ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนรอยมหากาพย์ทุจริต “ถุงมือยางแสนล้าน”  (อ่าน 75 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
กลายเป็นรื่องฉาวโฉ่ในช่วงปลายปี2565 สำหรับคดีทุจริตจัดซื้อถุงมือยางนั้น เกิดขึ้นในช่วงปี 63 ช่วงที่ พ.ต.อ.รุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ อดีตรักษาการผู้อำนวยการ อคส. และเจ้าหน้าที่บริหาร ระดับ 8 อีก 2 คน คือ นายเกียรติขจร แซ่ไต่ และนายมูรธาธร คำบุศย์ ได้ร่วมกับเอกชนหลายรายดำเนินโครงการจัดซื้อถุงมือยางเทียม 500 ล้านกล่อง มูลค่า 112,500 ล้านบาท และนำเงินของ อคส. 2,000 ล้านบาท ไปจ่ายเป็นค่ามัดจำให้กับการ์เดียนโกลฟส์ ผู้รับจ้างผลิต ซึ่งผู้ที่มีส่วนรู้เห็นตั้งแต่ระดับประธานบอร์ด อคส.ไล่ลงไปจนถึงระดับพนักงานระดับล่าง จนกลายเป็นมหากาพย์ตามล่าทวงเงินคือ2000ล้านบาท จากพ.ต.ท.รุ่งโรจน์

ล่าสุดคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนกรณีการจัดซื้อถุงมือยางจำนวน 500,000,000 กล่อง ระหว่างองค์การคลังสินค้า กับบริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด ตามสัญญาเลขที่ อคส.ถม. 357/2563 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2563  ซึ่งมีผู้ถูกกล่าวหา 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์การคลังสินค้า ประกอบด้วย พันตำรวจเอก รุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า  นายสุชาติ เตชจักรเสมา ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า   นายเกียรติขจร แซ่ไต่ หัวหน้าส่วนงานการตลาดดิจิตอล รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการขายและจัดจำหน่าย และนายมูรธาธร คำบุศย์ หัวหน้าส่วนงานการเงิน   สำนักบริหารการเงิน ผู้ถูกกล่าวหา

2. กลุ่มเอกชนผู้ทำสัญญาซื้อถุงมือยางจากองค์การคลังสินค้า ประกอบด้วย นายศรายุทธ สายคำมี     นางสาวสุภาวดี เอกรัตนากุล หรือ จักรบดินร์  นายชิเนนทรธรณ์ หรือ ชเนนทร เลิศพิพัฒน์  นายก้องหล้า มฤคพิทักษ์ นางเฟื่องฟ้า วงศ์สินศิริกุล  นายอับดุลลา ปาทาน  นายราชาทีปซิงห์ ยอน  นางฉันทิศา หวง กรรมการบริษัทไทยสไมล์ เทรด จำกัด บริษัท ไทย สไมล์ เทรด จำกัด  ร้อยตำรวจเอก นพฤทธิ์ หรือ ณรภัทร สุขแจ่ม  นางนรากร รมศรี  นางปณาลี  บุรณศิริ ผู้ถูกกล่าวหา

3. กลุ่มเอกชนผู้ทำสัญญาขายถุงมือยางให้กับองค์การคลังสินค้า ประกอบด้วย บริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด  นายธณรัสย์ หัดศรี กรรมการบริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด  นางสาวปิยาภรณ์ รอดเจริญ นางสาวพิชญศรส์ เศวตศุภวัฒณ์  นางสาวกันตา  สิงห์ศักติ             นายอัยวัฏฐ์ เศวตนริทร์

