ผู้เขียน หัวข้อ: "สพฐ."ชี้การสอนสะกดภาษาไทยของ"ร.ร.สารสาสน์"ไม่ถูกหลักวิชาการ ยันไม่สนับสนุน  (อ่าน 817 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความผ่านโซเชียวเน็ตเวิร์กจนเป็นที่วิพากษ์ วิจารณ์อย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของโรงเรียนสารสาสน์ ที่มีการสอนสะกดภาษาไทยโดยที่ไม่ได้เน้นให้อ่านเพื่อให้เด็กจดจำการออกเสียงที่ถูกต้อง แต่ให้อ่านเพื่อให้เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ อาทิ คำว่า"จำ"ไม่ได้อ่านว่า"จอ+อำ=จำ" แต่อ่านว่า"จอ+อำ+อา=จำ"หรือ คำว่า"มือ"ไม่ได้อ่านว่า"มอ+อือ=มือ" แต่อ่านว่า"มอ+อือ+ออ=มือ"ว่า ตน ได้หารือกับสำนักวิชาการและมาตรฐานการเรียนรู้ และสถาบันการศึกษาภาษาไทย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และผู้เกี่ยวข้องแจ้งว่าการสอนลักษณะดังกล่าวเป็นการสอนเพื่อการเขียน ไม่ใช่การสอนเพื่อการอ่านแบบที่มีการดำเนินการอยู่ ซึ่งรูปแบบและวิธีการที่โรงเรียนเอกชนดังกล่าวใช้อยู่นั้นถือเป็นเทคนิคการสอนอย่างหนึ่งซึ่งไม่ผิดแต่ไม่ถูกหลักวิชาการ อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการสอนที่แม้แต่ในอดีตก็ไม่มีสอนแบบนี้

"การเรียนการสอนภาษาไทยแก่นักเรียนที่สพฐ.ดำเนินการอยู่นั้นจะสอนแบบเดียวกับการอ่าน เช่น คำว่า"เป็น" จะอ่านว่า ปอ-เอะ-นอ = เป็น และเมื่อสอนให้เด็กเขียนในคำเดียวกันเด็กจะเรียนรู้ได้เองว่าจะต้องเอาสระมาไว้ข้างหน้าก่อน ซึ่ง สพฐ.เรียกลักษณะการสอนแบบนี้ว่า การสอนแจกรูปที่ถูกหลัก ที่ใช้สอนมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน "เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ทั้งนี้ ในส่วนของโรงเรียนของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) นั้น ไม่มีโรงเรียนใดใช้วิธีการสอนแบบนี้ และส่วนตัวเห็นว่าโรงเรียนไม่ควรใช้และจะไม่ให้ใช้วิธีการนี้สอนนักเรียนของเราด้วย ซึ่งตนมองว่าการสอนแจกรูปที่ถูกหลักแบบเดิมที่ทำอยู่นั้นเหมาะสมและช่วยให้เด็กอ่านคล่องเขียนคล่องมากกว่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรงเรียนที่ใช้เทคนิคดังกล่าวเป็นโรงเรียนเอกชน สพฐ.คงไปทำอะไรไม่ได้ แต่เบื้องต้นจะแจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) แจ้งให้ศึกษานิเทศก์ของ สช.ไปลงติดตามตรวจสอบวิธีการสอนต่อ

กรุงเทพธุรกิจ 4 กรกฎาคม 2557