แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - somnuk

หน้า: 1 [2]
16
แถลงการณ์ของสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ฯ/โรงพยาบาลทั่วไป

เรื่อง สถานะสาธารณสุขไทย

    สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลทั่วไป รู้สึกยินดีที่รัฐบาลจะแต่งตั้งนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากเราคิดว่า การที่ท่านเคยบริหารกระทรวงศึกษาธิการมาแล้ว จะช่วยให้ท่านเข้าใจได้ว่า งานของกระทรวงสาธารณสุขนั้น ก็มีระดับความยากง่ายแบบพื้นฐานทั่วไป เหมือนโรงเรียนอนุบาลหรือโรงเรียนประถม ที่เรียกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับสูงขึ้นเป็น ระดับมัธยม และอุดมศึกษา

    ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลก็มีหลายระดับเช่นกัน กล่าวคือโรงพยาบาลระดับต้นที่เรียกว่าปฐมภูมิ คือโรงพยาบาลชุมชน สำหรับรับรักษาการเจ็บป่วยทั่วไปของประชาชนขั้นพื้นฐาน มีโรงพยาบาลทุติยภูมิ คือโรงพยาบาลทั่วไป เป็นโรงพยาบาลจังหวัดไว้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือรักษายุ่งยากซับซ้อน และมีโรงพยาบาลตติยภูมิคือโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ เพื่อรับรักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อนที่สุด ไว้รักษาผู้ป่วยอาการหนักและรักษายากที่สุดโดยขออธิบายประกอบดังนี้ คือโรงพยาบาลชุมชน รักษาผู้ป่วยเบื้องต้นทั่วไป ถ้าอาการหนัก ก็ต้องส่งต่อไปยัง โรงพยาบาลทั่วไป ถ้าโรงพยาบาลทั่วไปยังรักษาไม่ไหว ก็ต้องส่งผู้ป่วยต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางต่อไป

    ส่วนการศึกษาระดับสูงขึ้นมา ก็คือระดับมัธยมศึกษา มีความลึกซึ้งเละเนื้อหายากกว่าเดิม เปรียบกับโรงพยาบาลก็คือ โรงพยาบาลจังหวัดที่เรียกว่าโรงพยาบาลทั่วไป (GeneraI Hospital) หรือที่เรียกว่าโรงพยาบาลทุติยภูมิ คือสามารถรักษาโรคหรือประชาชนที่เจ็บป่วยหนัก ต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากขึ้น หรือเชี่ยวชาญเฉพาะโรค ในระดับการศึกษาสูงสุด คือการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีหรือหลังปริญญาตรี ถ้าเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข ก็คือโรงพยาบาลหรือสถาบันระดับตติยภูมิ ได้แก่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาล/สถาบันที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสังกัดกรมการแพทย์ ได้แก่โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสินโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี สถาบันประสาท สถาบันมะเร็ง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นต้น

    ในยุคของนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทมากขึ้น โดยการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้โรงพยาบาลชุมชนมากขึ้น แต่ไม่ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์เท่าที่ควร เมื่อรัฐมนตรีต้องการที่จะจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลทุกระดับ รวมทั้งโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลทั่วไป รวมทั้งโรงพยาบาลเฉพาะทางของกรมการแพทย์มากขึ้น ทำให้กลุ่มชมรมแพทย์ชนบท ออกมาเปิดประเด็นการทุจริต ในการจัดสรรงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข

    ซึ่งพวกเราสมาชิกสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ที่เป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ต้องการให้รัฐมนตรีคนใหม่ ดำเนินการสอบสวนต่อไปว่า เกิดการทุจริตหรือตั้งใจจะทุจริตจริงหรือไม่ ใครมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการเกษียณ หรือข้าราชการประจำ ก็ควรจะได้รับการลงโทษ แต่โครงการพัฒนาโรงพยาบาลก็ควรต้องรีบดำเนินการต่อไป อย่างสุจริตและโปร่งใส ตรวจสอบได้ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของประชาชน ทั่วไป

