ผู้เขียน หัวข้อ: “ร้อยเอกนายแพทย์จตุพร บุญสุวรรณ” คุณหมอขวัญใจชาวมุสลิม  (อ่าน 1286 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   25 กุมภาพันธ์ 2556 00:05 น.   

   


       โดย..รัชญา จันทะรัง
       
       เพียงไม่กี่ประโยคที่ได้อ่านจากหนังสือ “จากเด็กชายสู่นายทหาร” ของร้อยเอกสรเชษฐ ดีเอื้อ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่เต็มไปด้วยความชื่นชมในการปฏิบัติหน้าที่ของคุณหมอท่านหนึ่งจึงนำมาซึ่งบทสนทนาสู่การถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือเล่าเรื่องในครั้งนี้ของ “ร้อยเอกนายแพทย์จตุพร บุญสุวรรณ” อดีตแพทย์ทหารประจำหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 21 คุณหมอขวัญใจชาวบ้าน


ร้อยเอกนายแพทย์จตุพร หรือ "หมอดีน"

       ร้อยเอกนายแพทย์จตุพร หรือชื่อเล่นที่ครอบครัวชอบเรียกว่า “ดีน” อันมีที่มาจากชื่่อของเจมส์ ไบรอน ดีน นักแสดงในดวงใจของผู้เป็นพ่อ เล่าให้ฟังถึงเส้นทางคุณหมอหนุ่มแห่งกองทัพบกไทยว่า สมัยเด็กตนเองขี้โรคมากต้องเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยครั้ง เคยเป็นถึงโรคไข้สมองอักเสบจนทำให้รู้สึกว่าโตขึ้นเราต้องเป็นหมอให้ได้ เพราะอย่างน้อยจะได้รักษาตัวเองได้และยังรักษาคนอื่นได้ด้วยซึ่งความคิดนี้เกิดขึ้นตอนที่เข้า ม.4 ดังนั้นพอเอนทรานซ์ก็เลือกคณะแพทย์ศาสตร์ทั้ง 4 อันดับโดยสอบติดคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตอนนั้นตนเองไม่รู้จักโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รู้จักเพียงแต่ว่าต้องเป็นหมอทหารคือเป็นหมอด้วย และเป็นทหารด้วย
       
       “ก่อนมาเรียนก็นึกว่าจะฝึกเหมือนที่เคยเรียน รด.แต่กลับฝึกหนักกว่ามากถ้าจะเป็นรองก็รองแค่โรงเรียนนายร้อยจปร.เขาจะฝึกให้ทนกับความเหนื่อย ชินกับความผิดหวัง กินง่าย อยู่ง่าย หลอกจะให้กลับบ้านก็ไม่ได้กลับ จะให้พักก็ไม่ได้พัก เขาบอกว่าเป็นทหารต้องทดทน เด็ดขาดแต่ไม่นอน เพราะไม่รู้ว่าจะต้องออกไปรบตอนไหน ตอนนั้นก็เครียด ทำไมชีวิตต้องมาเจออะไรแบบนี้ เครียดจนถึงขั้นซ้ำชั้นตอนปี 2 เพราะปี 1 เรียนแบบสบายๆ พอปี 2 เริ่มฝึกเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ไม่มีกระจิตกระใจจะอ่านหนังสือ อยู่แต่กับตัวเอง แต่โชคดีที่มีคนรอบข้างคอยช่วยเหลือที่บ้านให้กำลังใจ คุณพ่อจะบอกให้มองในแง่ดีคือเราไม่มีความรู้เพียงพอที่จะผ่านไปได้ ให้มองในมุมบวก ไม่มีอะไรร้ายแรง เราจะได้รู้อะไรเยอะขึ้นซึ่งตรงนี้ทำให้ผมรักพระมงกุฎขึ้นมากเลย ทั้งอาจารย์ รุ่นพี่ช่วยเหลือคุยให้กำลังใจทำให้ผมก็ค่อยคิดได้ และผ่านมาได้สรุปใช้เวลาเรียน 7 ปีจาก 6 ปี”
       
       และเมื่อถึงช่วงเวลาสำคัญที่คุณหมอดีนจะต้องลงไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้และอีก 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เพื่อใช้ทุนซึ่งกว่าร้อยละ 90 ของบัณฑิตแพทย์ที่จบจากสถาบันแห่งนี้จะต้องลงไปเป็นแพทย์เสนารักษ์ของการใช้ทุนปีที่ 2 ในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยคุณหมอดีนได้ไปประจำที่หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 21 อ.ยะรัง เมื่อเดือนเมษายน 2552



       “ตอนแรกพ่อแม่เป็นห่วง กังวลเพราะก่อนที่ผมลงไปมีทั้งระเบิด ฆ่าตัดคอ ซึ่งมีเหตุเกิดเยอะมากในปี 2550-2551 ส่วนตัวผมเองไม่เคยเห็นผมก็คิดปรุงแต่ง คิดตั้งแต่ตอนทำงานใช้ทุนปีแรกอยู่ที่อุดรฯ ถ้าไปใต้จะรู้สึกกลัวไหม มันจะทุกข์ไหม แต่ศาสนาพุทธสอนว่าอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด มันมีเหตุปัจจัยของมัน และพอไปถึงมันแปลกเป็นอีกโลกไม่เหมือนเมืองไทย มีทหารลาดตระเวนตลอดเวลา มีรถเกราะมีชุดรักษาความปลอดภัยมารอรับ ก็กลัวนิดหน่อยเพราะมันเหมือนสนามรบเหมือนที่ผมเคยไปฝึก”
       
