ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.ออกประกาศปรับเพิ่มค่าจ้าง พกส.กว่า 2 หมื่นคน ให้ถึงค่าจ้างขั้นต่ำ  (อ่าน 655 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
ปลัด สธ. ลงนามออกประกาศปรับเพิ่มค่าจ้าง พกส. กว่า 2.2 หมื่นคน หลังเงินเดือนไม่ถึงค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กำหนด ระบุ รพ. สถานะการเงินดีให้ปรับทันที สถานะการเงินวิกฤตให้ทยอยปรับใน 3 - 5 ปี หวังเพิ่มขวัญกำลังใจคนทำงาน
       
       เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2559 นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดเงินเพิ่มเพื่อเป็นเงินค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป ที่ค่าจ้างยังไม่ถึงขั้นต่ำ ตามบัญชีค่าจ้างที่คณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุขกำหนด พ.ศ. 2559 โดยสาระสำคัญ ระบุว่า ให้พนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ทั่วไปที่ค่าจ้างยังไม่ถึงขั้นต่ำตามบัญชีค่าจ้างที่คณะกรรมการบริหาร พกส. กำหนด ได้รับเงินเพิ่มเพื่อเป็นเงินค่าจ้าง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ต่อปี จากฐานค่าจ้างของพกส.แต่ละบุคคล
       
       สำหรับเกณฑ์การรับเงินเพื่อนั้น ในส่วนของสำนักงานปลัด สธ. แบ่งเป็น
       
       โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ที่สถานะทางการเงินเฉลี่ยอยู่ในระดับ 0 - 5 จากตารางการเงินวิกฤติ 7 ระดับ ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 จำนวน 869 แห่ง ให้ดำเนินการเพิ่มเงินค่าจ้างให้ถึงขั้นต่ำภายใน 3 ปี (2558 - 2560)
       
       รพศ. รพท. รพช.ที่สถานะทางการเงินเฉลี่ยอยู่ในระดับ 6 - 7 ให้ดำเนินการเพิ่มเงินค่าจ้างให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี (2558 - 2562)
       
       สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้ดำเนินการเพิ่มเงินค่าจ้างตามสถานะทางการเงินเฉลี่ยของ รพ. แม่ข่าย ที่รับผิดชอบ
       
       วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ให้ดำเนินการกำหนดเงินเพิ่มภายใน 3 ปี และ 2. หน่วยงานในสังกัดกรมให้ดำเนินการเงินเพิ่มภายใน 3 ปี ทั้งนี้ ให้มีผู้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558
       
       ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนของ พกส. ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่ง ที่เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป กำหนดไว้ ดังนี้
       
       กลุ่มบริการ ไม่กำหนดวุฒิ และ วุฒิ ม.3 หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า 7,590 บาท วุฒิปวช. หรือประสบการณ์ 5 ปี 8,300 บาท วุฒิ ปวท. หรือเทียบเท่า 9,540 บาท วุฒิ ปวส. หรือเทียบเท่า 10,200 บาท กลุ่มเทคนิค วุฒิ ปวช. หรือประสบการณ์ 5 ปี 8,300 บาท วุฒิ ปวท. หรือเทียบเท่า 9,540 บาท วุฒิปวส. หรือเทียบเท่า 10,200 บาท วุฒิ ปวท. (ที่เป็นสายงานวิชาชีพ) 11,450 บาท วุฒิ ปวส. (ที่เป็นสายงานวิชาชีพ) 12,240 บาท กลุ่มบริหารทั่วไป วุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 13,300 บาท วุฒิปริญญาโททั่วไป หรือเทียบเท่า 16,400 บาท วุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า 20,000 บาท
       
       กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ วุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี 15,960 บาท วุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี 16,920 บาท วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 6 ปี 19,680 บาท วุฒิปริญญาโททั่วไป หรือเทียบเท่า 19,680 บาท วุฒิปริญญาโท ที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี 20,900 บาท วุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า 24,000 บาท วุฒิปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 20,310 บาท และวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภาที่มีกำหนดเวลาศึกษาอบรมไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้วหรือหนังสืออนุมัติบัตรในสาขาวิชาเดียวกันกับวุฒิบัตร 24,000 บาท
       
       นพ.โสภณ กล่าวว่า ปัจจุบันมี พกส. ที่ค่าจ้างยังไม่ถึงขึ้นต่ำประมาณ 22,927 คน จำเป็นต้องออกประกาศเพิ่มเงินค่าจ้างให้ถึงขั้นต่ำเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้คนทำงาน แต่ก็ต้องคำนึงถึงสถานะการเงินและเงินบำรุงของโรงพยาบาลแต่ละแห่งด้วย จึงให้มีการทยอยการปรับค่าจ้าง โดยหากเป็นโรงพยาบาลที่มีสถานะทางการเงินดีให้เพิ่มค่าจ้างได้ทันที ส่วนโรงพยาบาลที่มีสถานะการเงินวิกฤตตามตารางของกระทรวงให้ทยอยปรับค่าจ้างให้ถึงขึ้นต่ำภายใน 3 - 5 ปี

MGR Online       20 เมษายน 2559