หมวดหมู่ทั่วไป > ข่าวสมาพันธ์

โดดได้โดดไป? ตั้งคำถามเฉยๆ ใครที่ยังไม่ได้เต็มที่ในการแก้ปัญหา

<< < (2/3) > >>

story:
แพทยสภา ยอมรับมี นศ.แพทย์ เครียดฆ่าตัวตายต่อเนื่อง ชี้ไม่เคยปิดข่าวYour browser does not support the video element.แพทยสภา ยอมรับมี นศ.แพทย์ เครียดฆ่าตัวตายต่อเนื่อง ชี้ไม่เคยปิดข่าว

หลังจากเพจ ANTI SOTUS ได้โพสต์เรื่องนักศึกษาแพทย์ฆ่าตัวตายเป็นประจำทุกปี โดยปีการศึกษานี้ก็มีปัญหาฆ่าตัวตายเกิดขึ้น และถูกสถาบันสั่งห้ามเผยแพร่ผ่านโซเซียลมีเดีย เพราะทำให้สถาบันเสื่อมเสียงชื่อเสียง นั้น

นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ เลขาธิการแพทยสภา ยอมรับว่าปัญหานักศึกษาแพทย์ ฆ่าตัวตายมีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะความเครียดจากการเรียน และถูกกดดันจากครอบครัว ที่ต้องการให้เรียนแพทย์ทำให้ไม่มีความสุขในการเรียน ซึ่งในเบื้องต้นจะนำปัญหานี้เข้าหารือใน คณะกรรมการแพทยสภา อาจจะต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหานี้ โดยมีจิตแพทย์ร่วมเป็นคณะกรรมการวิเคราะห์สาเหตุ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหา

สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ ไม่ใช่สาเหตุจูงใจการฆ่าตัวตาย และคงไม่สามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนได้ เพราะเป็นหลักสูตรมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

ด้าน นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ที่ปรึกษาแพทยสภา ยอมรับเช่นกันว่า ปัญหานักศึกษาแพทย์ฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นมากว่า 40 ปีแล้ว และปีการศึกษาล่าสุดก็มีเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุจากความเครียด แรงกดดัน ความคาดหวังของพ่อแม่ รวมถึงอาจารย์แพทย์ ขณะที่เด็กสมัยนี้ มีความเปราะบางด้านจิตใจมาก เมื่อถูกกดดัน และต้องแข่งขันด้านการเรียนกับเพื่อนที่เรียนเก่งมาก ทำให้ความเครียดจนนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้

สำหรับปัญหานี้ ทุกสถาบันการศึกษา ไม่ได้นิ่งนอนใจ และไม่เคยปกปิดข่าว แต่ที่ไม่ต้องการให้เผยแพร่ เพราะกลัวพฤติกรรมเลียนแบบ และได้หามาตรการดูแล สอดส่องนักศึกษาแพทย์ที่มีความเครียดสูง มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โดยจะให้จิตแพทย์เข้าพูดคุยพร้อมแนะทางออกทันที หรือแนะนำให้เปลี่ยนคณะเรียนที่ตัวเองถนัด

ดังนั้นจึงขอให้นักศึกษาที่จะตัดสินใจเรียนแพทย์ ต้องเข้าใจและยอมรับการเรียนที่หนัก แรงกดดันที่สูง ที่สำคัญพ่อแม่ไม่ควรจะกดดันลูกในเรื่องการเรียน

