แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 647 648 [649] 650 651 ... 654
9721
อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ จะรู้ว่าแพทย์คนเขียนเป็นแค่ คนอยากให้คนอื่นคิดว่าเป็น นักศึกษาแพทย์
พูดตรงๆ ก็คือ นักศึกษาแพทย์ตัวปลอม

อยากให้เป็นนักศึกษาแพทย์จริงๆ
จะได้ไปนั่งจับเข่าคุยกับน้อง แล้วเล่าเรื่องจริงให้ฟัง ไล่เรื่องขยะๆ ออกจากหัวของน้องให้หมด

9722
หมอสุธีร์หยุดกล่าวหาแพทย์ทั้งประเทศเสียทีครับ คุณไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่ารู้ดีไปกว่าหมอที่เคลื่อนไหว

ไม่มีใครโง่พอที่จะทำลายสิ่งที่เป็นเรื่องดี เรื่องราวที่เป็นเนื้อหาภายในร่างพระราชบัญญัติจะได้มีการชำแหละละเอียด

ยิ่งกว่าการชำแหละชันสูตรพลิกศพ แล้วคุณจะได้รู้ว่าคุณหรือใครที่คุณกล่าวหานั้น ใครโง่กว่าใคร แล้วจะรู้ว่า อะไรเป็นอะไรครับ


ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงาน ไม่รู้เรื่องกฎหมาย มองไม่เห็นภาพที่แท้จริงของเนื้อใน ดูแค่เปลือกกับคำโฆษณา แล้วขยันออกความคิดเห็น
คุณหมอสุธีร์กลับไปเรียนต่ออีกหลายปีก็จะยังไม่ทราบกระมังว่า อะไรเป็นอะไร


เพื่อนเราคนหนึ่ง

9723
นักศึกษาแพทย์ผู้ซึ่งจะเป็นหมอในเมษายนปีหน้านี
เขาก็น่าจะได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้เหมือนกัน

เพราะเมื่อเขาจบใหม่เขาก็จะยังไม่มีทักษะและความเชี่ยวชาญที่สมบูรณ์เหมือน พี่ ๆ ที่จบมานานแล้ว
เขาก็จะต้องไปทำงานในโรงพยาบาลในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน
และเมื่อเขาทำอะไรผิดพลาดด้วยความอ่อนในประสบการณ์ หรือด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ไม่พร้อม
เขาก็ควรจะมีเครื่องมืออะไรมาช่วยให้พวกเขาได้เห็นว่าผู้ป่วยของเขาที่ไ้ด้ร ับความเสียหาย
ได้รับช่วยเหลือเยี่ยวยาที่เหมาะสม
แต่เหตุใด พี่ ๆ จึงมาทำลายเครื่องมือที่จะช่วยเขาเสีย

จาก นพ. Suthee Rattanamongkolgul

มายาคติแห่งวิวาทะแพทย์-ผู้เสียหายทางสาธารณสุข
ปฏิเสธ ไม่ได้เลยว่าการออกมาปะทะกันรอบล่าสุดของกลุ่มองค์กรวิชาชีพสาธารณสุขที่นำ โดยแพทย์ กับกลุ่มเครือข่ายผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุขถือว่ารุนแรงและส่ง ผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างโดยเฉพาะในประเด็นของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ......
 
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เกิดจาก เจตนารมณ์ที่ดีในการที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายให้ได้รับการชดเชย ที่เหมาะสม ลดการฟ้องร้องแพทย์และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง “หมอ” กับ “คนไข้” ที่กำลังถูกถ่างให้กว้างขึ้นทุกทีโดยคนหลายกลุ่มทั้งที่รู้และรู้เท่าไม่ถึง การณ์
 
ต้นเรื่องคือความสัมพันธ์ที่ ย่ำแย่มาจากการที่เกิดความเสียหายกับคนไข้ขึ้นมาแล้วหมอไม่ได้อธิบายหรือ อธิบายได้ไม่ดีพอ แล้วเกิดคดีความฟ้องร้อง คราวนี้ต่างฝ่ายก็มีกองเชียร์เข้ามาช่วยสนับสนุน ฝ่ายหนึ่งก็เป็นสภาวิชาชีพที่เล่นผิดบทบาท ส่วนอีกฝ่ายก็เป็นกลุ่มNGOsที่เจ็บปวดมาเหมือนๆกัน ต่อสู้กันไปต่อสู้กันมา ๓ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง สุดท้ายไม่ว่าผลเป็นยังไงก็เจ็บด้วยกันทั้งสองฝ่าย  ทั้ง หมอที่รักษาคนไข้เองก็เกิดอาการท้อ-น้อยใจ- หมดกำลังใจ-หวาดระแวงในการทำงานเพื่อคนไข้คนอื่นๆต่อ ส่วนผู้ป่วยก็รู้สึกแย่ต่อหมอทั้งๆที่ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดความสูญเสียขึ้น ส่วนกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายก็เตรียมไปห้ำหั่นกันในเวทีต่อไป
  
อย่างเหตุการณ์ประท้วงร่างพระราช บัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ......เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคมที่ผ่านมานี่ทำให้ผมมองเห็นอะไรได้หลายๆอย่างเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ของกลุ่มสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย ในครั้งนี้
  
อย่างแรกคือตัวแทนของสมาพันธ์ที่ ออกมาเรียกร้องวันนี้หลายๆคนไม่ได้อ่านร่างพรบ.อย่างถึ่ถ้วนเลยด้วยซ้ำ สังเกตจากการตอบคำถามในวงสนทนาต่างๆที่มักจะแสดงออกกันไปคนละเรื่องกับคำถาม ในแถลงการณ์ต่างๆที่สมาพันธ์แห่งนี้ออกมาก็คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและมี อคติต่อร่างฉบับนี้อย่างมาก  ผลที่ตามมาก็คือได้มี การสร้างอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวขึ้นในหมู่แพทย์ พยาบาล เภสัชกร...จนเกิดการล่ารายชื่อมาคัดค้านร่างพรบ.ฉบับนี้สมใจผู้ชักใยอยู่ เบื้องหลังสมาพันธ์ไปเต็มๆ
  
มายาคติแรก มีผู้พยายามบอกว่าพรบ.ฉบับนี้จะทำให้เกิดการฟ้องร้องหมออย่างกว้างขวางอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน(คุ้นๆเหมือนตอนมีมาตรา ๔๑ใหม่ๆไหมครับ) แล้วก็จะมีการเอาหมอติดคุก ทำให้กำลังใจในการทำงานหดหายไป ทั้งที่ความจริงแล้วพรบ.ฉบับนี้ไม่เกี่ยวกับหมอเลยสักนิด เขาตราขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากการรับบริการ หมอไม่ถูกฟ้องอาญาจากพรบ.ฉบับนี้ เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีพรบ.นี้เขาก็ฟ้องอาญาหมอได้อยู่แล้วตามประมวล กฎหมายอาญาซึ่งมีมาก่อนแล้ว
 
มายาคติที่สอง มีการปลุกระดมถึงการที่ไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ มีแต่NGOsกับ คนที่ไม่ได้ตรวจคนไข้มารุมหมอ แล้วการตัดสินก็ใช้เสียงข้างมากโดยไม่พิสูจน์ถูกผิดอีก ถามว่าทำไมถึงไม่ให้มีตัวแทนสภาวิชาชีพก็เพราะเขาไม่ต้องการให้เกิดความทับ ซ้อนกันระหว่างคณะกรรมการนี้กับการไต่สวนของสภาวิชาชีพ เพราะกองทุนนี้ตั้งมาเพื่อช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับความเสียหาย ไม่ใช่วงที่จะมาเอาผิดใคร เป็นการช่วยเหลือตามมนุษยธรรมด้วยจิตใจของมนุษย์โดยมโนสำนึกว่าผู้เสียหายคน นี้ควรได้รับเงินช่วยเหลือหรือไม่อย่างไร โดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ เหมือนอย่างกรณีที่แพ้ยาแล้วตาบอดถามว่าแพทย์ผิดไหมที่ให้ยาตัวนี้ก็ไม่ผิด เพราะแพทย์ไม่รู้ว่าคนๆนี้จะแพ้ยาอะไรล่วงหน้าได้ แต่ถามว่าได้เกิดความเสียหายต่อชีวิตของเขาไหม เขาจะอยู่ต่อไปอย่างไร ครอบครัวเขาจะทำอย่างไร ตรงนี้หมอตอบไม่ได้ หมอก็จะคิดว่าเป็นความซวยหรือกรรมของคนไข้เองที่แพ้ยาตัวนี้ ทีนี้ก็เกิดความไม่เข้าใจกันขึ้นมากลายเป็นปัญหาลุกลามต่อไป
 
ถามว่าเวลาขับรถแล้วเราไปชนรถ คันหน้าที่เบรกกระทันหันเนี่ยบริษัทประกันจ่ายเงินให้เราไหม??
 
