ผู้เขียน หัวข้อ: อานันท์ชี้ 3 สิ่งถ่วงสังคมไทย  (อ่าน 1410 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
อานันท์ชี้ 3 สิ่งถ่วงสังคมไทย
« เมื่อ: 31 ตุลาคม 2011, 22:37:12 »
อานันท์ปาฐกถาแนะสังคมไทยสนใจสร้างความเท่าเทียม-ปฏิรูปยุติธรรมลดโอกาสฝ่ายการเมืองเผด็จการเบ็ดเสร็จ

วันที่ 2 ตุลาคม ที่โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ มูลนิธิพฤษภาประชาธรรม และคณะกรรมการญาติวีรชน พฤษภา 2535 ได้จัดงาน Tea Talk ระดมทุนเพื่อจัดสร้างอนุสาวรีย์ญาติวีรชน พฤษภา 2535 ขึ้น โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ เข้าร่วมปาฐกถาในหัวข้อ “กระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม และมีนายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้นำนักศึกษาขณะนั้นเข้าร่วม

นายอานันท์กล่าวว่า ปัญหาของสังคมไทย เกิดขึ้นประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง คือ

1.คนไทยความจำสั้น และจำเฉพาะเรื่องที่อยากจำ แต่กลับไม่เคยเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ หรือจากความผิดพลาดในอดีต และสิ่งใหม่ๆหรือไม่ สังคมเราขาดจิตวิญญาณของการแสวงหความจริง แต่เราพยายามแสงวงหาความถูกต้อง อยากรู้อยากเห็น ต้องกระตือรือร้นที่จะเห็นข้อเท็จจริง

2. สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่สนใจส่วนรวม หรือเป็น “ตัวกูของกู” ที่ต้องการผลประโยชน์หรืออำนาจวาสนาเข้าสู่ตัวเองเท่านั้น แต่บอกถึงลักษณะวิสัยของคนไทยอีกอย่างว่าเรามักง่าย ให้กับตัวเอง มักง่ายให้กับพี่น้องในครอบครัว ให้กับเพื่อนฝูง มักง่ายกับต่างๆนาๆ รวมถึงคนที่มีบุญคุณกับเรา จิตสาธารณะก็ยังค่อนข้างน้อย สังเกตได้จาก 20 ปีที่ผ่านมา มีการเรียกร้องแทบจะไม่มีการเรียกร้องเรื่องที่เป็นประโยชน์ให้กับส่วนรวมเลย แต่กลับเดินขบวนต่อต้านเพียงอย่างเดียวจิตวิญญาณที่ต้องการสิ่งบวกจึงแทบไม่ เกิดขึ้น

และ3.คือคือสังคมไทยตามเหตุการณ์ไม่ทัน ทำให้ยังลุ่มหลงกับปัญหาในอดีต ซึ่งไม่ได้ให้ลืมเสียทีเดียว แต่ต้องหาทางไม่ให้ปัญหาในอดีตมายับยั้งการต่อสู้ให้ไปข้างหน้าได้ สังเกตได้จากบางครั้งเรายังหลงกับกระบวนการเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น เช่น การเขียนรัฐธรรมนูญ การรัฐประหาร การเลือกตั้ง หรือการคอร์รัปชั่นเป็นต้น ซึ่งไม่ได้บอกให้ละทิ้ง หรือไม่สนใจ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่แก่นหนึ่งเท่านั่น

“ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยคือควบคุมอย่างไรไม่ให้คนหนึ่งคนมีอำนาจเบ็ดเสร็จ เพื่อครอบงำทั้งสามอำนาจหลักคือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการได้ ซึ่งกระบวนการสำคัญก็คือการกระจายอำนาจ และสร้างการเข้าถึงอำนาจให้กับประชาชนมากขึ้น นอกจากนี้กระบวนการยุติธรรมของประเทศก็ยังคงด้อยพัฒนามาก ซึ่งการบริหารการเมืองไม่ได้บริหารด้วยกฎหมาย ต้องเข้าถึงธรรม ซึ่งหมายถึงความชอบธรรม และส่งเสริมให้คนมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น” นายอานันท์กล่าว

นายคณิตกล่าวว่า เรื่องกระบวนการยุติธรรม คือปัญหาใหญ่ของสังคมไทย เช่นคดีซุกหุ้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีภาคแรกก็เกิดจากการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน เพราะในครั้งแรก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 ต่อ 6 เสียงระบุไว้ว่าพ.ต.ท.ทักษิณมีความผิดจริง แต่กลับมีการนำเสียงตุลาการ 2 ท่านที่ระบุไว้ในขั้นต้นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการตัดสินเรื่องนี้ไปรวม เพื่อระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิด และชนะไปด้วยเสียง 8 ต่อ 7

“ผมเคยทำนายไว้เลยว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมยังคงเป็นแบบนี้ จะมีการฆ่ากันตาย อย่างตอนนั้นถ้าศาลใช้หลักกฎหมายอย่างถูกต้อง คุณทักษิณก็ไม่ได้ขึ้นเป็นใหญ่ พอคุณทักษิณไม่ได้ขึ้นเป็นนายก บ้านเมืองก็เกิดความสงบในเวลาต่อมา แต่บ้านเรากลับไปใช้ความรู้สึกหรือหลักการอย่างอื่นให้ครอบงำเหนือกระบวนการ ยุติธรรม อย่างบ้านเราเวลามีการกล่าวหาว่านักการเมืองทุจริตคอร์รัปชัน ก็ควรจะมีการเสาะหาข้อเท็จจริงว่าคอร์รัปชั่นหรือไม่ และมีกระบวนการอย่างไร แต่ทุกครั้งกลับเลือกใช้วิธีรัฐประหาร และเกิดความขัดแย้งตลอดมา ซึ่งหากกระบวนการยุติธรรมมีความเที่ยงตรง และใช้ข้อเท็จจริงในการตรวจสอบ ก็คงไม่เกิดปัญหาเหล่านี้” นายคณิตกล่าว

ประธานคอป.กล่าวอีกว่า กระบวนการยุติธรรมของไทย มีพฤติกรรมน่ารังเกียจสามอย่าง
1.มักทำงานสบาย ๆ
2.มักจะกลัวไปหมดทุกอย่าง และ
3.มักจะชอบประจบ
ซึ่งสังคมไทย จะต้องปรับระบบนิติรัฐไปสู่พื้นฐานที่เข้มงวด และเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นเสรีนิยม การขังระหว่างคดีต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจำเป็น และต้องกระตือรือร้นที่จะตรวจสอบความจริง ทั้งในชั้นประทับฟ้อง และต้องประกันความบริสุทธิ์ของจำเลยได้

นอกจากนี้ปัจจุบันมีหน่วยงานทีเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเต็มไปหมด ตั้งแต่ตำรวจ ศาล กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สำนักงานอัยการสูงสุด ปปท.หรือปปช.กลับ ไม่เคยมีความสัมพันธ์กันเลย ซึ่งกระบวนการยุติธรรมหลังจากนี้ จะต้องปฏิรูปไปในแนวทางที่เป็นไปตามระบบ และสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันมากขึ้น.

2 ตุลาคม 2554
โพสต์ทูเดย์