ที่มา ช่อง 7

28 มีนาคม 2561
https://thai.ac/news/show/113103

story:
ผมขอเรียนถามอาจารย์ที่เป็นจิตแพทย์ครับ

คือผมอายุ 21 เป็นนศ.พ.ชั้นปีที่ 3 อยู่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผมยอมรับครับว่าผมมาอยู่คณะนี้เพราะว่า "คะแนนถึง" ไม่ได้มีความชอบอะไรแม้แต่น้อย พอเข้ามาถึง ถึงได้รู้ว่าที่นี่ไม่ใช่ที่ของผมแม้แต่น้อย(แต่ระดับการเรียนของผมจะอยู่ในเกณฑ์ดี มาตลอด แม้จะฝืนเรียนแบบอ่านหนังสือเพื่อสอบให้มันจบๆไป) แต่ไม่ใช่ว่าผมจะไม่มีความสุขมาตลอด 3 ปีนะครับผมก็มีความสุขตามอัตภาพไปเที่ยวไปเล่นกับเพื่อนตามโอกาส(พูดง่ายๆคือชีวิตผมก็เป็นชีวิตนศ.พ.ทั่วไปแหละครับ) แต่หลังๆผมเริ่มรู้สึกว่าการไม่มีความสุขกับการเรียนมันจะมากขึ้น ความทนทานในการอ่านหนังสือของผมลดลงเรื่อยๆ แต่ก่อนผมจะอ่านหนังสือได้ทนมากวันละ 6-7 ชั่วโมงยังไหว, แต่ตั้งแต่ปี 3 เทอม 1(เทอมที่ผ่านมา) ผมก็รู้สึกว่าทรมานกับการอ่านหนังสือแล้วก็ท่องอะไรเข้าหัวยากกว่าแต่ก่อน จนมีหลายครั้งที่หงุดหงิดจนอ่านต่อไม่ได้เลยเป็นวันวัน

บางครั้งผมจะมีอาการดีใจจนควบคุมตัวเองไม่ได้(อย่างเวลาสอบเสร็จแล้วแค่คิดถึงว่าคืนนั้นจะไปเที่ยวไหน ผมก็ดีใจจนบางครั้งกรีดร้องจนเกือบคลั่ง)
และก็มีหลายครั้งที่รู้สึกหดหู่ไม่อยากจะดำเนินชีวิตต่อ(โดยเฉพาะช่วงเครียดๆ หรือช่วงที่มีปัญหากับคนรอบข้าง) บางคัร้งผมก็หงุดหงิดอารมณ์เสียโดยไม่สมเหตุสมผล แม้เรื่องเล็กน้อยก็ทำให้ผมหงุดหงิดมากๆได้

มีอยู้หลายครั้งที่ผมรู้สึกหดหู่จนคิดอยากฆ่าตัวตาย ผมคิดจะกรีดข้อมือตัวเองตรง radial artery พลางคิด ไปว่าผลจะเป็นยังไง--เลือดคงไหลออกมานองที่นอน--หัวใจผมจะเต้นเร็วและรัวขึ้นเรื่อยๆจนเกิด fibrilation--ผิวหนังผมจะเริ่มซีดปากจะเริ่มซีดเป็นสีขาว--อวัยวะในช่องท้องจะมีเลือดเลี้ยงน้อยลงจนอาจมีอาการปวดท้อง--ความรู้สึกจะเลือนลางไปเรื่อยๆ--ท้ายที่สุดผมก็จะหมดสติไป--ถ้าผมล๊อคห้องดีๆก็คงได้ตายสมใจ--ก่อนหน้านั้นสักวันผมน่าจะทาน aspirin ซักเยอะๆเลือดจะได้แข็งตัวยากจะได้ไม่ต้องกรีดข้อมือหลายทีให้เจ็บตัวมาก--ผมว่าวิธีนี้น่าจะตายสบายที่สุด

ผมกลัวครับ--ผมยิ่งคิดยิ่งกลัว กลัวว่าซักวันผมอาจจะลุกขึ้นมาทำแบบนั้นจริงๆแต่ก่อนผมคิดว่าผมเป็นแบบนี้เพราะเครียด-ไม่มีความสุขกับการเรียนคณะนี้แต่คิดๆไปผมกลัวว่าผมอาจเป็นโรคซึมเศ้ราก็ได้ เพราะผมเองผมมีความคิดมาตลอดว่าชีวิตเป็นสิ่งสวยงาม-ทุกคนต่างก็รักชีวิต-เราเกิดมาก็ต้องใช้ชีวิตให้ดีที่สุดไม่ว่าจะเลวร้ายแค่ไหน---แต่แล้วผมกลับมีความคิดแบบนี้
ผมเป็นโรคซึมเศร้าแบบ 2 ขั้วรึเปล่าครับเพราะมีอาการ mania ด้วย
ขอความกรุณาอาจารย์ให้คำปรึกษาผมด้วยครับ ขอบพพระคุณมากครับ

.................
ใครเคยเป็นแบบนี้บ้าง ........!!!!!!???????

Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2003-04-29
https://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=329

story:
ทุกปีต้องมีนักศึกษาแพทย์ฆ่าตัวตาย มีทั้งที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ, ที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จแต่พิการไป,ที่พยายามฆ่าตัวตายจนต้องเข้าโรงพยาบาลแล้วกลับมาดีขึ้น

คนที่ฆ่าตัวตายไม่ใช่แค่ระดับชั้นคลินิค(ปี4-6) ตอนนี้แม้แต่พรีคลินิค(ปี2-3)เองก็มี
ไม่ได้จำกัดแค่โรงเรียนแพทย์ที่เดียว แต่หลายๆที่ก็เป็น
บางคนพยายามฆ่าตัวตายปีละหลายครั้ง

ทุกครั้งที่มีคนฆ่าตัวตาย ไม่รู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรในคณะ
ก็ยังมีนักเรียนแพทย์ ทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้อง ฆ่าตัวตายมาเรื่อย

สุดท้ายก็ได้แต่บ่น หวังได้แต่ว่าจะไม่ใช่คนใกล้ตัวที่ฆ่าตัวตายอีก

8 มิถุนายน 2559
https://pantip.com/topic/35247419

ความคิดเห็นที่ 2
ไม่เคยได้ยินเรื่องนักเรียนแพทย์ฆ่าตัวตายจำนวนมากเลยครับ ทราบว่ามีแต่น้อย
ถ้ามีน่าจะเป็น resident หรือเปล่าครับ ถึงกับพูดกันว่าแพทย์ประจำบ้านจำหน่ายตายได้ 5%

story:
เรื่องของโรคซึมเศร้า เราสามารถพบเห็นผู้ป่วยได้จากทุกเพศ ทุกวัย ทุกสายอาชีพ ทุกระดับฐานะ เพราะไม่ส่าคุณจะเป็นใครมาจากไหน คุณก็อาจมีประสบการณ์ชีวิตที่เลวร้าย บวกกับการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ที่ส่งผลให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้ในเวลาต่อมา

แต่สำหรับ “นักศึกษาแพทย์” แล้ว เบื้องหลังการร่ำเรียนที่หนักหน่วง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตระหว่างการเรียนเต็มไปด้วยความกดดัน จนอาจทำให้นักศึกษาแพทย์หลายคนต้องจบชีวิตของตัวเองลงอย่างน่าเศร้า รวมไปถึงวงการแพทย์ที่ต้องสูญเสียบุคลากรในอนาคตที่มีคุณภาพไปอีกคนเช่นกัน

เพจเฟซบุ๊กแฉ ม.ดังสั่งปิดข่าวนักศึกษาแพทย์ฆ่าตัวตาย–รุ่นพี่ชี้ระบบการเรียนทำสูญเสียความเป็นคน

เฟซบุคเพจ จริยธรรมนิสิตนักศึกษาแพทย์ กล่าวถึงเรื่องการฆ่าตัวตานจากโรคซึมเศร้า ของนักศึกษาแพทย์เอาไว้ว่า