       คุณหมอดีน เล่าต่อว่า เมื่อมาปฏิบัติหน้าที่ก็โชคดีเพราะมีผู้บังคับบัญชาที่ดีมาก ท่านให้ความช่วยเหลือทุกด้าน ทั้งยังให้เกียรติในการทำงานคอยสนับสนุนทุกอย่าง และยังให้ความเป็นกันเอง ซึ่งนอกจากการออกหน่วยเช้ากลับเย็นทุกวันแล้วเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นก็จะขอผู้พันตามไปที่เกิดเหตุด้วยทุกครั้ง
       
       “การออกหน่วยจะเป็นงานกิจการพลเรือนที่จะต้องใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพราะต่อให้กองทัพมีแสนยานุภาพทางทหารมากเท่าไหร่แต่มวลชนไม่ให้ความร่วมมือเราก็จะไม่สามารถจับผู้ก่อความไม่สงบได้ ฉะนั้นสู้เราเข้าไปทำความเข้าใจให้เห็นถึงว่าทำไมทหารต้องมาปฏิบัติหน้าที่เพื่ออะไรซึ่งบางวันมีการปิดล้อมพื้นที่เพื่อตรวจสอบพอวันถัดมาก็มีการไปออกหน่วยตรวจโรคซึ่งชาวบ้านไม่มีใครยอมมา เราก็ออกไปประชาสัมพันธ์ว่าจะมีหมอมาตรวจจนวันรุ่งขึ้นจากลานกว้างที่ว่างๆก็ไม่คิดว่าจะเยอะได้ขนาดนี้อาจเป็นเพราะว่าไม่ค่อยมีหมอได้เข้าไปในพื้นที่ โดยยานวดเป็นยาที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุดในขณะนั้น และเข้าถึงชาวบ้านได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น กรีดยาง ซึ่งนำไปเป็นร้อยก็หมดเขาจะชอบมาก เพราะมันทาแล้วหาย แม้แต่คนไม่ได้เจ็บป่วยก็ยังมาขอ จนผมเคยคิดจะปรุงยาให้ชาวบ้านเองแต่ในที่สุดก็ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจึงไม่ต้องซื้อส่วนผสมมาปรุงยาให้ชาวบ้านเอง”



       ร้อยเอกนายแพทย์จุตพร บอกด้วยว่า จากที่ทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านๆ นาน จึงทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วคนมุสลิมเขาจิตใจดีอยู่แล้วแต่ด้วยความที่จิตใจดีจึงสามารถชักจูงได้ง่าย เขาจะค่อนข้างสันติ เขาจะไม่เบียดเบียนอะไรใคร เคยมีน้องผู้หญิงเข้ามาถามว่าจะเป็นแบบตนเองจะต้องทำอย่างไรก็ได้แนะนำน้องไปว่าต้องตั้งใจเรียนและอยากเป็นหมอทหารก็ต้องสอบเข้าพระมงกุฎ และ 1 ปีที่ประจำอยู่ที่นี่ได้อะไรเยอะมากทั้งแง่คิดอะไรหลายๆอย่างโดยเหตุที่เกิดขึ้นนั้นมาจากผลประโยชน์ การเมืองท้องถิ่นและยาเสพติดเป็นสำคัญ ซึ่งถ้าเรามีความจริงใจในการแก้ปัญหาจึงคิดว่าไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้
       
       “จนถึงวันนี้ต้องบอกว่าดีแล้วที่ได้ลงเพราะทำให้ผมไม่ต้องผลัดวันประกันพรุ่ง อยู่ใต้ต้องทำอะไรรวดเร็วไม่คั่งค้าง ต้องตัดสินใจรวดเร็วในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บแต่ก็เห็นใจทหารที่ปฏิบัติงานโดยเฉพาะทหารที่ยิงผู้ก่อความไม่สงบแต่กลับต้องมาขึ้นศาลให้ปากคำแม้จะจบภารกิจไปแล้วก็ยังต้องนั่งรถทัวร์มาขึ้นศาล ทหารเสียเปรียบตลอด ทั้งๆเราทำเพื่อป้องกันตนเองแต่ผู้ก่อความสงบชัดเจนมีการขัดขืนการจับกุม มี ป.วิอาญา เป็นมือยิง”
       
       ท้ายสุดคุณหมอดีน บอกว่า ปัญหาที่จังหวัดชายแดนใต้มันมีมานาน ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนอยากให้คนไทยร่วมมือกันมากๆ ให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งก็จะไม่เกิดความวุ่นวาย ส่วนตัวคุณหมอดีนนั้นก็จะไปตามความฝันด้วยการเรียนแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งเพราะเชื่อและถนัดที่ทำอะไรในสิ่งที่ตาเห็นมีแผลก็เย็บแผล คอยตกแต่งมือ คนปากแหว่งเพดานโหว่วซึ่งมีหมอน้อยคนที่ทำแม้อาจไม่สามารถเปลี่ยนจากเสียเป็นมีแต่มันเป็นความสุขของคนที่มีชีวิตอยู่ได้
       
       ปัจจุบันคุณหมอดีนปฏิบัติหน้าที่นายแพทย์รักษาราชการแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลค่ายกฤษณ์สีวะรา จังหวัดสกลนคร