    โครงการและเม็ดเงินที่จะพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลทั่วไปรวมทั้งโรงพยาบาลเฉพาะทางในกรมการแพทย์นั้น ก็ควรจะได้รับการจัดสรรให้เหมาะสม เพื่อที่จะช่วยให้โรงพยาบาลทุกระดับ มีบุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสถานที่และเวชภัณฑ์ รวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เหมาะสมกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลรักษาสุขภาพประชาชนในระดับสูง (ทุติยภูมิ ตติยภูมิและโรงพยาบาลเฉพาะทาง) ที่ให้การดูแลรักษาประชาชนโดยวิชาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสูงและสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนต่อไป

    ส่วนโรงพยาบาลชุมชนก็ควรจะได้รับงบประมาณในการพัฒนาให้เหมาะสมกับภาระงานในหน้าที่ เช่นเดียวกัน

    อนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขควรตระหนักว่า รัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบในฐานะประธานกรรมการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ควบกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วย จึงควรจะต้องกำกับดูแลการจัดสรรเงินจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นไปตามจริงตามภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล และควรจะจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมในการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรให้ทั่วถึง และเป็นธรรมแก่บุคลากรทุกระดับ ทุกวิชาชีพด้วย


พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
พญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป

17
แถลงการณ์สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. เรื่องงบไทยเข้มแข็ง กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 8 มกราคม 2553 ณ กระทรวงสาธารณสุข


สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. ( http://www.thaihospital.org ) โดย
พญ.พจนา กองเงิน          ประธานสมาพันธ์
พญู.ประชุมพร บูรณ์เจริญ  รองประธานสมาพันธ์
นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร      รองประธานสมาพันธ์
พญ.พัชรี ยิ้มรัตนบวร        เลขานุการ
พญู.สุธัญญูา บรรจงภาค   ประชาสัมพันธ์
นพ.วัชรพงศ์ แย้มศรี           ประชาสัมพันธ์
นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา        ที่ปรึกษาสมาพันธ์
นพ.เฉลิมพงศ์ สุคนธผล     ที่ปรึกษาสมาพันธ์

ได้ร่วมแหล่งข่าวกรณีงบประเทศไทยเข้มแข็งกระทรวงสาธารณสุขดังนี้

1. การปฏิบัติงานในรพศ./รพท. ปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนอัตรากำลังและงบพัฒนามานานกว่า 20 ปี โดยงบส่วนใหญ่นำไปใช้พัฒนา รพ.ชุมชน จนสามารถให้บริการได้ดี แต่เมื่อมีนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรคและเกิดการฟ้องร้องการรักษาพยาบาล รพ.ชุมชนได้ปรับลดศักยภาพตัวเอง จากที่เคยผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัดคลอด หรือผ่าตัดอื่นๆ เป็นส่งต่อผู้ป่วยมายังรพศ./รพท. ทั้งหมด ขณะนี้ห้องผ่าตัดรพ.ชุมชนที่ได้รับการทุ่มงบประมาณไปพัฒนา ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หากยังคงทุ่มเทงบประมาณสู่รพ.ชุมชนอีกคงไม่สามารถแก้ปัญหาการให้บริการสุขภาพระดับทุติยภูมิได้

2. การตรวจสอบครั้งนี้มีปรากฏการณ์ทีน่าสนใจ คือ

2.1 คณะกรรมการตรวจสอบคนหนึ่งเคยเสนอแนะ นายกอภิสิทธิ์ ให้ตั้ง แพทย์คนหนึ่งเป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข แต่นายวิทยา แก้วภราดัย ตัดสินใจตั้ง นพ.ไพจิตร วราชิต เนื่องจากต้องการให้มารับมือกับไข้หวัด 2009 ระลอกสอง

2.2 โครงการไทยเข้มแข็งได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วง นพ.ปราชญู์ เป็นปลัดกระทรวง ณ เวลานั้นไม่มีผู้ใดติดใจ จนกระ ทั่ง นพ.ไพจิตร วราชิต ได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงฯ ก็มีคนออกมาประกาศว่า “ผิดหวัง” และจะตรวจสอบทุจริตทันที ทั้งๆที่ยังไม่ได้เริ่มทำงานเลย