“การฆ่าตัวตายพบในโรงเรียนแพทย์บ่อยกว่าโรงเรียนอื่นๆ

ในขณะที่นักเรียนแพทย์เรียนการไปดูแลรักษาช่วยเหลือปัญหาสุขภาพของคนอื่น พวกเขาเหล่านั้นกลับละเลย (ถูกละเลย) และหลงลืมที่จะดูแลตัวเองในด้านต่างๆทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การเรียนและงานที่หนักหน่วงทำให้อดกินอดหลับอดนอน เป็นปัญหาต่อร่างกาย ความกดดัน ความรับผิดชอบ การแข่งขัน ฯลฯ ทำให้เกิดความเครียดสะสมหรืออาการซึมเศร้า เป็นปัญหาต่อจิตใจ ซึ่งล้วนนำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายที่ไม่พึงปรารถนา

หลายคนอาจไม่ทราบว่าในปัจจุบันการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุตายที่สำคัญในกลุ่มวัยรุ่น ยิ่งกว่านั้นยังพบว่านักเรียนแพทย์มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าประชากรทั่วไปในวัยเดียวกันถึง 3 เท่า สาเหตุก็เป็นเรื่องทำนองเดียวกับการฆ่าตัวตายของแพทย์ คือนักเรียนแพทย์ถูกสอนให้เข้าใจว่าต้องแข็งแกร่ง การร้องขอความช่วยเหลืออาจถูกมองว่าอ่อนแอ และการมีปัญหาทางจิตในระหว่างเรียนอาจกลายเป็นตราบาป (stigmata) ทำให้อนาคตของพวกเขาไม่สดใส

ในสหรัฐอเมริกา สมาคมนักเรียนแพทย์อเมริกัน หรือ American Medical Student Association; AMSA (ชื่อย่อซ้ำกับ Asian Medical Students’ Association) ได้จัดให้มีโปรแกรมช่วยเหลือนักเรียนแพทย์ซึ่งครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางจิตใจด้วย หรือจะเป็นการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางออนไลน์ ซึ่งอาจเป็นแบบลับคือปกปิดตัวตน หรือจะขอนัดคุยต่อหน้าก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้าเป็นเวลานาน

ในบ้านเราแม้บริบทจะไม่เหมือนในสหรัฐอเมริกา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีปัญหาด้านนี้ในนักเรียนแพทย์ของเราเช่นกัน นอกจากการพยายามสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีขึ้นในโรงเรียนแพทย์แล้ว อาจต้องมีการพัฒนาการให้ความช่วยเหลือเหล่านี้ให้กับนักเรียนแพทย์ ทั้งในระดับโรงเรียนแพทย์เอง (ซึ่งหลายแห่งมีบริการด้านนี้อยู่แล้ว) หรือความร่วมมือระดับองค์กรของโรงเรียนแพทย์ หรือแม้แต่องค์กรของนักเรียนแพทย์ก็สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน”

ในขณะที่ หมอวิน จากเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ บอกเล่าถึงประสบการณ์ในช่วงที่เป็นนักศึกษาแพทย์เอาไว้ว่า เคยถูกอาจารย์ใช้คำพูดบั่นทอนจิตใจไปไม่น้อยเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น

"แค่นี้ไม่รู้ ก็ไม่ต้องจบเป็นหมอ"

"ถ้าลอกแลปมันยากนัก ก็ไปตายเถอะ"

"ไปโดดตึกซะให้หมดทั้งกลุ่มเลยก็ได้นะ ถ้าตอบแบบนี้"

"อาจารย์ไม่อยากใช้คำว่า โง่ เลยนะ คิดเอาเองก็แล้วกัน"

"ผมบอกให้ออกไปจากวงราวด์! เดี๋ยวนี้! ฟังไม่ได้ยินเหรอ"

“เมื่อเช้ากินข้าวมาหรือเปล่า? หรือกินหญ้า?”