ป.ป.ช.มติเอกฉันท์ ทุจริตแสนล้านจริง

จากการไต่สวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า  ผู้ถูกกล่าวหาได้ร่วมกันในลักษณะแบ่งหน้าที่และให้การช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันในการกระทำความผิด โดยผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์การคลังสินค้า ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ได้กระทำความผิดโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ในการทุจริต ด้วยการร่วมกันกับผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นกลุ่มเอกชนผู้ทำสัญญาซื้อถุงมือยางนำบริษัท ไทย สไมล์ เทรด จำกัด    ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการค้าขายถุงมือยาง รวมทั้งยังได้ร่วมกันแอบอ้างว่ามีผู้แทนของ GALORE MANAGEMENT, LLC และ KRENEK LAW OFFICES, PLLC ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เข้ามาเป็นผู้ซื้อ   ถุงมือยางจากองค์การคลังสินค้าในมูลค่าสูง ทั้งที่ยังไม่ได้มีการวางหลักเกณฑ์หรือระเบียบในการจัดหาและจำหน่ายสินค้า จากนั้นได้เร่งรีบเสนอโครงการจัดซื้อถุงมือยางที่ไม่ได้อยู่ในแผนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่เผยแพร่ ในเว็บไซต์ขององค์การคลังสินค้า ไม่ติดประกาศในที่เปิดเผย ไม่มีราคาอ้างอิง โดยใช้เป็นข้ออ้างว่ามีลูกค้ารองรับซื้อต่อล่วงหน้าแล้ว เพื่อมุ่งหมายและมีวัตถุประสงค์ในการร่วมกับกลุ่มเอกชนผู้ทำสัญญาซื้อขายถุงมือยางนำบริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด เข้าทำสัญญาขายถุงมือยางกับองค์การคลังสินค้า โดยไม่ต้องแข่งขันราคากับผู้เสนอราคารายอื่น รวมทั้งเพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการถอนเงินขององค์การคลังสินค้าที่ได้ฝากประจำไว้ยังสถาบันการเงินไปจ่ายเป็นเงินล่วงหน้าให้กับบริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด จำนวน 2,000,000,000 บาท โดยไม่มีอำนาจ ประกอบกับสัญญาที่ใช้  ในการลงนาม ก็ไม่ใช่สัญญาที่ใช้หรือเคยใช้อยู่ในหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งไม่ดำเนินการส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การคลังสินค้าและราชการอย่างร้ายแรง
 
ชี้ผิดทั้งอาญาและทางวินัย

ทั้งนี้ป.ป.ชชี้มูลว่า การกระทำของ พันตำรวจเอก รุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ      สำนักบริหารกลาง รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า และ นายเกียรติขจร แซ่ไต่ หัวหน้าส่วนงานการตลาดดิจิตอล รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการขายและจัดจำหน่าย องค์การคลังสินค้า เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ  พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 11 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 มาตรา 8 มาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับว่าด้วยระเบียบพนักงานองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2561

ส่วน การกระทำของนายสุชาติ  เตชจักรเสมา ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 11 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 มาตรา 8 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 มาตรา 11 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83

ขณะที่การกระทำของนายมูรธาธร คำบุศย์ หัวหน้าส่วนงานการเงิน สำนักบริหารการเงิน องค์การคลังสินค้า   มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับว่าด้วยระเบียบพนักงานองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2561

ส่วนการกระทำของ บริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด และนายธณรัสย์  หัดศรี กรรมการบริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด  นายศรายุทธ  สายคำมี  นางสาวปิยาภรณ์  รอดเจริญ  นางสาวพิชญศรส์  เศวตศุภวัฒณ์ นางสาวกันตา  สิงห์ศักติ  นายอัยวัฏฐ์  เศวตนริทร์  นางสาวสุภาวดี  เอกรัตนากุล หรือ จักรบดินร์  นายชิเนนทรธรณ์ หรือชเนนทร เลิศพิพัฒน์  นายก้องหล้า  มฤคพิทักษ์  นางเฟื่องฟ้า วงศ์สินศิริกุล  นายอับดุลลา ปาทาน  นายราชาทีปซิงห์  ยอน  นางฉันทิศา หวง กรรมการบริษัท ไทย สไมล์ เทรด จำกัด  บริษัท ไทย สไมล์ เทรด จำกัด  ร้อยตำรวจเอก นพฤทธิ์ หรือ ณรภัทร สุขแจ่ม  นางนรากร  รมศรี  และนางปณาลี  บุรณศิริ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 มาตรา 11  และมาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 มาตรา 8 และมาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 นอกจากนี้ การกระทำของนางสาวกันตา  สิงห์ศักติ  ยังมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

เร่งอายัดทรัพย์สิน

ทั้งนี้ป.ป.ช.ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลริบทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดดังนี้

1. เงินฝากของบริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด และนายธณรัสย์ หัดศรี ในบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รวมเป็นเงินจำนวน 315,946,014.79 บาท พร้อมดอกเบี้ย

2. เงินของบริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด ที่สำนักงานวางทรัพย์จังหวัดนครปฐม จำนวน 14,697,500 บาท

3. ที่ดินของบริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด ตามโฉนดที่ดินตำบลท่าโรงช้าง อำเภอพุนพิน จังหวัด     สุราษฎร์ธานี เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง

4. เงินจำนวน 200,000,000 บาท ที่บริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด นำไปวางเป็นหลักประกัน     การปฏิบัติตามสัญญากับองค์การคลังสินค้า ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำสั่งอายัดไว้

5. เงินจำนวน 20,000,000 บาท ที่บริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด จ่ายให้กับบริษัทเอกชนบริษัทหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำสั่งอายัดไว้และให้ส่งข้อมูลที่ได้จากการไต่สวนให้กับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

ย้อนรอยทุจริต

สำหรับไทม์ไลน์กระบวนการทุจริตจัดซื้อถุงมือยางในครั้งนี้ เริ่มจาก วันที่ 14 ก.ย. 63 ทันทีที่อคส.ตรวจสอบพบความเสียหายจากการอนุมัติให้มีการจัดซื้อถุง มือยางของพ.ต.อ.รุ่งโรจน์ อคส.ได้ส่งเรื่องไปยังระดับบริหารของกระทรวง และวันเดียวกันพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้พ.ต.อ.รุ่งโรจน์ไปปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษในสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้ อคส.ดำเนินสอบสวนภายใน และในวันที่ 15 ก.ย. 63 มีการตั้งคณะกรรมการสอบทันที ต่อด้วยวันที่ 17 ก.ย. 63 ได้ระงับการซื้อขาย และเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 63 นายเกรียงศักดิ์ ได้เข้าแจ้งความต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และวันที่ 23 ก.ย. 63 ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ตรวจสอบ

แฉกระบวนการทุจริต

ทั้งนี้กระบวนการเริ่มต้นเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 63 เมื่อนายเกียรติขจร แซ่ไต่ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย อคส. แจ้งกับที่ประชุมซึ่งมี พ.ต.อ.รุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการ อคส. ว่า เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 63 บริษัท เครเน็กซ์ ลอว์ ออฟฟิสจากสหรัฐอเมริกา มีหนังสือแสดงเจตจำนงซื้อถุงมือยาง จำนวน 500 ล้านกล่อง ราคากล่องละ 230 บาท และ อคส.ได้เจรจาซื้อถุงมือยางจากบริษัท การ์เดียน โกลฟ์ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ทั้งที่บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 63 หรือก่อนทำสัญญาเพียง 2 เดือนทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท มีนายธณรัสย์ หัดศรี เป็นกรรมการบริษัท ราคาเสนอขาย กล่องละ 225 บาท ทั้งนี้มีเงื่อนไขในสัญญา อคส.ต้องชำระเงินล่วงหน้า 2,000 ล้านบาท ขณะที่บริษัท การ์เดียน ต้องวางเงินประกัน 200 ล้าน บาท ทำให้เรื่องดังกล่าวมีเงินทอน ถึง 1,800 ล้านบาท มีการตั้งข้อสังเกตว่าการเจรจาดังกล่าวไม่มีการสอบราคาและผิด ขั้นตอน นอกจากนี้ พ.ต.อ.รุ่งโรจน์ ​ยังมีหนังสือตอบให้เร่งดำเนินการโดยด่วน นำสู่ความไม่โปร่งใสตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลให้นายเกรียงศักดิ์รับตำแหน่งผู้อำนวยการ อคส.คนใหม่ ต้องรีบกู้คืนความเชื่อมั่นของอคส.กลับมาและเร่งตรวจสอบอย่างละเอียด และพบการทุจริต จึงร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. และ ปปง.ในเดือน ก.ย.2563 จนนำไปสู่การมีมติชี้มูลความผิดของป.ป.ช.เมื่อวันที่5เม.ย.2566

Thansettakij
6 เมย 2566