ผู้เขียน หัวข้อ: ดัชนีการรับรู้การทุจริตของไทย อันดับ 101 จาก 180 ประเทศ (2565)  (อ่าน 186 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด




เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เผยแพร่จดหมายข่าว (press release) ระบุและวิเคราะห์อย่างรวบรัดเกี่ยวกับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ประจำปี 2565 ที่จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) มีประเทศที่ถูกจัดอันดับทั้งสิ้น 180 ประเทศ

CPI เป็นดัชนีที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนหรือนักธุรกิจหลายประเทศใช้ดัชนี CPI เพื่อประเมินความน่าสนใจลงทุนของแต่ละประเทศ โดยมองว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เป็นต้นทุนหรือความเสี่ยงในการเข้ามาประกอบธุรกิจ

ภาพรวม ประเทศไทย ได้คะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 36 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 101 ของโลก ดีขึ้นจากปี 2564 ที่ได้คะแนน 35 คะแนน และอยู่ในอันดับที่ 110 ของโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ไทยอยู่อันดับที่ 4 ขณะประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดคือประเทศสิงคโปร์ ได้ 83 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ส่วนอันดับที่ 2 และ 3 คือประเทศมาเลเซีย และประเทศเวียดนาม โดยได้คะแนน 47 และ 42 ตามลำดับ

อาจเห็นว่าถึงแม้ในปีที่ผ่านมาประเทศไทย จะได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการทุจริต โดยมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาการทุจริตต่าง ๆ เช่น มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับระบบ การลงโทษผู้ที่กระทำการทุจริต แต่ในปัญหาการทุจริตต่าง ๆ ของประเทศไทย ยังคงมีอยู่ ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่าน ๆ มา เช่น พฤติกรรมการเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ การป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และการตรวจสอบและลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทุจริต ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

https://www.sdgmove.com/2023/02/02/cpi-corruption-perceptions-index-2022/

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
“คนรุ่นใหม่ทำอะไรให้แก่โลกบ้าง”  สุนทรพจน์ของ นักศึกษาหญิง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่เข้าประกวดสุนทรพจน์ในรายการทีวี 
ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร์ อาจารย์ที่นิติศาสตร์ จุฬาฯผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน  แปลมา

แต่ภายหลังฉันพบว่า มีอยู่อย่างหนึ่งที่ฉันและคุณทำได้ สิ่งนั้นคือ คนรุ่นเรา ไม่ว่าจะเดินไปในเส้นทางใด ขออย่าได้ทำชั่ว ขอแค่ อย่าเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่แบบที่เราเคยรังเกียจในสมัยเด็ก ถ้าต่อไปเราเป็นคนขายของแผงลอย ก็อย่าเอาน้ำมันทิ้งแล้วมาทอดของขาย ถ้าขายผลไม้ ก็อย่าโกงน้ำหนักตาชั่ง ถ้าเปิดโรงงาน เป็นเจ้านายคน ก็อย่ากดค่าแรงลดคุณภาพวัตถุดิบ ผลิตของด้อยคุณภาพ คนธรรมดาหนึ่งคน ในตำแหน่งหน้าที่การงานที่แสนธรรมดา ถ้าทำหน้าที่ของตนให้ดีได้ ย่อมเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก เพราะเราทุกคน ตั้งแต่วันที่เราเกิดมา ก็มีผลเปลี่ยนแปลงโลก......

ฉันหวังว่าทุกคนจะตระหนักว่า แม้จะมีเหตุผลอันน่าเห็นใจแสนอย่าง รองรับการทำชั่ว ตัวเราก็ต้องรักษามาตรฐานศีลธรรมของเราไว้ ด้วยเหตุผลเดียวนั่นคือ เราไม่ใช่สัตว์ป่าผู้หิวโหย แต่เป็นมนุษย์ผู้รู้ผิดชอบชั่วดี เพื่อนร่วมรุ่นหนุ่มสาวของฉัน พวกเราสามารถเป็นคนหนุ่มสาวที่มีคุณภาพ ตลอดชีวิตเกลียดชังความชั่ว ไม่ปล่อยตัวตามกระแสแห่งคลื่นลม ไม่รับใช้ผู้มีอำนาจอย่างหลับหูหลับตา ไม่ลืมหลักการ ไม่ลืมความเป็นมนุษย์ ฉันฝากถึงเพื่อนร่วมรุ่นที่รักทุกคน ถ้าในอนาคต มีคนพูดกับคุณว่า เธออย่าสะเออะมาเป็นนักศีลธรรม รู้จักปรับตัวเข้าสังคมบ้าง เมื่อเวลานั้น เธอก็ควรจะมีความกล้าหาญที่จะตอบว่า ก็ฉันไม่เหมือนคุณนี่ ฉันไม่ได้มาเปลี่ยนตัวเองเพื่อเข้าสังคม ฉันมามีส่วนเปลี่ยนแปลงสังคม…”

จากเพจ ต่อตระกูล ยมนาค