My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวสมาพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: khunpou ที่ 16 กรกฎาคม 2010, 22:12:25

หัวข้อ: สัมมนาเรื่องพ.ร.บ.ผู้เสียหายนวุฒิสภา
เริ่มหัวข้อโดย: khunpou ที่ 16 กรกฎาคม 2010, 22:12:25
วันนี้ได้ไปร่วมสัมมนาเรื่อง "ผลกระทบของพ.ร.บ.ค้มครองผู้เสียหาย ฯและการเตรียมความพร้อม" จัดโดยคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา
สรุปการประชุมสั้นๆดังนี้

1.เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.นี้

2.มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ ได้แสดงความเห็นว่า กฎหมายนี้ ควรให้แพทย์ที่จะถูกกระทบมากที่สุด ร่วมร่างด้วย หรือตอนนี้ก็ควรเอามาให้แพทย์แก้ด้วย (แปลว่าน่าจะทำประาพิจารณ์ คือรับฟังเสียงแพทย์ผู้ปฏิบัติงานที่จะถูกกระทบด้วย)

3. ผู้อำนวยการรพ.รามาบอกว่า จะเก็บเงินจากรพ.ก็ได้ รามามีจ่าย คิดซะว่าจ่ายแทนลูกศิษย์ที่ออกไปทำงานทั่วประเทศ

4.โรงพยาบาลอื่นๆบอกว่า ยังไม่ได้เตรียมตัวรับพ.ร.บ.นี้

5.รพ.เอกชนบอกว่า เขารับผิดชอบผู้ป่วยของเขาเองได้ ไม่ต้องลากเขาไปจ่ายเงินเข้ากองทุนด้วย

6.นายสรรค์ชัย ชญานิน ที่ปรึกษากฎหมาย คณะกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภาได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจดังนี้
   6.1 พ.ร.บ.นี้ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ม. 29 ที่ว่าการเสนอกฎหมายต้องคำนึงถึงหลักสัดส่วนให้พอสมควรแก่เหตุ คือเสนอกฎหมายเท่าที่จำเป็น กฎหมายอ้างว่าจะสร้างความสัมพันธ์มี่ดี แต่ในเมื่อบุคลากรทางการแพทย์ มีความไม่สบายใจแล้ว จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยได้อย่างไร ฝ่ายหนึ่งตั้งใจรักษา แต่มีแนวโน้มจะถูกกล่าวโทษ
   6.2 แล้วเงินตามพ.ร.บ.ม.41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เคยมีอยู่ รัฐบาลเอาไปทำอะไร ทำไมจึงมาเรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาล ถือว่ารัฐบาลมาเรียกเก็บภาษีจากหน่วยงานของรัฐบาลเอง เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กระทรวงการคลังต้องมีหน้าที่จ่ายเงินแทนโรงพยาบาลของรัฐ
   6.3 เจตนารมณ์เขียนว่าต้องการให้ประชาชนได้ค่าชดเชยเร็ว แต่ดูแล้วจะมีกระบวนการยืดยาวหลายขั้นตอนกว่า ม.41
   6.4 เขียนว่าต้องการลดคดีฟ้องร้อง แต่ผลน่าจะเป็นตรงกันข้าม
   6.5 เป็นการผลักภาระของรัฐบาลให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งๆที่พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ก็มีอยู่แล้วและสามารถใช้ได้ ไม่ต้องมาร่างพ.ร.บ.ใหม่
   6.6 การเขียนพ.ร.บ.นี้มีวัตถุประสงค์แอบแฝงเรื่องผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มหรือเป ล่า?
   6.7การให้บริการของเอกชน เป็นเหมือนสัญญาการรับจ้างทำของ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลเลย ต้องให้ภาคเอกชนเขารับผิดชอบจัดการของเขาเอง รัฐบาลไม่ต้องออกกม.ไปบังคับเขาเลย( น่าเอาไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ)  
   6.8 ต้องชั่งประโยขน์สาธารณะและเอกชน
   6.9 การออกกฎหมายนี้ ผู้ที่คิดว่าจะได้รับผลกระทบสามารถไปร้องทุกข์ได้ตามมาตรา 59 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีเจตนารมณ์ ให้บุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากการกระทำของบุคคลใดหรือหน่วยงานของ รัฐย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องร้องทุกข์ เพื่อขอให้มีการทบทวนการกระทำหรือคำสั่งใดๆของเจ้าพนักงานของรัฐ

มีแพทย์หลายคนที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.นี้ โดยเฉพาะในภาครัฐบาลกระทรวงสาธารณสุข ที่บอกว่า เขาถูกบังคับให้ทำงานหนัก ภาระเยอะมากๆๆๆโดยเฉพาะหลังนโยบาย 30 บาท แต่ขาดแคลนสิ่งจำเป็น 3 อย่าง คือ คน เงิน ของ(ยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยี) แทนที่รัฐบาลจะพัฒนาสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาประชาชนมีมาตรฐานและประชาชนปลอดภัย แต่รัฐบาลกลับทำสิ่งตรงข้าม คือปล่อยให้ขาดคนทำงาน ขาดเงินซื้อยา ขาดเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีสภาพดี เพื่อป้องกันความเสียหาย แต่รัฐบาลกลับปล่อยให้เกิดความเสียหายเพราะความขาดแตลน แล้วออกกม.มาเอาโทษเจ้าหน้าที่ (เห็นว่า จะเริ่มมาตรการตรวจละเอียด และ defensive medicine กันมากขึ้น หรือลาออกจากวิชาชีพนี้) เป็นรัฐบาลที่สมควรจะไว้วางใจหรือเปล่า
 
นพ.อนันต์ อริยชัยพานิช ประธานกรรมาธิการสาธารณสุช วุฒิสภา บอกว่า วุฒิสภาเป็นหน่วยสุดท้าย ที่จะผ่านกฎหมาย และบอกว่า วันนี้ดีใจที่มีคนมาช่วยแบ่งปันความเห็นและความรู้มากมาย Cry Cry
หัวข้อ: Re: สัมมนาเรื่องพ.ร.บ.ผู้เสียหายนวุฒิสภา
เริ่มหัวข้อโดย: today ที่ 17 กรกฎาคม 2010, 15:50:14
แล้ววุฒิสภาจะช่วยพวกเราหรือเปล่า