ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนดู “วันเด็ก”ผ่านคำขวัญสะท้อนยุคสมัย  (อ่าน 820 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม หลังจากเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ ก็ถึงวาระแห่งวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่สหประชาชาตินำปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชนมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้นมาในปี 2498 ซึ่งประเทศไทยได้จัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 และได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติเรื่อยมา
       
       ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน และที่สำคัญวันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัดด้วย
       
       คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้น ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เลยวันที่ควรจัดวันเด็กมาแล้ว
       
       สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับวันเด็กนอกจากกิจกรรมหลากหลายแล้วก็คือ “คำขวัญวันเด็ก” จากนายกรัฐมนตรีไทยในแต่ละสมัย ซึ่งถือเป็นภาพสะท้อนแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาของผู้นำไทยที่มีต่อเยาวชนได้ชัดเจนมากประการหนึ่ง
       
       มาร่วมพิจารณาคุณค่าความหมายของเด็กผ่านคำขวัญของแต่ละยุคสมัย และอาจไม่แปลกใจที่เด็กและสังคมไทยดูจะมีอนาคตที่ตีบแคบลงทุกขณะ
       


ASTVผู้จัดการรายวัน    10 มกราคม 2558