ผู้เขียน หัวข้อ: ห้ามฝากเด็ก : ห้ามตีเด็ก : เคอร์ฟิวเด็ก?  (อ่าน 1618 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ห้ามฝากเด็ก : ห้ามตีเด็ก : เคอร์ฟิวเด็ก?
« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 08:22:26 »
จากการที่กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายมิให้มีการฝากเด็กเข้าเรียน เพื่อป้องกันปัญหาการให้เงินพิเศษหรือเรียกให้สวยหรูก็ว่าเงินบำรุงการศึกษา และเป็นการขจัดการเอาพวกพ้องญาติพี่น้องหรือลูกหลานของตนเองเข้าสู่สถาน ศึกษาที่มีชื่อเสียงอันจะเป็นการทำลายคุณภาพการศึกษา ในขณะเดียวกันการนำเอาภาพของครูบาอาจารย์บางคนที่ลงโทษเด็กนักเรียนด้วยการ ตีออกมาประจานผ่านสื่อมวลชนและจัดทำเว็บไซต์ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียน และผู้ปกครองที่ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีนี้ก็กลายเป็นกระแสที่กำลังจะ สะเทือนวงการการศึกษา ล่าสุดทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็หันมาปัดฝุ่นนำเอามาตรการพิทักษ์เด็กที่ห้าม เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่าสิบแปดปีออกนอกบ้านหลังเวลาสี่ทุ่มออกมาใช้เพื่อ ป้องกันการประพฤติตนไม่เหมาะสม จะไปก่ออาชญากรรม หรือกลายเป็นเหยื่อของอาชญากรรม
   
การห้ามฝากเด็กมิใช่เป็นเรื่องใหม่ เคยมีมาแล้วหลายยุคหลายสมัย บางยุคก็กลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งหรือไฟไหม้ฟาง   แต่บางยุคก็มีแนวโน้มเป็นไปได้ แต่สุดท้ายก็เป็น “กระต่ายตื่นตูม” สำหรับยุคนี้แล้วถึงแม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจะมีนโยบายจริง จัง จะลงโทษผู้บริหารสถานศึกษาที่ไม่เคร่งครัดกับนโยบาย แต่ความเป็นจริงกับหลักการมันตรงกันข้าม เมื่อถึงปลายปีการศึกษาบรรดาผู้ปกครองต่างก็ยังวิ่งวุ่นอยู่กับการแสวง หาสถานศึกษาให้กับลูกหลานของตนเอง ทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะให้ลูกหลานได้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงมาก ที่สุด  ที่เชื่อว่ามีมาตรฐานดีที่สุด มีการโยกย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านเลขที่ที่อยู่ในพื้นที่ให้บริการบ้าง มีการเข้าไปหาท่านผู้มีชื่อเสียงบ้าง อาศัยความเป็นญาติพี่น้องกับครูบาอาจารย์ผู้สอนบ้าง ผู้บริหารบ้าง ผู้มีอุปการคุณบ้าง นักการเมืองในพื้นที่บ้าง สุดท้ายมีการให้เงินที่เรียกให้น่ารักว่าเงินบริจาคบำรุงการศึกษา  นี่คือปัญหาหนึ่งของการศึกษาไทยในปัจจุบัน...
   
ส่วนการห้ามตีเด็กก็ถูกนำออกมาใช้อย่างเป็นทางการนานพอสมควรแล้ว ซึ่งได้ผลดีระดับหนึ่งเพราะเป็นการหยุดยั้งพฤติกรรมของครูบางคนที่เห็นแก่ อำนาจโทสะและถือว่ามีอำนาจเต็มตัว ขาดการยับยั้งชั่งใจลงโทษเด็กด้วยความสะใจ  แต่ก็มีครูอีกจำนวนหนึ่งเห็นว่าเด็กบางคนดื้อด้านจนสอนเพียงอย่างเดียวไม่ ได้ การปรับโทษจากเบาไปหาหนักก็ควรจะมีรวมถึงการตีด้วยเพราะถ้าย้อนในอดีตเด็ก หลายคนได้ดีเพราะ “ครูตี”  เนื่องจากการตีเป็นการลงโทษให้สำนึกผิดกลับตัวกลับใจ ดังนั้นจะเห็นว่าด้านบวกและด้านลบก็มีอยู่ในกรณีเดียวกัน เรื่องเก่านำกลับคืนมาปัดฝุ่นใหม่จะดีไหม? เรื่องใหม่รีบแก้ไขให้ตรงจุดจะดีไหม?
   