“คุณรู้จักเพนกวินไหม? ไปทีละคน เรียงตัวเลยนะ นำด้วยหัวหน้า แล้วโดดไปจากหน้าต่างทีละคนเลย”

ประโยคเหล่านี้บางคนอาจจะแก้ตัวว่าเป็นการฝึกความอดทน ฝึกให้รับมือกับความกดดันในแบบที่แพทย์ทุกคนต้องทำให้ได้ หรือที่หลายๆ คนได้ยินกันบ่อยๆ ว่า No pain, no gain (หรืออาจจะต่อด้วย No brain, more pain ด้วย) แต่อันที่จริงแล้วการใช้คำพูดลักษณะนี้จะเรียกว่าเป็นการฝึกความอดทนอดกลั้น รับมือกับความกดดันจริงๆ หรือเป็นเพียงการทำร้ายจิตใจ และทำให้ได้อายต่อหน้าสาธารณชนกันด้วยคำพูดเท่านั้น

การที่เด็กคนหนึ่งต้องมาเจอกับเรื่องราวแบบนี้ อาจจะต้องแว่บไปหาต้นเหตุด้วยว่ามาจากไหน เขาเหล่านี้ไม่มีความสุขในการเรียนจากการเรียนการสอนอย่างเดียวหรือไม่ หรือจริงๆ แล้วมันเริ่มมาตั้งแต่การโดนบังคับให้เรียนในสิ่งที่ไม่อยากเรียน

หมอมินบานเย็น จากเพจ เข็นลูกขึ้นภูเขา กล่าวเตือนพ่อแม่เอาไว้ว่า “ถึงพ่อแม่ที่รัก อย่าบังคับให้ลูกเรียนหมอ” เอาไว้ว่า

“…การเรียนแพทย์นั้นไม่ใช่เพียงแต่อาศัยความสามารถทางวิชาการเท่านั้น แต่ต้องมีความขยัน พยายามและอดทน เพราะการเรียนตลอด 6 ปี มีทั้งวิชาการ(ชั้นปรีคลินิค) และการเรียนกับคนไข้(ชั้นคลินิค) เรียนวิชาการก็หนัก และยังต้องมีการเรียนปฏิบัติ การอยู่เวรกลางคืน พักผ่อนน้อย ไม่เป็นเวลา และต้องเผชิญกับการมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เพียงแต่คนไข้เท่านั้น แต่กับอาจารย์ กับเพื่อนนักเรียนแพทย์ด้วยกัน มีปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องใช้ทักษะชีวิตในการฝ่าฟันไปมากมาย และเมื่อเป็นเรื่องของชีวิตคนต้องรับผิดชอบอย่างมาก ความเครียดที่เกิดขึ้นตามมาก็มากกว่าปกติเช่นเดียวกัน

มีงานวิจัยที่น่าสนใจออกมาเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ตีพิมพ์ใน JAMA เรื่อง 'ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายในนักเรียนแพทย์' เป็นการศึกษาแบบ Meta-analysis รวบรวมมาจากงานวิจัยในประเทศต่างๆ จำนวนกว่า 200 งานวิจัย จาก 47 ประเทศ มีนักเรียนแพทย์เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 100,000 กว่าคน ปรากฎว่า พบความชุกของภาวะซึมเศร้าถึง 27.2% และความคิดทำร้ายตัวเอง 11.1%

งานวิจัยพบว่านักเรียนแพทย์นั้นมีความเสี่ยงมากกว่าประชากรทั่วไปที่จะมีภาวะซึมเศร้า 2-5 เท่า ในจำนวนเหล่านั้นมีไม่ถึง 1 ใน 5 ที่ได้เข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และยังพบอีกว่าแม้กระทั่งจบการศึกษาเป็นแพทย์และเรียนต่อเฉพาะทาง ก็ยังพบภาวะซึมเศร้ามากถึง 29% นั่นคือขนาดได้ปริญญาเป็นหมอเรียบร้อย ก็ยังไม่หายซึมเศร้า