มายาคติที่สาม ที่ทุกคนกลัวกันมากที่สุดคือการถูกถอนใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม การออกจากราชการและการติดคุกซึ่งเป็นโทษจากกฎหมายอื่นทั้งสิ้น กฎหมายฉบับนี้ไม่มีการระบุโทษดังกล่าวไว้เลย!! เป็นแต่เพียงการปรุงแต่งจากคนบางกลุ่มเท่านั้นที่บอกว่าจะมีคนเอาผลจากการ ตัดสินชี้ขาดของคณะกรรมการตามพรบ.นี้ไปขยายผลฟ้องอาญาต่อ ซึ่งถือว่าไกลจากตัวกฎหมายฉบับนี้มาก เพราะขั้นตอนคือการฟ้องอาญา;ศาลตัดสินจำคุก;ออกจากราชการ;แพทยสภาตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน;เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นขั้นตอนปกติเหมือนตอนยังไม่มีพรบ.ฉบับนี้  แล้ว กฎหมายฉบับนี้ช่วยแพทย์โดยศาลสามารถนำหลักฐานการ พิจารณาของคณะกรรมการกองทุนมาพิจารณาเพื่อที่จะไม่ลงโทษหรือลดโทษให้อีกก็ ได้ในกรณีที่ศาลเห็นว่าแพทย์มีความผิด

กรณีร่อนพิบูลย์ก็เป็นตัวอย่าง หนึ่งที่แสดงให้เห็นแล้วว่าความจริงเขาก็ไม่ได้อยากฟ้องแต่คนในสภาวิชาชีพ เองต่างหากที่ไปยุให้แพทย์ไม่ไปงานศพ ไม่ขอโทษ ไม่ช่วยเหลือตามมนุษยธรรม โศกนาฏกรรมที่สภาวิชาชีพเอาไปฉายซ้ำสร้างอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวและสร้าง บาดแผลให้วงการแพทย์จึงเกิดขึ้น
  
บางครั้งหมอก็ควรมองความเดือดร้อนของคนไข้บ้างว่าเขาเดือดร้อนจริงๆ ไม่ใช่คิดเพียงแต่ว่าพวกนี้อยากได้เงิน อยากเอาหมอติดคุก อยากให้หมอคนนี้ถูกยึดใบประกอบฯ มิเช่นนั้นระยะห่างของหมอกับคนไข้จะถูกถ่างออกไปอีก จากผู้ให้ไปสู่ผู้รับกลายเป็นพ่อค้ากับลูกค้า
  
บอกตรงๆครับผมในฐานะนักเรียน แพทย์คนนึงรู้สึกสลดใจที่เห็นหมอ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัดออกมาเรียกร้องในสิ่งที่ตัวเองยังไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ เพียงแต่ฟังๆเขาเล่ากันมา เอาขี้ปากเขามาพูดสร้างอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวกัน ภาพพวกพี่ๆที่ออกมาวันนี้ในสายตาชาวบ้านดูไม่ดีเลยครับ
 
ผมไม่อยากให้เรื่องวันนี้จบแค่ การออกมาแสดงพลังโก้ๆของแต่ละฝ่าย ทั้งสองฝ่ายควรย้อนกลับไปรวบรวมข้อมูลหลักฐานและข้อเสนอแนะต่อร่างพรบ.ฉบับ นี้แล้วมาคุยกันใหม่โดยปราศจากอคติ คิดถึงใจเขาใจเรา อย่าคิดถึงตัวเองแต่เพียงอย่างเดียว ผมไม่อยากให้สังคมสาธารณสุขของเราไม่ฟังกันแบบเหลืองกับแดงที่มีความคิดฝังหัวโดยไม่รู้จักแยกแยะผิดถูก แล้วมาเจอใหม่ในรัฐสภาตอนแปรญัตติดีกว่าครับ
  
เชิญตรองดูตามโยนิโสมนสิการ
ขุมทรัพย์ เพชร.

วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓  




9724
มีข่าวแจ้งว่า

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิต วราชิต ได้ประสานให้มีการพบปะ พูดคุยกันของหลายๆฝ่ายที่เกียวข้องกับ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
(เช่น ตัวแทนจากแพทยสภา-ตัวแทนจากแพทยสมาคม- ตัวแทนจากสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.- ตัวแทนจากชมรมแพทย์คลินิค- คณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร์-ตัวแทนเอ็นจีโอ)
ในวันจันทร์ที่ 2 ส.ค.นี้ที่กระทรวงสาธารณสุข เวลาประมาณ 16.00 น. เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับร่าง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

จากข่าววงใน

9725

ที่พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเวลา 14.00 น. พรรคประชาธิปัตย์  ได้มีตัวแทนแพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ ผู้แทนสาขาเภสัชกรรม สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง และคณะกรรมการศึกษาเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาการสาธารณสุขไทย นำโดย รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา ได้เดินทางมาพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารมูลนิธิ ควง อภัยวงศ์ เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .. เพราะเห็นว่าคนบางส่วนเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์แต่คนส่วนใหญ่จะเสียประโยชน์ และเป็นภาระงบประมาณระยะยาว จึงควรถอนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวออกมาก่อนแล้วนำมาพิจารณาใหม่ให้รอบคอบ โดยใช้เวลาการเข้าพบประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

 จากนั้น รศ.พญ.ประสบศรี กล่าวว่า ในภาพรวม ทุกคนที่มาวันนี้ มีความเห็นพ้องกันว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่ดีที่เราต้องผลักดันให้เกิดขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์รายละเอียดและสาระแล้ว เราคิดว่ามันยังไม่สอดคล้องกันกับเจตนารมณในหลายๆรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องที่มีอยู่ในหลายกระทรวง ซึ่งต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อหาทางออกไปด้วยกันว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ดีควรถูกนำมาปรับอย่างไรให้เหมาะสม และเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการทางการแพทย์ทั้งประเทศ เพราะร่างพ.ร.บ.นี้กินความไปถึงผู้ประกอบวิชาชีพจนถึงนักวิชาการด้านสาธารณสุข จึงถือว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวครอบคลุมกลว้างขวางมาก จึงต้องมีการทบทวนรายละเอียดที่เหมาะสม แต่ไม่ใช่ว่าเราไม่เห็นด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับไป และบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นประเด็นที่สำคัญว่าสาระยังไม่ครบถ้วน ในเวลาเดียวกันผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก็ยังไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ นายกรัฐมนตรีจึงรับไปบริหารจัดการในแนวทางของท่าน เพื่อให้ทุกกลุ่มได้มาพูดคุยในรายละเอียดอีกครั้ง

 เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีระบุหรือไม่ว่าจะชะลอการนำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ ที่จะเริ่มในเดือน ส.ค.นี้ รศ.พญ.ประสบศรี กล่าวว่า เป็นสิทธิ์ของนายกรัฐมนตรี ทางเราไม่ไปผลักดัน หรือกดดันว่าให้ทำอะไร เราเพียงแต่เสนอข้อเท็จจริงในเรื่องของสาระสำคัญเท่านั้น แต่นายกรัฐมนตรีจะพิจารณาอย่างไรนั้น ก็ถือเป็นวิจารณญาณของท่าน ทั้งนี้ เราไม่อยากให้ร่าง
พ.ร.บ.นี้ออกมาแล้วทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์ สถานพยาบาล และคนไข้ที่อยู่ในระดับจังหวัดต่างๆ จะได้รับผลกระทบ เพราะวันนี้ความสัมพันธ์ยังดีอยู่มาก นอกจากนี้ เราไม่อยากให้ร่าง พ.ร.บ.นี้ออกมาแล้วเกิดการสั่นสะเทือนในการปรองดองของชาติ จึงควรชะลอแล้วทำให้เกิดความเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการเยียวยามากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับรัฐบาล แต่ก็ขึ้นอยู่ที่นายกรัฐมนตรีจะพิจารณา


9726
ข้อเสนอเนื้อหาที่น่าจะนำเสนอความคิดเห็นกับร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายต่อสื่อมวลชน

1.             แพทย์และบุคลากรทางด้านสาธารณสุขไม่ได้คัดค้านการที่ผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือเมื่อมีความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บ และจากกระบวนการรักษาพยาบาล

2.             บุคลากรทางด้านสาธารณสุขมีความเห็นว่าการช่วยเหลือเป็นเงินเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวเท่านั้น มิได้เป็นช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายในระยะยาว การช่วยเหลือที่ดีที่สุด คือ การทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุข หรือใกล้เคียงที่สุด ซึ่งการช่วยเหลือนี้ ได้แก่ การฟื้นฟูสุขภาพ การใช้กายอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์เทียม การฝึกอาชีพ เป็นต้น ซึ่งร่างพรบ.นี้เน้นการช่วยเหลือในรูปของเงินอย่างเดียวจึงไม่เหมาะสม

3.             นอกจากผู้ที่ได้รับความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บแล้วยังมีผู้ได้รับความเดือดร้อนและทุกข์ทรมานจากสาเหตุอื่นๆอีก ได้แก่ ผู้ได้รับบาดเจ็บจากภัยการจราจร ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอาชญากรรม จากการจราจร เป็นต้นซึ่งควรได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งการช่วยเหลืออาจเป็นการช่วยเหลือโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสังคมสงเคราะห์ โดยเป็นการช่วยครอบคลุมประชาชนผู้เดือดร้อนทุกคน ไม่เลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

4.             หากจะมีการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็ควรจะให้การช่วยเหลือโดยประเมินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น มิใช่ประเมินจากว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นหรือไม่ ความผิดร้ายแรงเพียงใดดังร่าง ถึงแม้ว่าร่างพรบ.นี้จะมีการเขียนว่าจะไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด แต่จริงๆแล้วเนื้อหาในร่างพรบ.นี้จะมีการจ่ายเงินให้ก็ต่อเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นเท่านั้นซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเพียงพอเพราะต้องใช้เวลาในการตัดสิน และอาจได้รับการช่วยเหลือไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

