ผู้เขียน หัวข้อ: กระทรวงสาธารณสุขพร้อมขับเคลื่อน นโยบายให้ประชาชนเข้าถึงบริการ  (อ่าน 1088 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
มหาอุทกภัยที่ผ่านมาสร้างความเสียหายให้กับประชาชนในหลายจังหวัดสูญเสียทั้งทรัพย์สินเงินทอง และวัสดุอุปกรณ์ทำมาหากินต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่สถานบริการทางการแพทย์ ก็ได้รับผลกระทบทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ยากลำบาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง แม้รัฐบาลจะประกาศจ่ายค่าชดเชยให้แต่เทียบไม่ได้กับสิ่งที่ต้องสูญเสียโดยเฉพาะด้านจิตใจ หลายคนต้องกลายเป็นคนซึมเศร้า ส่งผลให้สุขภาพกายทรุดโทรมตามไปด้วย แม้น้ำจะลดลงแล้วแต่หลายคนก็ยังคงทำใจไม่ได้เมื่อต้องเผชิญกับความจริงถึงสิ่งที่

ปริมาณน้ำที่มาในแต่ละพื้นที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่สิ่งที่ต้องไม่เกิดขึ้นก็คือ โรคระบาด เรื่องนี้ต้องขอชมกระทรวงสาธารณสุขรวมถึงทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขที่ช่วยกันอย่างแข็งขันทำให้ไม่มีการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ ที่หลายคนกังวล

สธ.พอใจการดูแลประชาชนช่วงน้ำท่วม นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการเสียหายไปกับมวลน้ำมหาศาล ลงพื้นที่สำรวจของทีมแพทย์ในช่วงน้ำท่วมพบว่าไม่มีโรคติดต่อ ส่วนปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ได้มีการส่งทีมแพทย์ จิตแพทย์ลงพื้นที่ดูแลอย่างดี รวมถึงการเคลื่อนย้ายส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาน้ำท่วมไม่มีการสูญเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพแก่ประชาชนในการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยทำให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเองส่งผลให้ไม่มีโรคระบาดเกิดขึ้นหลังน้ำลด

จะเห็นได้ว่าในช่วงน้ำท่วมหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ระดมกำลังกันให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกันอย่างเต็มที่จนทำให้ภาระหน้าที่ในด้านอื่นๆ ต้องหยุดชะงัก แต่หลังจากปัญหาน้ำผ่านพ้นไปเหตุการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติทุกหน่วยงานก็ต้องหันมาดำเนินการตามนโยบายที่วางไว้เช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุข

พร้อมเดินหน้านโยบายหลังน้ำลด นายวิทยา กล่าวว่า สำหรับแนวทางการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2555 นี้ จะเป็นการนำนโยบายทั้งหมดมาขับเคลื่อนเนื่องจากที่ผ่านมานโยบายทุกอย่างหยุดชะงักไปเนื่องจากน้ำมาเยอะเป็นอุปสรรคใหญ่ของการขับเคลื่อนนโยบายทุกรูปแบบของผู้เสียชีวิตทุกสาเหตุทั่วประเทศที่มีประมาณ 4 แสนราย สาเหตุการป่วยเกี่ยวข้องกับ 2 ปัจจัย คือการขาดการออกกำลังกาย และเรื่องอาหารการกิน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าไทยจะมีระบบประกันสุขภาพที่ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลกก็ตาม แต่ที่ผ่านมาจะรองรับการดูแลรักษาการเจ็บป่วยเป็นส่วนใหญ่ สถิติในปี 2553 ทั้ง 5 โรคมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 2 ล้านกว่าราย เสียชีวิตรวม 1 แสนกว่าราย หรือคิดเป็น 25% ของผู้เสียชีวิตทุกในหลายจังหวัด สิ่งที่จะเดินหน้าต่อไปก็คือเรื่องหลักประกันสุขภาพ ต้องมีการนำกลับมาใช้ให้ประชาชนทั้ง 48 ล้านคนได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลเพราะเป็นสิทธิ์ที่ประชาชนต้องได้รวมถึง ประชาชนในระบบแรงงาน อีก 10 กว่าล้านคน และกระจายความเสี่ยงลดความแออัดในสถานพยาบาล โดยจะเน้นหนักที่การลดความแออัดของผู้ป่วย ซึ่งเป็นปัญหาอันดับ 1 ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปซึ่งมี 95 แห่งทั่วประเทศ ต่อวันมีผู้ป่วยใช้บริการ 1,200-3,000 คน โดยจะพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งระบบบริการขั้นพื้นฐานในเขตชนบท คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนในเขตเทศบาลเมืองทั้ง 76 จังหวัด จะจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ซึ่งเป็นบริการใหม่ล่าสุด ยังไม่มีในเขตเมืองมาก่อน มีบุคลากรทุกสาขา ทำหน้าที่ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทุกโรค แทนแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ไม่มีเตียงนอนรักษา และเพิ่มบริการส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนไม่ให้เจ็บป่วย และติดตามฟื้นสมรรถภาพผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่บ้าน เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ป้องกันโรคแทรกซ้อน ในเบื้องต้นมีนโยบายตั้ง 215 แห่ง จนถึงขณะนี้ดำเนินการได้เกินเป้า มีการจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองไปแล้ว 233 แห่งทั่วประเทศ

