทั่วไป 5 ปีที่ต้องถูกปรับตามอายุความคดีที่อาจถูกฟ้องร้องได้   

11   ปัญหาต่อวิชาชีพพยาบาล   

12   ปัญหาต่อวิชาชีพเภสัชฯ   

13   ปัญหาต่อวิชาชีพทันตแพทย์   

14   ปัญหาต่อวิชาชีพกายภาพบำบัด   

15   ปัญหาต่อวิชาชีพเทคนิคการแพทย์   
   
กลุ่มที่ 3 กรรมการ กองทุน และ การจ่ายเงิน
ประธาน นพ.ชัยวัน เจริญโชคทวี  / เลขา นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   กองทุนยกมาจาก ม.๔๑ หรือไม่ครั้งเดียวหรือตลอดไป   

2   กองทุนจากการเก็บรายหัวของ รพ., คลินิก, สถานีอนามัย, ฯลฯ เหมาะสมหรือไม่    

3   กองทุนเก็บจากสถานพยาบาลเอกชนเหมาะสมหรือไม่   

4   การจ่ายเงินชดเชยควรให้ในภาครัฐ และ/หรือ ภาคเอกชน   

5   กรรมการกองทุนควรมีตัวแทนจากทั้ง 5 กระทรวง / 5 สภาวิชาชีพฯ หรือไม่   

6   สำนักงานเลขาของกองทุนควรอยู่ใน สธ. หรือเป็นอิสระ   

7   การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นควรเป็นประชาสงเคราะห์ผู้เสียหายทุกรายหรือไม่   

8   การจ่ายเงินชดเชยควรมีเฉพาะจากความผิดพลาดของระบบหลักหรือรวมทุรเวชด้วย   

9   การตรวจสอบกองทุนควรโปร่งใสให้ สตง. ดูแลโดยห้ามมอบให้บุคคลภายนอกตรวจสอบแทนหรือไม่   

10   เงินทุนเหลือต่อปีควรคืนคลังเพราะเป็นภาษีหรือให้ใช้สะสมต่อได้   

11   การไม่จ่ายเงินสมทบถูกปรับร้อยละ 24 ต่อปี ถูกดำเนินคดีปกครองและยึดทรัพย์ได้เหมาะสมหรือไม่   

12   การจ่ายเงินสมทบเป็นตามความเสี่ยงจำนวนคนไข้ และการพัฒนาความปลอดภัยเหมาะสมหรือไม่   

13   การให้ผู้อื่นเรียกร้องกองทุนได้แทนทายาทจะสร้างปัญหาหรือไม่   

14   การตัดสินจ่ายเงินกองทุนโดยใช้เสียงข้างมากแทนมาตรฐานวิชาการเหมาะสมหรือไม่   

15   การตั้งกรรมการชั่วคราวเป็นภาคประชาชน 6 ใน 11 คนเหมาะสมหรือไม่   

16   การไม่รับเงินชดเชยแล้วไปฟ้องคดีต่อได้โดยไม่ต้องคืนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเหมาะสมหรือไม่   

17   การแพ้ชนะคดีในศาลโดยกองทุนตัดสินใจจ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่เพียงใดก็ได้เหมาะสมหรือไม่   

18   การจ่ายค่าเสียหายให้ผู้เสียหายในรายที่ศาลยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยว่าผู้ให้บริการฯไม่ต้องรับผิดเหมาะสมหรือไม่   

19    อื่น ๆ    

กลุ่มที่ 4 คดีความและการร้องเรียน
ประธาน นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ / เลขา นพ.เมธี วงษ์ศิริสุวรรณ


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   การร้องเรียนคณะกรรมการและจำกัดเวลา 30 วันตัดสินนั้นเหมาะสมหรือไม่   

2   การรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วฟ้องต่อได้เหมาะสมหรือไม่   

3   การขอรับเงินชดเชยแล้วเปลี่ยนใจไม่รับ ขอไกล่เกลี่ยเพิ่มได้เหมาะสมหรือไม่   

4   การเรียกแพทย์และสถานพยาบาลมาไกล่เกลี่ยแล้วไม่พอใจสามารถยกเลิกฟ้องต่อได้เป็นธรรมหรือไม่   

5   การรับเงินทำสัญญาประนีประนอมแล้วให้กับมาฟ้องใหม่ได้ใน 3-10 ปีเหมาะสมหรือไม่   

6   การที่กฎหมายนี้ให้เงินช่วยเหลือแต่ไม่มีกลไกดการฟ้องร้องโดยคงสิทธิตามปกตินั้นเหมาะสมหรือไม่ และป้องกันกลุ่มฉ้อฉลฟ้องร้องอย่างไร   

7   การผูกการจ่ายเงินกับมาตรฐานทางการแพทย์  ทำให้ผู้ป่วยระแวงเก็บหลักฐานเตรียมไว้เผื่อฟ้องและหาข้อผิดพลาดให้ได้ก่อนเพื่อเป็นเหตุในการเรียกร้องค่าเสียหายได้  จะมีปัญหาต่อระบบหรือไม่   

8   การไม่จ่ายเงินช่วยเหลือในกรณีสุดวิสัยกับในกรณีเสียหายจากเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับมาตรฐานทางการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับเงินช่วยเหลือได้ จึงต้องไปฟ้องศาลต่อส่งผลให้คดีเพิ่มขึ้นหรือไม่   