5.             คณะกรรมการที่จะตัดสินว่าบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทำผิดหรือไม่ตามร่างพรบ.นี้ส่วนใหญ่ จะไม่มีความรู้ทางด้านการแพทย์ และกฎหมาย ทำให้การติดสินไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและตามหลักกฎหมาย

6.             ดังนั้นถ้าตัดสินว่าบุคลกรทางด้านสาธารณสุขไม่ได้กระทำผิด ผู้ป่วยก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ แต่ถ้าตัดสินว่าบุคลากรทางด้านสาธารณสุขกระทำความผิดบุคลากรทางด้านสาธารณสุขก็ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะคณะกรรมการที่ตัดสินถูกผิดส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางด้านสาธารณสุข แต่ผลการตัดสินสามารถนำไปเป็นมูลฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลอาญา และอื่นๆได้

7.             กฎหมายนี้มีอคติต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุข เพราะแม้แต่ชื่อก็แสดงถึงการมองถึงบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในด้านอาฆาตมาดร้าย และเนื้อหาในร่างพรบ.นี้ก็มิได้ให้ความยุติธรรมต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุข

8.             บุคลากรทางด้านการแพทย์ซึ่งเสียสละตนเองเพื่อผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว มิควรถูกผลักภาระให้ต้องมารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ก่ออีกทั้งภาระทางด้านการเงินซึ่งต้องจ่ายให้กองทุนตามร่างพรบ.นี้ ภาระด้านความรับผิดชอบทางกฎหมาย ซึ่งการช่วยเหลือควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น

9.             บุคลากรทางด้านการแพทย์จะขาดขวัญและกำลังใจเพราะ ขาดความเชื่อมั่น ความมั่นใจ จนอาจไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ หรือแม้กระทั่งอาจลาออกจากราชการ หรือเปลี่ยนอาชีพจากทางด้านสาธารณสุขเลยก็เป็นได้

10.        ผู้ที่เสนอกฎหมายนี้อาจมีเงื่อนงำอย่างอื่นซ่อนอยู่ เพราะถ้าหากสามารถเข้าไปเป็นกรรมการในร่างพรบ.นี้ ซึ่งจะมีกองทุนอยู่จำนวนมหาศาล สามารถจะกำหนดเงินเดือน เงินตอบแทนอื่นๆ ได้เอง และสามารถนำเงินในกองทุนไปหาผลประโยชน์แอบแฝงอย่างอื่นได้

 พ.ภีศเดช

9727
สถิติการแพทย์ไทยที่น่าสนใจ
ในการวางแผนจะคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการไปโรงพยาบาลอย่างไรดี

ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์และสาธารณสุขไทย กำลังมีประเด็นร้อนเรื่องการที่รัฐบาลและสส.รวมทั้งประชาชน ได้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและมีข่าวว่า ประชาชนอยากให้มีกฎหมายนี้ แต่ฝ่ายแพทย์ที่ออกมาให้ความเห็นว่า ยังไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนี้ ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ กลุ่มแพทย์เหล่านี้ ก็อาจจะถูกมองว่า ไม่อยากให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ผู้เขียน ได้ออกมาแสดงความ “ไม่เห็นด้วย” กับร่างพ.ร.บ.นี้ แต่ไม่ใช่ว่า พวกแพทย์ไม่อยก คุ้มครองประชาชน” แต่การคุ้มครองประชาชนก็ควรจะคุ้มครองทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ให้การรักษา และฝ่ายได้รับการรักษาด้วย

 ก่อนอื่นก็ขอทำความเข้าใจกับประชาชนว่า บุคลากรทางการแพทย์นั้น ทุกสาขาวิชาชีพ ต่างก็มีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพกำกับดูแลมากกว่าวิชาชีพอื่นๆ และมีสภาวิชาชีพ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของวิชาชีพนั้นๆ คอยกำกับดูแล และบังคับให้บุคลากรในการกำกับนั้น ปฏิบัติวิชาชีพอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพนั้นๆ ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ไม่ปฏิบัติตามกรอบของคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพแล้ว ก็ต้องได้รับโทษทัณฑ์จากสภาวิชาชีพ โดยไม่มีข้อยกเว้น  แต่ทำทในปัจจุบัน ในระยะแปดปีมานี้ มันเกิดอะไรขึ้นในวงการแพทย์ จึงทำให้มีการฟ้องร้อง /ร้องเรียนแพทย์เกิดขึ้นมากมาย ก็จะขอทบทวนว่า “เกิดอะไรขึ้นในวงการแพทย์บ้านเรา

  ภายในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา เกิดสิ่งใหม่ในวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย คือพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ที่ให้สิทธิแก่ประชาชน 46.9 ล้านคน ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกชนิด โดยจ่ายเงินเพียงครั้งละ 30 บาท และต่อมาในยุครัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ยกเลิกการเก็บเงินครั้งละ 30 บาท โดยนพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สธ.ในยุคนั้น อ้างว่า เสียเวลาลงบัญชี

แต่ผลพวงของระบบ 30 บาท(0 บาท) รักษาทุกโรคนี้ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย คือประชาชนไม่ต้องจ่ายเงินหรือมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างสุขภาพเลย แต่ไปเรียกร้องสิทธิ์การรักษามากขึ้น ประชาชนมีความคาดหวังสูง และเมื่อไม่ได้ตามคาดหวัง ก็มีการร้องเรียน/ฟ้องร้องมากขึ้น (เรียกร้องตามสิทธิ์ที่รัฐบาลบอกไว้)
จากสถิติของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)ซึ่งพอ.(พิเศษ)ผศ.นพ.กิฎาพล วัฒนะกุล ได้บรรยายที่จังหวัดขอนแก่น  ได้แสดงตัวเลขที่น่าสนใจว่า ในปีงบประมาณ 2553 (ตค.52-มีค. 53)ประชาชนมีการร้องเรียน388,493 เรื่อง  แต่เป็นเรื่องสอบถามข้อมูล 381,680 เรื่อง(98.25%) เป็นเรื่องการส่งต่อผู้ป่วย 1,550 เรื่อง(0.39%) และเป็นเรื่องความเสียหายจากการรักษาเพียง 1,978 เรื่องหรือ 0.51%ของเรื่องร้องเรียน

แต่ถ้าดูจำนวนครั้งที่ประชาชนไปรับการตรวจรักษาแล้ว ในแต่ละปี จะพบว่า ในจำนวนประชาชนทั้งหมด 63 ล้านคนนี้ ไปโรงพยาบาลทั้งสิ้น 200 ล้านครั้ง โดยแบ่งออกเป็นผู้ป่วยนอก 2.7 ครั้งต่อคนต่อปี รวมเป็น 140 ล้านครั้ง เป็นผู้ป่วยใน(นอนรักษาในโรงพยาบาล) อีก 11%ของประชาชนทั้งหมดคือ 6.9 ล้านคน/ปี ถ้าคิดว่าประชาชนนอนรพ.เฉลี่ยครั้งละ 3 วัน เป็นจำนวนที่แพทย์ต้องตรวจวันละอย่างน้อย รวมการผ่าตัดและรักษาอื่นๆวันละ 3 ครั้ง รวมแล้วเท่ากับแพทย์ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยในอีก62.1 ล้านครั้ง รวมแล้วแพทย์ต้องรับภาระตรวจรักษาผู้ป่วย 200,000,000 ครั้งต่อปี แต่เกิดการฟ้องร้องเรื่องความเสียหายแค่ ไม่ถึง 2,000 ครั้ง เท่ากับอัตราการเกิดความเสียหายเพียงไม่ถึง 1 ครั้งต่อการรักษา 100,000 ครั้ง หรือคิดเป็นเพียง 0.001%

  ทีนี้มาดูสถิติแพทย์ไทยบ้าง พบว่าประเทศไทยมีแพทย์ทั้งหมด37,598 คน ในจำนวนนี้ รับราชการในกระทรวงสาธารณสุขเพียง 12,000 คน แต่ในจำนวน 12,000 คนนี้ เป็นผู้บริหารตั้งแต่ระดับสูง กลาง ล่าง เสียเกือบ 4,000 คน ยังเหลือแพทย์ที่ทำงานดูแลรักษาผ่าตัดผู้ป่วยเพียงประมาณ 8,000 คนเทียบกับภาระการดูแลรักษาผู้ป่วยปีละ200,000,000 ครั้ง ทำให้แพทย์เหล่านี้ต้องทำงานสัปดาห์ละ 80-120 ชั่วโมง และมีเวลาในการตรวจผู้ป่วยนอก 2-4 นาที่ต่อผู้ป่วย 1 คน ความเสี่ยงต่อความผิดพลาดจากการตรวจรักษาผู้ป่วยก็คงจะเพิ่มขึ้น และความเสี่ยงต่อการที่จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจก็คงมากขึ้นเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่จะเกิดการฟ้องร้อง/ร้องเรียนมากขึ้น

  ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไต้หวัน (ไม่ต้องไปเปรียบกับประเทศทางยุโรป ที่เก็บภาษีแพงมาก) ที่มีประชาชนเพียง 23 ล้านคน แต่มีแพทย์จำนวน 50,000 คน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แพทย์ไทยต้องรับภาระมากกว่าแพทย์ไต้หวันอย่างเห็นได้ชัด
 
 จะเห็นได้ว่า คนไทยป่วยมากๆแล้วจึงไปหาหมอ ทำให้อัตราผู้ป่วยในมากกว่าไต้หวันถึง 10 เท่า ในขณะที่อัตราผู้ป่วยนอกของไต้หวันมีถึง 14 ครั้งต่อคนต่อปี มากกว่าอัตราผู้ป่วยนอกของไทยประมาณ 5 เท่า แสดงว่าเขารีบไปหาหมอ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่านอนโรงพยาบาลแพง เนื่องจากไต้หวัน เขากำหนดให้ประชาชนร่วมจ่ายเงินในการไปใช้บริการโรงพยาบาล อัตราการจ่ายเงินก็แตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ทันตกรรม หรือค่ายา ยกเว้นกลุ่มโรคที่มีอาการรุนแรง ผู้มีรายได้น้อย ผู้อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ทหารผ่านศึก และเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่ต้องจ่ายเงิน

ในขณะที่ไต้หวัน มีงบประมาณการประกันสุขภาพ 400,000 ล้านบาทสำหรับหระชาชน 23 ล้านคน แต่ประเทศไทยมี 3 กองทุน สำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพมี 120,000 ล้านบาท สำหรับประชาชน 46.9 ล้านคน ฟรีหมด แล้วยังไปจ่ายเงินเดือนบุคลากรอีกส่วนหนึ่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่ งบประมาณไม่พอใช้

  จากการสัมมนาแปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดโดยแพทยสภา ได้สรุปว่า
การที่ประชาชนไทยได้สิทธิฟรี ทำให้ไม่ดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ไปใช้บริการโรงพยาบาลเหมือนโรงเจ แต่คนจนจริงๆ อาจไม่สามารถไปรับบริการที่โรงพยาบาลได้ เพราะไม่มีค่ารถเดินทางไปโรงพยาบาล

เมื่อคนไปโรงพยาบาลมาก แพทยพยาบาลรับภาระงานมากเกินไป ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงอันตรายเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีความคาดหวังสูง ทำให้การฟ้องร้องสูง เพราะไม่เป็นไปตามความคาดหวัง และยังสมาารถร้องเรียนได้เงินชดเชยอีก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์แย่ลง

  มีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการแพทย์เกิดขึ้น 1,978 เรื่อง ในปีพ.ศ. 2553 โดยแยกเป็นเรื่องร้องเรียนจากเขตต่างๆของสปสช.ดังนี้คือ
1.เขตกรุงเทพมหานคร 61.9%
2.เขตเชียงใหม่ 8.4%
3. เขตสระบุรี 7.1%
4.เขต สงขลา 3.2%
5.เขตสุราษฎร์ธานี 3.2%
6.เขตขอนแก่น 2.6%
7. เขตพิษณุโลก 1.3%
8.เขตนครสวรรค์ 1.3%
9.เขต นครราชสีมา 1.3%

 เป็นเรื่องน่าคิดมากที่เขตกทม.มีศูนย์การแพทย์ที่มีศักยภาพสูงสุดอยู่มากกว่าเขตอื่นๆในประเทศไทย ทำไมจึงเกิดการร้องขอเงินช่วยเหลือมากกว่าเขตอื่นๆอย่างโดดเด่นเช่นนี้ น่าที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขของสปสช.จะไปศึกษาวิเคราะห์ในเชิงลึกต่อไป ว่า มันเป็นเพราะกทม. มีประชาชนอาศัยอยู่มากกว่าที่อื่น (หมายถึงคนต่างจังหวัดและต่างด้าวอพยพมาทำงาน โดยไม่มีทะเบียนบ้าน) ผู้ป่วยอาการวิกฤติถูกส่งต่อมาจากต่างจังหวัดเยอะ ทำให้มาถึงแล้ว แพทย์ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ หรือคนในกรุงเทพมีความคาดหวังสูงเกินไป

 มีการวิเคราะห์ของคณะกรรมการควบคุมมาตรฐานหน่วยบริการสาธารณสุขได้มาคุยเป็นการส่วนตัวกับผู้เขียนว่า โรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) หลายแห่งไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีบุคลากรน้อยเกินไป เช่นหมอ 1 คน ต่อผู้ป่วย 30,000 คน พยาบาล 1 คน ต่อผู้ป่วย 10,000-20,000 คน และที่PCU แห่งนี้ มีเรื่องร้องเรียนมากว่าพยาบาลไม่ยิ้มเลย


 ผู้เขียนก็อึ้งกิมกี่ไปเลย (จะหัวเราะก็มิออก จะร่ำไห้ก็มิได้!) แต่ได้ข่าวว่า ผู้บริหารจะไปจ้างประชาสัมพันธ์ให้มาทำหน้าที่ยิ้มแทนบุคลากร ! และกำลังจะออกพ.ร.บ.มาคุ้มครองผู้เสียหายและทำร้ายบุคลากรพ.ศ. ....

มีข่าวว่าพวกหมอต่อต้านกฎหมายคุ้มครองประชาชน  เพราะหมอไม่รักประชาชนหรือเปล่า? หมอไม่อยากให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองให้ปลอดภัยหรือเปล่า?

ขอตอบตามความเป็นจริงว่า หมอแทบทุกคน ส่วนใหญ่แล้วต้องรักประชาชนยิ่งกว่าตัวเองอยู่แล้ว  หมออยากรักษาประชาชนให้หายป่วย ไม่ต้องตายโดยไม่สมควรตายทุกคน เพราะถ้าหมอรักษาดี ก็จะมีชื่อเสียงขจรขจาย ถ้าหมอรักษาไม่ดี ก็จะมีชื่อเสีย เน่าเหม็นไปทุกวงการ และหมอส่วนมาก ย่อมต้องเสียสละเวลาที่ควรจะเป็นเวลาส่วนตัวกับครอบครัว ทำงานสัปดาห์ละ 80-120 ชั่วโมง เวลากินก็ไม่ได้กิน เวลานอนก็ไม่ได้นอน หวังเพียงช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปลอดภัย  โดยมีมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพกำกับอยู่แล้ว มีสภาวิชาชีพคอยลงโทษ มีกฎหมายหลายฉบับที่ลงโทษได้อยู่แล้ว
ประชาชนล่ะ จะให้กำลังใจให้หมออดทนทำงานต่อไปได้แค่ไหน?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

9728
เมื่อเอ่ยถึง “ลพบุรี” หลายคนนึกถึงจังหวัดที่เต็มไปด้วยลิงและโบราณสถานกลางเมืองซึ่งสะท้อนความเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทย แต่ใครหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเมืองละโว้ในอดีตนี้ยังมีความสำคัญต่อวงการดาราศาสตร์โลกมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย
       
       ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในคืนวันที่ 10 ธ.ค. พ.ศ.2228 เป็นอีกปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยและดาราศาสตร์โลก ในครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เสด็จทอดพระเนตรจันทรุปราคา ณ พระที่นั่งเย็น จ.ลพบุรี โดยมีคณะเจซูอิตหรือคณะสงฆ์แห่งพระเยซูชาวฝรั่งเศส 6 รูปถวายคำบรรยาย และระหว่างปรากฏการณ์คณะสงฆ์ได้บันทึกข้อมูลระหว่างเกิดคราสในแต่ละนาทีโดยละเอียด และระบุว่าคราสบังถึงหลุมใดของดวงจันทร์บ้าง
       
       ข้อมูลในหนังสือจดหมายเหตุดาราศาสตร์จากฝรั่งเศสเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดยสมาคมดาราศาสตร์ไทย ด้วยทุนสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยบันทึกของ บาทหลวง เจ.เดอฟงเตอเนย์ ซึ่งเป็น 1 ในคณะสงฆ์แห่งพระเยซู ว่าปรากฏการณ์ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรกล้องโทรทรรศน์ความยาว 12 ฟุตที่ใช้ในการสังเกตการณ์ อีกทั้งยังพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษต่อคณะสงฆ์ เช่น พระราชทานอนุญาตให้คณะสงฆ์ลุกขึ้นยืนต่อหน้าที่ประทับ และประทับเบื้องหลังคณะสงฆ์เพื่อทอดพระเนตรปรากฏการณ์ เป็นต้น
       
       นายอารี สวัสดี อุปนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่าเมืองลพบุรีถือเป็นเมืองดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเมื่อ 325 ปีดังกล่าวนั้น คณะสงฆ์แห่งพระเยซูชาวฝรั่งเศสได้เดินทางมาศึกษาปรากฏการณ์และบันทึกข้อมูลโดยละเอียดเพื่อหาเส้นละติจูด (Latitude) หรือเส้นรุ้งและเส้นลองจิจูด (Longitude) หรือเส้นแวง ของเมืองละโว้ กรุงศรีอยุธยา เพื่อเปรียบเทียบกับหอดูดาวกรุงปารีส
       
