ผู้เขียน หัวข้อ: สสจ.พะเยาเผยสถานการณ์เอดส์ยังวิกฤต  (อ่าน 1521 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
พะเยา/ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ห้องประชุมภูกามยาว ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดพะเยา โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้จัดประชุมเวทีพัฒนา "ยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านเอดส์จังหวัดพะเยา สู่การจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดการปัญหาเอดส์จังหวัดพะเยา" โดยมี นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย


 
หัวหน้าส่วนราชการ, คณะอนุกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดพะเยา ,ผู้บริหารระดับท้องถิ่น, ผู้บริหารทางการศึกษา, ผู้ทำงานเอดส์ในพื้นที่ ตลอดจนผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ (ศบ.จอ.), ผู้แทนจาก ยูนิเซฟ และนักวิชาการด้านเอดส์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กว่า 100 คน เข้าร่วมประชุมฯ

ด้าน พ.ญ.อารีย์ ตันบรรจง สาธารณสุขจังหวัดพะเยา กล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์เอดส์ชาติ พ.ศ.2555-2559 จะเน้นการบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ เข้าไปในภารกิจของหน่วยงานทุกระดับและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วน และสำนักงานโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) เสนอให้ประเทศไทยกำหนดเป้าหมาย Getting to Zero คือ ลดจำนวนผู้ป่วยเอดส์ การตายจากเอดส์ และการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยเอดส์ให้เหลือศูนย์

พ.ญ.อารีย์ เปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้านี้จังหวัดพะเยา มีการสำรวจการมีเพศสัมพันธ์ของประชาชนทั่วไป รวมถึงทหารเกณฑ์กองประจำการ และผู้ต้องขัง เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ พบว่าทหารเกณฑ์กองประจำการ จะนิยมไปใช้บริการหญิงบริการก่อนกลับบ้าน ทั้งที่มีภรรยาและไม่มีภรรยา และพบพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังพบในผู้ต้องขังชายด้วย เนื่องจากมีผู้ต้องขังชายรับถุงยางอนามัยจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ขณะนำถุงยางเข้าไปแจกในเรือนจำ โดยหญิงบริการส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยมากกว่าร้อยละ 80 และจะไม่ใช้ถุงยางอนามัยในรายขาประจำ และพบด้วยว่าหญิงบริการที่ติดเชื้อเอดส์ยังคงทำงานขายบริการต่อ โดยให้เหตุผลว่าไม่รู้จะไปทำงานอะไร และยังพบด้วยว่าชายสูงอายุที่ไปเที่ยวสถานบริการจะไม่นิยมใช้ถุงยาง เนื่องจากเห็นว่าตนเองอายุมากแล้ว ตายก็ตายไป สำหรับภรรยาที่ติดเชื้อเอดส์พบว่ามีเพศสัมพันธ์กับสามีโดยไม่ได้บอกว่าตัวเองติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์และติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น และไม่มีการคุมกำเนิด ซึ่งพบด้วยว่าบุตรที่เกิดมาติดเชื้อเอดส์ด้วย ขณะที่สาธารณสุขจังหวัดพะเยา แสดงความห่วงใยเด็กที่มีผู้ปกครองติดเชื้อเอดส์และเสียชีวิตไปแล้ว จะไม่มีคนดูแล ซึ่งสถานการณ์ข้างต้นล้วนเป็นสาเหตุให้สถานการณ์เอดส์ของจังหวัดพะเยายังคงน่าเป็นห่วงอยู่ในขณะนี้ สำหรับประชุมเวทีพัฒนา "ยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านเอดส์จังหวัดพะเยา สู่การจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดการปัญหาเอดส์จังหวัดพะเยา" ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการ, คณะอนุกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดพะเยา, ผู้บริหารระดับท้องถิ่น, ผู้บริหารทางการศึกษา, ผู้ทำงานเอดส์ในพื้นที่ ตลอดจนผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ (ศบ.จอ.), ผู้แทนจาก ยูนิเซฟ และนักวิชาการด้านเอดส์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้าร่วมประชุม จะมีการวิเคราะห์ปัญหาและนำข้อมูลต่างๆ นำไปสู่การวางแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเอดส์ของจังหวัดพะเยาต่อไป

สำหรับจังหวัดพะเยา มีผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการและผู้ป่วยเอดส์ตั้งแต่ พ.ศ.2532-มีนาคม 2555 จำนวนทั้งสิ้น 17,347 ราย เป็นชาย 10,818 ราย และหญิง 6,529 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 7,648 ราย สาเหตุของการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 90.23 ติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก ร้อยละ 4.73 ส่วนกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 40-44 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 9,621 ราย ส่วนอำเภอที่มีผู้ป่วยสะสมมากที่สุดคือ อำเภอเชียงคำ 3,792 ราย อำเภอเมือง 3,719 ราย และอำเภอดอกคำใต้ 2,535 ราย และอำเภอที่มีอัตราการป่วยด้วยเอดส์และติดเชื้อที่มีอาการในปี 2555 สูงสุดคือ อำเภอจุน มีอัตรา 0.16 ต่อประชากรพันคน ขณะที่จังหวัดพะเยามีผู้ติดเชื้อเอดส์มากเป็นอันดับ 4 รองจากจังหวัดภูเก็ต, จันทบุรี และระยอง

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง