ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเล่า อาจารย์เทสก์ : เรื่องของ สติ สมาธิ และปัญญา ในความยาก มีความง่าย  (อ่าน 1587 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
ดังได้สดับมา
วิเวกา นาคร

ในความจัดเจนของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

วิชาในพุทธศาสนานี้มันแปลก เรียนรู้มาก เวลาจะเอามาใช้เลย ใช้ไม่ได้ จะเอาบทธรรมนั้นมาพิจารณาให้เห็นแจ้งแทงตลอดจนหมดสงสัยไม่ได้

"ต้องเห็นแจ้งด้วยปัจจัตตัง"

นั่นก็คือ "จิตสงบแล้วรู้ขึ้นมาเองจึงชัด แต่ความชัดแจ้งนั้นก็ไม่ได้หนีไปจากปริยัติ ความรู้ในปริยัตินั้นแหละ แต่มันรู้ภายใน"

"รู้ภายใน" อย่างไรหรือ

"ความรู้ภายในนี้ถึงแม้จะอธิบายให้คนอื่นฟังสักเท่าไรก็ไม่เหมือนความรู้ด้วยตนเอง" พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี สรุป

"เหมือนกับบุคคลไปเห็นสัตว์ประหลาดในป่ามาชนิดหนึ่ง จะว่าเสือก็ไม่ใช่ จะว่าสิงห์ก็ไม่เชิง แต่มันคล้ายๆ กันกับสัตว์ทั้ง 2 ชนิดนั้น แต่มิใช่สัตว์ทั้ง 2 ชนิดนั้น เป็นแต่เอามาเปรียบให้คนฟังเข้าใจเฉยๆ"

จะรู้ได้ก็ต้องรู้โดยตน จึงจะเป็นความรู้อันลึกซึ้ง

เพราะว่าเมื่อลงมือปฏิบัติ แม้ปัญญาจะถือว่าเป็นที่สุด แต่ภายในปัญญาก็เช่นเดียวกับสมาธิ ก็มีเงื่อนปมซ่อนแฝงอยู่ ทำให้มิอาจไว้ใจได้อย่างหมดจด

เป็นอย่างไร โปรดอ่าน



ปัญญากล้าทำให้จิตฟุ้งซ่าน คุมสติไม่อยู่ รวมเป็นสมาธิไม่ได้ รู้เห็นสิ่งใดมีแต่จะคิด คิดจนสิ่งนั้นให้แตกกระจาย

เห็นตามจริงแล้วจึงจะยอมปฏิบัติตาม

ผู้มีความคิดย่อมเห็นอย่างนี้เป็นส่วนมาก ผู้คิดเห็นอย่างนี้ย่อมคุมสติของตนให้อยู่ในจุดเดียวไม่ได้ มีแต่ฟุ้งด้วยความคิดจนนอนไม่หลับ

นักปฏิบัติทั้งหลายกล่าวว่า นั่นมิใช่ปัญญา เป็นสัญญาปรุงแต่งตามอาการต่างหาก

ถ้าเป็นปัญญาแท้จะต้องคิดนึกหาเหตุผล มีสติรู้ตัวอยู่ว่าเราคิดอะไรดี ชั่ว หยาบ ละเอียด สิ่งที่ควรและไม่ควร

คิดนึกจบเรื่องแล้วรวมลงนิ่งอยู่ได้เหมือนกับของใช้ในลิ้นชัก เมื่อต้องการใช้ก็ชักออกมาใช้ ใช้แล้วก็เก็บปิดไว้ตามเดิม

ปัญญาอันนั้นมิใช่ปัญญาที่จะทำให้พ้นจากทุกข์ได้ เป็นปัญญาทั่วไปแก่สาธารณชน ต่างกันก็แต่จะมีมากหรือน้อยเท่านั้น



ธรรม 3 ประการนี้คือ สติ สมาธิ ปัญญา เมื่อใช้ให้สมดุลกันแล้วจะรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน

เมื่อรวมเป็นอันเดียวกันแล้วจะไม่มี สติ สมาธิ ปัญญา ในที่นั้น จะมีแต่ความสว่าง เบิกบาน โล่งไปหมด

ไม่ว่าจะคิดนึกและมองไปข้างไหน รู้แจ้ง ทะลุปรุโปร่งไปทั้งนั้น

หมดความสงสัยในคุณพระรัตนตรัยว่าอะไรหนอ อะไรหนอ ไม่มีในที่นั้น

การที่จะทำ สติ สมาธิ ปัญญา รวมลงเป็น 1 นี้มิใช่เป็นของทำง่ายๆ จะแต่งให้เป็นอย่างนั้นเอาไม่ได้

ต้องหัดสติให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียวจริงๆ

แล้วก็ต้องหัดสมาธิจนมั่นในอารมณ์กรรมฐานนั้นๆ ให้เป็น 1

ปัญญาก็ต้องตรวจตราว่า สิ่งที่เราละแล้วนั้น มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ลงสภาพแน่นอนไม่มีสงสัยแล้ว

ทั้ง 3 อย่างนี้มีสภาพเสมอกัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แล้วจึงจะรวมลงเป็น 1 ได้

แต่มิใช่แต่งเอา แต่มันแต่งของมันเอง และไม่มีใครรู้ได้ด้วยว่ามันสม่ำเสมอกันแล้วหรือยัง

ต่อเมื่อจิตถอนออกมาจากอัปปนาสมาธิแล้วจึงมาตรวจสอบดู

จึงจะรู้ว่า อ๋อ จิตตอนนั้นมันมี สติ สมาธิ ปัญญา สม่ำเสมอกันอย่างนั้น อย่างนั้น



ทุกอย่างจึงดำเนินไปเหมือนกับที่ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ค้นพบจากการปฏิบัติโดยตน

เรื่องการทำสมาธินั้น เวลาจะทำจริงๆ มันทำไม่ได้ ความรู้วิชาเรียนมามากสักเท่าไร อุบายปัญญารวบรวมเอามาลงทุนจนหมดเกลี้ยงมันก็ไม่เป็น

แต่เวลาทอดธุระปล่อยทิ้งเสียไม่เอาอะไรทั้งหมด มันเลยกลับเป็นสมาธิมาได้

ที่ว่าง่ายมันง่ายตรงนี้ ง่ายเพราะไม่ได้เตรียมเนื้อเตรียมตัว และไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิด แต่มันเป็นของมันเองต่างหาก

ตรงนี้เองที่เรียกว่า "ปัจจัตตัง"

มติชนออนไลน์  19 ตุลาคม พ.ศ. 2554