       การศึกษาปรากฏการณ์จันทรุปราคาดังกล่าวเพื่อหาตำแหน่งเส้นละติจูดและลองจิจูดนี้ นายอารีบอกแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่าเป็นพระราชประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส เพื่อสร้างแผนที่ซึ่งมีความแม่นยำและเที่ยงตรง โดยมีคณะสงฆ์ที่ได้เดินทางไปเก็บข้อมูลปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนั้นถึง 18 แห่งทั่วโลก อาทิ เมืองนูเรมเบิร์ก เยอรมนี, กรุงโรม อิตาลี, กรุงปารีส ฝรั่งเศส, กรุงมาดริด สเปน และ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
       
       “ครั้งนั้นเทคโนโลยีดาราศาสตร์ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นมาอยู่ที่ลพบุรี กล้องโทรทรรศน์ที่ดีที่สุด นาฬิกาพก นาฬิกาลูกตุ้มและอุปกรณ์วัดมุมที่ดีที่สุดมารวมอยู่ที่นี่ ข้อมูลจากการสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาถูกส่งไปให้ จิโอวานนี โดมินิโก แคสสินี* นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งเป็นศิษย์เอกของกาลิเลโอ กาลิเลอิ** และอาจกล่าวได้ว่าเป็นความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติโครงการแรกที่เข้ามาในไทย” นายอารีกล่าว
       
       สำหรับพระที่นั่งเย็นนั้น นอกจากเป็นสถานที่เสด็จทอดพระเนตรปรากฏการณ์จันทรุปราคาแล้ว ยังเป็นสถานที่เสด็จทอดพระเนตรปรากฏการณ์สุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เม.ย. พ.ศ.2231 ด้วย แต่จากบทความในหนังสือจดหมายเหตุดาราศาสตร์จากฝรั่งเศสเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยามฯ ซึ่งเขียนโดย นายอารี สวัสดี ระบุว่าไม่อาจค้นคว้าได้ว่ามีการจดบันทึกการสังเกตปรากฏการณ์ครั้งนั้นหรือไม่ เพราะเกิดการปฏิวัติในปีเดียวกันนั้น และต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตในวันที่ 10 ก.ค.2231
       
       อีกสถานที่สำคัญสำหรับดาราศาสตร์ไทยคือ “วัดสันเปาโล” ซึ่งเป็นหอดูดาวแห่งแรกของไทยที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และยังเป็นบ้านพักที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่บาทหลวงนักวิทยาศาสตร์จากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยสร้างขึ้นใน พ.ศ.2228 และมีรูปแบบคล้ายกับหอดูดาวกรุงปารีสที่สร้างขึ้นก่อนหอดูดาววัดสันเปาโลเพียง 21 ปี แต่ปัจจุบันหอดูดาววัดสันเปาโลหลงเหลือเพียงซากและโครงสร้างบางส่วนเท่านั้น ขณะที่หอดูดาวกรุงปารีสยังค่อนข้างสมบูรณ์อยู่
       
       จากความสำคัญของวัดสันเปาโลอายุกว่า 300 ปีนี้ ในปี 2552 ซึ่งเป็นปีดาราศาสตร์สากล (International Year of Astronomy) ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จึงได้สถาปนาให้เป็นหนึ่งในจุดสำคัญทางดาราศาสตร์ในประเทศไทย (Establishment of Astronomical Landmark in Thailand) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ
       
       ทั้งนี้ เราทราบถึงความรุ่งเรืองของดาราศาสตร์ยุคใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จากเอกสารที่บันทึกโดยคณะทูตและคณะสงฆ์แห่งพระเยซูจากฝรั่งเศส โดย นายภูธร ภูมะธน ประธานชมรมอนุรักษ์โบราณสถานและสิ่งแวดล้อม จ.ลพบุรี เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสืบค้นเอกสารเกี่ยวกับดาราศาสตร์ไทยในยุคดังกล่าว ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดของหอดูดาวกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเขาได้มอบให้แก่สมาคมดาราศาสตร์ดำเนินการแปลต่อไป
       
       “ลพบุรีเป็นเมืองที่มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานการศึกษาดาราศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศ สมเด็จพระนารายณ์ทรงสนพระทัยศึกษาวิจัยด้วยตนเอง มีแง่มุมดาราศาสตร์ที่โดดเด่นมาก ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองไม่แตกต่างกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ซึ่งสถานที่สำคัญๆ ทางดาราศาสตร์ของลพบุรีมีอย่างน้อย 2 แห่ง คือ วัดสันเปาโลและพระที่นั่งเย็น เมืองนี้เป็นเมืองที่มีหลักฐานว่าครั้งหนึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสนพระทัยเรื่องนี้ และมีหลักฐานจริง จงภูมิใจในประวัติศาสตร์ของพวกเรา” นายภูธรกล่าว
       
       แม้ความรุ่งเรืองของดาราศาสตร์ยุคใหม่ในไทยจะเหลือให้เห็นเพียงซากปรัก แต่อย่างน้อยร่องรอยที่ทิ้งไว้ได้สะท้อนให้เห็นพระราชวิสัยทัศน์อันก้าวหน้าและยาวไกลของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต และเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้น้อมนำไปเป็นแบบอย่าง
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2553 

9729
เอเอฟพี - นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานระบุ สงครามรบพุ่งภายในแผ่นดินมังกร และการรุกรานจากข้าศึกภายนอกในช่วง 2 พันปีในอดีต เกิดจากแรงขับของสภาพภูมิอากาศ ที่หนาวเย็นลง มากกว่าแรงขับจากระบบศักดินาสวามิภักดิ์, การต่อสู้ทางชนชน หรือความเลวทรามของคณะผู้ปกครองอย่างที่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลกันโดยทั่วไป
       
       ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสภาพดินฟ้าอากาศกับความวิบัติหายนะ เช่น ภัยแล้ง, น้ำท่วม และการแห่ลงมากินพืชผลในไร่นาของตั๊กแตนฝูงมหึมา ซึ่งนำไปสู่การล่มสลาย หรือการสถาปนาราชวงศ์จีนนั้น มิใช่เรื่องใหม่อะไร
       
       แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ อันโกลาหลวุ่นวายมายาวนานของจีนได้อย่างเป็นระบบ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สภาพภูมิอากาศและสังคมจีนอาจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
       
       จนกระทั่งคณะนักวิทยาศาตร์ของจีนและยุโรป ซึ่งมีนาย จาง จื้อปิน จากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของจีนในกรุงปักกิ่งเป็นหัวหน้า ได้ตัดสินใจนำข้อมูลในช่วงกว่า 1,900 ปีมาเปรียบเทียบกัน 2 ชุด
       
       ผลงานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร “ the British Journal Proceedings of the Royal Society B.” โดยพวกเขาขุดค้นลงไปในกองเอกสารประวัติศาสตร์ แล้วก็พบความถี่ของการเกิดสงคราม, ข้าวยากหมากแพง, การถล่มพืชไร่ของฝูงตั๊กแตน,ความแห้งแล้ง และอุทกภัย
       
       ขณะเดียวกัน ก็ได้จำลองแบบของสภาพภูมิอากาศในช่วงเวลาเหล่านั้น เพื่อพิจารณาเทียบเคียง
       
       “การล่มสลายของราชวงศ์ในสังคมเกษตรกรรมได้แก่ราชวงศ์ฮั่น (ค.ศ.25-220), ถัง (ค.ศ.618-907), ซ่งเหนือ (ค.ศ.960-1125), ซ่งใต้ (ค.ศ.1127-1279) และหมิง (ค.ศ.1368-1644) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระดับอุณหภูมิอากาศ ที่ต่ำ หรืออุณหภูมิอากาศ ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว” นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้สรุป
       
       นอกจากนั้น การขาดแคลนอาหารในหมู่อาณาราษฎรน่าจะทำให้ราชวงศ์เหล่านี้อ่อนแอลง ขณะเดียวกัน การขาดแคลนอาหารยังผลักดันให้พวกชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนทางภาคเหนือ ซึ่งอุณหภูมิอากาศลดต่ำลงได้ง่ายอยู่แล้ว บุกโจมตีดินแดนทางใต้ โดยอุณหภูมิอากาศ ที่ลดลงเฉลี่ย 2.0 องศาเซลเซียสต่อปี อาจทำให้ฤดูกาลเติบโตของต้นหญ้าในทุ่งราบ หดสั้นลงถึง 40 วัน
       
       งานวิจัยชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจนำไปสู่การจลาจล และสงคราม โดยตั้งข้อสังเกตว่า จักรวรรดิโรมันและมายาก็ถึงกาลอวสานในระหว่างที่สภาพอากาศมีความหนาวเย็นด้วยเช่นกัน
       
       นอกจากนั้น ยังสันนิษฐานว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศในแต่ละยุคสมัยทุก ๆ 160 หรือ 320 ปีนั้น น่าจะเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เช่น ความผันผวนที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์, การโคจรของโลก และการเอียงของแกนโลก
       
       อย่างไรก็ตาม หลักฐานประวัติศาสตร์ ที่พวกเขาพบนั้น ชี้ว่า ภาวะโลกเย็นต่างหากเล่าคือเจ้าตัวการร้าย หาใช่ภาวะโลกร้อนอย่างที่มนุษย์ในปัจจุบันกำลังเผชิญกันแต่อย่างใด

9730
รพ.จุฬาฯ อวดนวัตกรรมหุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ ร่นเวลาตรวจจากเดิม 1 ชม.เหลือ 20 นาที ศักยภาพเยี่ยมตรวจบริการคนได้เร็วขึ้น

