ผู้เขียน หัวข้อ: สพศท.หวั่นแพทย์เป็นจำเลย การใช้สิทธิการตายของคนไข้‏  (อ่าน 1228 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9784
    • ดูรายละเอียด
ประธาน สพศท.ระบุ หวั่นแพทย์เป็นจำเลยจากการใช้ กฎสิทธิการตายของคนไข้ เพราะหากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวแล้วรับหนังสือยินยอมจากญาติ จะเป็นของจริงหรือไม่ กลัวเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดี...

เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2554 พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป(สพศท.)เปิดเผย กรณี ที่มีการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือ แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ออกตามมาตรา 12แห่งพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550และประกาศสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ว่า ในฐานะที่เป็นแพทย์ หากได้รับหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขของผู้ป่วยจากผู้ ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติครบถ้วน แพทย์จะรู้ได้ว่าเป็นหนังสือจริงแน่นอน แต่หากได้รับหนังสือจากญาติในขณะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นของจริง

ประธาน สพศท. กล่าวต่อว่า แม้ว่าในหนังสือจะระบุว่าผู้ป่วยได้ทำหนังสือฉบับนี้ในระหว่างที่มี สติสัมปชัญญะครบถ้วนก็ตาม หรือหากเป็นกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้ทำหนังสือดังกล่าวไว้ แต่ญาติหรือบุคคลอื่นนำหนังสือปลอมมายื่นให้กับแพทย์ แพทย์ก็ไม่มีทางทราบว่าหนังสือฉบับนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขจึงอาจกลายเป็นเครื่องมือ ให้กับบุคคลที่ไม่หวังดีกับผู้ป่วยใช้เป็นเครื่องมือกระทำการบางอย่างได้ แพทย์อาจกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่ทำความผิดโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด

พญ.ประชุมพร กล่าวด้วยว่า ในฐานะที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการผลักดันเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงควรมีหน้าที่รับผิดชอบแทนแพทย์ที่ดำเนินการตามที่ผู้ป่วยแสดงเจตนาไว้ใน หนังสือ ด้วยการส่งบุคคลของสช.ไปประจำจังหวัดละ 1 คน ทำหน้าที่ในการรับรองว่าหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขของ ผู้ป่วยแต่ละคนที่แพทย์ได้รับนั้นเป็นของจริง เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลแอบอ้างนำหนังสือปลอมมายื่นให้กับแพทย์ และหากแพทย์ดำเนินการตามอาจกลายเป็นความผิด โดยบุคคลที่เป็นผู้รับรองหนังสือว่าเป็นหนังสือจริง หากตรวจพบภายหลังว่าเป็นหนังสือปลอมจะต้องรับผิดชอบแทนพยาบาลและแพทย์ด้วย ทั้งนี้ สพศท.ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับนี้จนกว่าจะมีการแก้ไข ข้อบังคับบางส่วนให้มีความเหมาะสมก่อน

ไทยรัฐ 6 สิงหาคม พ.ศ.2554