ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นไท : สมเด็จพระปิยะมหาราชทรงมอบ  (อ่าน 1407 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง
ทรงเป็นรัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๐
แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์แรกในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี
เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. ๒๔๑๑) รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๔๒ ปี เสด็จสวรรคต
เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ด้วยโรค
พระวักกะ รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา
 
ย้อนไปกว่าร้อยปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงมีพระวิสัยทัศน์ทอด
ยาวมายังสยามประเทศในวันนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นการไกล     เลือกแนวทางปฏิรูประบบราชการ
(คอฟเวอร์เมนท์รีฟอร์ม) แทนการสร้างประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพรรคการเมืองเป็นสถาบันหลัก
ตามที่ปรากฏชัดเจนใน “พระบรมราชาธิบายว่าด้วยความสามัคคี” ซึ่งอาจถือว่าเป็นการโต้ตอบผู้ที่เห็น
ว่าควรนำการปกครองของยุโรปมาใช้เพราะเชื่อว่าความเจริญของชาวยุโรปเป็นเพราะปกครองด้วย
ระบบรัฐสภา มีพรรคการเมืองไว้เป็นที่โต้เถียง ออกความเห็นเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชี้ให้เห็นว่า ชาวยุโรปใช่ว่าจะมีความสามัคคีกัน
ส่วนมากคิดเอาเองเห็นตามคนพูด พระองค์ทรงกล่าวว่าเป็นความเข้าใจผิดว่า หากต้องการให้ประเทศ
เจริญ “จำเป็นจะต้องมีปาลิเมนต์ที่ราษฎรประชุมปรึกษาราชการ และผู้คิดการบ้านการเมืองนั้น
จะต้องเป็นสองพวกสามพวกในความคิดเห็นต่างกันเหมือนประเทศทั้งปวง เพราะเมืองไทยไม่ยอม
ให้มีความเห็นต่างๆกัน เป็นพวกเป็นเหล่าพูดได้คิดได้ตามใจ บ้านเมืองจึงไม่มีความเจริญเหมือน
ประเทศยุโรป.......”
 
พระองค์ทรงเห็นอีกว่าการจะให้รัฐสภาและพรรคการเมือง มีบทบาทในการสร้างความเจริญให้บ้าน
เมืองนั้น จะต้องใช้เวลาฝึกฝนเป็นเวลานาน ดังที่ทรงกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
 
 “ส่วนความเห็นท่านพวกที่รู้การในประเทศยุโรปละเอียดนั้น    เห็นว่าเพราะเขามีปาลิเมนต์ที่ประชุม
ใหญ่     มีโปลิติกัลปาตี   คือพวกคิดราชการมีความเห็นต่างกันสำหรับที่จะโต้ทานกันและกัน เมื่อคนเป็น
อันมากได้พูดจาโต้ทานกันด้วยฝีปากจนสุดปัญญา การที่จะสำเร็จในปลายมือนั้นคงจะเป็นการที่ได้คิด
เหมือนหนึ่งกับกรองจนใสละเอียดแล้ว ด้วยผู้คิดดีกว่ากันคงต้องชนะกัน การอันนี้ก็เป็นการมีคุณดีจริง
แต่เป็นการมีคุณดีมากแต่ในยุโรปซึ่งเกิดขึ้นโดยความจำเป็นต้องมีขึ้น และได้ฝึกหัดต่อๆมาหลายร้อยปี...”
 
"แต่จะเอามาใช้ในเมืองไทยคงไม่เป็นการถูกกันเลย ด้วยพื้นเพ การงานทั้งปวงไม่เหมือนกัน
เหมือนหนึ่งจะไปลอกเอาตำราทำนาปลูกข้าวสาลีในเมืองยุโรป มาปลูกข้าวจ้าวข้าวเหนียวใน
เมืองไทยจะไม่ได้ผลอันใด .......”
 
“ถ้าจะตั้งโปลิติกัลปาตี พวกคิดราชการก็จะมีได้ แต่พวกละเก้าคนสิบคนหรือสี่ห้าคน   แต่ยังมีพวกอื่นอีก
ที่เป็นอย่างเก่าๆอยู่นั้นตั้งร้อย พวกที่ถือว่าเป็นโปลิติกัลปาตี ทั้งสองสามพวกก็ต้องเห็นต้องดูถูกคนทั้งร้อย
นั้นว่าเป็นเลขเข้าเดือนไปหมด เพราะเหตุที่คนตั้งร้อยนั้นไม่มีความรู้ทุนรอนอันใด และไม่มีความชอบใจ
เห็นด้วยในความคิดนั้นทั้งสองอย่าง จึงตัดสินใจตัวเองว่าจะเป็นพวกไหนไม่ได้ เพราะฉะนั้นในพวก
โปลิติกัลปาตี มีข้างละเก้าคนสิบคนนั้น       แต่ชั่วจะเข้าทำการเป็นคอเวอนเมนต์ก็ไม่พอ คงจะมีพวก
ออปโปสิชั่นมากอยู่เสมอ เพราะเหตุที่ท่านพวกซึ่งเข้าพวกใดไม่ได้ ต้องเป็นเลขอยู่หลายร้อยนั้น
จะต้องเป็นออปโปสิชั่นเพิ่มพวกที่เป็นออปโปสิชั่นจริงๆ โดยความไม่เข้าใจว่าไปทางไหนอยู่เป็นนิจ
เพราะฉะนั้นการอันใดจะสำเร็จไปได้เพราะเหตุที่โปลิติกัลปาตีในเมืองไทยนั้นได้น้อย มาก หรือไม่ได้เลย
เพราะภูมิพื้นบ้านเมืองไม่พอกันกับการนั้น มักจะชักให้เกิดความแตกร้าววิวาทกันอันไม่เป็นประโยชน์”
 
และในอีกตอนหนึ่งของพระราชดำรัส ทรงย้ำสรุปว่า เมื่อความคิดพวกนั้นพวกนี้แตกต่างกัน ทำให้
เกิดทิฐิ    ไม่ยอมฟังคำทักท้วงใดๆ ในความคิด    หรือความคิดที่ดีกว่าของตน ต้องอาศัยผู้รู้ก็ยาก
ที่จะยอมรับ
 
“เพราะฉะนั้นจะป่วยการกล่าวไปถึงความคิดที่จะตั้งปาลิเมนต์ ขึ้นในหมู่คนซึ่งไม่มีความรู้พอที่จะคิด
ราชการ และไม่เป็นความต้องการของคนทั้งปวง นอกจากจะเอาอย่างประเทศยุโรปเพียงสี่ห้าคน
เท่านั้น หรือจะมีโปลิติกัลปาตี พวกคิดราชการเป็นพวกเป็นเหล่า ซึ่งจะมีผู้ที่อยากเป็นไม่เกินยี่สิบ
สามสิบคน อันจะแบ่งออกเป็นสองพวกก็คงจะอยู่ในสิบสี่สิบห้าคนลงมา จะต้องเป็นทั้งผู้คิดผู้ทำตลอด
ราชอาณาเขต ที่ไหนจะทำการตลอดไปได้ ถ้าจะจัดตั้งปาลิเมนต์หรือให้เกิดมีโปลิติกัลปาตีขึ้นในเวลา
ที่บ้านเมืองยังไม่ต้องการดังนี้ ก็จะมีแต่ข้อทุ่มเถียงกันจน การอันใดไม่สำเร็จไปได้ เป็นเครื่องถ่วง
ให้บ้านเมืองมีความเจริญช้า......”
 
พระองค์ทรงตระหนักดีว่า รัฐสภา (ปาลิเมนต์) และพรรคการเมือง (โปลิติกัลปาตี) นั้น เป็นสถาบัน
ที่มิได้มีอยู่ในประเพณีการปกครองของไทย หากจะนำเข้ามาใช้ย่อมจะมีปัญหาที่จะหาคนที่มีความรู้
ถึงบทบาทและการดำเนินงานของพรรคการเมืองจริงๆ มาก่อตั้งพรรค ซึ่งก็ทรงเห็นว่าคงเป็นการยาก
ที่จะดำเนินงานได้สำเร็จ แต่กลับจะทำให้บ้านเมืองเกิดความแตกแยก และผู้นำของไทยในสมัยต่อมา
จนกระทั่งปัจจุบัน รวมทั้งข้าพเจ้าเอง  ก็เห็นด้วยกับพระราชดำรัสนี้เป็นอย่างยิ่ง     พระองค์ทรงมี
พระวิสัยทัศน์เล็งเห็นหายนะเกิดแก่บ้านเมืองด้วยเหตุแห่งความไม่ตระหนักในบทบาทอันสำคัญและ
จริยธรรมพึงมีของนักการเมือง
 
 
ภาคผนวก บันทึกแทนใจทาสในเรือนเบี้ย
 
ในที่สุดก็มาถึงวาระของอิสรภาพและค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของปวงชนชาวไทย
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระปิยะมหาราช
จากการตราพระราชบัญญัติลักษณะเลิกทาส ร.ศ.๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
ให้คงความเป็นไทไว้ป็นสัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของชาติ
พระองค์ได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจในเรื่องการเลิกทาสเป็นเรื่องยากยิ่ง
ด้วยเพราะประชาชนมนมีฐานะในสมัยก่อนมีทาสรับใช้เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะขุนนางข้าราชการทั้งหาลาย
และคงได้สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากแก่หลายฝ่าย
 
 
 
แต่พระองค์ทรงดำเนินการอย่างแยบคาย ค่อยเป็นค่อยไป
 
ทำให้การเลิกทาสสำเร็จราบรื่น
 
สมเด็จพระปิยะมหาราชเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย
 
ที่ได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจที่สำคัญนานัปการ
 
พระองค์จึงยังคงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยแม้เวลาผ่านมากว่า ๑๐๐ ปี

 
บันทึกแทนนักเรียนนอก: พระราชดำรัสของสมเด็จพระปิยะมหาราช
 
 
" (...)ฉันเห็นว่าความเห็นที่ควรจะนับว่าพึงได้ในการมายุโรปนั้น แบ่งเป็น ๔ ประการ"
 
คือเห็นชีวิตร์ในยุโรปเปนไปอยู่ประการใด ๑
 
เห็นที่เกิดทรัพย์แลสิ่งใดเป็นทรัพย์ ๑ 

เห็นกำลัง คือ การที่จะทำร้ายฤๅต่อสู้ศัตรู ๑
 
เห็นความสนุกทั้งหลายอันมีอยู่ประการ ๑ (...)"



http://mblog.manager.co.th/athenaz/th-123023/