วันนี้ (16 ก.ค. ) ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวภายในงานแถลงข่าวนวัตกรรมไทยประดิษฐ์ “หุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ” เครื่องแรกของประเทศไทย ที่ตึก ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ว่า จากสถานการณ์การเข้าใช้บริการภายในโรงพยาบาลจุฬาฯที่มีผู้ป่วยนอกสูงถึงปีละ 1.2 ล้านราย เป็นผู้ป่วยในปีละประมาณ 5-6 หมื่นราย และส่วนใหญ่จะต้องเจาะเลือดเพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ด้วยโรคเบาหวาน จากการบิรการดังกล่าวถ้าเป้นช่วงเวลาเร่งด่วนตั้งแต่ 07.00-09.00 น.จะมีผู้ป่วยรอคิวเจาะเลือดราว 300 ราย จากผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการทั้งวันตกประมาณ 2,000 ราย ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ จากปัญหาที่มีทาง รพ.จุฬาฯ จึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว อีกทั้งเพื่อพัฒนา รพ.สู่ความเป็นเลิศระดับโลก ( World Class hospital) และมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร รพ.จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ประสานความร่วมมือกับบริษัท เซนนิเมต (ประเทศไทย) จำกัด สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติพัฒนา หุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ ที่ชื่อราเบลอน (Rabelon) ซึ่งเป็นฝีมือคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและสามารถนำมาใช้บริการใน รพ.จุฬาฯ เพื่อนำร่องและในอนาคตก็อาจจะเผยแพร่นวัตกรรมไปสู่โรงพยาบาลอีกหลายแห่งในประเทศไทย
       
       “ นวัตกรรมที่มีช่วยให้การกระบวนการในการเก็บตัวอย่างเลือดเป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวกและถูกต้อง ลดระยะเวลาในการให้บริการด้วย เพราะหุ่นยนต์ทำช่วยในการลำเลียงหลอดเลือดจากห้องเจาะเลือดไปยังห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก ทำให้ช่วงเวลาเร่งด่วนในการเจาะเลือดลดลงกว่าครึ่ง จากระบบเดิมใช้เวลาตรวจนานถึง 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้หุ่นยนต์นั้นจะใช้เวลาแค่ 20 นาที และสามารถตรวจคนไข้ได้เพิ่มขึ้นจาก 300 ราย เพิ่มเป็น 600 รายในช่วงเวลาเร่งด่วน ” ศ.นพ.อดิศร กล่าว
       
       ด้าน ศ.นพ.เทวารักษ์ วีรวัฒน์กานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านงานสนับสนุนบริการผู้ป่วย กล่าวว่า ศักยภาพการทำงานของหุ่นยนต์ฯ สามารถจำแนกหลอดเลือดได้ถึง 8 แบบที่เหมาะกับเลือดแต่ละชนิด และเมื่อเจาะเลือดแล้วเสร็จจะลำเลียงไปยังห้องตรวจวิเคราะห์เลือดทันที ซึ่งประโยชน์หลักๆ คือ ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น และจากที่ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพที่ช่วยลดเวลากระบวนการเจาะเลือด พบว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ใช้เวลา 44 นาทีต่อคน เหลือเพียง 20 นาทีต่อคนในเดือนมิถุนายน และหากเวลาไม่เร่งด่วนประมาณ 9.00 น.ขึ้นไป จะเหลือเพียงไม่ถึง 10 นาทีต่อคนเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถจัดเตรียมหลอดเลือดได้ประมาณ 1,440 หลอดต่อชั่วโมง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาหุ่นยนต์ลักษณะนี้แล้ว แต่ราคาสูงถึง 15 ล้านบาท ขณะที่ของไทยมีราคาถูกกว่ามากเพียง 4 ล้านบาทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ดังกล่าวยังเป็นเพียงหุ่นยนต์ลำเลียง ซึ่งการเจาะเลือดยังต้องใช้พยาบาลในการดำเนินการ แต่คาดว่า ในอนาคตอาจมีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีศักยภาพในการเจาะเลือดได้เอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2553 

9731
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / Re: ธรรมะใกล้ตัว
« เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2010, 23:06:44 »
ได้แง่คิดดีเหมือนกัน
ขอบคุณครับ

9732
เขียนโดย Webmaster Consumerthai   
วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2010 เวลา 15:18

เครือข่ายผู้บริโภคเรียกร้องรัฐบาลเร่งออกกฎหมายคุ้มครองผู้ป่วยที่เสียหาย เพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์ ย้ำ แพทยสภาต้องจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ พร้อมจะเดินหน้าตรวจสอบการทำหน้าที่ของแพทยสภาและองค์กรวิชาชีพ consumerthai - 28 มิ.ย.53 เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ย้ำ แพทยสภาต้องจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ เพราะกฎหมาย "พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....” เป็น เครื่องมือที่สำคัญในการช่วยไม่ให้คนไข้ฟ้องแพทย์ เพราะคนไข้ที่ได้รับความเสียหายได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

พร้อมย้ำ กฎหมายฉบับนี้ มีไม่น้อยกว่า 5 ประเด็นที่เครือข่ายองค์กรข้างต้นไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องยอมรับให้รัฐบาลนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา และยืนยันหลักการกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดการฟ้องร้องของคนไข้ เพราะคนไข้หากมีความเสียหายก็จะได้รับการชดเชยที่เหมาะสม ผู้บริโภคไม่ต้องมีภาระในการฟ้องคดี

เครือข่ายองค์กรข้างต้น ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยการเข้าชื่อประชาชน ๑๐,๐๐๐ ชื่อ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขอยืนยันถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ๓ ประการ คือ ๑) การชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข ๒) ลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ ๓) พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย

เป็นที่รับรู้และยอมรับกัน ทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ (Medical Error) สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จะให้การรักษาอย่างดีที่สุดตามมาตรฐานวิชาชีพแล้วก็ตาม ดังนั้นควรมีกลไกการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการฟ้องร้อง และนำข้อผิดพลาดมาพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการต่อไป

ถึงแม้ประเทศไทยจะมี พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีกลไกการช่วยเหลือเบื้องต้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๑  โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด แต่ก็ครอบคลุมเฉพาะผู้เสียหายที่ใช้สิทธิหลักประกันแห่งชาติ (บัตรทอง) เท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมผู้เสียหายในระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น(ไม่เกินสองแสนบาท) ที่มีความจำกัดในเรื่องวงเงินงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถเยียวยาให้ผู้เสียหายสามารถมีชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมี คุณภาพชีวิตที่ดีได้
ดังนั้นเครือข่ายผู้บริโภค จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้

๑. ขอให้รัฐบาลเร่งพิจารณาและผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... โดยเร็ว และให้มีสาระสำคัญเป็นไปตามกรอบของร่างที่เสนอโดยเครือข่ายผู้บริโภคและ ประชาชน อาทิเช่น 
- สำนักงานเลขานุการตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องแยกออกจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อให้มีความเป็นกลาง เข้าถึงได้ง่าย และไม่เป็นการขัดแย้งในเชิงบทบาทหน้าที่
แต่หากจำเป็น ต้องยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง “ไม่ให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นใหม่” ก็ควรกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นสำนักงานไปพลางก่อน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว และมีฐานะเป็นผู้ซื้อบริการ มิใช่ผู้ให้บริการอย่างกระทรวงสาธารณสุข

- องค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีองค์ประกอบจากผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานคุ้มครองสิทธิด้านบริการสุขภาพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ เพราะบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือ การพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุขจริงหรือไม่ โดยไม่ได้พิจารณาว่ามีผู้ใดต้องรับผิดหรือไม่ และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ เพื่อให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรมและต้องใช้หัวใจของความเป็น มนุษย์

๒.ขอให้เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภค เพื่อให้องค์กรผู้บริโภคสามารถทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์

สุด ท้าย เครือข่ายผู้บริโภค ใคร่ขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันตรวจสอบการทำหน้าที่ของแพทยสภา และติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของกรรมการแพทยสภาบางคน รวมทั้งแพทย์บางกลุ่ม ว่าได้ทำหน้าที่เหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพแพทย์เพื่อประชาชนหรือไม่ หรือทำเพียงเพื่อผลประโยชน์ทางอำนาจและธุรกิจ

9733
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ว่า กรมอนามัยแจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการที่คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการ อนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสาระสำคัญเป็นการออกกฎหมายเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิให้กับประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ให้ได้รับบริการการอนามัยเจริญพันธุ์อย่างทั่วถึง ด้วยการจัดให้มีสถานบริการให้คำปรึกษาและให้บริการอนามัยเจริญพันธุ์ในสถาน พยาบาลทุกสังกัด อีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องต้องขัดขวางการลาคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และต้องช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมมีบุตรและไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ร่าง พ.ร.บ.นี้จะมีคณะกรรมการคุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ (กอช.) ที่มีรัฐมนตรี สธ.เป็นประธาน ปลัด สธ.และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นรองประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คนเป็นคณะกรรมการ หลังจากนี้กรมอนามัยจะนำร่างกลับเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ซึ่งได้สั่งการให้ทำประชาพิจารณ์อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนเสนอคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติและเสนอเข้าที่ประชุมคณะ รัฐมนตรี (ครม.)