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนคนหนึ่งผ่านความลำบากจาการเรียนไปได้สำหรับตัวหมอ คิดว่าจุดเริ่มต้น คือ "ฉันทะ" หรือความชอบ ถ้าชอบที่จะเรียน สนุกที่จะเรียน มีเป้าหมายว่าอยากเป็นแพทย์ชัดเจนด้วยตัวเอง เหนื่อยหรือหนักแค่ไหนก็เอนจอย (แบบที่หมอชอบที่จะเขียนเพจ ถามว่าเหนื่อยมั้ยที่ต้องนั่งเขียนอะไรทุกวัน ก็เหนื่อยบ้าง แต่มันรักที่จะเขียน อยากเขียนให้คนอ่านแล้วมีประโยชน์)

นอกจากความชอบ ก็คือ การสนับสนุนจากคนรอบข้าง พ่อแม่ อาจารย์ รุ่นพี่ เพื่อน

ถ้ามีความชอบ และมีกำลังใจจากตัวเองและคนที่รักและไว้ใจ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงนัก ยังไงๆก็คงพอไปรอดได้

เพราะเหนื่อยกายไม่เท่าหนักใจ พักสักนิดไปต่อได้แน่นอน

แต่ถ้าพ่อแม่บังคับลูกตั้งแต่แรกโดยไม่เข้าใจและรับฟังลูก หมอคิดว่ายิ่งเสี่ยงที่จะทำให้นักเรียนแพทย์คนนั้นมีภาวะซึมเศร้า

ถ้าโชคดีหน่อย คือถูกบังคับมาแล้ว มาเปลี่ยนใจชอบเรียนตอนหลังได้ เปรียบเหมือนชายหญิงถูกจับคลุมถุงชนแต่งงานกันแล้วรักกันทีหลัง ก็โอเค แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ปัญหามากมายเกิดตามมาอีกเป็นพรวน ก็คงคล้ายนักเรียนแพทย์ที่ลงเอยจนกระทั่งป่วยเป็นซึมเศร้า

สุดท้าย ไม่ใช่เฉพาะเรียนแพทย์ แต่พ่อแม่บังคับให้เรียนอย่างอื่นก็ไม่ควร คุยกันได้แนะนำชี้แนะได้แต่อย่ากดดันลูก มิฉะนั้นอาจจะนำมาซึ่งผลกระทบทางลบ”

ดังนั้นถ้าจะให้แก้ปัญหานี้กันตั้งแต่แรก อาจจะต้องเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวที่ต้องเข้าใจ และยอมรับในสิ่งที่ลูกหลานเป็น ให้เขามีอิสระในการเลือกใช้ชีวิตของตัวเองในทางที่ถูกที่ควร ไม่เดือดร้อนหรือเบียดเบียนใคร ไปจนถึงระบบการศึกษาของไทยที่ต้องเน้นในเรื่องของการเรียนจากความชอบ ความสนใจ ความถนัดของตัวเอง มากกว่าการเน้นเฉพาะคะแนนสอบที่ไม่สามารถวัดผลอะไรได้มากไปกว่าความรู้ที่ยังไม่ได้นำไปใช้ประกอบอาชีพจริงๆ รวมไปถึงสังคมรอบข้างที่ต้องเลิกมองอาชีพบางอาชีพสูงส่ง และมีค่ามากกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะไม่ว่าอาชีพไหนก็มีความสำคัญต่อสังคมมากพอๆ กัน ขอแค่เพียงเป็นอาชีพที่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้อย่างสุจริต และร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปข้างหน้าต่อได้

และเรื่องเหล่านี้ไม่ต้องรอให้ใครเริ่ม ทั้งหมดเริ่มได้ที่ตัวคุณเอง



28 มี.ค. 61
https://www.sanook.com/health/10357/

story:
แลกมาด้วยชีวิต! เพจแอนตี้โซตัส อ้าง ม.ดัง สั่งปิดข่าวนักศึกษาแพทย์เครียดจัดฆ่าตัวตาย รุ่นพี่เผย การเรียนหมอต้องแลกกับอะไรหลายอย่าง ทำนักศึกษาแพทย์คนอื่นไม่พอใจ ชี้ว่าโพสต์ให้สถาบันเสียชื่อเสียง...

