ผู้เขียน หัวข้อ: เตียงพอ ขอแค่มีเงิน!!เจาะดรามา “คิวรักษาโควิด” ใครว่าไม่มีเส้น-ไม่โด่งดัง-ไม่ได้  (อ่าน 326 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
เปิดใจแพทย์ หลังดรามาวิจารณ์ยับ โรงพยาบาลเลือกอ้าแขนรับเฉพาะ ดารา-คนดัง ปล่อยให้ประชาชนนั่งรอเตียง จนเสียชีวิต สังคมตั้งคำถาม ได้เตียงรักษาเร็ว เพราะอภิสิทธิ์หรือไม่!!?


ดารา-คนดัง ได้เตียงรักษาเร็ว = มีอภิสิทธิ์ชน!!?



“สวัสดีค่ะ แพนขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า มีสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ทราบผลในวันที่ 26 มิถุนายน 2564 แพนจึงเข้ารับการตรวจ ในวันที่ 27 มิถุนายน ช่วงกลางวัน

และทราบผลตอนเย็นว่าเป็นผลบวกค่ะ แพนได้เข้ารับการรักษาดูแลตามขั้นตอนของโรงพยาบาลทันที และ อยู่ในความดูแลของแพทย์ค่ะ แพนต้องกราบขออภัยทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ”



กลายเป็นดราม่าร้อนระอุ หลัง “แพนเค้ก - เขมนิจ จามิกรณ์” นักแสดงชื่อดัง ประกาศติดเชื้อโควิด-19 กลางอินสตาแกรมส่วนตัว พร้อมแจ้งได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้ว สังคมมองว่าเหตุใดถึงได้เตียงเร็วกว่าผู้ป่วยรายอื่นๆ และตั้งคำถามว่าการเป็นคนดัง มีอภิสิทธิ์ชนกว่าผู้อื่นหรือไม่

แน่นอนว่า ทันทีที่เธอโพสต์ว่าติดเชื้อโควิด-19 และได้รับการรักษา นำมาซึ่งการตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้น และวิพากษ์วิจารณ์ ไปในทิศทางเดียวกัน



”แพนเค้ก เขมนิจ ติดเชื้อโควิด เข้ารับการรักษาแล้ว พร้อมแจ้งไทม์ไลน์ ตัดภาพมาที่คนธรรมดา ที่ไม่มีเส้น ไม่มีสาย ยืนรอต่อคิวกันตั้งแต่ 1 ทุ่ม บางคนคิวไม่ถึงป้าๆ ลุงๆ ที่มาที่ไกลๆ ต้องกลับไป กูโคตรเกลียดความเหลื่อมล้ำนี้เลย”

“ไปโรงพยาบาลไหนครับ? ถึงได้เข้ารับการรักษาดูแล ตามขั้นตอนของโรงพยาบาลทันที และอยู่ในความดูแลของแพทย์”

“ถ้าหายแล้วอยากให้มาช่วยชาวบ้านหาเตียงบ้าง มีคนหาเตียงไม่ได้เยอะเลยค่ะ เห็นคุณแพนได้เตียงเร็ว ก็อยากให้ออกมาช่วยแชร์จะได้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนรวม”





ไม่เพียงแค่นั้น มีการยกเคสผู้ป่วยรายอื่นที่หน่วยงานไปถึงช้า หรือต้องรอหลายวัน แต่ยังไม่ได้เตียง เช่น เคสของคุณปู่ติดเตียง 72 ปี นอนรอเตียงรักษา 7 วัน แต่ไม่ได้รับการรักษาจนอาการทรุด รวมทั้งบางเคสรอเตียงจนอาการหนักถึงขั้นเสียชีวิต

“ข่าวแพนเค้กติดโควิดได้เตียง ได้รักษาอะไรเรียบร้อยแล้ว กับข่าวคุณปู่ติดเตียงอายุ 72 นอนรอเตียง 7 วันจนตาย เกิดขึ้นวันเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน”



เพื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง จึงติดต่อไปยัง นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนักและโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ให้ช่วยสะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งปัญหาคนไข้ล้น เตียงเต็ม จนยอดผู้ติดเชื้อพุ่ง ในทุกวัน และทำไมคนทั่วไปต้องรอหลายวัน บางเคสสุดท้ายรอไม่ไหวเสียชีวิตอยู่ที่บ้าน แต่ขณะเดียวกัน ศิลปิน-ดารา ที่ติดเชื้อโควิด-19 กลับได้รับการรักษาอย่างทันที