นายจุรินทร์กล่าวว่า มาตรา 12 ที่กำหนดให้นักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ศึกษาต่อได้และสามารถลาคลอดได้นั้นให้คณะอนุกรรมการนำ ไปเป็นประเด็นหนึ่งในการพิจารณาอย่างรอบคอบและทำประชาพิจารณ์เพราะมีความ เห็นที่หลากหลายต่อประเด็นนี้ ทั้งในส่วนที่เกรงจะเป็นการส่งเสริมค่านิยมให้เด็กในวัยเรียนตั้งครรภ์ ขณะที่อีกส่วนเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนต่อ เพราะหากตัดโอกาสการเรียนเท่ากับเป็นการซ้ำเติมอนาคตเด็ก

"การไล่เด็กที่ตั้งครรภ์ออกจากการศึกษาแบบที่ผ่านมา ไม่ได้ทำให้ตัวเลขเด็กตั้งครรภ์ลดลง แต่กลับลงโทษเด็กจนเสียอนาคต ซึ่งการออกพ.ร.บ.นี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ที่กำหนดว่าสุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศ และสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ ซึ่งมีความจำเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม" นายจุรินทร์กล่าว

นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในแต่ละปีมีสตรีอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดประมาณร้อยละ 15 ของผู้หญิงที่คลอดในแต่ละปี ขณะที่ตามมาตรฐานสากลกำหนดให้ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี พบว่ามีการคลอดบุตรประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี เมื่อประมาณการจากที่คนไทยคลอดปีละ 8 แสนราย เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะคลอดบุตรราว 1 หมื่นรายต่อปี ส่วนอัตราการทำแท้งของคนไทยโดยภาพรวมประมาณ 1 แสนรายต่อปี
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:47:25 น.   มติชนออนไลน์ 

9734
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้อง กิจการร่วมค้าพีสแควร์ไทยคอม และ บริษัท พีสแควร์ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ได้ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณะสุข ที่ 1 และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2 กับพวกรวม 4 ราย เป็นคดีพิพาทที่ฝ่ายผู้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ ชอบด้วยกฎหมายในกรณีให้มีการยกเลิกการประกวดราคาจัดซื้อจัดคอมพิวเตอร์ มูลค่า 900 ล้านบาทโดยไม่ชอบ และเป็นการละเมิด พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1,200 ล้านบาท

ศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยในข้อสาระสำคัญของข้อพิพาทว่า ปลัดกระทรวงสาธารณะสุขมีอำนาจสั่งยกเลิกการประกวดราคาได้ ถือเป็นการกระทำที่มีอำนาจและไม่นอกเหนือหน้าที่ นอกจากนี้ยังเห็นว่าฝ่ายผู้ฟ้องคดีผิดคุณสมบัติทางเทคนิค ด้าน Hardware โดยผู้ฟ้องคดีเสนอไม่ตรงตามเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาเป็น การผิดเงื่อนไขในสาระสำคัญของทางราชการ การสั่งยกเลิกการประกวดราคา จึงเป็นการใช่ดุลพินิจโดยชอบ

สำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ขณะดำรงตำแหน่ง) ศาลเห็นว่าตำแหน่งรัฐมนตรีอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจสั่งซื้อเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าการยกเลิกการประกวดราคาเป็นการยกเลิกการประกวดราคาก่อนจะมี การเสนอให้รัฐมนตรีว่าการฯ สั่งซื้อ ดังนั้นการยกเลิกการประกวดราคาจึงเป็นเรื่องของปลัดกระทรวงสาธารณะสุขไม่ เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการ และแม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการยกเลิกการประกวดราคา ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณะสุขดำเนินการ ก็ถือว่าการวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมายแล้วจึงไม่เป็นละเมิดต่อฝ่ายผู้ฟ้องคดีและไม่จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทด แทนแก่ผู้ฟ้องคดี

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พิจารณาสั่งยกโทษ นพ.ชาตรี บานชื่น นพ.เทียม อังสาชน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ นายวริทธินันท์ จินดาถาวรกิจ และ นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ซึ่งได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนของกระทรวงสาธารณสุขฐานกระทำผิด วินัยกรณีการจัดซื้อและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง และข้อมูลโรงพยาบาล ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มูลค่า 900 ล้านบาทมาก่อนหน้านี้แล้ว

โครงการคอมพิวเตอร์เริ่มจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ สธ.ดำเนินการประกวดราคาซื้อ และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง และข้อมูลโรงพยาบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมูลค่าประมาณ 911.7 ล้านบาท ซึ่งเริ่มมีการดำเนินการในเดือนธันวาคม 2546 ในสมัยของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา โดยให้ นพ.ธวัช สุนทราจารย์ รองปลัด ขณะนั้นเป็นประธาน แต่หลังจากคณะกรรมการพิจารณาด้านเทคนิคได้สรุปผลการพิจารณาว่ามีบริษัทที่ ผ่านเกณฑ์ 2 บริษัทได้แก่ บริษัทไพร์มลิงค์ จำกัด และกิจการร่วมค้าพีสแควร์ไทยคอม เพียง 1 วัน นพ.ธวัช ก็ลาออกจากการเป็นประธานในวันที่ 8 เม.ย. 2547

ต่อมา นพ.ชาตรี บานชื่น ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ มารับหน้าที่แทนในวันที่ 9 เม.ย. 2547 และมีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมและประกวดราคาอีกหลายครั้ง จนยกเลิกการประกวดราคาในที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังจากทราบคำตัดสินของศาลปกครอง คุณหญิงสุดารัตน์ได้ให้ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายเผยแพร่ข่าวสื่อมวลชน
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:06:56 น.   มติชนออนไลน์ 

9735
ข้อเท็จจริง
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

1.การอ้าง medical error นั้น นับเป็น Human Error อย่างหนึ่งและเรามีพ.ร.บ.ความรับผิดทางละะเมิดของเจ้าหน้าที่ สามารถให้การช่วยเหลือได้ ซึ่งต้องไปสอบสวนว่า เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ไม่ต้องไปไล่เบี้ยให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด แต่ถ้าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ต้องถูกไล่เบี้ยให้ต้องรับผิดชอบอย่างแน่นอน

และผลจากการรักษาของแพทย์ ที่ไม่ทำให้เกิดผลดีในผู้ป่วยนั้น  อาจไม่ได้เกิดจาก medical error เสมอไป ยกตัวอย่างกรณีแพ้ยาแล้วเกิดอาการรุนแรงจนตาบอด (Steven Johnson’s Syndrome) ก็ไม่ใช่ Medical Error แต่เป็นกลุ่มอาการแพ้ยาอย่างหนึ่ง หรือผู้ป่วยมีอาการตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี อาจเป็นเพราะผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยหลายๆระบบ หรือความรุนแรงของโรคในแต่ละขั้นตอนของการเจ็บป่วยไม่เหมือนกัน สภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ปฏิกิริยาของระบบในร่างกายที่มีต่อการเจ็บป่วยก็ไม่เหมือนกัน และเชื้อโรคที่ทำให้เจ็บป่วยก็อาจตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน บางคนเป็นโรคเดียวกับคนอื่น แต่เชื้อโรคก็ดื้อยา เพราะองคาพยพภายในแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งทำให้การใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วย ต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน หมอไม่อาจสั่งการรักษาเหมือนการตัดเสื้อสำเร็จรูปได้ ต้องเปลี่ยนยาใหม่ ตามสถานการณืของผู้ป่วยในแต่ละวัน

 ฉะนั้น ผู้ที่จะมาตรวจสอบการตรวจรักษาผู้ป่วย ต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาจริงๆ ไม่ใช่จะเอาใครก็ได้มาตัดสิน ซึ่งจะทำลายมาตรฐานทางการแพทย์

2.การจะบอกว่า การช่วยเหลือโดยไม่มีการพิสูจน์ถูกผิดนั้น ไม่มีปรากฏที่ใดในโลก

  ยกตัวอย่างในการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้น มีการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลก็ได้ให้การเยียวยาแก่ผู้เสียหายเบื้องต้นไปแล้ว แต่ประชาชนก็ยังต้องการให้พิสูจน์หาความจริงว่า ความเสียหายเหล่านี้เป็นฝีมือของใครกันแน่ ที่จะต้องรับผิดชอบ ใช่หรือไม่?