วิพากษ์วิจารณ์สนั่นโซเชียล หลังจากที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก ANTI SOTUS โพสต์ข้อความระบุว่า เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีนักศึกษาแพทย์ฆ่าตัวตาย ซึ่งแค่ปีการศึกษานี้ปีเดียวก็มีนักศึกษาแพทย์จากโรงเรียนแพทย์หลายแห่งฆ่าตัวตายรวมกันหลายราย และก็มีเป็นประจำทุกปี มีสถิติว่า นักศึกษาแพทย์ฆ่าตัวตายสูงกว่านักศึกษาทั่วไป 3 เท่า ทุกครั้งก็ไม่ค่อยมีข่าวตามหน้าสื่อ เพราะสถาบันสั่งให้ปิดข่าว ขนาดใครตั้งสเตตัสถึงเพื่อนที่เสียชีวิต จะโดนเรียกไปตักเตือนฐานทำให้เสียชื่อเสียง

หลังจากนั้น ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นรุ่นพี่นักศึกษาแพทย์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า การเรียนหมอคือการเรียนที่เราต้องเเลกอะไรหลายๆ อย่างออกไป ทั้งต้องเเลกการกิน การนอน เวลา เเละชีวิตส่วนตัว ระบบการเรียนเเพทย์จะค่อยๆ ปรับให้น้องสูญเสียความเป็นคนทีละเล็กทีละน้อย ยิ่งหากมีโรคประจำตัว เช่น โรคซึมเศร้า จะยิ่งทำให้ผ่านไปยาก

ขณะที่ แฟนเพจเฟซบุ๊ก Drama-addict โพสต์ข้อความถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า หลังจากที่นักศึกษาแพทย์คนหนึ่งเสียชีวิตไป ก็มีนักศึกษาแพทย์อีกคน เอาเรื่องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในการเรียนแพทย์ มาเขียนลงเฟซบุ๊ก ซึ่งน้องคนนี้เขียนดีมาก ไม่ได้พาดพิงใคร ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของใคร คือเขียนแบบเป็นความรู้และเป็นอุทาหรณ์ คนในวงการก็แชร์กันเยอะ

แต่คนวงในร้อนตัว ไปบอกกันปากต่อปากว่าน้องมันจะเอาข้อมูลไปเปิดเผยให้สื่อฟัง จะทำให้สถาบันเสื่อมเสียชื่อเสียง แล้วมันก็มีคนในนั้นกุเรื่องว่าร้าย แล้วก็เขียนด่าประมาณว่าคนโพสต์เลว โดดเวร ไม่ตั้งใจดูแลคนไข้ จนเพื่อนน้องทนไม่ได้ เพราะมันเห็นว่าเพื่อนทำถูกแล้ว ทำไมต้องมาแอนตี้หาเรื่องใส่ร้ายล่าแม่มดกัน เลยรวมหลักฐานส่งไปเพจต่างๆ ปรากฏว่าหลังสื่อลงข่าว คนที่โพสต์กุเรื่องให้ร้ายน้องคนนั้น ลบโพสต์หายหมด

ทั้งนี้ ฝากเตือนพี่น้องร่วมวงการ อย่าห่วงชื่อเสียงสถาบันมากจนเสียสติ สถาบันมันไม่ใช่แค่สถานที่ แต่เป็นเรื่องของผู้คน อย่าห่วงชื่อเสียงสถาบันจนละเลยสิ่งที่ควรทำในฐานะวิชาชีพ แล้วไม่ต้องไปไล่ควานหาล่าแม่มด ว่าเด็กคนไหนเป็นคนส่งเรื่องให้สื่อให้เพจ คนที่เขาเห็นอะไรไม่ถูกต้องแล้วกล้าต้าน ไม่ใช่ไหลไปตามน้ำไม่ได้มีแค่คนสองคน จำไว้.


28 มี.ค. 2561
https://www.thairath.co.th/news/society/1241134

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version