การจะห้ามเด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีออกนอกบ้านเที่ยวเตร็ดเตร่ ยามค่ำคืนนั้น ที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ  กระทำของเด็กมีมากมายจนหลายคนปรารภว่าเลี้ยงลูกสาวจนเติบโตขึ้นมาหนึ่งคนเธอ เรียนจบปริญญาตรีแล้วโดยไม่เคยท้องก่อนแต่งหรือไม่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือไม่เคยก่ออาชญากรรมหรือไม่เคยมีปัญหาด้านการเรียนก็ถือว่าเป็นบุญคุ้ม หัวแล้ว คนที่เลี้ยงลูกชายจนเติบโตขึ้นมาหนึ่งคนเขาเรียนจบปริญญาแล้วโดยไม่เคยเข้า ไปอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ไม่เคยก่อเรื่องทะเลาะวิวาท ไม่เคยเป็นเด็กแว้นเด็กซิ่ง ไม่เคยติดบุหรี่ ติดการพนัน ติดสุรา ไม่เคยมีปัญหาด้านการเรียนก็ถือว่าเลี้ยงลูกพ้นปากเหยี่ยวปากกามาได้
   
การที่จะนำเอากฎหมายข้อนี้ขึ้นมาปัดฝุ่นใช้เพื่อป้องกันมิให้ลูกหลานในสังคม ไทยเรามีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำลงไปกว่านี้กลายเป็นกระแสหนึ่งที่กำลังจะเรียก ร้องกันซึ่งตรงกันข้ามกับอีกมุมมองหนึ่งที่โผล่ขึ้นมาคัดค้านว่าเป็นการปิด กั้นสิทธิเด็ก ละเมิดสิทธิเด็กและยิ่งจะเป็นการเพิ่มปัญหาให้กับเด็กและเยาวชนขึ้นมากกว่า เดิมเสียอีกเพราะยิ่งห้ามก็ยิ่งมีกระแสต่อต้าน
   
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิตของคนเรา ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบไปทั้งหมดและไม่มีอะไรที่จะแก้ไขไม่ได้เกินความรู้ ความสามารถเช่นกัน แต่อยู่ที่การกระทำของมนุษย์เรานี่เองว่าจะเห็นแก่อำนาจของความชั่วคือ โลภ โกรธ หลงหรือว่าจะเห็นแก่อำนาจของความดีคือ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง คนเราเมื่อโลภมาก โกรธมาก หลงมากก็มีแต่ความหายนะติดตามมา  แต่ถ้าไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงเลย ทุกสิ่งทุกอย่างจะจบลงด้วยความสุขและพอดี คนที่มีอำนาจและวาสนาถ้าจะกอบโกยเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง แก่พวกพ้อง แก่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงแล้ว อีกไม่นานความล่มจมจะติดตามมา คนที่มีโอกาสแล้วมีจิตเสียสละเสียบ้างก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมได้ อย่างดี คนที่เคยใช้แต่อำนาจของตนเองแล้วหันมาลดหย่อนผ่อนปรนการใช้อำนาจเสียบ้างก็ จะสร้างความสุขให้กับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ไม่น้อยทีเดียว คนที่เคยหลงแล้วกลับมามีสติไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างมหาศาล ดังนั้นกิเลสนี่เองคือมารร้ายที่จะมาทำลายผู้คนในสังคมไม่ให้ปกติสุข ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ถ้าไม่ถูกกิเลสครอบงำ
   
การห้ามฝากเด็กเข้าเรียนเป็นกรณีพิเศษไม่ว่าจะด้านใดด้านหนึ่งหรือแนวทางใด แนวทางหนึ่ง จะมีมาตรการที่เฉียบขาดทั้งทางด้านวินัยและทางด้านอาญากับผู้บริหารที่ ฝ่าฝืนเช่นนี้น่าจะเป็นการ “ดัดจริต” ของผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเสียแล้วเพราะความเป็นจริงมันกลายเป็นประเพณี ปฏิบัติกันเสียแล้ว เราเอาความเป็นจริงมาบริหารกันน่าจะดีกว่า ทุกส่วนล้วนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งนั้น เคร่งเกินไปก็ขาด หย่อนยานเกินไปก็ล้มเหลว ใช้ทางสายกลางน่าจะดีกว่า ส่วนที่รู้ว่ามันบกพร่องก็ช่วยกันอุดและกำชับมิให้เกิดขึ้น อย่าเป็นเทวดาแล้วมาสั่งจนกระบวนการการรับเด็กเข้าเรียนในปีการศึกษาที่จะมา ถึงนี้ต้องอลเวงเลย
   
การห้ามตีเด็กก็เช่นเดียวกัน จะยกเลิกไปทั้งหมดก็คงหย่อนยานจนเกินไป เด็กบางคนก็สุดที่จะดึงขึ้นมาให้พ้นน้ำได้เหมือนกับดอกบัวสี่เหล่า การลงโทษจากเบาไปหาหนักก็ควรจะมีใช้ให้กับคุณครูที่หวังดีต่อศิษย์  การตีเด็กด้วยจิตเมตตาและสั่งสอนจริง ๆ เป็นสิ่งที่ดีและควรสนับสนุนอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นคุณครูบางคนที่มีแต่โทสะเป็นที่ตั้งก็ไม่ควรประกอบอาชีพของครูต่อ ไป
   