  แต่ถ้ามาดูพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายในมาตรา 6 ของร่างรัฐบาลแล้ว ได้กำหนดไว้ว่า ผู้เสียหายจะไม่ได้รับการช่วยเหลือใน 3 กรณีดังนี้คือ

(1)  ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามธรรมดาของโรคนั้น แม้มีการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ

(2)  ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ

(3)  ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้ว ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

ทั้งนี้คณะกรรมการอาจประกาศกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นได้

ในกรณีที่มาตรา 6 กำหนดไว้เช่นนี้ ผู้เสียหายที่ตาบอดจาก Steven Johnson’s Syndrome นั้น ย่อมไม่ได้รับการช่วยเหลือ เพราะจะเข้าข่ายมาตรา6(2) ที่ว่าเป็นความเสียหายที่หลีกเลี่ยงมิได้ เพราะผู้ป่วยแพ้ยา ซึ่งหมอไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้าว่าใครจะแพ้ยาหรือไม่ แต่ถ้ากระทรวงสาธารณสุข จะให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม ก็ย่อมทำได้ เพราะเกิดความเสียหาย โดยไม่ต้องรับผิด ในฐานที่เกิดความเสียหายจริง แต่ไม่มีใครทำความผิด  อันนี้ จึงจะเข้าข่าย No Fault Compensation ที่คนไทยเอามาแปลผิดๆว่า ไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด ซึ่งที่ถูกต้องคือช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม แต่ต้องพิสูจน์ว่าบุคลากรได้ทำตามมาตรฐานแล้ว

หรือการฉีดวัคซีน แล้วมีอาการแทรกซ้อน ผู้ได้รับวัคซีนตายหรือพิการ สหรัฐอเมริกาก็จะให้เงินช่วยเหลือ โดยแพทย์ที่ฉีดวัคซีนไม่ต้องรับผิด เรียกว่า No Fault Compensation แต่ต้องพิสูจน์ว่ากระบวนการฉีดวัคซีนนั้นถูกต้อง

ข้อสังเกตจากผู้เขียน ถ้ากรรมการส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้แล้ว จะสามารถตัดสินใจตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ได้หรือไม่ว่า เหตุการณ์(ความเสียหาย)ที่เกิดขึ้นนั้น ใช่หรือไม่ใช่เหตุการณ์ใน 3 ข้อนั้น

และคณะกรรมการพวกมากลากไป ยังสามารถประกาศกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้อีก

  เหมือนเอาคนที่ไม่เคยดูฟุตบอลเลยว่าเขามีกฎกติกาอย่างไร มาเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันฟุตบอลโลก  มันย่อมเป็นการทำลายกฎ ระเบียบ กติกา มารยาท ตามมาตรฐานของกีฬาฟุตบอลไปโดยสิ้นเชิง

มาตรฐานทางการแพทย์ย่อมเสียหายแน่นอน อีกหน่อยหมอคงเลิกรักษา ผ่าตัด ทำคลอด เพราะกลัวกรรมการตัดสินให้ชดเชย แล้วประชาชนก็คงเกิดความสงสัย (เหมือนในกรณีสลายการชุมนุม) แล้วพอสภาวิชาชีพตัดสิน ก็ไม่เชื่อถืออีก  คือไม่เชื่อมาตรฐานจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ อีกหน่อยคงต้องกลับไปรักษากันเอง คลอดกับหมอตำแย เพราะในพ.ร.บ.นี้ไม่รวมหมอตำแยเข้าไปด้วย คงจะกล้าช่วยทำคลอดให้ได้ หรือต้องเอาเฮลิคอปเตอร์ไปรับเพื่อตระเวนไปหาหมอที่ยอมเสี่ยง(ที่จะถูกตัดสินอย่างไม่มีมาตรฐาน) ทำคลอดให้

3. การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการทางการแพทย์นั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ต้องแก้ปัญหาให้ได้ ว่าต้องมีการทำงานบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและคุ้มครองผู้ให้บริการที่ทำงานตามคุณภาพมาตรฐาน ตามมาตรา 80(2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550

 แต่ในปัจจุบันนี้ กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้บริหารจัดการให้การบริการทางการแพทย์มีมาตรฐาน มีประชาชนมารับบริการปีละ 200 ล้านครั้ง แต่มีแพทย์ปฏิบัติงานรักษาประชาชนเพียง 8,000 คน  (ที่เหลือเป็นแพทย์ผู้บริหารหรือเดินฉุยฉายอยู่ในกระทรวง)แพทย์ต้องรีบเร่งทำงานบริการรักษาประชาชน โดยหัวใจของความเป็นมนุษย์จนเหนื่อยล้า ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยวันละเป็น 100 ๆคน มีเวลาในการตรวจผู้ป่วย คนละ 2- 4 นาที มีเวลาทำงานสัปดาห์ละ 80-120 ชั่วโมง อดหลับอดนอน ทำงานทั้งกลางวันกลางคืน ก็เพราะแพทย์ส่วนใหญ่แล้ว มีหัวใจของความเป็นมนุษย์อันประเสริฐ ต่างก็ก้มหน้าก้มตาทำงานรับใช้ประชาชนไป ช่วยชีวิตคน เสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์ไป จนทนไม่ไหว ก็ลาออกไป คนที่ยังทนอยู่(หรืออยู่ทน) ก็ต้องรับภาระงานมากขึ้น เสี่ยงต่อความเสียหายของประชาชน แพทย์เสี่ยงต่อการฟ้องร้อง ถูกประณามหยามเหยียดจากสังคม

 แต่แทนที่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจะช่วยแก้ปัญหาให้แพทย์ได้ทำงานอย่างมีมาตรฐาน กลับออกกฎหมายมาเพื่อลงโทษ ให้รับผิดชอบอยู่ฝ่ายเดียว แต่ผู้บริหารมองเงินกองทุนก้อนโต ที่จะได้เอามาหาผลประโยชน์ในคณะกรรมการ

ถ้าดูจากสถิติการขอรับเงินช่วยเหลือตามมาตรา 41 แห่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545พบว่า ในจำนวนประชาชนที่มารักษา 200 ล้านครั้งนี้มีการร้องเรียนขอค่าช่วยเหลือเบื้องต้นเพียง1,978 ราย คิดเป็นความเสียหายไม่ถึง0 .01 % คิดแล้วว่าอัตราความเสียหายน้อยกว่า อัตราตายจากอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเอดส์

 และเรื่องที่ร้องเรียนนั้นไม่ได้เกี่ยวกับมาตรฐานการให้การรักษาเท่านั้น ยังมีเรื่องการไม่ได้รับความสะดวก ไม่ได้รับบริการตามสิทธิ์ ถูกเรียกเก็บเงินโดยประชาชนคิดว่าตัวเองไม่ต้องจ่ายเงิน และร้องเรียนว่าไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ฉะนั้นโดยสรุปก็คือ การร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการรักษาอาจจะไม่ถึง 0.01% ด้วยซ้ำไ
และจังหวัดที่มีการร้องเรียนสูงสุดคือกทม. จังหวัดเดียวมีอัตราการร้อง
เรียนสูงถึง 61.9% เชียงใหม่อันดับ 2 มีการร้องรีเยน 8.4 % สระบุรี อันดับ 3 มีการร้องเรียน 7.1% ราชบุร๊ อันดับ 4 มีการร้องเรียน 5% และระยองอันดับ 5 มีการร้องเรียน 4.5 %

  ความเห็นของผู้เขียนทั้งหมดนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์ไทยตามเหตุผล และความเป็นจริง และคาดว่าจะเกิดความหายนะในมาตรฐานทางการแพทย์ไทยอย่างแน่นอน และหายนะนี้ ก็คงจะกระทบถึงประชาชนทุกคน เพราะคนทุกคนย่อมหนีกฎธรรมดา/ธรรมชาติในการต้องเผชิญ การเกิด แก่ เจ็บ ตายไป ไม่ได้ และการเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ย่อมต้องมีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ช่วยดูแลบ้างไม่มากก็น้อย ถ้ามาตรฐานการแพทย์ไทยล่มสลายลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว แพทย์ถูกลงโทษอย่างเดียว ก็คง ไม่มีใครอยากประกอบวิชาชีพนี้แล้ว 

แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ ก็เป็นมนุษย์ทั้งตัวและหัวใจ มิใช่เครื่องจักร จึงต้องการความรักและความเข้าใจเฉกเช่นมนุษย์คนอื่นๆเช่นเดียวกัน

 การที่ผู้เขียนเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นที่ไม่เห็นด้วยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ ก็เป็นความเห็นที่อ้างอิงหลักฐานและมีเหตุผล เพราะมองเห็นถึงความล่มสลายของระบบการแพทย์ที่มีความห่วงใยเอื้ออาทรต่อกันจะต้องล่มสลาย มาตรฐานการแพทย์ไทยจะไม่มีความหมายและไม่สารถพัฒนาได้อีกต่อไป เพราะคนดี คนเก่งจะท้อแท้และไม่อยากให้ลูกหลานมาเป็นหมอ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์อีกต่อไป เพราะการตัดสินที่ไม่ใช่อาศัยเหตุผลเชิงประจักษ์ตามหลักการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานในระดับสากล

 ส่วนการที่ใครจะสงสัยว่า ผู้เขียนอยากจะหาเสียง เพื่อมาเป็นกรรมการแพทยสภานั้น ก็มีสิทธิคิดได้ แต่ผู้เขียนเป็นพลเมืองอาวุโส ไม่ต้องทำงานมากก็พอมีเงินใช้ เพราะได้รับใช้ประชาชน ช่วยชีวิตผู้ป่วยให้รอดและเติบโตมาเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติหลายแสนคน ตลอดเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา จึงมีเวลาว่างมาก พยายามคิดหาถ้อยคำมาอธิบายแทนพี่น้องลูกหลาน และเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยหวังผลตอบแทนคือ ให้ประชาชนเข้าใจว่า ความเสียหายที่จะเกิดจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายที่จะผลักดันเข้าสภานั้น มีมากมายมหาศาลกว่า การคุ้มครองประชาชนประมาณ 0.01%
 อนึ่งสถิตินี้ ได้มาจากการบรรยายของ พ.อ.(พิเศษ)นพ.กิฎาพล วัฒนะกุล กรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขของสปสช. ที่บรรยายที่จังหวัดขอนแก่น

หน้า: 1 ... 647 648 [649] 650 651 ... 654