“มีเงิน และเข้าโรงพยาบาลเอกชน เลยได้รับการรักษาเร็วกว่า เพราะว่าเอกชนมีเตียงสำรองเผื่อไว้ แต่ส่วนใหญ่ก็เต็มตลอด

แต่ถึงมีเงิน ตอนนี้ส่วนใหญ่เตียงก็เต็ม เพราะว่าจำนวนคนไข้มันเพิ่มตลอดเวลา และจำนวนคนไข้หนักก็เพิ่มขึ้น ส่วนคนไข้เก่ายังไม่ได้ออกจากโรงพยาบาล ก็มีคนไข้คนใหม่เข้ามา

ในอนาคตเป็นไปได้เลยว่าเครื่องช่วยหายใจอาจจะไม่เพียงพอ เพราะถึงเข้าไปโรงพยาบาลไม่มีเครื่องช่วยหายใจจะทำยังไง และเข้าไปโรงพยาบาล ถ้า ICU เตียงเต็ม เครื่องช่วยหายใจเต็มแล้วจะทำยังไง”

ขณะเดียวกัน บุ๋ม-ปนัดดา วงศ์ผู้ดีออกมาตอบคำถามที่คาใจใครหลายคนในมุมมองของตัวเอง เมื่อมีคนได้เข้ามาคอมเมนต์ถึงเรื่องอภิสิทธิ์ชนของดารา โดยเธอให้คำตอบไว้ว่า ไม่ได้ไปแย่งเตียงที่มันมีไม่พอ เป็นการจ่ายเงิน เพื่อให้มีสิทธิรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ทำให้ได้รับการรักษาเร็ว

“เพราะเขาจ่าย รพ.เอกชน โดยไม่ใช้สิทธิการรักษารึเปล่า? ไม่ไปแย่งเตียงที่มันมีไม่พอ ตอนนี้ก็น่าจะดีแล้วนะ รพ. มีหลายเกรดนะ อย่าลืม”

ได้เตียงรักษารวดเร็ว = ต้องมีเงิน!!?

“เตียงไม่พอ เพราะจำนวนคนไข้มันมากขึ้น” หมอมนูญยังสะท้อนถึงปัญหาคนไข้ล้น จนทำให้เตียงรักษาไม่พอต่อคนป่วย จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่มีทีท่าว่าจะชะลอการระบาด จนเกิดปัญหาเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.เริ่มวิกฤต

ทว่า ยังเผยเบื้องหลังการรักษาของโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน ได้รักษาเร็ว เพราะมีหลายปัจจัย ซึ่งมองว่า โรงพยาบาลเอกชนมีเตียงว่างมากกว่าโรงพยาบาลรัฐ อีกทั้งมีปัจจัยทางการเงินทำให้เข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชนได้

“โรงพยาบาลเอกชนจะมีเตียงฉุกเฉินเผื่อไว้ ไม่ใช่ว่าเตียงเต็ม 100% บางวันก็มีคนไข้เข้า และออก อาจจะเป็นจังหวะที่เข้ามาพอดี

คือ เอกชนมีเตียงว่างมากกว่าโรงพยาบาลรัฐแน่นอน คือ เอกชนไม่ใช่ว่าทุกเตียงสำหรับคนไข้โควิด เขาจะกันไว้ส่วนหนึ่งสำหรับคนไข้โควิด อีกส่วนที่เหลือสำหรับคนไข้ทั่วไป ที่ไม่ใช่เป็นโควิด

แล้วกันไว้ไม่ให้อยู่ใกล้กันด้วย เพราะว่าถ้าใกล้กันก็จะติดกันหมดเลย ต้องแยกเป็นชั้น ชั้นนี้เป็นโควิดอย่างเดียว คนไข้คนอื่นไม่เข้าไปในชั้นนั้น หรืออย่างห้อง ICU ก็ต้องแยกส่วน ส่วนนี้เฉพาะโควิด อีกส่วนไม่ใช่ จะได้ไม่ติดกันหมด”