การห้ามเด็กและเยาวชนอายุสิบแปดปีลงมาออกนอกบ้านยามค่ำคืนก็ควรนำมาพิจารณา ถึงแม้จะมีนักสิทธิมนุษยชนออกมาคัดค้านอยู่บ้างก็ตาม แต่การกระทำใด ๆ ที่มุ่งป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับลูกหลานเราก็ควรจะดำเนินการให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น จะปล่อยให้ลูกหลานเติบโตขึ้นมาอย่างมีปัญหาและด้อยคุณภาพก็ไม่ควรปล่อยให้มี อีกต่อไป ฝืนเสียบ้างกับบางอย่างเพื่อให้เกิดแต่สิ่งที่ดีก็ควรจะทำ ก่อนที่หน่ออ่อนในสังคมไทยเราจะมีปัญหาไปมากกว่านี้
   
ห้ามฝากเด็ก ห้ามตีเด็ก ห้ามเด็กเที่ยวเตร็ดเตร่ยามวิกาลหลังสี่ทุ่มขึ้นไปล้วนรวมเป็นเรื่องของ สังคม การศึกษา ใครจะช่วยได้ ใครจะป้องกันปัญหาได้ ใครจะแก้ไขได้ก็อยู่ที่...คนไทย...นี่เอง...
   
อย่าให้เด็กมากำหนดกติกาทางสังคมแทนผู้ใหญ่ก็แล้วกัน ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองเราและสังคมเราก็จะลงเอยแบบ...เด็ก ๆ...จนเข้าทำนองว่า “คบเด็กสร้างบ้าน คบคนหัวล้านสร้างเมือง”
   
หันมาปลูกฝังคุณธรรมอันเป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาให้ฝังลึกไว้ในจิต ใจของลูกหลานในสังคมไทยเราเถิดนับตั้งแต่ วิริยะ ขันติ สัจจะ ทมะ จาคะ ให้บริบูรณ์ วิริยะ คือความเพียรพยายาม ขันติ คือความอดทน ฝึกให้พวกเขารู้จักอดทน ต่อความร้อน ความหิว ความกระหาย ความเหนื่อยยาก สัจจะ คือความซื่อตรงซื่อสัตย์สุจริต มีความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อเพื่อนฝูง ซื่อสัตย์สุจริตในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในการอยู่สังคมเดียวกัน ทมะ คือการข่มใจตนเอง ควบคุมสติตนเองให้ได้ ข่มใจไม่ให้ตกไปในอำนาจฝ่ายต่ำ จาคะ คือการเสียสละเพื่อผู้อื่น ฝึกให้พวกเขารู้จักให้ผู้อื่นไม่ว่าให้ความรู้ความเข้าใจหรือที่เรียกว่า ธรรมทาน ให้วัตถุสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อการดำรงชีพของผู้อื่นหรือที่เรียก ว่า อามิสทาน ให้โอกาส ให้อภัยแก่เพื่อนฝูงในสังคมตนเองและสังคมผู้อื่นหรือที่เรียกว่า อภัยทาน การให้แต่ละครั้งอย่าไปฝึกพวกเขาเพื่อให้ได้สิ่งตอบแทนกลับคืนมา ไม่ว่าจะเป็นคะแนนที่ได้จากผลการทำกิจกรรม ไม่ว่าผลงานที่ทำไปนั้นจะต้องนำมาเสนอเป็นผลงานสู่สังคมทั้งวงแคบและวงกว้าง ไม่เช่นนั้น ก็ไม่ผิดกับการทำความดีเพื่อเอาหน้าหรือเพื่อชื่อเสียง ขอจงฝึกการให้แล้วเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมแบบเสียสละจริง ๆ
   
ห้ามฝากเด็ก ห้ามตีเด็ก ห้ามเด็กเที่ยวดึกดื่น ขอจงพิจารณาตามความเป็นจริง อย่าดัดจริต อย่าฝืนความเป็นจริงของชีวิต ทุกอย่างไม่เคร่งจนเกินไปและไม่หย่อนยานจนเกินไป หันมาเดินทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทาคือทางสายกลางย่อมก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขที่แท้ จริง...ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดเห็นเป็นมรรคเป็นผลก็อยู่ที่ผู้ใหญ่ในสังคม เป็นผู้เริ่มต้นเสียก่อนตั้งแต่วันนี้...คิดอย่างเดียวไม่ได้ ฝันอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องลงมือทำตั้งแต่วันนี้  จึงจะรู้ผลและได้ผลในวันข้างหน้า
   
ขอให้ระลึกอยู่เสมอว่า “เด็กไทยในวันนี้คือประเทศไทยในวันข้างหน้า” อยากจะให้อนาคตของประเทศไทยเป็นเช่นใด ก็จงลงมือเริ่มต้นอะไรก็ได้กับลูกหลานของเราในวันนี้ จะดีหรือจะร้าย จะถูกหรือจะผิด จะเจริญหรือจะเสื่อมก็อยู่ที่เราจะคิด จะพูดหรือจะทำนี่เอง
   
ฝากเด็ก ตีเด็ก เคอร์ฟิวเด็กล้วนสะท้อนให้เห็นถึงกิเลสของมนุษย์นี่เอง...กิเลสของใครหนาหรือบาง   ก็จงดูที่การกระทำในวันนี้...

พระมหาสมัย จินตโฆสโก

เดลินิวส์
4 กุมภาพันธ์ 2554