2.3 เมื่อสามารถบีบให้ นายวิทยา แก้วภราดัย ลาออกได้แล้ว คิวต่อไป คือ นายมานิต นพอมรบดี และมีความพยายามปลดปลัดกระทรวงฯ เพื่อให้คนของตนเข้ามาแทน หากทำสำเร็จจะทำให้ข้าราชการทั้งกระทรวงเกิดความเกรงกลัว กลุ่มคนเหล่านี้ และจะสามารถเข้าไปแทรกแซงสั่งการทุกอย่างได้เหมือนในอดีต อีกทั้งยังทำให้กระทรวงฯ ถูกครอบงำโดยคนกลุ่มนี้ สามารถเสนอความคิดเห็นร่วมกับผู้บริหารกระทรวงฯ และสามารถกำหนดการจัดสรร อัตรากำลังของแพทย์ทั่วบ่ระเทศได้ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญูหากำลังคนของแพทย์ในปัจจุบัน โดยที่กลุ่มคนเหล่านี้ปกติไม่ได้อยู่ที่รพ.ตนเอง ตามที่ควรจะเป็นแต่จะสิงสถิตอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เหมือนรองปลัดคนหนึ่ง เป็นผู้กำหนด จำนวนแพทย์ใช้ทุนให้โรงพยาบาลต่างๆ และกำหนดทุนฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลต่างๆ แต่เนื่องจากตนเองไม่ได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง จึงไม่เข้าใจความจำเป็นของการทำงานเป็นทีมของแพทย์สาขาต่างๆ จึงจัดโควตา ตามใจตนเองให้ รพ.ชุมชนต่างๆ แพทย์ที่ได้ทุนฝึกอบรมเหล่านี้เมื่อกลับมา ทำงานไม่ได้ ก็ลาออกไปอยู่ รพ.เอกชนหรือ รพศ./รพท. เป็นปัญหาทีแก้ไม่ตกของกระทรวงฯ มาตลอด

3. ผลการสอบของคณะกรรมการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจสถานการณ์สาธารณสุข ในปัจจุบันเนื่องจาก

3.1 กรรมการบางท่าน เกษียณอายุราชการมานานกว่า 20 ปี แล้วอาจจะไม่ทราบว่าขณะนี้ รพ.ชุมซน ส่วนใหญ่ไม่ทำผ่าตัดและอัตราครองเตียงค่อนข้างต่ำ ผู้ป่วยอาการหนัก และที่สามารถดูแลได้ที่โรงพยาบาลชุมชนสวนหนึ่งจะจัดส่งต่อไป รพศ./รพท. เนื่องจากกลัวถูกฟ้องร้อง

3.2 กรรมการบางท่าน ไมได้ทำงานด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยมานานแล้ว อาจจะไม่ทราบว่าขณะนี้ Mammogram เป็นวิธีมาตรฐานของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและ Mammogram ระบบ Digital ไม่ต้องใช้ Film สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบคอมพิวเตอร์ได้ เวลาตรวจผู้ป่วยจะเจ็บน้อยกว่า และมีความแม่นยำมากกว่า และยังมีอีกหลายองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการ นำสิ่งที่ดีมาบริการประชาชน เป็นเรื่องของคุณภาพที่ดีกว่า รวมถึงการก้าวให้ตามทันโลกและเทคโนโลยี เหมือนโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่าและรุ่นใหม่

3.3 รพ.ศูนย์ราชบุรีและ รพ.ศูนย์นครปฐม เป็นด่านรับผู้ป่วยที่ส่งจากภาคใต้ เนื่องจากระยะทางจากสุราษฎร์ธานี ถึง ราชบุรีกว่า 400 กิโลเมตร ไม่มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่เลย นอกจากนั้นยังรับผู้ป่วยจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย หากผู้ป่วยเป็นไส้ติ่งอักเสบ บางครั้งที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยจะถูกส่งไป รพ.ศูนย์นครปฐม หากรพ.ศูนย์นครปฐมเตียงเต็มก็จะสงต่อไปรพ.ศูนย์ราชบุรี จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 โรงพยาบาล มีสภาพเหมือนแก้มลิงรองรับผู้ป่วยจากภาคใต้ตอนบนจาก กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งกรรมการตรวจสอบคงไม่เข้าใจ

4. สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. ประกอบด้วยแพทย์กว่า 9,000 คน ร่วมกับวิชาชีพต่างๆรวมแล้วเกือบสองแสนคน เป็นผู้รับผิดชอบ หลักต่อความเป็นความตายของประชาชนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ ขอเรียกร้องให้

4.1 นายกรัฐมนตรีตัดสินใจด้วยฐานความเข้าใจที่ถูกต้อง มิใช่ตามแรงกดดันของคนบางคน และขอเรียกร้องให้ท่านปลัดฯ แต่งตั้งตัวแทนสมาพันธ์รพศ./รพท. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบชีวิต ผู้ป่วยตัวจริงเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณในส่วนของ รพศ./รพท.

4.2 ท่านรมต. สาธารณ์สุข คนใหม่และท่าน รมช.มานิต เป็นตัวของตัวเองและไม่ปล่อยให้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ภายใต้การครอบงำของคนบางคน

4.3 เรื่องราคารถพยาบาลที่แตกต่างกันนั้น คณะกรรมการอาจไม่ทราบว่า ราคาคือราคาตัวรถ บวกค่าประกอบ บวกอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ซึ่งที่แตกต่างกันมากคืออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ขึ้นกับคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการทีมีประธาน และเลขาคนเดียวกัน เคยรับรองการจัดซื้อรถพยาบาล 232 คัน ว่าเครื่องมือแพทย์ดีราคาถูก ถึง 3 ครั้ง 3 คราแต่เมื่อทางรพ.ได้รับรถแล้วพบว่าคุณภาพเครื่องมือแพทย์ต่ำมาก จนรพ.ต้องเปลี่ยนใหม่เองเกือบหมด สำหรับเรื่องทุจริตรถพยาบาลทีอยู่ระหว่างการสอบสวนนั้น ขอให้เร่งรัดด้วย


ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย

18
สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.
29 ธันวาคม 2552
เรื่อง   งบไทยเข้มแข็งกระทรวงสาธารณสุข
กราบเรียน    ฯพณฯอภิสิทธิ์      เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี
                ฯพณฯวิทยา     แก้วภราดัย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                นพ. บรรลุ        ศิริพาณิช
                นพ.วิชัย         โชควิวัฒน
                สื่อมวลชนทุกแขนง

   ตามที่ได้มีการตรวจสอบทุจริตงบไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขนั้น เป็นสิ่งที่ดีเพื่อให้มีการใช้งบประมาณของรัฐอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ความพยายามชี้นำการเปลี่ยนแปลงงบประมาณไปสู่รพ.ชุมชนเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง

   สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.ขออธิบายหลักการดังนี้  ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมางบประมาณกระทรวงสาธารณสุขส่วนใหญ่นำไปใช้ในการพัฒนารพ.ชุมชน(รพ.อำเภอ) จนกระทั่งรพ.ชุมชนได้เกิดขึ้นทุกอำเภอ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ประชาชนจะได้รับการดูแลใกล้บ้าน รพ.ชุมชนได้ยกระดับจนสามารถให้บริการประชาชนได้ดี ในช่วงเวลาเดียวกัน รพศ./รพท. ได้รับงบประมาณน้อยมาก ส่วนใหญ่ต้องขอเงินบริจาคจากประชาชนหรือจากวัดมาสร้างตึกผู้ป่วย และซื้ออุปกรณ์การแพทย์ หาก รพศ./รพท. ใดไม่สามารถหาเงินบริจาคได้จะไม่มีการพัฒนา

