ผู้เขียน หัวข้อ: จับตารัฐแก้ รพ.เอกชนแพง หวั่นไม่ตอบโจทย์ปัญหา "ตรวจเกินจริง-ให้ยาเกินจำนวน"  (อ่าน 554 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
เครือข่ายผู้เสียหายฯ ให้เวลา 1 เดือน ภาครัฐแก้ปัญหาสิทธิฉุกเฉินห้ามเก็บเงิน พัฒนาระบบส่งต่อ จับตาแก้ปัญหาค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชนแพง หวั่นมาตรการที่ทำอยู่ ไม่ตอบโจทย์ปัญหาที่ ปชช.เผชิญหน้า ทั้งการรักษาเกินจริง ใส่รายการยาเวชภัณฑ์เกินจำนวน
       
       นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวถึงมาตรการแก้ปัญหาค่ารักษา รพ.เอกชนแพง ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานเจรจาค่ารักษาสิทธิฉุกเฉินร่วมกับ 3 กองทุน และรพ. ขณะที่จะควบคุมไม่ให้การเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีการเรียกเก็บเงิน และพัฒนาระบบส่งต่อไปยัง รพ.ตามสิทธิหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมง ซึ่ง 1 เดือนน่าจะแล้วเสร็จ ว่า เครือข่ายฯ เห็นด้วยกับคณะทำงานแก้ปัญหาค่ารักษา รพ.เอกชนแพง ที่มี นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ เป็นประธาน ก็คงต้องให้โอกาสหน่วยงานที่เกี่ยวขจ้องได้ดำเนินการแก้ปัญหา ซึ่งภายใน 1 เดือน หากสามารถแก้ปัญหาเรื่องป่วยฉุกเฉินได้สำเร็จ ก็จะเป็นผลดีแก่ประชาชน แต่ขอให้พิจารณาให้ตัวแทนของภาคประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วม และพิจารณาข้อเสนอเพิ่มเติมของเครือข่ายฯ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดคือ ห้ามเก็บเงินภายใน 72 ชั่วโมง หรือให้คนไข้หรือญาติเซ็นรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และเมื่อพ้น 72 ชั่วโมง ให้ รพ.เอกชนส่งตัวคนไข้ไปรพ.ตามสิทธิ โดยห้ามให้คนไข้หรือญาติสำรองจ่าย หรือเซ็นรับสภาพหนี้ หาก รพ.ตามสิทธิเตียงเต็ม ให้หน่วยงานต้นสังกัด 3 กองทุนคือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง ดำเนินการหาเตียงให้กับคนไข้ หากหาเตียงไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ รพ.เอกชนต่อไป ให้ทั้ง 3 กองทุนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย หากไม่ปฏิบัติตามต้องมีบทลงโทษ
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูเหมือนการแก้ปัญหาจะเน้นในเรื่องสิทธิฉุกเฉิน แต่เรื่องค่ารักษาพยาบาลแพงโดยรวมยังไม่มีความคืบหน้า นางปรียนันท์ กล่าวว่า ดูเหมือนว่าขณะนี้รัฐได้มุ่งแก้ปัญหา โดยกันไม่ให้ตัวแทนภาคประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้ประชาชนไม่มีความมั่นใจในมาตรการที่ดำเนินการอยู่ เช่น กระทรวงพาณิชย์ออกตรวจโรงพยาบาล เป็นต้น จะได้ผลที่มีประสิทธิภาพที่ตรงกับปัญหาของประชาชนหรือไม่ เช่น ปัญหาการใส่รายการเวชภัณฑ์ที่ไม่ได้ใช้ หรือใส่เกินจำนวน การตรวจรักษาที่เกินจริง การบวกค่ายาที่ไม่สมเหตุสมผล ส่วนกรณีค่ายานั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่เป็นเพียงแค่แจ้งราคา แต่ขอให้เป็นการออกใบสั่งยาให้คนไข้ไปหาซื้อเอง ฯลฯ ขณะนี้ประชาชนได้แต่มองดู แต่คงทำอะไรไม่ได้ นอกจากให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ามาตรการเหล่านั้นจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ หวังว่าคงไม่ได้เป็นเพียงแค่การสับขาหลอกเท่านั้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 พฤษภาคม 2558