ผู้เขียน หัวข้อ: เยอรมนียอมรับอย่างเป็นทางการว่า ก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สมัยยึดครองนามิเบีย  (อ่าน 308 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
เยอรมนียอมรับอย่างเป็นทางการว่า ได้ก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงที่ยึดครองนามิเบียเป็นอาณานิคม และประกาศการสนับสนุนทางการเงินแก่นามิเบีย

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน
เยอรมนี เจ้าอาณานิคมได้ฆ่าชาวเฮอแรโรและชาวนามาหลายหมื่นคนในการสังหารหมู่ต้นศตวรรษที่ 20 ในนามิเบีย

ข่าวแนะนำ

โดนแล้ว! สั่งเด้ง 'ยิว' ตร.หนุ่มหวานใจ 'เจนนี่' หลังถูกถล่มยับปม Work from home

ลูกสาว 'ตั๊ก มยุรา' ตอบชัด! ปมซุ่มท้อง ลั่นไม่ใช่ท้องไม่มีพ่อ แจงแยกทางอดีตสามี

หมิว สิริลภัส เศร้าใครจะไปรู้ตอนกอดส่งกัน จะเป็นกอดสุดท้ายเราสองคน
นายไฮโก มาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนี ยอมรับเมื่อ 28 พ.ค. ว่า การสังหารที่เกิดขึ้นคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

“เมื่อพิจารณาถึงความรับผิดชอบทางศีลธรรมและทางประวัติศาสตร์ของเยอรมนี เราจะขอให้นามิเบียและผู้สืบเชื้อสายของเหยื่อให้อภัยแก่เรา” เขากล่าว

นายมาส กล่าวเพิ่มเติมว่า “เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับความทุกข์ทรมานอันใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นกับเหยื่อ” เยอรมนีจะสนับสนุนการพัฒนาประเทศนามิเบียผ่านโครงการมูลค่ามากกว่า 1,100 ล้านยูโร (ประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท)

สมาชิกของผู้แทนฝ่ายนามิเบียที่เข้าร่วมพิธีที่มีการจัดแสดงกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ในปี 2018
EPA
ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการเจรจากันนานหลายปี เพื่อพยายามให้เกิดความสมานฉันท์ขึ้น รวมถึงการส่งคืนซากผู้เสียชีวิตให้นามิเบีย
มีรายงานว่า ข้อตกลงนี้จะเป็นการสนับสนุนทางการเงินเป็นเวลานาน 30 ปี ผ่านการใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การดูแลสุขภาพ และโครงการฝึกอบรม ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

“ตอนนี้ เราจะเอ่ยถึงเหตุการณ์เหล่านี้ตามมุมมองของเราในวันนี้ว่าเป็น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” นายมาส ระบุในแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อ 28 พ.ค. และระบุเพิ่มเติมว่า ควรจะมีการอภิปรายถึงการกระทำต่าง ๆ ในสมัยอาณานิคม “โดยไม่มีการละเว้นหรือมองข้ามความสำคัญ”

โฆษกของรัฐบาลนามิเบีย กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า การยอมรับของเยอรมนีคือ “ก้าวแรกในทิศทางที่ถูกต้อง”

เรื่องเล่าของผู้รอดตายจากค่ายมรณะเอาชวิทซ์
ฮอโลคอสต์ โศกนาฏกรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์น้ำมือนาซี
ซูจีปฏิเสธไม่มีการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ชาวโรฮิงญาในเมียนมา
แต่ผู้นำตามประเพณีบางส่วนกล่าวหารัฐบาลว่า ทรยศต่อหลักการ และไม่ยอมรับข้อเสนอความช่วยเหลือทางการเงินที่เยอรมนีรับปากจะมอบให้

เกิดอะไรขึ้นในช่วงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น
แถลงการณ์ของเยอรมนีเมื่อ 28 พ.ค. เกิดขึ้นหลังจากการเจรจากับนามิเบียนาน 5 ปี โดยนามิเบียตกเป็นอาณานิคมของเยอรมนีระหว่างปี 1884-1915

ในสมัยนั้นนามิเบียมีชื่อเรียกว่า แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้เยอรมัน (German South West Africa) นักประวัติศาสตร์เรียกความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นที่นั่นว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ถูกลืมเลือน” ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามนิยามของสหประชาชาติ หมายรวมถึงการกระทำหลายอย่าง รวมถึง การสังหารที่จงใจที่จะทำลายล้างชนชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มทางศาสนา ทั้งหมด หรือบางส่วน

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นในปี 1904 หลังจากที่ชาวเฮอแรโรและชาวนามาก่อกบฏต่อการที่เยอรมนีเข้ามายึดครองดินแดนและวัวของพวกเขา โลทาร์ วอน โทรทา หัวหน้ารัฐบาลทหารที่นั่นจึงได้ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องให้สังหารประชากรทั้งสองกลุ่มให้หมด

ผู้รอดชีวิตจากกลุ่มประชากรชาวเฮอแรโรและชาวนามา ถูกบังคับให้ไปอยู่ในทะเลทราย และต่อมาก็ถูกย้ายไปอยู่ในค่ายกักกัน ซึ่งมีการใช้แรงงานพวกเขาอย่างเอารัดเอาเปรียบ