   นับแต่มีนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรคและมีการฟ้องร้องการรักษาพยาบาล รพ.ชุมชนทั่วประเทศ ได้ปรับลดขีดความสามารถของตัวเองจากที่เคยผ่าตัดไส้ติ่ง, ผ่าตัดทำคลอด หรือผ่าตัดอื่นๆ เป็นส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดมายัง รพศ./รพท. ทั้งหมดทำให้ผู้ป่วยในรพศ./รพท. เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า ในช่วงระยะเวลา 6 ปี ที่ผ่านมาในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพิ่มขึ้น แพทย์  พยาบาล  ที่ทนทำงานหนักในรพศ./รพท. ไม่ไหวได้ลาออกไปทำให้การขาดแคลนรุนแรงขึ้น รัฐบาลปัจจุบันนี้ คือ รัฐบาลแรกในรอบ 30 ปี ที่เข้าใจต้นเหตุของปัญหา ได้จัดสรรงบประมาณให้รพศ./รพท. จัดสร้างตึกและซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เพื่อรองรับกับความต้องการของประชาชนและรัฐบาลยังเห็นความจำเป็นของการรักษาใกล้บ้าน จึงตั้งเป้ายกระดับสถานีอนามัยขึ้นเป็นรพ.ตำบล  ดังนั้น นโยบายจึงครอบคลุมทั้งการพัฒนาทางการแพทย์ขั้นสูง และการแพทย์พื้นฐานที่รพ.ตำบล

   ทางสมาพันธ์ขอยืนยันว่านโยบายไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข เป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรดำเนินการต่อไป  คณะกรรมการตรวจสอบทุจริตควรทำหน้าที่ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปอย่างถูกต้องเกิดประสิทธิภาพและรวดเร็ว ส่วนความเห็นว่างบประมาณควรไปที่ใดไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านในสภาและสื่อมวลชน

   สมาพันธ์ขอแสดงความชื่นชมในการแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกของ ฯพณฯวิทยา  แก้วภราดัย  ขอแสดงความขอบคุณและเสียดาย รัฐมนตรี  ที่มีความสามารถมีวิสัยทัศน์และมีความรับผิดชอบ แทนประชาชน

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.   

19
ข่าวด่วน !

มีข่าวว่า สตง. มีความเห็นเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนของ รพศ / รพท. โดยได้ตรวจสอบระเบียบของกระทรวงที่ให้จ่ายเงินนี้ ด้วยเหตุผลว่าเพราะโรงพยาบาลศูนย์ / ทั่วไป อาจจะไม่ขาดแคลนแพทย์ และภาระงานไม่หนักจริง และการจ่ายค่าตอบแทน อาจจะไม่เป็นธรรม ตามที่อ้างในเหตุผลของการอนุมัติจ่ายค่าตอบแทนนี้  สมาชิกช่วยกันเฝ้าติดตามด้วย

20
ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ / โพลสำรวจ
« เมื่อ: 03 ธันวาคม 2009, 15:06:32 »
ข้าราชการสาธารณสุขควรแยกตัวออกจาก กพ. เห็นด้วยหรือไม่

21
บ่ายวันที่  27 พ.ย.ที่แพทยสภา  ประธานและปชส. สมาพันธ์ฯ  ร่วมกับที่ปรึกษาสมาพันธ์ฯคืออ.อนงค์ อ.เชิดชู และนพ.อุสาห์   ประชุมในฐานะอนุกรรมการพิจารณาปรับแปลี่ยนค่าตอบแทนแพทย์ภาครัฐ  ได้นำเสนอให้มีการจัดสัมนนาองค์กรแพทย์ทั่วทั้งประเทศ  เพื่อกำหนดภาระงานขั้นพื้นฐานเพื่อใช้ในการประเมินค่าตอบแทนผันแปร  และเพื่อการวางแผนกำลังคน  อันจะเป็นประโยชน์กับการบริหารทางการแพทย์ต่อไป    แม้จะทำได้ยาก   แต่หากเราร่วมมือกัน   โดยการเก็บข้อมูล  หาค่าเฉลี่ย  ร่วมกันกำหนดเกณฑ์ขั้นตำ   ก็อาจสำเร็จ    จึงอยากส่งข่าว  ถามความเห็นจากสมาชิก   ว่าควรจัดหรือไม่  ซึ่งเราจะนำเสนอให้แพทยสภาเป็นเจ้าภาพต่อไป    ยกต้วอย่างเช่น  แพทย์ควรจะตรวจOPD  ขั้นต่ำประมาณ  6คน/ชม.  ใช้เวลา  10 นาทีต่อผป.1 คน    IPD )ประมาณ  10คน/แพทย์ 1 คน  เทียบกับรพช. 10 เตียง/แพทย์ 1 คน  ฯลฯ   
พ.สุธัญญา  บรรจงภาค

หน้า: 1 [2]