"รวมถึงการให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการเรื่องหลักประกันของโรงพยาบาลต่างๆ ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะบริหารติดขัดทำให้โรงพยาบาลเกือบขาดทุน สิ่งเหล่านั้นจะถูกดำเนินการโดยให้ รพสต.เข้ามามีส่วนรับภาระในการดูแลสุขภาพประชาชนในด่านแรก โดยจะมีการพัฒนาให้เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลศูนย์แก้ปัญหาแพทย์ พยาบาลขาดแคลนโดยใช้ข้อมูลออนไลน์เข้ามาช่วย เช่น การขอคำปรึกษาในการรักษาพยาบาลจากหมอในโรงพยาบาลศูนย์ผ่านกล้อง มีการสั่งจ่ายยาผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้ลดขั้นตอนการทำงาน" นายวิทยา กล่าว

เน้นฟื้นฟูโรคเรื้อรังและป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ยังมีนโยบายเร่งแก้ไขปัญหาการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยจากโรคไม่ติดต่อ 5 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าไทยจะมีระบบประกันสุขภาพที่ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลกก็ตาม แต่ที่ผ่านมาจะรองรับการดูแลรักษาการเจ็บป่วยเป็นส่วนใหญ่ สถิติในปี 2553 ทั้ง 5 โรคมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 2 ล้านกว่าราย เสียชีวิตรวม 1 แสนกว่าราย หรือคิดเป็น 25% สาเหตุทั่วประเทศที่มีประมาณ 4 แสนราย สาเหตุการป่วยเกี่ยวข้องกับ 2 ปัจจัย คือการขาดการออกกำลังกาย และเรื่องอาหารการกิน

ส่วนการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพได้เน้นหนักให้ทุกจังหวัดเร่งแก้ไข และป้องกันการป่วยด้วย 2 กิจกรรมหลัก สอดรับกับการบริหารหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ประการแรกคือ การกระตุ้นให้คนไทยออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยให้ อสม. 1 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นผู้นำในการรณรงค์ โดยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุดในปี 2554 ในคนไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป ที่มีทั้งหมด 57 ล้านกว่าคน พบว่าออกกำลังกาย เล่นกีฬาเพียง 15 ล้านกว่าคน หรือกล่าวได้ว่าในคนไทยอายุ 11 ปีขึ้นไป ทุกๆ 4 คน จะมีคนออกกำลังกายเพียง 1 คน ซึ่งสถิติลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 3 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้คนที่ไม่ออกกำลังกายจำนวน 42 ล้านคน หันมาใช้เวลาออกกำลังกายกันเป็นประจำ ให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย

ประการที่ 2 คือการคุ้มครองความปลอดภัยอาหาร จะให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารปนเปื้อนครอบคลุมทั้งตลาดสด รถเร่ ตลาดนัด ทุกหมู่บ้าน โดยเน้นตรวจความปลอดภัยอาหาร น้ำ รวม 8 ประเภท ได้แก่ 1.บอแรกซ์ที่ลักลอบในเนื้อสัตว์ ขนมหวาน 2.สารฟอกขาว 3.สารกันรา 4.ฟอร์มาลิน 5.สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 6.สารเร่งเนื้อแดง 7.สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยแต่ละปีคนไทยบริโภคน้ำมันพืชกว่า 8 แสนตัน และ 8.น้ำแข็ง ไอศกรีม น้ำดื่มทั้งบรรจุขวด และน้ำจากตู้หยอดเหรียญซึ่งกำลังได้รับความนิยม ซึ่งเรื่องนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดติดตามควบคุมแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และยกมาตรฐานร้านอาหาร แผงลอย ตลาดสด ให้ถูกหลักสุขาภิบาล ปลอดภัย ไม่ต่ำกว่า 80% นอกจากนี้ยังมีโครงการรากฟันเทียมพระราชทาน และทูบีนัมเบอร์วัน ที่จะทำควบคู่กันไป

แม้ผลงานของคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขในช่วงเปลี่ยนถ่ายรัฐบาลใหม่จะยังไม่เด่นนัก แต่การป้องกันไม่มีโรคระบาดในช่วงน้ำท่วมก็คงเป็นสิ่งที่การันตีได้ถึงความสามารถ

บ้านเมือง 1 มกราคม 2555