คนจำนวนมากเสียชีวิตจากโรคภัย การหิวโหย และความอ่อนล้า ซึ่งบางส่วนเกิดจากการทดลองทางการแพทย์และการหาประโยชน์ทางเพศ เชื่อว่า 80% ของกลุ่มชนพื้นเมืองเหล่านี้เสียชีวิตระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งมียอดรวมผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน

กบฏเฮอแรโร ที่ถูกล่ามโซ่ ในปี 1904-1905

นามิเบียได้รับเอกราชในปี 1990 หลังจากแอฟริกาใต้เข้ามาปกครองหลายสิบปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ก่อนหน้านี้ เยอรมนียอมรับถึงความโหดร้ายทารุณเหล่านี้ แต่ไม่ยอมชดใช้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ในปี 2018 เยอรมนีได้ส่งซากมนุษย์บางส่วนกลับไปนามิเมีย ซึ่งซากเหล่านี้เคยถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยอัปยศที่พยายามพิสูจน์ถึงความเหนือกว่าทางเชื้อชาติของชาวยุโรปผิวขาว

มีรายงานว่า มีการเห็นชอบข้อตกลงล่าสุดระหว่างการเจรจาที่จัดขึ้นโดยผู้แทนการทูตพิเศษในช่วงกลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา

สื่อเยอรมนีรายงานว่า คาดว่า รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีจะลงนามการประกาศในกรุงวินด์ฮุกของนามิเบียช่วงเดือนหน้า ก่อนที่รัฐสภาของทั้งสองประเทศจะให้การรับรอง

คาดว่า ในช่วงนั้น ประธานาธิบดีแฟรงก์-แวลเตอร์ ชไตน์ไมเออร์ ของเยอรมนี จะเดินทางไปนามิเบียเพื่อขอโทษอย่างเป็นทางการ

ปฏิกิริยาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
เจ้าหน้าที่ทางการรัฐบาลนามิเบีย เรียกการยอมรับของรัฐบาลเยอรมนีว่า เป็นก้าวแรกที่สำคัญ แต่เจ้าหน้าที่อีกหลายคนแสดงการต่อต้าน

เว-ควี รูโกโร ผู้นำสูงสุดของชาวเฮอแรโร ซึ่งพยายามที่จะฟ้องร้องเยอรมนีต่อศาลในสหรัฐฯ ให้จ่ายค่าชดเชย กล่าวว่า ข้อตกลงนี้ไม่เพียงพอในการชดเชย “ความสูญเสียที่ไม่อาจย้อนกลับไปแก้ไขได้” จากน้ำมือของกองกำลังเจ้าอาณานิคม

“เรามีปัญหากับข้อตกลงประเภทนั้น ซึ่งเรารู้สึกว่า รัฐบาลนามิเบียได้กระทำการทศยศขึ้น” เขากล่าวกับรอยเตอร์

นายมาส กล่าวว่า การเจรจามีเป้าหมายในการ “หาหนทางร่วมกันในการสมานฉันท์อย่างแท้จริงเพื่อรำลึกถึงเหยื่อ” โดยสมาชิกของชาวเฮอแรโรและชาวนามาได้เข้าร่วมการเจรจาอย่างใกล้ชิดด้วย

สื่อนามิเบียรายงานว่า จนถึงขณะนี้ ผู้นำตามประเพณีจำนวนหนึ่งที่เข้าร่วมการเจรจายังปฏิเสธที่จะยอมรับข้อตกลง

นายรูโกโร (ในภาพ) กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่า ข้อตกลง “ไม่เพียงพอต่อเลือดเนื้อของบรรพบุรุษของเรา”
ประเด็นที่มีการโต้แย้งกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษา ข้อตกลงที่เห็นชอบร่วมกันมุ่งเน้นที่แนวคิดการสมานฉันท์มากกว่าค่าชดเชยอย่างเป็นทางการ โดยนายมาสเรียกความช่วยเหลือทางการเงินดังกล่าวว่า “สัญลักษณ์” มากกว่า การชดใช้

เจอร์เกน ซิมเมอเรอร์ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์โลก มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ก กล่าวกับ บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส ว่า ผู้ที่สืบเชื้อสายจำนวนมากของเหยื่อจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รู้สึกว่าถูกกีดกันออกไป

“นี่ค่อนข้างเป็นปัญหา ถ้าหากว่า เป้าหมายคือ การสมานฉันท์” เขากล่าว “คุณจะสมานฉันท์กับเหยื่อได้อย่างไร ถ้าเหยื่อรู้สึกว่า พวกเขาถูกกีดกันออกไปจากกระบวนการทั้งหมด”

ทิม ฮีเวลล์ ซึ่งเขียนเรื่องเกี่ยวกับการเจรจาที่เกิดขึ้นให้กับบีบีซีในปีนี้ กล่าวว่า การหารือเป็นความกรุณาขั้นแรกจากอดีตเจ้าอาณานิคม

เขาเขียนว่า ชาวเฮอแรโรและชาวนามาจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น หรือมีการตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างไม่เป็นหลักแหล่ง หวังว่า ข้อตกลงนี้จะช่วยให้พวกเขาเข้าถึงที่ดินและความเจริญรุ่งเรืองบางอย่างที่บรรพบุรุษของพวกเขาเคยได้รับก่อนที่จะเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้น

29 พ.ค. 2564
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6424410