9   ความผิดพลาดของผู้ประกอบวิชาชีพฯมีกลไกและการตัดสินถูกผิดอยู่แล้ว การพิจารณาของกรรมการชุดนี้ซ้ำซ้อนและหากผลไม่ตรงกันเนื่องจากอยู่ใน กฎหมาย  คนละฉบับจะทำอย่างไร อาจนำไปสู่การฟ้องศาลปกครองได้   

10   การเปิดช่องให้ใช้ใบประนีประนอมยอมความไปลดโทษในคดีอาญาเท่ากับกระตุ้นให้ฟ้องคดีอาญาบังคับคดีแพ่งด้วยหรือไม่  จะป้องกันอย่างไร   

11   การไม่พิสูจน์ถูกผิดโดยจ่ายค่าเสียหายย่อมไม่สามารถยุติความสงสัยที่จะนำคดีขึ้นฟ้องต่อศาลได้ ทางการแพทย์จึงควรต้องพิสูจน์ความผิดทุกครั้งเพื่อพัฒนาระบบแต่จะลงโทษหรือไม่ขึ้นกับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่   

กลุ่มที่ 5 ความพร้อมและเหมาะสมของสังคม
ประธาน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์/ เลขา นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   ปัญหาภาระงานที่เกินจริงในภาครัฐจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์   

2   ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณและการขาดทุนของสถานพยาบาล   

3   ปัญหามาตรฐานการรักษาพยาบาลที่แตกต่างใน รพ.แต่ละระดับ   

4   ปัญหาความขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น   

5   ปัญหาระบบการส่งต่อผู้ป่วยในประเทศไทย   

6   ปัญหาจำนวนผู้รับบริการเกินความสามารถของแพทย์ทั้งใน OPD และ IPD    

7   ปัญหาจำนวนเตียงของผู้ป่วยใน รพ.ที่มีน้อยกว่าผู้ป่วยจริงตามฤดูกาลซึ่งจะเข้าข่ายผิดมาตรฐานหากมีเตียงเสริมในรพ. ที่ผู้เสียหายจะสามารถเรียกร้องเงินช่วยเหลือได้   

8   ปัญหากระทรวงสาธารณสุขควรแสดงถึงข้อมูลข้อเท็จจริงของสถานพยาบาลในระดับที่เป็นปัญหาและมีความเสี่ยงจนนำไปสู่ความเสียหายต่อประชาชน จนเป็นเหตุให้เกิดกฎหมายใหม่  ข้อมูลทางสถิติและข้อเท็จจริงมีความสำคัญในการแก้ไขและพัฒนาเฉพาะจุดที่เป็นปัญหาจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่   

9   ปัญหาการแสดงถึงตัวเลขทางการเงินที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบที่ทำให้เกิดปัญหาและการใช้งบประมาณหากกฎหมายนี้ออกมาบังคับใช้ว่าจะจ่ายเงินในหมวดใดเป็นจำนวนเงินเท่าไร ระยะสั้นและระยะยาวเป็นอย่างไร และความคุ้มค่าในการแก้ปัญหาโดยการออกกฎหมายนี้อยู่ที่จุดใด ควรวิเคราะห์เสนอต่อสังคมก่อนหรือไม่   

กลุ่มที่ 6 กลไกช่วยเหลือประชาชนอื่นๆ
ประธาน นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ / เลขา พญ.ดวงจิตร สมิทธิ์นรเศรษฐ์


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายตาม ม.๔๑ ให้เหมาะสมมากขึ้น
•   เพิ่มเพดานวงเงิน
•   ขยายกลุ่มข้าราชการและประกันสังคม   

2   สร้างระบบรับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นรูปธรรม
•   ตั้งศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายทั้งผู้รับและผู้ให้บริการระดับประเทศ
•   เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ไกล่เกลี่ยและรับเรื่องร้องเรียนของสถานพยาบาล   

3   สร้างระบบชดเชยของกลุ่มประกันสังคม   

4   สร้างระบบชดเชยของสวัสดิการข้าราชการ   

5   จัดตั้งศาลพิเศษทางการแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะและตัดสินคดีได้รวดเร็วและเป็นธรรมเช่นในต่างประเทศ   

6   ปรับปรุงสถานพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรมากในภาครัฐและดำเนินการแก้ไขโดยใช้กฎหมายและวงเงินช่วยเหลือที่มีอยู่ไปพัฒนาระบบ ให้มีบุคลากร เครื่องมือแพทย์เพียงพอต่อการให้บริการเพื่อลดปัญหาและแจ้งให้ประชาชนทราบ   

7   แก้ปัญหาสถานพยาบาลเอกชนที่มีความเสี่ยงสูงและมีเรื่องร้องเรียนมากซึ่งอยู่ภายใต้ พรบ.สถานพยาบาลฯ ให้พิจารณาเพิ่มหลักเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยผ่านระบบต่างๆ ตามมาตรฐานที่รัฐต้องการ เช่น กำหนดให้มีการซื้อประกันเอกชนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในเงื่อนไขเดียวกับภาครัฐ เป็นต้น