ไม่เพียงแค่นั้น หมอมนูญ ยังมองถึงสถานการณ์ ณ ปัจจุบันวิกฤต ในอนาคตมองว่า ห้อง ICU เต็ม และอาจจะมีปัญหาเครื่องช่วยหายใจไม่เพียงพอ แนะควรดูแลตัวเองให้ดี เพราะจำนวนผู้ป่วยหนักพุ่งสูงขึ้น

“สถานการณ์ย่ำแย่ไปหมด คือ เจ้าหน้าที่ก็ทำงานหนัก เสี่ยงชีวิตตัวเองด้วย เพราะเชื้อกลายพันธุ์ ซึ่งไม่รู้ว่าวัคซีนที่เราฉีดมา ไม่รู้จะป้องกันตัวเราเองได้มากน้อยแค่ไหน

เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์ ก็ทำงานเต็มที่แล้ว บางคนก็เปลี่ยนจากคนดูแล เป็นคนป่วยไปก็มี เพราะติดเชื้อ

ตอนนี้ต้องดูแลตัวเองให้ดี การ์ดไม่ตก เพราะจำนวนคนป่วยหนักมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวนคนใส่เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้น แล้วดูมันเป็นขาขึ้นไม่ใช่ขาลง เพราะฉะนั้นต้องช่วยกันนะครับ”

นอกจากนี้ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทางเพจวิเคราะห์ชื่อดัง “Branding by Boy” มองว่า ทุกคนควรมีสิทธิขั้นพื้นฐาน เท่าเทียมกัน และได้เตียงรักษาในทันที ไม่ว่าเป็นใครก็ตาม

“1) แสดงว่าสิทธิของการเข้ารับการรักษาพยาบาลปัจจุบันของสาธารณสุขไทย กำลังอิงกับคนมีเงิน ที่มีตังค์ซื้อประกันชีวิต ประกันโรค แล้วถ้าไม่มีอะไรเลย ชีวิตก็จะเป็นอีกแบบ นี้เป็นเรื่องที่สังคมต้องยอมรับได้ใช่ไหมครับ

2) หรือจริงๆ การไม่มีประกัน ก็ควรได้รับเตียงในโรงพยาบาลรัฐ ในช่วงเวลาที่ทันท่วงที อย่างเท่าเทียมกัน เป็นโอกาสขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เท่ากับมนุษย์ ซึ่ง #สวัสดิการรัฐมอบให้ประชาชนเท่ากันทุกคน เป็นพื้นฐานจริงๆ

3) บอยกำลังหมายถึงว่า ประกันไม่เกี่ยวนะครับ ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่ทุกวันนี้ มันไม่มีสิทธิได้เตียงนั้น ไม่ว่าจะปราศจากประกัน ก็ไม่ควรถูกแจ้งว่า “เพราะเธอไม่มีประกันจึงไม่มีสิทธิ”

4) ประเทศที่มีคุณภาพ จะบอกกับประชาชนของเขาว่า “เธอจะมีสิทธิได้เตียง ไม่ว่าเธอจะรวยหรือจน บนสวัสดิการเดียวกัน โอกาสเท่ากัน#คุณค่าความเป็นคนเท่ากัน”

#การซื้อประกัน ก็เป็นการแสดงความเหลื่อมล้ำรูปแบบหนึ่ง ที่คนจนไม่มีสิทธิได้รับ เพราะไม่มีปัญญาซื้อ คำถามคือประเทศที่รัฐสวัสดิการดี ประชาชนต้องซื้อประกันครอบคลุมดูแลตัวเองเยอะๆ ยามเจ็บป่วยไหม หรือก็ควรได้สิทธิพื้นฐานแม้ไร้ประกันอยู่ดีนะครับ?

ประกันอาจจะทำให้คนรวยได้โรงพยาบาลดีขึ้น นอนเตียงดีขึ้น สบายขึ้น สุขสบาย แต่ไม่ได้หมายความว่า “การไม่มีประกัน ทำให้ถูกลดคุณค่าของความเป็นคน ให้ไม่ได้รับการดูแลรักษา หรือปล่อยให้คนจนนอนพะงาบลำบากนะครับ”

ลองพิจารณาก่อนนะครับ”

29 มิ.ย. 2564  ผู้จัดการออนไลน์